ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น เป็นทางปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์  (อ่าน 1230 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น เป็นทางปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงถือใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือ กับใบที่บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน.? "

@@@@@

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบ ที่พระผู้มีพระภาคทรงถือ ด้วยฝ่าพระหัตถ์ มีประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า"

"ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก ก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้นิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก"

@@@@@

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์ ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นนั่นแล เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์"


อ้างอิง :-
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สีสปาปรรณวรรคที่ ๔ , สีสปาสูตร เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น

ขอบคุณภาพจากเฟซบุ้ค Nattunyarach Waiyanate
ขอบคุณที่มา : http://sitantara.50webs.com/suandham/bdham.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ