« เมื่อ: มีนาคม 29, 2022, 12:16:48 pm »
0
กิเลส 3 ประเภท | สังกิเลส , กิเลส และ อุปกิเลส กิเลสทั้ง 3 ประเภท มี สังกิเลส 1 ,กิเลส 1 ,อุปกิเลส 1 , มีสภาพและองค์ธรรมต่างกันเป็นไฉน.?
๑. สังกิเลส คือ สภาพเปรอะเปื้อน
- ที่ทำให้ศีลเสียหาย องค์ธรรม ได้แก่ ทุจริต
- ที่ทำให้สมาธิเสียหาย องค์ธรรม ได้แก่ ตัณหา
- ที่ทำให้ปัญญาเสียหาย องค์ธรรม ได้แก่ ทิฎฐิ
ในมหาฎีกาวิสุทธิมรรค กล่าวว่า ความประพฤติไม่ดี(ทุจริต) มีความประพฤติไม่ดีทางกายเป็นต้น ชื่อว่าสังกิเลส ดังนั้นการชำระสังกิเลสนั้น จึงเป็นการละด้วยกำลังของตทังคปหาน ซึ่งมีได้ด้วยศีล เหตุเพราะศีลเป็นปฏิปักษ์ต่อความก้าวล่วง การชำระสังกิเลส คือ ตัณหา เป็นการละด้วยกำลังของวิกขัมภนปหาน ซึ่งมีได้ด้วยสมาธิเพราะสมาธิเป็นปฎิปักษ์ต่อปริยุฎฐานะ และเหตุเพราะสมาธินั้น เป็นปฎิปักษ์โดยตรงต่อตัณหา
การชำระสังกิเลส คือทิฎฐิ เป็นการละด้วยกำลังของสมุจเฉทปหาน ซึ่งมีได้ด้วยปัญญา เพราะปัญญาเป็นปฎิปักษ์ต่ออนุสัย และเหตุเพราะปัญญามีการยึดถือเอาตามความเป็นจริง จึงเป็นปฎิปักษ์โดยตรงต่อทิฎฐิ อันมีการยึดถือเอาตามความไม่เป็นจริง
@@@@@@@
๒. กิเลส 10 ในธรรมสังคณีกล่าวว่า สภาพเปอะเปี้ยนที่ทำให้ใจหม่อนหมองร้อนรน มี 10 คือ:-
1. โลภะ ความยินดีพอใจในโลกิยอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต 8
2. โทสะ ความโกรธ ความไม่พอใจ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต 2
3. โมหะ ความลุ่มหลง ความโง่เขลา องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุศลจิต 12
4. มานะ ความเย่่อหยิ่ง ถือตัว องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฎฐิคตวิปปยุตตจิต 4
5. ความเห็นผิด เช่นเห็นว่าขันธ์ ยั่งยืน เที่ยงแท้ ไม่เปลี่ยนแปลง หรือตายแล้วก็สูญ ไม่เกิเอีกเป็นต้น องค์ธรรมไดแก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฎฐิคตสัมปยุตตจิต 4
6. วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัยในสิ่งที่ควรเชื่อ องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต 1
7. ถีนะ ความง่วงเหงา ความหดหู่ ความท้อท้อถอย องค์ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก ที่ในอกุศลสสังขาริกจิต 5
8. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจจเจตสิก ที่ในอกุศลจิต 12
9. อหิริกะ ความไม่ละอายต่อทุจริต องค์ธรรมได้แก่ อหิริกเจตสิกที่ในอกุศลจิต 12
10. อโนตตัปปะ ความไม่สดุ้งกลัวต่อทุจริต องค์ธรรมได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุศลจิต 12
กิเลส 1500 มีดังนี้ คือ นามธรรม 53 (ได้แก่ จิต 1 เจตสิก 52) รูป 22(นิปผันนรูป 18 ลักษณะรูป 4) รวม 53+22 = 75 , ทั้ง 75 นี้ เป็นภายในตัวเรา 75 สิ่งมีชีวิตอื่นนอกตัวเรา 75, รวมเป็นอารมณ์ได้ 75
+75 = 150 , กิเลส 10 x 150 = 1500
@@@@@@@
๓. อุปกิเลส ๑๖ คือ ธรรมอันเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต ได้แก่
1. อภิชฌาวิสมโลภะ ความเพ่งเล็งอยากได้ จ้องละโมบ มุ่งแต่จะเอาให้ได้
2. พยาบาท ความพยาบาท คิดหมายปองร้ายทำลายผู้อื่น ให้เสียหายหรือพินาศ
3. โกธะ ความโกรธ จิตใจมีอาการพลุ่งพล่านเดือดดาล เมื่อถูกทำให้ไม่พอใจ
4. อุปนาหะ ความผูกเจ็บใจ เก็บความโกรธไว้ ไม่ยอมลืม ไม่ยอมปล่อย
5. มักขะ ความลบหลู่บุญคุณ ไม่รู้จักบุญคุณ ลำเลิกบุญคุณ หรือ คนอกตัญญู
6. ปลาสะ ความตีเสมอ เอาตัวเราเข้าไปเทียบกับคนอื่นทั้งๆที่ตนต่ำกว่าเขา
7. อิสสา ความริษยา กระวนกระวายทนไม่ได้เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่า
8. มัจฉริยะ ความตระหนี่หวงแหน แม้มีเรื่องจำเป็นต้องเสียสละแต่กลับไม่ยอม
9. มายา ความเจ้าเล่ห์ อำพรางความไม่ดีให้คนอื่นเข้าใจผิด เป็นคนมีเหลี่ยม
10. สาเถยยะ ความโอ้อวด คุยโม้โอ้อวดเกินความจริง
11. ถัมภะ ความหัวดื้อถือรั้น จิตใจแข็งกระด้าง ไม่ยอมรับการช่วยเหลือ
12. สารัมภะ ความแข่งดี แก่งแย่งชิงดี ยื้อแย่งเอามา โดยปราศจากความยุติธรรม
13. มานะ ความถือตัว ทะนงตน ตรงกับคำว่า “เย่อหยิ่ง”
14. อติมานะ ความดูหมิ่นดูแคลน เหยียดหยามหรือดูถูก
15. มทะ ความมัวเมา ความหลงเพลิดเพลินในสิ่งที่ไม่ใช่สาระ
15.1. เมาในชาติกำเนิด หรือฐานะตำแหน่ง
15.2. เมาในวัย
15.3. เมาในความแข็งแรงไม่มีโรค
15.4. เมาในทรัพย์
16. ปมาทะ ความประมาทเลินเล่อ จมอยู่ในความประมาท ขาดสติกำกับ แยกดีชั่วไม่ออก ขอบคุณภาพจาก : pinterest
ขอบคุณ :
dhamma.serichon.us/2022/03/25/กิเลสทั้ง-3-ประเภท-มี-สังก-3/ Posted date : 25 มีนาคม 2022 ,By admin.