ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คุณลักษณะของ "ครูที่ดี" ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นอย่างไร.?  (อ่าน 1088 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


คุณลักษณะของ "ครูที่ดี" ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นอย่างไร.?

จากกรณีถ้ำหลวง แสดงให้เห็นถึงความเป็น ครูที่ดี ของโค้ชเอก ที่สามารถดูแลเด็ก ๆ ทีมหมูป่าให้อยู่ในความสงบ ไม่ตื่นตระหนกได้ ทำให้หลายคนอยากรู้ว่าพุทธศาสนามีการกล่าวถึงคุณลักษณะของครูที่ดีไว้หรือไม่

ครูที่ดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาคือ  เป็นครูที่มีคุณลักษณะตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันได้แก่หลักธรรมหมวด “กัลยาณมิตตาธรรม” ซึ่งมี  7 ประการ  ดังนี้

@@@@@@

1. ปิโย – น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้เข้าไปปรึกษาไต่ถาม ซึ่งครูที่น่ารักจะทำให้ลูกศิษย์รู้สึกสบายใจเวลาที่พบหน้ากัน มีเมตตาหวังดีต่อเด็กเสมอ ยิ้มแย้ม แจ่มใส ไม่บึ้งตึงทั้งในเวลาสอนและนอกเวลาสอน ให้ความสนิทสนมกับศิษย์ตามควรแก่กาลเทศะ พูดจาอ่อนโยน เอาใจใส่อบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้อย่างแท้จริง เมื่อเด็กมีความทุกข์  ครูก็คอยให้ความเอาใจใส่และปลอบประโลมให้กำลังใจ

2. ครุ – น่าเคารพ ในฐานประพฤติตนควรแก่ฐานะ ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ สามารถเป็นที่พึ่งได้ กระทำตนเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ทั้งพฤติกรรมทางกาย  วาจา  ใจ

3. ภาวนีโย – น่าเจริญใจหรือน่ายกย่อง  ในฐานมีความรู้และฝึกอบรมตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ควรอ้างถึงด้วยความภูมิใจ นั่นคือครูได้กระทำตนให้เป็นที่เจริญน่ายกย่องของศิษย์และบุคคลทั่วไป  มีความรู้และภูมิปัญญาอย่างแท้จริง  มีคุณธรรมควรแก่การกราบไหว้บูชาเสมอ เปิดรับความรู้ใหม่ ๆ เชื่อกฎแห่งกรรม เป็นผู้รักษาศีล  และควบคุมจิตด้วยสมาธิ

4. วัตตา – มีระเบียบแบบแผน ครูต้องเคารพกฎระเบียบ และ มีระเบียบแบบแผน  พร้อมทั้งอบรมตักเตือนศิษย์ให้เป็นผู้มีระเบียบวินัยด้วย

5. วจนักขโม – อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะให้คำปรึกษา คำวิจารณ์ โดยไม่เหนื่อยหน่าย หรือ ไม่ขึ้งโกรธ ครูจะต้องอดทนต่อคำพูดของศิษย์ที่มากระทบความรู้สึก  และพร้อมรับฟังข้อซักถาม ให้คำปรึกษาหารือ  แนะนำ  ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว

6. คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา – แถลงเรื่องได้อย่างลึกซึ้ง สามารถอธิบายเรื่องที่เข้าใจยากให้เข้าใจได้โดยง่าย ทำให้ผู้ไต่ถามเรียนรู้ได้ลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อย ๆ นั่นคือครูจะต้องมีความสามารถในการสอน  และอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างแจ่มแจ้ง มีความรอบรู้ในเรื่องที่สอน

7. โน จัฏฐาเน นิโยชเย – ไม่ชักนำไปในทางเสื่อมเสีย หรือ ไม่นำเรื่องเหลวไหลมากล่าวแนะนำ ครูที่ดีย่อมไม่ชักนำศิษย์ไปในทางต่ำทรามหรือเสื่อมโทรมทางจิตใจ พร้อมกันนั้นครูก็ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอบายมุขทั้งปวงอีกด้วย


@@@@@@

เหล่านี้คือ คุณลักษณะที่ครูที่ดีสมควรมี


Photo by NeONBRAND on Unsplash
Secret Magazine (Thailand)
ขอบคุณที่มา : http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/103658.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2018, 09:38:09 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ