ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ อันองค์ ๕ สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล  (อ่าน 2446 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29351
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


 


สัมมาทิฏฐิอันองค์ ๕ สนับสนุน

[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันองค์ ๕ สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์

องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
     ๑. ศีล
     ๒. สุตะ
     ๓. สากัจฉา
     ๔. สมถะ
     ๕. วิปัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิอันองค์ ๕ นี้แล สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์

_____________________________________
ที่มา : อนุคคหิตสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=25

@@@@@@@

พึงทราบวินิจฉัยในอนุคคหสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิขั้นวิปัสสนา.
ในบทว่า เจโตวิมุตฺติผลา เป็นต้น สมาธิขั้นมรรคผล ชื่อว่าเจโตวิมุตติ. ผลญาณ ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ.

บทว่า สีลานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันศีลสนับสนุนตามรักษา.
บทว่า สุตานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันพาหุสัจจะสนับสนุน.
บทว่า สากจฺฉานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันธรรมสากัจฉาสนับสนุน.
บทว่า สมถานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันเอกัคคตาจิตสนับสนุน.

แต่เพื่อให้ความนี้แจ่มแจ้ง พึงยกตัวอย่างบุรุษปลูกเมล็ดมะม่วงหวาน ปักเขตไว้โดยรอบรดน้ำตามเวลา ชำระรากตามเวลา นำสัตว์ที่ตกลงไปออกตามเวลา ดึงใยแมงมุมออกตามเวลา แล้วบำรุงมะม่วง.

     - สัมมาทิฏฐิขั้นวิปัสสนาพึงเห็น ดุจการปลูกเมล็ดมะม่วงหวานของบุรุษนั้น.
     - การที่ศีลสนับสนุนพึงเห็น ดุจการปักเขต
     - การที่สุตะสนับสนุน ดุจการรดน้ำ.
     - การที่การสนทนาธรรมสนับสนุน ก็ดุจการชำระราก.
     - การที่สมถะสนับสนุนด้วยการขจัดอันตรายของญาณและวิปัสสนา ดุจการนำสัตว์ออก.
     - การที่วิปัสสนามีกำลังสนับสนุน ก็ดุจการดึงใยแมงมุมออก.

ความที่สัมมาทิฏฐิมีมูลอันคุณมีศีลเป็นต้นเหล่านี้สนับสนุนแล้วจำเริญด้วยทิฏฐิเป็นมรรคแล้ว อำนวยซึ่งเจโตวิมุตติผลและปัญญาวิมุตติผลเร็วพลัน พึงเห็นดุจความที่ต้นไม้อันบุรุษอุดหนุนอย่างนี้เจริญงอกงามแล้วให้ผลเร็วพลัน.

___________________
ที่มา :  อรรถกถาอนุคคหสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=25






Thank to : dhamma.serichon.us/2022/02/27/สัมมาทิฏฐิอันองค์-๕-สนับ/
posted date : 27 กุมภาพันธ์ 2022 , By admin.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29351
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 :25: :25: :25:

๕. อนุคคหิตสูตร ว่าด้วยธรรมสนับสนุนสัมมาทิฏฐิ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ(๑-) อันองค์ ๕ สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติ(๒-) เป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติ(๓-) เป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
                                                             
       องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
       ๑. ศีล(๔-)      
       ๒. สุตะ(๕-)
       ๓. สากัจฉา(๖-)   
       ๔. สมถะ(๗-)
       ๕. วิปัสสนา(๘-)

ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิอันองค์ ๕ นี้แล สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์

          อนุคคหิตสูตรที่ ๕ จบ


เชิงอรรถ :-

@๑. สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึง วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ แต่ในอรรถกถามัชฌิมนิกายอธิบายว่าหมายถึงอรหัตตมัคค-
@สัมมาทิฏฐิ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๕/๗ , องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๙)
@๒. เจโตวิมุตติ ในที่นี้หมายถึง มัคคสมาธิและผลสมาธิ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒ , องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๕/๗)
@๓. ปัญญาวิมุตติ ในที่นี้หมายถึง ผลญาณ ได้แก่ ผลปัญญาที่ ๔ กล่าวคืออรหัตตผลปัญญา
@(องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๕/๗ , องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)

@๔. ศีล ในที่นี้หมายถึง ปาริสุทธิศีล ๔ ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุอริยมรรค (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔ ,
@องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)
@๕. สุตะ ในที่นี้หมายถึง การฟังธรรมที่เป็นสัปปายะ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)
@๖. สากัจฉา ในที่นี้หมายถึง การสนทนาบอกความเป็นไปแห่งจิตของตน (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔,
@องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)
@๗. สมถะ ในที่นี้หมายถึง สมาบัติ ๘ ที่เป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)
@๘. วิปัสสนา ในที่นี้หมายถึง อนุปัสสนา ๗ ประการ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา
@นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา และปฏินิสสัคคานุปัสสนา

@องค์ ๕ ประการนี้เปรียบเหมือนกระบวนการปลูกมะม่วง คือ
@ศีล เปรียบเหมือนการทำร่องน้ำรอบต้นไม้ เพราะเป็นมูลเหตุให้สัมมาทิฏฐิเจริญ
@สุตะ เปรียบเหมือนการรดน้ำให้เหมาะแก่เวลา เพราะเพิ่มพูนภาวนา
@สากัจฉา เปรียบเหมือนการตัดแต่งกิ่ง เพราะนำความยุ่งยากแห่งภาวนาออกไปได้
@สมถะ เปรียบเหมือนการทำทำนบกั้นน้ำให้แข็งแรง เพราะทำภาวนาให้มั่นคงยิ่งขึ้น
@วิปัสสนา เปรียบเหมือนการใช้จอบขุดราก เพราะขุดรากตัณหา มานะ และทิฏฐิได้
@(ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๕ , องฺ.เอกก.ฏีกา ๑/๑๑/๙๓, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๙-๑๒)




ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๑-๓๒}
https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=25
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ