ไม่สบายใจ ก็อย่าไปทำ สิคะ ง่าย ๆ ถ้าเกรงใจพระน้องชาย ก็ให้ท่านทำกันเองเถอะคะ

ตอบได้โดนใจจริงๆ

ผมมีบทความที่น่าสนใจมาฝากครับ
ถาม – การซื้อซอฟต์แวร์เถื่อน ถือว่าเราละเมิดศีลข้ออทินนาทานหรือไม่?
และ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นคืออะไรบ้างครับ?ถ้าเชื่อเสียอย่างว่าถูก ก็เป็นเรื่องยากที่ใครจะบอกว่าผิด และถ้าเชื่อเสียอย่างว่าผิด ก็เป็น
เรื่องยากที่ใครจะบอกว่าถูก แม้ว่าเกี่ยวกับกรณีนี้จะมีแง่มุมที่ซับซ้อน คลุมเครือ และเป็นสีเทา
มากกว่าดำสนิทหรือขาวสะอาดสำหรับฝ่ายผู้ซื้อ
ในที่นี้ขอออกตัวว่าผมตอบจากการเล็งไปที่พฤติของจิตและกรอบของศีลข้อ ๒ มิใช่มุมมอง
เชิงปรัชญาว่าด้วยการตัดสินอะไรดีอะไรชั่ว ซึ่งคิดไปได้หลายอย่าง หลายแนว สุดแท้แต่มุมมองของ
แต่ละคนการก่อกรรมว่าด้วยการผิดศีลข้ออทินนาทาน หรือพูดง่ายๆว่าลักขโมยของของผู้อื่นมาเป็น
ของตนโดยมิชอบ มิได้รับความยินยอมจากเจ้าของนั้น มีองค์ประกอบอย่างละเอียดคือ
๑) วัตถุมิใช่ของของตน เป็นของในกรรมสิทธิ์ครอบครองของผู้อื่น
๒) ใจรู้อยู่ว่าไม่ใช่ของของตน
๓) มีใจเล็งโลภอย่างแรงกล้าว่าจะเอามาเป็นของตน ทั้งรู้ว่าเจ้าของไม่ยินยอม
๔) มีความพยายามที่จะขโมย
๕) นำมาอยู่ในมือตนสำเร็จ หรือครอบครองในทางใดทางหนึ่ง เมื่อครบองค์ประกอบดังกล่าว ไม่ว่าเจ้าของเดิมจะเดือดร้อนหรือไม่เดือดร้อน เราก็ได้ชื่อว่า
ก่อกรรมข้ออทินนาทานเรียบร้อยแล้ว เป็นหัวขโมยแล้วครั้งหนึ่ง และจะเป็นหัวขโมยขนานแท้เมื่อ
ปราศจากความรู้สึกผิดอย่างสิ้นเชิง แต่อาจเป็นหัวขโมยสมัครเล่นที่ก่อกรรมอทินนาทานไม่หนัก
แน่นนัก
คราวนี้มาพิจารณาดูว่าขณะจิตที่คิดซื้อซีดีเถื่อนนั้นเป็นอย่างไรเมื่อเทียบเคียงกับ ๕ ข้อข้างต้น
๑) วัตถุเป็นของของพ่อค้าซีดีเถื่อน
๒) ใจเรารู้อยู่ว่าเป็นของของพ่อค้า แต่ขณะเดียวกันก็ทราบว่าเขาได้มาโดยมิชอบ เจ้าของ
กรรมสิทธิ์ที่แท้จริงไม่เต็มใจให้นำมาขาย
๓) มีใจคิดจ่ายเงินแลกของของพ่อค้าซีดีเถื่อนมาโดยชอบธรรม
๔) ไม่ได้มีความพยายามขโมยของของพ่อค้าซีดีเถื่อน แต่หลีกเลี่ยงที่จะซื้อสินค้าจากผู้ผลิต
(มีกรณีแยกย่อยอีก คือสินค้าไม่อาจหาได้จากทางอื่นแม้สั่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต เช่นนั้นก็อาจอ้างได้
ว่าไม่ใช่เป็นการหลีกเลี่ยง แต่เป็นการจำใจ ซึ่งน้ำหนักอกุศลก็จะลดลง)
๕) นำซีดีของพ่อค้าเถื่อนมาอยู่ในครอบครอง และไม่คิดซื้อของถูกลิขสิทธิ์จากองค์ประกอบข้างต้นนั้น ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจ หัวขโมยตัวจริง
คือพ่อค้าซีดีเถื่อน ส่วนผู้ซื้อซีดีเถื่อนไม่ผิดศีล เพราะซื้อของจากมือพ่อค้า แต่ถ้ามองว่าพ่อค้าเป็น
โจรปล้นลิขสิทธิ์ ผู้ซื้อก็หนีไม่พ้นฐานะรับซื้อของโจร
นอกจากนี้ยังมีกรณีแยกย่อยอีก ถ้ามีการไรต์ซีดีไว้แล้ว คุณเห็นอยู่แล้วว่ามีการก๊อป
เรียบร้อย คุณไปซื้อมาก็ถือว่าไม่ได้ทำผิดศีล ทำนองเดียวกับที่ซื้อเนื้อจากตลาด สัตว์ตายแล้ว คุณก็
ได้ชื่อว่าซื้อซากศพ เพราะก่อนหน้านี้ไม่ได้รู้เห็น ไม่ได้จ้างวานฆ่า ไม่ได้ชื่อว่ามือเปื้อนเลือด ไม่ได้
ชื่อว่าใจเปื้อนบาปข้อปาณาติบาตแต่ถ้ายังไม่มีการไรต์ซีดี ใจคุณรู้อยู่ว่าเขาจะต้องไปไรต์ซีดีตามสั่ง อย่างนี้ใจเรามีส่วนในการ
ร่วมขโมยกับเขาแล้วอย่างน้อยก็หนึ่งในสี่ เหมือนชี้ตัวกุ้งเป็นๆว่าเราจะเอาตัวนี้ ให้เขาจัดการไป
เชือดมาลงหม้อโป๊ะแตกให้เรา แม้เราไม่ฆ่าเองด้วยมือ ใจก็ได้ชื่อว่าแปดเปื้อนปาณาติบาต นี่ก็
เช่นเดียวกับการไรต์ซีดี แม้คุณไม่ได้เป็นคนกดปุ่มเอง แต่ก็ใช้ให้เขาไปกด ใจจึงได้ชื่อว่าแปดเปื้อน
อทินนาทานกับเขาด้วย
สำหรับผลของการซื้อซีดีเถื่อน ซึ่งถือเป็นการร่วมหัวรับซื้อของโจรด้วยกันทั้งประเทศ ถ้า
มองโดยภาพรวมก็คือจะส่งให้เป็นผู้ไปอยู่ในเขตที่ผู้คนไม่ค่อยริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่ค่อยอยากทำอะไร
ให้ถูกทำนองคลองธรรม พูดง่ายๆโอกาสเกิดในประเทศด้อยพัฒนามีสูง โดยเฉพาะถ้าใช้ของโดยไม่
รู้สึกเห็นใจผู้ผลิตซีดีตัวจริงเลย ไม่อุดหนุนในทางใดทางหนึ่งเลย ก็จะเกิดใหม่ในสิ่งแวดล้อมที่ผู้คน
ชอบลักกินขโมยกินด้านเทคโนโลยีอีก ให้คิดเองผลิตเองจะขี้เกียจ ไม่กล้าเป็นผู้นำในการค้นคว้าวิจัยกันปัจจุบันที่ยังมีคนพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ และมีค่ายเพลงทำเพลงออกมาป้อนตลาดไหวนั้น ก็
เพราะยังมีคนส่วนหนึ่งเต็มใจจ่ายให้ผู้ผลิต แต่เรื่องพวกนี้มีปัจจัยหยุมหยิมเยอะครับ เช่นที่ถกกัน
มากคือส่วนต่างของค่าเงินระหว่างประเทศนั้นสูงมาก ถ้าขายประเทศหนึ่งร้อยเหรียญ คนประเทศ
นั้นไม่ต้องควักกระเป๋าหนักนัก แต่ถ้ามาขายอีกประเทศหนึ่ง คนซื้อมีหวังกระเป๋าฉีกตามๆกัน นั่น
จึงเกิดข้ออ้างได้มากมายที่เหมือนจะสมเหตุสมผล
เอาเป็นสรุปท้ายคืออย่าตั้งความยินดีไว้กับการซื้อของเถื่อนก็แล้วกันครับ .
แต่ละครั้งที่ซื้อของเถื่อนแบบไม่เห็นใจเจ้าของตัวจริง คุณสร้างแนวโน้มได้ไปอยู่ในประเทศด้อยพัฒนา ประเทศที่ไม่ให้ความสำคัญกับผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไว้ในตัวแล้วอ้างอิง
หนังสือ เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัวเอง ๕ (ดังตฤณ)
จากเว็บดังตฤณ