
ความสำเร็จ ๓ หมวดคืออามิสทาน อภัยทานและธรรมทาน
ด้วย ๓ หมวดคือ ทาน ศีลและปัญญา ด้วยประการฉะนี้แล.
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.3&i=36&p=6อันนี้อามิสทานอีก
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.3&i=36&p=5การทำความอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายโดยส่วนมากด้วยการสละเครื่อง
อุปกรณ์ความสุข ร่างกายและชีวิตด้วยการกำจัดภัย และ การชี้แจงธรรมเป็นข้อ
ปฏิบัติของทานบารมี.
ในทานบารมีนั้นมีทาน ๓ อย่าง โดยเป็นวัตถุที่ควรให้ คือ อามิสทาน
๑ อภัยทาน ๑ ธรรมทาน ๑.
1. อามิสทาน
ในทานเหล่านั้น วัตถุที่พระโพธิสัตว์ควรให้มี ๒ อย่าง คือ วัตถุภายใน
๑ วัตถุภายนอก ๑.
1.1.
ใน ๒ อย่างนั้น วัตถุภายนอกมี ๑๐ อย่าง คือ ข้าว ๑ น้ำ ๑ ผ้า ๑ ยาน
๑ ดอกไม้ ๑ ของหอม ๑ เครื่องลูบไล้ ๑ ที่นอน ๑ ที่อาศัย ๑ ประทีป ๑.
บรรดาวัตถุมีข้าวเป็นต้น มีวัตถุหลายอย่าง โดยจำแนกของควรเคี้ยว
และของควรบริโภคเป็นต้น.
อนึ่ง วัตถุ ๖ อย่าง คือรูปารมณ์จนถึงธรรมารมณ์.
อนึ่ง บรรดาวัตถุมีรูปารมณ์เป็นต้น วัตถุหลายอย่าง โดยการจำแนกเป็น
สีเขียวเป็นต้น.
อนึ่ง วัตถุหลายอย่าง ด้วยเครื่องอุปกรณ์อันทำความปลาบปลื้มหลาย
ชนิด มีแก้วมณี กนก เงิน มุกดา ประพาฬ นา ไร่ สวน ทาสหญิง ทาสชาย โค
กระบือเป็นต้น.
ในวัตถุเหล่านั้น พระมหาบุรุษ เมื่อจะให้วัตถุภายนอกรู้ด้วยตนเองว่า จะ
ให้วัตถุแก่ผู้มีความต้องการ. แม้เขาไม่ขอก็ให้ ไม่ต้องพูดถึงขอละ. มีของให้จึง
ให้. ไม่มีของให้ย่อมไม่ให้. ให้สิ่งที่ปรารถนา. เมื่อมีไทยธรรมย่อมไม่ให้สิ่งที่
ไม่ปรารถนา. อาศัยอุปการะตอบย่อมให้. เมื่อไม่มีไทยธรรมย่อมแบ่งสิ่งที่
ปรารถนาให้สมควรแก่การแจกจ่าย.
อนึ่ง ไม่ให้ศัตรายาพิษและของเมาเป็นต้น อันจะนำมาซึ่งความเบียด
เบียนผู้อื่น. แม้ของเล่นอันประกอบด้วยความพินาศ และนำมาซึ่งความประมาท
ก็ไม่ให้.
อนึ่ง ไม่ให้ของไม่เป็นที่สบาย มีน้ำดื่มและของบริโภคเป็นต้น หรือของ
ที่เว้นจากการกำหนดแก่ผู้ขอที่เป็นไข้. แต่ให้ของเป็นที่สบายเท่านั้นอันสมควร
แก่ประมาณ.
อนึ่ง คฤหัสถ์ขอก็ให้ของสมควรแก่คฤหัสถ์. บรรพชิตขอก็ให้ของ
สมควรแก่บรรพชิต. ให้ไม่ให้เกิดความเบียดเบียนแก่ใครๆ ในบรรดาบุคคลเหล่า
นี้ คือ มารดาบิดา ญาติสาโลหิต มิตรอำมาตย์ บุตรภรรยา ทาสและกรรมกร.
อนึ่ง รู้ไทยธรรมดีมาก ไม่ให้ของเศร้าหมอง.
อนึ่ง ไม่ให้อาศัยลาภสักการะความสรรเสริญ. ไม่ให้อาศัยการตอบ
แทน. ไม่ให้หวังผลเว้นแต่สัมมาสัมโพธิญาณ. ไม่ให้รังเกียจผู้ขอหรือไทยธรรม.
อนึ่ง ไม่ให้ทานทอดทิ้ง ยาจกผู้ไม่สำรวม แม้ผู้ด่าและผู้โกรธ. ที่แท้มี
จิตเลื่อมใสให้อนุเคราะห์ด้วยความเคารพอย่างเดียว. ไม่ให้เพราะเชื่อมงคลตื่น
ข่าว. ให้เพราะเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมเท่านั้น. ไม่ให้โดยที่ทำยาจกให้เศร้า
หมองด้วยการให้เข้าไปนั่งใกล้เป็นต้น. ให้ไม่ทำให้ยาจกเศร้าหมอง.
อนึ่ง ไม่ให้ประสงค์จะลวงหรือประสงค์จะทำลายผู้อื่น. ให้มีจิตไม่เศร้า
หมองอย่างเดียว. ไม่ให้ทานใช้วาจาหยาบ หน้านิ่วคิ้วขมวด. ให้พูดน่ารัก พูด
ก่อน พูดพอประมาณ. โลภะมีมากในไทยธรรมใด เพราะความพอใจยิ่งก็ดี
เพราะสะสมมานานก็ดี เพราะความอยากตามสภาพก็ดี. พระโพธิสัตว์รู้อยู่
บรรเทาไทยธรรมนั้นโดยเร็ว แล้วแสวงหายาจกให้.
อนึ่ง ไทยวัตถุใดนิดหน่อย แม้ยาจกก็ปรากฏแล้ว แม้ไม่คิดถึงไทยวัตถุ
นั้น ก็ทำตนให้ลำบาก แล้วให้ยาจกนับถือเหมือนอกิตติบัณฑิต ฉะนั้น.
อนึ่ง มหาบุรุษ เมื่อบุตรภรรยา ทาสกรรมกร บุรุษของตน ไม่ร้องเรียกถึง
ความโทมนัสขอ ย่อมไม่ให้แก่ยาจกทั้งหลาย. แต่เมื่อชนเหล่านั้นร้องเรียกถึง
ความโสมนัสโดยชอบ จึงให้.
อนึ่ง เมื่อให้รู้อยู่ย่อมไม่ให้แก่ยักษ์ รากษส ปีศาจเป็นต้น หรือแก่
มนุษย์ผู้ทำการงานหยาบช้า.
อนึ่ง แม้ราชสมบัติก็ไม่ให้แก่คนเช่นนั้น. ให้แก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติเพื่อความ
ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เพื่อความพินาศแก่โลกผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม คุ้มครอง
โลกโดยธรรม.
พึงทราบการปฏิบัติในทานภายนอกด้วยประการฉะนี้.
1.2.
ส่วนทานภายในพึงทราบโดยอาการ ๒ อย่าง.
อย่างไร?
เหมือนบุรุษคนใดคนหนึ่งสละตน เพราะเหตุอาหารและเครื่องปกปิดแก่
ผู้อื่น. ย่อมถึงความเป็นผู้เชื่อฟัง ความเป็นทาสฉันใด. พระมหาบุรุษก็ฉันนั้น
เหมือนกัน มีจิตปราศจากอามิสเพราะเหตุสัมโพธิญาณ ปรารถนาประโยชน์สุข
อันยอดเยี่ยมแก่สัตว์ทั้งหลาย ประสงค์จะบำเพ็ญทานบารมีของตน จึงสละตน
เพื่อคนอื่น ย่อมถึงความเป็นผู้เชื่อฟัง ความเป็นผู้ต้องทำตามความประสงค์.
ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้ มอบอวัยวะน้อยใหญ่มีมือเท้าและนัยน์ตาเป็นต้นให้แก่
ผู้ต้องการด้วยอวัยวะ นั้นๆ. ไม่ข้องใจ ไม่ถึงความสยิ้วหน้า ในการมอบให้นั้น
เหมือนในวัตถุภายนอก.
เป็นความจริงอย่างนั้น พระมหาบุรุษยังความปรารถนาของยาจกเหล่า
นั้นให้บริบูรณ์ ด้วยการบริโภคตามสบาย หรือด้วยความชำนาญของตน จึงสละ
วัตถุภายนอกด้วยอาการ ๒ อย่าง ด้วยหวังว่า เราให้ทานหมดสิ้นแล้วจักบรรลุ
สัมโพธิญาณด้วยการเสียสละอย่างนี้ดังนี้.
พึงทราบการปฏิบัติในวัตถุภายใน ด้วยประการฉะนี้.
ให้วัตถุภายในที่ให้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ยาจก โดยส่วนเดียว
เท่านั้น. ใช่จะให้พวกนั้น.
อนึ่ง พระมหาบุรุษ เมื่อรู้ย่อมไม่ให้อัตภาพหรืออวัยวะน้อยใหญ่ของตน
แก่มารหรือแก่เทวดาผู้ เนื่องด้วยหมู่มาร ผู้ประสงค์จะเบียดเบียน ด้วยคิดว่า
ความ ship หายอย่าได้มีแก่มารเหล่านั้น. ย่อมไม่ให้แม้แต่ตุ๊กตาแป้ง เหมือนไม่
ให้แก่เทวดาผู้เนื่องด้วยหมู่มาร ฉะนั้น. ไม่ให้แม้แก่คนบ้า. แต่คนพวกนั้นขอให้
ตลอดไป เพราะการขอเช่นนั้นหาได้ยาก และเพราะการให้เช่นนั้นทำได้ยาก.
2. อภัยทาน
ส่วนอภัยทาน พึงทราบโดยความป้องกันจากภัยที่ปรากฏแก่สัตว์ทั้ง
หลาย จากพระราชา โจร ไฟ น้ำ ศัตรู สัตว์ร้ายมีราชสีห์ เสือโคร่งเป็นต้น.
3. ธรรมทาน
ส่วนธรรมทาน ได้แก่การแสดงธรรมไม่วิปริตแก่ผู้มีจิตไม่เศร้าหมอง.
การชี้แจงประโยชน์อันสมควร นำผู้ยังไม่เข้าถึงศาสนาให้เข้าถึง ผู้เข้า
ถึงแล้วให้เจริญงอกงาม ด้วยทิฏฐธรรมิกประโยชน์ สัมปรายิกและปรมัต-
ถประโยชน์.
ในการแสดงธรรมนั้น พึงทราบนัยโดยสังเขปดังนี้ก่อน คือ ทานกถา ศีล
กถา สัคคกถา โทษและความเศร้าหมองของกามและอานิสงส์ในการออกจากกาม.
ส่วนโดยพิสดาร พึงทราบประดิษฐานและการทำให้ผ่องแผ้วในธรรม
นั้นๆ ตามสมควร ด้วยสามารถการประกาศคุณของธรรมเหล่านั้นแก่ผู้มีจิตน้อมไป
แล้วในสาวกโพธิญาณ คือ การเข้าถึงสรณะ การสำรวมศีล ความคุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย ความรู้จักประมาณในการบริโภค การประกอบความเพียร
เนืองๆ สัทธรรม ๗ การประกอบสมถะ ด้วยการทำกรรมในอารมณ์ ๓๘
การประกอบวิปัสสนา ด้วยหัวข้อคือการยึดมั่นตามสมควรในการยึดมั่นวิปัสสนา
ในรูปกายเป็นต้น.
ปฏิปทาเพื่อความหมดจดอย่างนั้น การยึดถือความถูกต้อง วิชชา ๓
อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทา ๔ สาวกโพธิญาณ.
อนึ่ง พึงทราบการประดิษฐาน การทำให้ผ่องแผ้วในญาณทั้งสอง ด้วย
การประกาศความเป็นผู้มีอานุภาพมาก ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ในฐานะแม้ ๓
อย่าง โดยหัวข้อประกาศมิสภาวะ ลักษณะและรสเป็นต้นของบารมีมีทานบารมี
เป็นต้น ตามสมควรแก่สัตว์ทั้งหลายผู้น้อมไปในปัจเจกโพธิญาณ และในสัมมา
สัมโพธิญาณ.
พระมหาบุรุษย่อมให้ธรรมทานแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
ที่มา.. อรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก สโมธานกถา