ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อำนาจนำ ผ่านสัญลักษณ์ “ไก่” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม  (อ่าน 1116 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ภาพไก่ สัญลักษณ์ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม


อำนาจนำ ผ่านสัญลักษณ์ “ไก่” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ความคิดเรื่องการสร้างชาติไทยให้เจริญเป็นอารยะนั้น นอกจากจะเน้นการปลุกกระแสชาตินิยมแล้ว ยังถูกสั่งสอนกล่อมเกลาให้เชื่อว่า ชาติไทยจะพัฒนาเป็นอารยะได้นั้น มีหนทางสำคัญคือ ทำตามคำสั่งหรือนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นสำคัญ คติพจน์ที่เป็นที่รู้จักดีของยุคคือ “เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย”

ภายใต้กระบวนการสร้างวาทกรรม “เชื่อผู้นำ” ดังกล่าว ในเชิงศิลปะได้มีการสร้างรูปสัญลักษณ์ใหม่บางอย่างขึ้น และอำนาจนำ ผ่านรูปสัญลักษณ์บางอย่าง สัญลักษณ์ที่ถูกเลือกขึ้นมาคือ “ไก่” เพราะ “ไก่” คือปีเกิดของจอมพล ป. พิบูลสงคราม


ตราประจำจังหวัดพิบูลสงคราม ออกแบบเป็นรูปไก่ เพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม จังหวัดพิบูลสงคราม คือ เมืองเสียมเรียบ ในกัมพูชา ซึ่งเมื่อ พ.ศ.2484 เมืองนี้ได้ถูกรวมเข้ามาอยู่ในดินแดนไทย อันเป็นผลมาจากสงครามอินโดจีนฝรั่งเศส


น่าพิจารณาอย่างยิ่งว่า สัญลักษณ์ “ไก่” ของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการออกแบบที่เสมือนว่าจะพยายามลอกเลียนตราสัญลักษณ์ “ครุฑ” ของกษัตริย์อยู่ในที (และบางส่วนดูเหมือนจะได้รับอิทธิพลจากอินทรีนาซี)

ปูนปั้นรูปหัวไก่ ประดับอยู่ตรงชายคารับพื่นระเบียงของอาคารภายในตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล สัฯฯิษฐานว่าได้รับการซ่อมแปลงเป็นรูปดังกล่าวสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี (ที่มา : หนังสือทำเนียบรัฐบาล)


ปูนปั้นรูปหัวไก่ ประดับอยู่ตรงชายคารับพื้นระเบียงของอาคารภายในตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล สันนิษฐานว่าได้รับการซ่อมแปลงเป็นรูปดังกล่าวสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี (ที่มา : หนังสือทำเนียบรัฐบาล)


“ไก่” ในยุคนี้ต้องถือว่าถูกสร้างสถานะและความหมายที่พิเศษมากกว่า “ไก่” ในทุกยุคสมัย สัญลักษณ์ “ไก่” ถูกนำไปสร้างขึ้นเป็นรูปปั้นตั้งอยู่ที่ลพบุรี ถูกนำไปแต่งเป็นเพลง ถูกนำไปเขียนเป็นรูป ถูกนำไปทำน้ำพุประดับทำเนียบสามัคคีชัย

และที่สำคัญ ถูกใช้เป็นองค์ประกอบลวดลายประดับชายคาในทำเนียบรัฐบาล ทั้งหมดนี้เพื่อสื่อแสดงถึงอำนาจและบารมีของจอมพล ป. พิบูลสงคราม



คัดมาบางส่วน จากบทความเรื่อง ศิลปะคณะราษฎร 2475-2490 เขียนโดย ชาตรี ประกิตนนทการ ในหนังสือ ศิลปะสถาปัตยกรรม คณะราษฎร สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์. สนพ.มติชน 2552
จากคอลัมน์ : สโมสรย่อย , เผยแพร่ : วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2561
ขอบคุณเว็บไซต์ : https://www.silpa-mag.com/club/miscellaneous/article_5151
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ