ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิมุตตายตนสูตร : ปัจจัยให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรม  (อ่าน 2998 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 


วิมุตตายตนสูตร : ปัจจัยให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรม

เหตุปัจจัยให้ได้บรรลุมรรค ผล พระนิพพานได้ ดังที่กล่าวไว้ในวิมุตตายตนสูตร ซึ่งปรารภเหตุที่บุคคลจะได้บรรลุสามัญญผลนั้น มี ๕ ประการ คือ
     ๑. บรรลุในขณะที่ฟังธรรม
     ๒. บรรลุในขณะที่แสดงธรรม
     ๓. บรรลุในขณะที่สาธยายธรรม
     ๔. บรรลุในขณะที่พิจารณาธรรม
     ๕. บรรลุด้วยอำนาจของสมาธิ

เหตุทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้บรรลุอริยมรรคอริยผล นับตั้งแต่ขั้นพระโสดาบันขึ้นไปจนถึงขั้นพระอรหันต์ได้


@@@@@@@

๑. บรรลุในขณะที่ฟังธรรม

การแสดงธรรม(อริยสัจ ๔) แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถ (รู้ความหมาย) รู้แจ้งธรรมในธรรม(รู้พระพุทธพจน์) นั้น ตามที่ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปแสดง แก่เธอ
    ▪ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
    ▪ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
    ▪ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
    ▪ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข
    ▪ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการที่ ๑. ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ กายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๒. บรรลุในขณะที่แสดงธรรม

การแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียน มาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตาม ที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย พิสดาร
     ▪ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
     ▪ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
     ▪ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
     ▪ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข
     ▪ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการที่ ๒. ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ หรือเธอย่อม บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๓. บรรลุในขณะที่สาธยายธรรม

การสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตน ได้เรียนมาโดยพิสดาร
     ▪ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
     ▪ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
     ▪ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
     ▪ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข
     ▪ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

นี้เป็นเหตุแห่ง วิมุตติประการที่ ๓. ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ เพียร ฯลฯ หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๔. บรรลุในขณะที่พิจารณาธรรม

การตรึกตามตรองตามเพ่ง ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา เธอรู้ แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่ง ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา
     ▪ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
     ▪ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
     ▪ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
     ▪ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข
     ▪ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการที่ ๔. ซึ่งเป็น เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๕. บรรลุด้วยอำนาจของสมาธิ

เธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่ เธอได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา
     ▪ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
     ▪ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
     ▪ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
     ▪ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข
     ▪ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการที่ ๕. ซึ่งเป็น เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

@@@@@@@

ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

         วิมุตตายตนสูตรที่ ๖ จบ



ขอบคุณที่มา : https://sites.google.com/site/theholydhammacity/bliss-of-freedom
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ