ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติหลวงปู่ดูลย์ อตุโล อริยสงฆ์ผู้เป็นบิดาแห่งการภาวนาจิต  (อ่าน 895 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ประวัติหลวงปู่ดูลย์ อตุโล อริยสงฆ์ผู้เป็นบิดาแห่งการภาวนาจิต


พระอริยสงฆ์ผู้ได้รับ ยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการภาวนาจิต” นั่นคือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระอาจารย์สายปฏิบัติผู้ล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว ทว่า ประวัติหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ทำให้เราเห็นปฏิปทาและวัตรปฏิบัติของท่านไม่เคยเลือนไปจากใจคนรุ่นหลัง หลักคำสอนที่ท่านเมตตาชี้แนะให้ผู้ฝึกภาวนาจิตได้น้อมนำมาปฏิบัติยังคงช่วยให้พุทธศาสนิกชนได้พ้นทุกข์ นับว่าหลวงปู่ดูลย์ยังมีบทบาทในการ สืบทอดพระศาสนา แม้สังขารจะล่วงไปเป็นเวลากว่าสามสิบปีแล้วก็ตาม

ประวัติชีวิตตลอด 96 ปีของหลวงปู่ดูลย์ประกอบไปด้วย เรื่องราวที่แสดงถึงความมั่นคงต่อพุทธศาสนาของพระสงฆ์รูปหนึ่ง ท่านประพฤติตามธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ใส่ใจปฏิบัติกิจภาวนา เพื่อพัฒนาจิตให้ขาวรอบปราศจากกิเลส รวมทั้งถ่ายทอดธรรมะ แก่ลูกศิษย์ลูกหาตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต

การศึกษาประวัติชีวิตของพระอริยสงฆ์ผู้ประพฤติธรรม เฉกเช่นหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จึงมีค่าประหนึ่งว่าได้ศึกษาธรรม อันจะสร้างกุศลและก่อให้เกิดปัญญาแก่ตัวผู้ศึกษาด้วยนั่นเอง

@@@@@@

ย้อนกลับไปกว่า 120 ปีก่อน หลวงปู่ดูลย์ พระสงฆ์ผู้ควร แก่การกราบไหว้รูปนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ ณ ดินแดนอีสานใต้ คือ ที่บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ ใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2431 หญิงชาวสุรินทร์คนหนึ่ง ได้ให้กำเนิดเด็กชายซึ่งเป็นบุตรคนที่สองของครอบครัว “ดีมาก” นายแดง ผู้เป็นบิดา และนางเงิม ผู้เป็นมารดา ตั้งชื่อให้เด็กชายว่า “ดูลย์ ดีมาก” ทั้งสองช่วยกันดูแลครอบครัวและลูก ๆ ซึ่งมีทั้งหมด 5 คนเป็นอย่างดี เด็กชายดูลย์เติบโตขึ้นบนแผ่นดินเกิด และได้รับ การศึกษาตามมาตรฐานของยุคสมัย คือได้เข้าเรียนในโรงเรียนวัด นอกจากได้ศึกษาวิชาทางโลกจนอ่านออกเขียนได้แล้ว พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เป็นครูยังผูกพ่วงวิชาศีลธรรม จริยธรรม และมารยาท เข้าไปในการเรียนการสอน รวมถึงการฝึกอบรมจิตใจให้ใฝ่ดีอีกด้วย

เมื่อเติบใหญ่เข้าสู่วัยหนุ่ม ครอบครัวดีมากก็ได้ลูกชายคนที่สอง คนนี้เป็นกำลังสำคัญ โดยนายดูลย์รับหน้าที่เป็นเรี่ยวแรงหลัก ของครอบครัวซึ่งประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ทั้งทำไร่ไถนา หว่านไถ เลี้ยงวัวควาย และภาระอื่น ๆ ในบ้าน เช่นการเลี้ยงดูน้อง เล็ก ๆ สามคน รวมทั้งช่วยพี่สาวทำงานบ้าน เขาก็ทำโดยไม่เกี่ยงงอน ไม่ว่าจะหุงข้าว หาบน้ำ นายดูลย์ก็ช่วยงานอย่างเต็มใจ ด้วยอุปนิสัย หนักเอาเบาสู้จึงช่วยแบ่งเบาการงานได้มาก เด็กหนุ่มดำรงตนเป็นลูก ที่ดีของพ่อแม่ เป็นน้องที่ดีของพี่สาว และเป็นพี่ชายที่ดีของน้อง ๆ มาตลอดวัยหนุ่ม

@@@@@@

แต่สภาพสังคมเมื่อร้อยกว่าปีก่อนนั้นผิดจากปัจจุบันอย่าง สิ้นเชิง ในสมัยนั้นจังหวัดสุรินทร์ซึ่งมีเขตแดนติดกับประเทศกัมพูชา ไม่ใคร่สงบสุขนัก เนื่องจากยังคงมีกรณีพิพาทบริเวณชายแดน ทำให้เกิดการเปลี่ยนเจ้าเมืองอยู่บ่อย ๆ และการเดินทางมาปกครอง เมืองสุรินทร์ของเจ้าเมืองคนหนึ่งก็ได้เข้ามาเปลี่ยนชีวิตของนายดูลย์ ที่คุ้นเคยกับท้องไร่ท้องนาให้หันเหไปอยู่ในโรงละคร จนมีโอกาส ได้พิจารณาความเป็นไปของโลกผ่านการแสดงนั่นเอง

หากพิจารณานอกเหนือจากความประพฤติที่เรียบร้อยเอาการ เอางานทั้งในบ้านและในท้องนา นายดูลย์จัดว่าเป็นคนหนุ่มที่เกิด มาพร้อมกับรูปทรัพย์ ไม่เพียงมีรูปร่างสมส่วน สูงโปร่ง ผิวพรรณสะอาดสะอ้านผ่องใสผิดจากชาวนาชาวไร่ทั่วไป หนุ่มน้อยยังมี กิริยากระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว ไม่เฉื่อยชา ทว่าก็มีความสุขุม อ่อนโยนด้วย จึงเป็นที่ชื่นชมของญาติ ๆ และชาวบ้านที่คบหาสมาคม กันเป็นอย่างมาก

@@@@@@

วันหนึ่ง คำเล่าขานเรื่องรูปสมบัติและคุณสมบัติที่โดดเด่น กว่าหนุ่มชาวนาของนายดูลย์แว่วไปถึงหูพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) เจ้าเมืองสุรินทร์ในสมัยนั้น ท่านจึงมีบัญชาให้ นายดูลย์มาร่วมเล่นละครนอก ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้คนในสมัยนั้น เป็นอย่างมาก

นายดูลย์มักได้รับบทเป็นนางเอกเสมอ ความสามารถ ทางการแสดงของเด็กหนุ่มเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านจำนวนมาก หากต้องการก้าวหน้าในอาชีพนักแสดงก็เป็นเรื่องที่ไม่เหลือบ่ากว่าแรง แต่อย่างใด เพราะขณะนั้นนายดูลย์อยู่ในฐานะนักแสดงที่มีชื่อเสียง และได้รับการสนับสนุนจากผู้ชมอย่างล้นหลามเลยทีเดียว


ตลอดระยะเวลาสี่ปีที่คลุกคลีอยู่ในวงการละคร นายดูลย์ มีโอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าในอาชีพอย่างเต็มที่ และเป็นครั้งแรก ที่คนหนุ่มอายุน้อยได้เดินทางออกจากบ้านเกิดไปยังบางกอกเพื่อ ซื้อหาอุปกรณ์การแต่งกายสำหรับใช้ในการแสดง การเดินทางไกล ในสมัยนั้นต้องแรมรอนอยู่บนหลังช้างถึง 4 วัน 4 คืน เมื่อถึง เมืองโคราชแล้วยังต้องนั่งรถไฟต่ออีก 1 วันเต็ม ๆ แม้จะค่อนข้าง ลำบากลำบน แต่นับเป็นโอกาสพิเศษที่เด็กหนุ่มได้เข้าไปเห็นเมือง หลวงซึ่งคนทั่วไปในสมัยนั้นแทบไม่มีโอกาสได้สัมผัส

อย่างไรก็ตาม ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขที่ได้รับ ตลอด 4 ปีบนเวทีการแสดง ไม่อาจชักจูงจิตใจของนายดูลย์ให้ ลุ่มหลงไปกับสภาพแวดล้อมอันน่าปรารถนานั้นแต่อย่างใด หนุ่ม น้อยผู้มีความสุขุมสำรวมในจิตสวมบทบาทเป็นตัวละครต่าง ๆ ประหนึ่งเป็นเพียงหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่เมื่อถอดเครื่องทรง ทั้งหลายออก ก็สามารถละวางความสนุกเพลิดเพลินประดามีออก จากจิตได้ราวกับถอดเครื่องทรงกระนั้น


@@@@@@

คงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า นายดูลย์มีสายตาของผู้มีปัญญา เห็นการปรุงแต่งของความสวยงามน่ารักใคร่เหล่านั้น จึงไม่ได้ยึดติด ในมายาภาพใด ๆ เลย

อุปนิสัยสงบเยือกเย็นของนายดูลย์น่าจะมีที่มาจากปู่ที่บวช เป็นพระและเป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่ง ส่งผลให้ผู้เป็นหลานชาย ซึมซับอุปนิสัยของนักบวช ระวังกิริยาอาการ สุขุมสำรวมไม่ประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่คึกคะนองอย่างคนหนุ่มทั่วไป นิสัยใจคอเยือกเย็น เกรงกลัวต่อการทำบาป และมีจิตที่ใฝ่ไปใน ทางตรงข้ามกับโรงละคร นั่นคือใฝ่ในความสงบวิเวก และมีความ ปรารถนาที่จะบวชอยู่เสมอ

เสียงดนตรีปี่พาทย์อันครึกครื้นในโรงละครอาจทำให้ใครต่อใคร สนุกสนานเพลิดเพลิน แต่สำหรับนักแสดงชายที่รับบทบาทโดดเด่น คนหนึ่ง เขากลับถวิลหาความสงบวิเวกในโบสถ์วิหารมากกว่าสิ่งใด นายดูลย์จึงตัดสินใจบอกความประสงค์ของตนแก่บิดามารดา ในวันหนึ่ง…

@@@@@@

ทว่าความปรารถนาที่จะก้าวเข้าสู่ดินแดนพุทธธรรมกลับ ได้รับการปฏิเสธในตอนแรก เนื่องจากเวลานั้ นครอบครัวยั งต้องพึ่งพานายดูลย์เป็นหลัก เพราะเป็นบุตรชายคนโตของบ้าน เป็นเรี่ยวแรง สำคัญในเรือกสวนไร่นา ตลอดจนเป็นผู้หารายได้จุนเจือครอบครัว จากอาชีพนักแสดง แต่ด้วยความมุ่งมั่นในทางธรรม ท่านจึงมิได้ หวั่นไหว แม้บิดามารดาจะทัดทาน แต่นายดูลย์ยังคงปรารภเรื่อง การบวชเรียนอยู่ไม่เคยขาด ในที่สุดเมื่ออายุ 22 ปี บิดามารดา ก็เห็นในความตั้งใจดีของลูกชาย จึงอนุญาตให้บวชได้ตามความ ปรารถนา โดยได้รับอุปการะจากตระกูลท่านเจ้าเมืองสุรินทร์ช่วย จัดพิธีอุปสมบทตามประเพณี ณ พัทธสีมาวัดจุมพลสุทธาวาส ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ พระอุปัชฌาย์คือ พระครูวิมลศีลพรต (ทอง)

เมื่อปลงผมห่มจีวร ก้าวเข้าสู่ร่มเงาพุทธศาสนา ความเป็น “นายดูลย์ ดีมาก” ชายหนุ่มรูปงามผู้โลดแล่นอยู่ในโรงละคร ก็สูญสิ้นลง คงเหลือแต่เพียงพระสงฆ์บวชใหม่ผู้ได้รับฉายาว่า “อตุโล” แปลว่า ไม่มีใดเทียม ที่จะมุ่งมั่นขัดเกลากิเลสอยู่บน ครรลองที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอนไว้สืบต่อไป

 

ข้อมูลจากหนังสือ หลวงปู่ดูลย์ สำนักพิมพ์ Amarin Dhamma
ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/138429.html
By nintara1991 ,4 February 2019
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 05, 2019, 06:37:51 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ