เวทนาที่ไม่ได้หมายถึงแค่ความรู้สึก
เวทนา 3 (การเสวยอารมณ์, ความรู้สึกรสของอารมณ์ — feeling; sensation)
1. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม — pleasant feeling; pleasure)
2. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม — painful feeling pain)
3. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา — neither- pleasant-nor-painful feeling; indifferent feeling)
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=111เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ — feeling)
1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=112ใน พระพุทธศาสนา เวทนาซึ่งเป็นเวทนาขันธ์ไม่ได้แปลว่าความรู้สึกเท่านั้น บางทีเราอาจได้เคยพูดว่าอืมสัตว์ตัวนี้น่าเวทนาจัง โอน่าเวทนาบ้าง เป็นต้น เวทนาไม่ได้หมายความถึงความรู้สึกแบบนั้น เวทนา 3 หมายถึงความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ และเฉย ๆ (คือไม่สุขไม่ทุกข์) ถ้าเป็นเวทนา 5 ก็คือความรู้สึกสุขใจ (โสมนัส (อ่านโสม-มะนัส)) ความรู้สึกทุกข์ใจ (โทมนัส (อ่านโทม-มะ-นัส) สุขกาย (คือสบายกาย) ก็คือแยกความสุข และความทุกข์เป็นความสุขทางกาย ความสุขทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความทุกข์ทางใจ เพิ่มขึ้นอีกสองรวมกับอุเบกขา หรืออทุกขมสุขเวทนา (อ่าน อะ-ทุก-ขะ-มะ-สุข) ก็เป็นเวทนา 5
เมื่อตอนสุขกาย สุขใจเราก็ต้องพึงพอใจความรู้สึกจึงเป็นสุขเป็นโสมนัส ตอนที่ทำบุญทำกุศลเป็นไปได้ที่เราจะสุขใจแต่ก็อาจเป็นไปได้ที่เราเกิดความ รู้สึกเฉย ๆ หรือตอนทำอกุศลจะทราบหรือไม่ทราบก็ตามอาจความโทมนัสเพราะอกุศลเป็นเครื่อง เศร้าหมอง เรื่องของความทุกข์กาย บางคนอาจไปปนกับทุกขสัจจ (ในอริยสัจ 4) เช่นเข้าใจไปว่าการทุกข์กายเป็นทุกขัง ทั้งที่ทุกข์กายเป็นเรื่องเวทนา เป็นความไม่สบายทางกาย เป็นเรื่องความรู้สึกเจ็บปวดทางกาย
วัน ๆ หนึ่งเราไม่ค่อยได้สังเกตุเรื่องเวทนา เรามีความสุขกายสุขใจจากได้กินของอร่อย ได้ซื้อของที่อยากได้แล้วมีความสุข ได้เห็นสิ่งที่สวยงามก็ชื่นชม ได้ยินเพลงที่ไพเราะก็ชอบใจร้องตาม ได้กลิ่นน้ำหอมที่ฉีดก็รู้สึกดี เข้ามาอยู่ในห้องแอร์หลังจากอยู่ในที่รู้สึกร้อนก็ชื่นใจ เหล่านี้เป็นความสุขกาย สุขใจ ในทางตรงกันข้าม ตั้งใจสั่งของอร่อยมากินปรากฏกินเข้าไปแล้วไม่ถูกปาก หรืออาหารที่กินไม่ถูกฝาก ได้เห็นสิ่งที่ไม่น่าสวยงามเช่น เห็นอุบัติเหตุเกิดขึ้นต่อหน้า หรือเห็นสัตว์พิการเดินผ่านแล้วสลดหดหู่ ได้กลิ่นขยะลอยเข้าจมูกแล้วไม่พอใจ ต้องอยู่ในห้องที่เรารู้สึกว่าเย็นไปร้อนไป เหล่านี้ก็เกิดความทุกข์กาย ทุกข์ใจ นี่เป็นเรื่องของเวทนา ถ้าสังเกตุได้เวทนาทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น ได้ลิ้มรส มีการกระทบสัมผัสกาย (ทำให้เกิดความรู้สึกเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว (อาการเคลื่อนไหวของร่างกาย)
ลองคิดย้อน หลังดูครับ เคยได้ทำกุศลอะไรที่ทำให้เกิดโสมนัสมาก ๆ หรือไม่ ทำให้เกิดความรู้สึกอิ่มเอมใจ หรือถึงขนาดทำให้เกิดปิติขนาดขนลุกชูชัน เคยทำอกุศลมาหรือไม่ เช่นโกรธ เวลาโกรธคนอื่นรู้สึกถึงโทมนัสหรือไม่ ความขุ่นเขือง โกรธมากจนตัวสั่น เหล่านี้เป็นโสมนัส หรือโทมนัสที่รุนแรง ปรากฏอย่างชัดแจ้ง แต่ส่วนมากเราจะไม่ค่อยรู้สึกเพราะเป็นกุศล หรืออกุศลทั่ว ๆ ไป ความรู้สึกที่เกิดไม่ได้ปรากฏชัดแจ้งทำให้ยากต่อการระลึกถึง
ลองคิด ดูนะครับวันหนึ่ง ๆ เราเกิดเวทนาอะไรมากที่สุด สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเทเวทนา ลองระลึกเกี่ยวกับความรู้สึกของเรานี่แหละ เราใช้ชีวิตผ่านไปวันหนึ่ง ๆ โดยไม่ทราบเลยว่าเวทนาที่เกิดขึ้นคืออะไร คงเกิดคำถามเราจะรู้ไปทำไมกันล่ะว่าเกิดเวทนาอะไรในวันหนึ่ง ๆ เวทนาเป็นเรื่องสำคัญ เวทนาเป็นหนึ่งในขันธ์ 5 เวทนาปัสสนาสติปัฏฐานเป็นหนึ่งในสติปัฎฐาน 4 การศึกษาและปฏิบัติศาสนาพุทธคือ การมีสติเข้าใจ สามารถแยกสิ่งที่เราไม่รู้ให้เป็นสิ่งที่รู้ เพื่อให้เราสามารถทราบถึงสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏ เราท่านใช้ชีวิตอยู่วัน ๆ ทำกิจหน้าที่ การงานโดยเข้าใจว่าเราเป็นผู้ทำ เป็นตัวเป็นตน แท้จริงโลกที่ปรากฏถ้าได้ศึกษาและปฏิบัติจะทราบได้ว่าเป็นโลกที่ปรากฏเพียง ทางการเห็น การได้เห็น การได้กลิ่น การลิ้มรส การกระทบสัมผัส (เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว) ทั้งหมด 7 ทาง (ตา หู จมูก ลิ้น (สี่ทาง) กาย (อีกสามทาง) การศึกษาและปฏิบัติศาสนาพุทธเพื่อให้เราสามารถเปลี่ยนจากความไม่รู้ว่าสิ่ง ที่มีสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นโลกทุก ๆ วันนี้ ปรากฏกับเราก็เพราะเราคิดเหมารวมทุก ๆ อย่างที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมารวมว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้
เช่นเดียวกับเรื่องเวทนา ถ้าลองพิจารณาเวทนาที่เกิดขึ้น พิจารณาในขณะที่เกิด ลองพิจารณาดูว่าขณะนี้เกิดเวทนาอะไร ลองพิจารณาในขณะที่เกิด เป็นสุข (กาย ใจ) เป็นทุกข์ (กาย ใจ) หรือแค่เฉย ๆ
เรื่องที่เขียนมาและจะเขียนต่อ ไปก็วนเวียนอยู่แต่โลกที่เกิดจากการกระทบสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อยู่แค่นี้ แต่ทว่าต้องศึกษาและ ปฏิบัติกันไปชั่วชีวิต พระพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แค่นี้ พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ากว้างขวาง และเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันยิ่ง เช่นเวทนาที่กล่าวมาแล้ว เป็นเรื่องของเจตสิก ขันธ์ สติปัฎฐาน เป็นต้น เรียนเชิญท่านผู้สนใจค้นคว้าและปฏิบัติกันต่อไป ในชีวิตปัจจุบันนี้ ความรู้ทางพระพุทธศาสนาหาได้ไม่ยาก ขออย่างน้อยเมื่ออ่านก็ได้พิจารณาว่าความรู้ที่ได้มาเกี่ยวข้องการเรื่องการ ไม่โลภ อโลภะ (ทำแล้วไม่ต้องขออะไรให้ตนเอง) ไม่โกรธไม่ขุ่นเขืองใจ อโทสะ พ้นจากความไม่รู้ อโมหะ เราศึกษาและปฏิบัติไปเพื่อลด ละ เลิกกิเลสต่าง ๆ ถ้าไปทำอะไรที่เกิดความต้องการ (โลภะ) เช่นขอให้หายป่วย ขอให้โชคดี ขอให้ไม่โกรธ ขอให้สงบ ขอสารพัดขอ การศึกษาและปฏิบัติที่พ้นจากความขุ่นใจ ทำแล้วเกิดไม่สบายใจ (โทสะ) ก็ไม่ใช่การศึกษาและปฏิบัติที่ถูก การศึกษาและปฏิบัติก็เพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมะที่ปรากฏแต่ละอย่าง ๆ เมื่อเข้าใจแล้วก็ช่วยให้ลด ละ เลิก เปลี่ยนจากความที่ไม่เคยรู้มาก่อน (โมหะ) เป็นความที่ค่อย ๆ รู้ขึ้น เกิดปัญญาประจักษ์สภาพความเป็นจริง ไม่ต้องคอย ไม่ต้องหวัง ค่อย ๆ ศึกษาไป
ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=learning-learning&month=01-2011&date=06&group=1&gblog=6