ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานวัดสังข์กระจาย กับ "มหานิมิต" วันปลุกเสก "หลวงพ่อกัจจายน์" องค์จำลอง  (อ่าน 3375 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29352
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ตำนานวัดสังข์กระจาย กับ "มหานิมิต" วันปลุกเสก "หลวงพ่อกัจจายน์" องค์จำลอง



ประวัติวัดสังข์กระจาย จากหนังสือของกรมศิลปากร

ชั้นและตำบลที่ตั้งวัด

วัดสังข์กระจาย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิด "วรวิหาร" ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของถนนอิสรภาพ บนฝั่งเหนือคลองบางกอกใหญ่ ใกล้สะพานเจริญพาศน์ ตําบลท่าพระ อําเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี วัดนี้ เดิมมีชื่อเรียกและเขียนกันหลายอย่าง คือ วัดสังกระจาย วัดสังฆจาย วัดสังฆจายน์ วัดสังข์กัจจายน์ และวัดสังข์กระจาย แต่ปัจจุบัน เรียกและเขียนชื่อหลัง คือ วัดสังข์กระจาย

ในพระอุโบสถ มีคำโคลงจารึกบนแผ่นหิน เกี่ยวกับ ชื่อวัดไว้ว่า

(ด้านหน้า) สังข์กจายสังกจัดด้วย      เหตุใด
        พระเอย สังฆเภทฤาพาลไภย   ออกอ้าง
        สังข์ทรงจักรไกร                เกรียงเดช ดอกพ่อ
        สังขราพนารายน์มล้าง          ต่างลี้ หนีกจาย


(ด้านหลัง) สังกจายหมายชื่อ  ใช่สงฆ์ กจายเอย
        สงขบจากเขตคง       ถิ่นนี้
        สังข์ราพต่อยุทธองค์   สังข์จัก กรีนา
        สังข์หมู่สังขอสูร       หลบเร้น กจายหาย


เรื่องที่เกี่ยวกับ ชื่อวัด และโคลง ทั้ง ๒ บทนี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เคยทรงวินิจฉัย กันมาแล้วในพระนิพนธ์เรื่องสาส์นสมเด็จ ขอคัดมาลงไว้ ดังต่อไปนี้

ลายพระหัตถ์ของสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ กราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔ มีข้อความ ตอนหนึ่งว่า

    “โคลงหน้าโบสถ์กับหลังโบสถ์เป็นโคลงอย่างเดียว กัน ยึดเอาสังขอสูรเป็นชื่อวัด ออกจะไม่เก่งที่เอาเรื่อง ไสยศาสตร์มาใส่กับพุทธศาสตร์ ทั้งสังขอสูรก็ดูเหมือน ไม่มีบริวารด้วย”

ลายพระหัตถ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูลสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลง วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๘๕ มีข้อความว่า

      “โคลงที่วัดสังข์กระจายนั้น ทั้ง ๒ บทความเกี่ยว กัน สำนวนเป็นกวีผู้สันทัดแต่งโคลง อาจจะเป็นคน เดียวกันแต่งทั้ง ๒ บทก็ได้ เหตุใดจึงเอาไปเขียนไว้เป็น เครื่องประดับที่ฝาผนังโบสถ์ หม่อมฉันเห็นว่าผู้แต่งเห็นจะมีบรรดาศักดิ์สูงถึงเป็นเจ้านายก็ได้ แต่งประทานพระ ราชาคณะเจ้าอาวาสฯ เป็นผู้ให้เขียนไว้ จะเลยทูลวินิจฉัย เรื่องชื่อวัดสังข์กระจายต่อไป อันวัดสังข์กระจายนั้นเดิม เป็นวัดราษฎร สร้างในแขวงจังหวัดธนบุรีแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

      หม่อมฉันเคยคิดเห็น ถึงได้แสดง ปาฐกถามาแต่ก่อนว่า วัดที่ราษฎรสร้างหรือเรียกโดยย่อ ว่า วัดราษฎร์ นั้น โดยมากไม่ได้มีชื่อมาแต่แรกสร้าง ทั้งผู้สร้างและคนอื่นในท้องถิ่นเรียกกันแต่ว่า “วัด” ถ้าในถิ่นหนึ่งมีกว่าวัดเดียวก็เรียกกันว่า “วัดเหนือ” “วัดใต้” หรือ “วัดใหญ่”  “วัดน้อย” หรือ  “วัดนอก”  “วัดใน” ให้ผิดกัน

     ชื่ออย่างอื่นที่เรียกวัดเกิดแต่คนต่างถิ่นเรียกกัน ถ้ามีแต่วัดเดียวก็เอาชื่อตำบลเรียกเช่นว่า “วัดบางว้า” และ “วัดบางยี่เรือ” ถ้าในตำบลนั้น มีหลายวัดก็เอาคุณศัพท์ที่ชาวบ้านเรียกเข้าต่อท้าย เช่น “วัดบางว้าใหญ่” “วัดบางว้าน้อย” วัดบางยี่เรือใน วัดบางยี่เรือกลาง และ วัดบางยี่เรือนอก

     หรือมิฉะนั้นก็เรียกตามชื่อผู้สร้าง วัดเช่นว่า “วัดเจ้าขรัวหงส์” “วัดจางวางดิศ” และ “วัดจางวางพวง” มิฉะนั้นก็เอาชื่อสิ่งสำคัญซึ่งอยู่ใกล้วัดเรียกเป็นชื่อวัด เช่น “วัดโรงฆ้อง” “วัดท้ายตลาด” หรือเอาของแปลกที่มีอยู่ในวัดเรียกเป็นชื่อวัดเช่น “วัดโพธิ์“ วัดโบสถ์ วัดเจดีย์แดง แม้จนวัด(ต้น)เสียบ และ วัด(มีรูป)ลิงขบ เป็นต้น

@@@@@@@

วัดสังข์กระจายเดิมผู้สร้างก็เห็นจะไม่ได้ตั้งชื่อ น่าจะเป็นคำของคนต่างถิ่นเรียกว่า “วัดสังกะจาย” ด้วยมีอะไรเป็นนิมิตให้เรียกชื่ออย่างนั้น คิดดูไม่เห็นมีอะไรอื่นนอกจากพระท้องพลุ้ยที่เรียกกัน ทั่วไปว่า พระสังกะจาย จะเป็น นิมิตให้เรียกชื่อว่า “วัดสังกะจาย” หม่อมฉันจึงเห็นว่าที่วัดนั้นเริ่มเห็นจะมี รูปพระสังกจายน์ แต่หักพังสูญไปเสียแล้วแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ยังอยู่แต่ชื่อเรียกกันว่า “วัดสังกะจาย” (ไม่มีทั้งตัว ข. การันต์ต่อ สัง หรือตัว ร. ต่อหลัง ก. และตัว น. ต่อคำจาย)

     ครั้นถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ปฏิสังขรณ์เป็น วัดของ คุณเสือ ชื่อวัดสังกจายจึงโด่งดังขึ้นเมื่อเป็น วัดหลวง น่าสงสัยว่าจะมีผู้รู้อักษรศาสตร์ เช่น อาลักษณ์ เป็นต้น เขียนตัว ข. การันต์ลงในชื่อวัดเมื่อแรกเป็น วัดหลวงนั่นเอง ความจึงกลายเป็น วัดสังข์แตก ก็เลยเกิด เป็นปัญหาสำหรับพวกนักเรียนเล่นแปลชื่อวัดสังข์กระจาย แต่นั้นมา

     ข้อนี้จึงเห็นได้ในนิราศนรินทร์อิน ซึ่งแต่งเมื่อตอนต้นรัชกาลที่ ๒ นรินทร์อินแปลเพียงว่า สังข์ของพระนารายณ์ ผู้แต่งโคลง ๒ บท รู้มากออกไปว่ามาแต่ เรื่องนารายณ์ ๑๐ ปาง จึงแต่งโคลงประมูลนรินทร์อิน แต่ที่จริงหม่อมฉันคิดไม่เห็นว่า ชาวเมืองธนคนที่สร้างวัดนั้นก็ดี หรือแม้คนต่างถิ่นที่ริเรียกชื่อวัดนั้นก็ดี จะรอบรู้ถึงเรื่องนารายณ์ ๑๐ ปาง หรือเลื่อมใสว่าเอาชื่อ สังข์พระนารายณ์ มาเข้าในชื่อวัดจะได้บุญมากขึ้น ชื่อวัดสังกะจายเดิมคงหมายความว่า พระท้องพลุ้ยเท่านั้น

    จะทูลต่อไปอีกสถานหนึ่ง สังเกตดูชื่อวัดที่เอาชื่อเทวดามาเรียกก็มีหลายวัด เช่น วัดอินทาราม และ วัดจันทาราม เป็นต้น แต่ก็ล้วนเป็นเทวดาสัมมาทิฐิอันมีชื่อในพระบาลีทั้งนั้น ที่จะเอาชื่อเทวดาทางไสยศาสตร์ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิฆเนศ เป็นต้น มาใช้เป็นชื่อวัดหามีไม่ แม้ชื่อที่เรียกว่าวัดพระรามก็ดี หรือที่ทำรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณที่หน้าบันโบสถ์ก็ดี ก็หมายเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน มิใช่เป็นการบูชา พระวิษณุหรือพระราม โดยวินิจฉัยดังทูลมา หม่อมฉัน เห็นว่าทั้งที่เพิ่ม ช. การันต์เข้าต่อสังก็ดี ที่เข้าใจว่าชื่อ สังข์แตกก็ดี ที่พวกกวีว่าสังข์ในชื่อวัดสังกจาย เป็นสังข์ ของพระวิษณุก็ดี เหลวหาสาระมิได้หมดทุกข้อ”

 


เขตวัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่กัลปนา(เจ้าของที่อุทิศให้วัด)

วัดนี้มีอาณาเขตดังนี้ คือ ด้านทิศตะวันออกจดปากคลองบางบัวทอง และคลองบางกอกใหญ่ ตอนเหนือ ด้านทิศตะวันตกจดคลองหลังวัดและคลองข้างวัด ด้านทิศเหนือจดคลองหลังวัดและคลองบางวัวทอง ด้านทิศใต้จดคลองข้างวัดและคลองบางกอกใหญ่ตอนใต้ รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๕ ไร่ ๑ งาน ๔๐ ตารางวา
       
     ที่ธรณีสงฆ์ของวัด มีสวนติดกับเขตวัดออกไปอีก ๒ ขนัด ขนัดหลังวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ ๒ งาน ๒๔ ตารางวา ขนัดข้างเขตวัดตอนหลังมีเนื้อที่ ๓ งาน ๒๑ ตารางวา

     ที่กัลปนาของวัด เป็นที่นา อยู่ตำบลคลองหกวา สายฝั่งใต้ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งนาง ฤทธิ์ณรงค์รอน (แจ่ม แสงมณี) ถวาย รวมทั้งสิ้นเป็น เนื้อที่ ๒,๖๔๕ ไร่ ๒ งาน ๔ ตารางวา

ผู้สร้างและปฏิสังขรณ์วัด

ผู้สร้างวัดในหนังสือประวัติวัด เล่าเรื่องเดิมของวัดก่อนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จะทรงสถาปนา โดย อาศัยคําของพระเถระผู้ใหญ่ ๒ รูป คือ เจ้าคุณพระ สังวรานุวงศ์เถระ (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม กับ เจ้าคุณ พระอริยศีลาจารย์ (วรรณ) วัดสังข์กระจาย เล่าไว้เป็น ๒ นัย คือ

นัยหนึ่ง เล่าว่า วัดนี้เป็นวัดโบราณมาก่อน สร้างขึ้นราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาคาบเกี่ยวกับตอนต้น สมัยกรุงธนบุรี เมื่อเจ้าคุณพระอริยศีลาจารย์ (วรรณ) ปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ พบลูกนิมิตฝังอยู่ใต้พื้นที่หลัง พระวิหารปัจจุบันหลายลูก หลักฐานอย่างอื่นไม่พบ เข้าใจว่าเป็นวัดเล็กๆ ไม่มีถาวรวัตถุมากนัก หรือหากมี ก็คงจะถูกรื้อถอนไปเมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯให้สถาปนาใหม่ และว่า วัดคง จะร้างไปในตอนที่บ้านเมืองเกิดศึกสงครามกับพม่า ตอน เสียกรุงศรีอยุธยาและตอนกู้เอกราชในสมัยกรุงธนบุรี

อีกนัยหนึ่ง เล่าว่า นายสังข์ ชาวบ้านปากคลองบางวัวทอง ห่างจากวัดลึกเข้าไปประมาณ ๗ เส้นเศษ เป็นข้าราชการ ตำแหน่งนายสารบบในกรมพระสุรัสวดี และเป็นอุบาสก ประจําวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) มีจิตศรัทธาสร้างขึ้น ในราวปลายสมัยกรุงธนบุรี สถานที่สร้างเป็นสวนของ นายสังข์ สร้างเป็นวัดเล็กๆขึ้นก่อน แล้วจึงค่อยขยับขยายตามกำลังทรัพย์

ต่อมา คุณจอมแว่นหรือคุณเสือ พระสนมเอกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ให้นางจ่ายข้าหลวงคนสนิทไปเฝ้าสวนของตนที่อยู่ติดกับสวนของนายสังข์ คนทั้งสองเลยรู้จักและสนิท สนมกันจนถึงกับชักชวนกันสร้างวัดเพิ่มเติม นางจ่ายรับอาสาขอทุนคุณจอมแว่นๆ ก็มอบทุนทรัพย์ให้มาสร้างเพิ่มเติมตามความประสงค์

เมื่อสำเร็จแล้ว นายสังข์กับนาง จ่ายต่างจะเอาชื่อของตนตั้งเป็นชื่อวัด ครั้นตกลงกันไม่ได้ นางจ่ายจึงนำความแจ้งแก่คุณจอมแว่น คุณจอมแว่นจึงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ขอพระราชทานชื่อวัด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชดำรัสว่า “วัดไม่สวย ไม่สมกับเป็นวัดพระสนมเอก”

จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาขึ้นใหม่ พระราชทานคุณจอมแว่น และในตอนที่ขุดพื้นที่เพื่อสร้างพระอุโบสถนั้น พบพระกัจจายน์หล่อด้วยสัมฤทธิ์องค์หนึ่ง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐ นิ้ว ไม่มีฐาน กับสังข์ตัวหนึ่ง โดยเฉพาะ สังข์นั้นชํารุดเพราะแรงเครื่องขุด เมื่อสร้างวัดเสร็จตามพระราชประสงค์แล้ว จึงพระราชทานนามวัดว่า “วัดสังข์กัจจายน์” ตามนิมิตที่พบพระกัจจายน์และสังข์

สิ่งก่อสร้างสมัยเมื่อคุณจอมแว่นให้ทุนทรัพย์มาสร้างเพิ่มเติม คือ กุฎีสงฆ์ ๔ คณะ อยู่มุมวัดด้านใต้ แต่ละคณะมีกุฏิ ๔ หลัง หลังหนึ่งๆมี ๒ ห้อง ส่วน กุฏิเจ้าอาวาสอยู่ทางด้านตะวันออกของกุฏิสงฆ์ทั้ง ๔ คณะ หมู่กุฏิเหล่านี้ เป็นตึกก่อด้วยอิฐถือปูน มีกำแพงอิฐ ล้อมสูง ๑ วา มีประตูเข้าออกทั้ง ๔ ด้าน

เรื่องนายสังข์ นางจ่าย สร้างวัด และเรื่องขุดพบพระกัจจายน์กับสังข์ คราวพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนาใหม่ คงจะเป็นที่มาของความแตกต่างเรื่องชื่อวัดดังกล่าวแล้ว

@@@@@@@

ส่วนประวัติวัดตามที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือนั้น มีเป็นเรื่องสั้นๆ เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว. คลี่ สุทัศน์) เรียบเรียงทูลเกล้า ฯ ถวายในรัชกาลที่ ๕ ว่า

   “วัดสังข์กระจายอยู่ในคลองบางกอกใหญ่ฝั่งเหนือ เป็นวัดโบราณ ในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาพระราชทานเจ้าจอมแว่น หรือ นัยหนึ่งเรียกว่า คุณเสือ พระสนมเอก ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์”

สิ่งก่อสร้างเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา คือ พระอุโบสถอยู่ เคียงข้างหมู่กุฎีสงฆ์เดิม แต่หันหน้าไปทางคลองบางวัว ทอง กับกุฎีสงฆ์อีกหมู่หนึ่ง ตรงมุมพระอุโบสถด้านใต้

การสถาปนาวัดในรัชกาลที่ ๑ ไม่ปรากฏว่าเป็น วันเดือนปีใด แต่เมื่อพิเคราะห์ข้อความบางตอนในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาแล้ว เห็นว่า น่าจะทรงสถาปนาขึ้นก่อนหรือในตอนต้นๆปี ที่เสวยราชย์ เพราะข้อความในหนังสือทั้ง ๒ นั้น กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงตั้งพระราชพิธีปราบดาภิเษก วันจันทร์ เดือน ๘ บุรพาษาฒจากนั้นได้ทรงประดิษฐานพระราชวงศ์ ตั้งข้าราชการวังหลวงวังหน้า และพระราชาคณะโดยลำดับ

ในเรื่องพระราชาคณะนั้น ปรากฏว่า เมื่อได้ทรงเปลี่ยนแปลงให้วิเสทนอกจักกัปปิยจังหันเช้าถวายพระราชาคณะ แทนการพระราชทานเบี้ยหวัดตามคำของ "พระธรรมธราราชมหามุนี" ที่ถวายพระพรว่า ไม่ควรถวายเงินพระสงฆ์ พระสงฆ์รับเป็นอาบัติปาจิตตีย์แล้ว

พระเทพมุนี(เรื่อง) วัดบางว้าใหญ่(วัดระฆัง) ข้าหลวงเดิมเข้าเฝ้าถวายพระพรว่า อย่าทรงเชื่อ "พระธรรมธีราราชมหามุนี" นัก เพราะเป็นพวกอาสัตย์สอพลอ เคยทำให้แผ่นดินเจ้าตากฉิบหายมาแล้ว ทรงพิโรธว่า "พระเทพมุนีข้าหลวงเดิมเจรจาหยาบช้า แสร้งจะให้เหมือนแผ่นดินเจ้าตาก" จึงดำรัสให้ถอดออกจากตำแหน่งพระราชาคณะ แล้วโปรดให้พระเทพโมลีวัดสังข์กระจายเป็นพระเทพมุนี

ข้อความที่อ้างมานี้ แสดงให้เห็นว่า ในปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงกระทำพระราชพิธีปราบดาภิเษกอย่างสังเขปในปีแรกที่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัตินั้น วัดสังข์กระจาย เป็นวัดสำคัญมีพระราชา คณะผู้ใหญ่ชั้นเทพครองแล้ว ดังนั้นการสถาปนาจึงน่าจะก่อนหรือในตอนต้นๆปี ที่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ฯลฯ (ยกมาแสดงบางส่วน)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 30, 2022, 05:18:24 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29352
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



เกียรติคุณของวัด
 
เกียรติคุณของวัดสังข์กระจายที่ขึ้นชื่อกว่าสิ่งอื่นใด จนถึงบัดนี้ ก็คือ สำนวนมหาชาติกลอนเทศน์กัณฑ์ชูชก ที่กล่าวว่า สำนักวัดสังข์กระจายเป็นผู้แต่ง นายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากร ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๑๐) ได้อธิบายเรื่องมหาชาติกลอนเทศน์ และเรื่องแต่ง สำนวนที่ไว้ว่า

     “หนังสือมหาชาติแต่งสำหรับเทศน์ ซึ่งเรียกกันว่า มหาชาติกลอนเทศน์นั้น วิธีแต่งก็คือเอาคำบาลีทั้งที่ เป็นคาถาและอรรถกถามาลงไว้ แล้วแต่งความภาษาไทย เป็นร่ายยาวต่อเข้าเป็นตอนๆ สำหรับเทศน์ ด้วยประสงค์จะให้นั่งทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี มหาชาติกลอนเทศน์ นี้เป็นที่นิยมกันแพร่หลายในพื้นเมืองยิ่งกว่าสำนวนเก่า และมีผู้แต่งกันขึ้นมากมายหลายสำนวน

      ผู้แต่งในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ที่ปรากฏชื่อเสียงก็มีหลายท่าน เช่น พระเทพโมลี (กลิ่น) วัดราชสิทธาราม เจ้าพระยาพระคลัง (หน) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังมีท่าน ที่ไม่ปรากฏชื่อ ปรากฏแต่สำนัก คือ สำนักวัดถนน และสำนักวัดสังข์กระจาย แต่งไว้อีก คงจะได้จากฉบับที่กระทรวงศึกษาธิการได้นำมารวมพิมพ์เป็นร่ายยาว มหาเวสสันดรชาดก ใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทยประเภทสอน อ่านกวีนิพนธ์ ทุกวันนี้ บทร้อยกรองเรื่องมหาชาติ สำนวนต่างๆที่กล่าวถึงนี้ เป็นวรรณคดีไทยที่มีรสนิยม แปลกและไพเราะเพราะพริ้งเป็นอย่างยิ่ง”

และพระวรเวทย์พิสิฐ (ศิวะ ศิวะศริยานนท์) ได้ ให้ความเห็นว่า

    “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิ โนรส ซึ่งเป็นกวีเอกผู้หนึ่งของไทย ท่านได้ทรงนิพนธ์ มหาชาติไว้ถึง ๑๐ กัณฑ์ แต่ละกัณฑ์ของท่านไพเราะ เพราะพริ้งดีเลิศ เช่น กัณฑ์ฉกษัตริย์ของท่าน กระทรวง ศึกษาธิการยุคโน้นเลือกเฟ้นมาเป็นหนังสือเรียนทางกวี นิพนธ์รวมกับกัณฑ์มหาพนที่ขึ้นชื่อลือนาม.....

     แต่ท่านไม่ทรงแต่งอยู่ ๓ กัณฑ์ คือ กัณฑ์มัทรี กัณฑ์ชูชก และกัณฑ์มหาพน ที่ไม่ทรงแต่งกัณฑ์ชูชก กับมัทรีนั้นไม่ทราบเหตุผล ตามทางสันนิษฐานเห็นจะ เป็นด้วยทั้ง ๒ กัณฑ์นั้นดีถึงขนาดอยู่แล้ว ส่วนที่ไม่ทรง แท่งบันฑ์มหาพนนั้น รับสั่งว่า ถึงจะแห่งก็สู้ของพระ เทพโมลี (กลิ่น) ไม่ได้ หลักฐานข้อนี้แสดงว่ามหากลิ่น ซึ่งปรากฏว่า ได้แสดงเทศน์กัณฑ์มหาพนถวายในงานพระราชกุศลรัชกาลที่ ๑ นั้น เป็นผู้นิพนธ์มหาชาติกัณฑ์ มหาพนแน่ แต่ถ้าอาศัยเหตุนี้ ไม่ทรงแต่งกัณฑ์มัทรี และกัณฑ์ชูชกด้วย ก็น่าจะไม่ทรงกล้าแข่งขันเช่น เดียวกัน”

 
@@@@@@@

ส่วนที่ว่า สำนักวัดสังข์กระจายเป็นผู้แต่งกัณฑ์ ชูชกนั้น ท่านแต่ก่อนคงจะยังไม่ทราบตัวผู้แต่งแน่ชัด ทราบเพียงเค้าเงื่อนว่าท่านผู้แต่งอยู่ในสำนักวัดนี้ แต่ปัจจุบันลงความเห็นกันว่า พระเทพมุนี (ด้วง) เจ้า อาวาสวัดสังข์กระจายองค์ที่ ๑ เป็นผู้แต่ง

ในประกาศเรื่องบำเพ็ญพระราชกุศลเทศน์มหาชาติในรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๕๐ ก็มีข้อความตอนหนึ่งว่า “เจ้าจอมฝ่ายใน (คุณเสือ) รับกัณฑ์ชูชก พระเทพมุนี วัดสังขจายสำแดง”

ความตอนนี้ทําให้เข้าใจไปในทำนองที่ว่า เมื่อพระมหากลิ่นเทศน์กัณฑ์มหาพนเป็นผู้แต่งกัณฑ์มหาพน พระเทพ มุนี (ด้วง) ซึ่งเป็นผู้เทศน์กัณฑ์ชูชก ก็น่าจะเป็นผู้แต่งกัณฑ์ชูชกด้วย

อนึ่ง นายธนิต อยู่โพธิ์ ยังได้ทำเชิงอรรถพิมพ์ของพระวิสุทธิโมลี (เจีย) วัดพระเชตุพน ว่า “พระเทพมุนี (ด้วง) วัดสังข์กระจายแต่ง น่าจะเป็นในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์"

และไม่ใช่แต่สำนวนกลอนเทศน์กัณฑ์ชูชกนี้เท่านั้น ที่ช่วยสร้างเกียรติคุณให้แก่วัด เพราะวันนี้ยังมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติกัณฑ์นี้ต่อมาอีกหลายรัชกาล

@@@@@@@

ในหนังสือตำนานวัดราชสิทธิ์ วัดโมลีโลก และวัดสังข์กระจาย ที่ พิมพ์แจกในงานพระกฐินพระราชทานสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

     “วัดสังข์กระจายนี้มีเกียรติเป็นสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง ว่าเป็นสำนักพระสงฆ์เทศนามหา ชาติกัณฑ์ชูชกไพเราะไม่มีที่อื่นเสมอเหมือนตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ ๕ และหนังสือเทศน์กัณฑ์ชูชกที่ใช้เทศน์อยู่ในพื้นเมืองทุกวันนี้ ก็ว่าแต่งขึ้นในวัดสังข์กระจาย มีชื่อเสียงผู้เป็นอาจารย์เทศน์ชูชกมาหลายองค์ คือ พระเทพมุนี ในรัชกาลที่ ๑ พระเนกขัมมุนี ในรัชกาลที่ ๓ พระใบฎีกาบุญ พระใบฎีกาเรือง ใน รัชกาลที่ ๓ พระใบฎีกาสอน ในรัชกาลที่ ๕ พระ อริยศีลาจารย์ (เอี่ยม) ในรัชกาลที่ ๕ ท่านเหล่านี้มีชื่อเสียงในการเทศน์ชูชกดี ทำนองที่เทศน์ชูชกกันทุกวันนี้ ก็ว่าเทศน์ตามทำนองวัดสังข์กระจาย เป็นแต่ที่อยู่ห่างไป ทำนองก็คล้อยไปไม่เหมือนอยู่ในวัดสังข์กระจาย”

ความจริงวัดนี้ นอกจากจะมีชื่อเสียงเกี่ยวกับเรื่อง มหาชาติกลอนเทศน์ และการเทศน์กัณฑ์ชูชก ดังกล่าว มาแล้ว ยังปรากฏว่า พระเถระผู้ใหญ่ที่ครองวัดนี้ ยังเป็นที่นิยมยกย่องของราชตระกูลอยู่มาก อย่างเช่น พระ เทพมุนี (ด้วง) ได้เป็นพระราชาคณะรูปหนึ่งในหมู่พระราชาคณะ มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน ที่ร่วมถวายคำพยากรณ์ พระสุบินนิมิตในรัชกาลที่ ๑ และ ถวายคำทำนายเกี่ยวกับไฟไหม้พระที่นั่งอมรินทราภิเษก มหาปราสาท เมื่อปีมะโรง ฉศก จุลศักราช ๑๑๕๑ (พ.ศ. ๒๓๓๒) และเคยนั่งหัตถบาส เมื่อกรมพระราชวัง บวรสถานพิมุข (วังหลัง) ทรงผนวช เป็นต้น

นอกจากนั้น พระปรากรมมุนี (นวล) ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้พยากรณ์ฤกษ์ยามแม่น เพราะเคยเป็นโหรหลวงมาก่อน พระอริยศีลาจารย์ (เอี่ยม) ไม่เก่งแต่เทศน์กัณฑ์ชูชกเท่านั้น กัณฑ์ทานกัณฑ์ก็ปรากฏว่า เทศน์ได้ไพเราะเป็นที่พึงพอพระราชหฤทัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นอันมาก

อย่างไรก็ตามเกียรติคุณของวัด สังข์กระจายเกี่ยวกับเรื่องมหาชาติกลอนเทศน์กัณฑ์ชูชก  ยังคงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากในวงวรรณคดีของไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29352
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ถาวรวัตถุและของพระราชทาน

    - ทางหน้าวัดด้านริมคลองบางกอกใหญ่ มีศาลาท่าน้ำ ๓ หลัง ติดกับเขื่อนหน้าวัด เป็นแบบทรงไทยประดับ ช่อฟ้า ใบระกา ต่อจากเขื่อนเข้ามาเป็นศาลาการเปรียญ ขนาดใหญ่ใต้ถุนสูง พื้นล่างเทคอนกรีต ไม่มีฝากั้น ชั้น บนมีฝากั้น เป็นของสร้างขึ้นใหม่ เดิมศาลาการเปรียญ ของเก่าก็อยู่บริเวณนี้แต่เหนือขึ้นไปใกล้ๆ กับหอระฆัง หน้าบันทำเป็นรูปสังข์อยู่บนพาน ประดับลวดลายติดกระจก

    - หอระฆัง เป็นของเก่าสร้างสมัยรัชกาลที่ ๓ รูป ๔ เหลี่ยม ก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น สูงประมาณ ๗ เมตร



    - ร.ร.แสงมณี เป็นตึกชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน อยู่ริมถนนตัดจากหน้าวัดไปพระวิหาร - ตรงข้ามกับคณะ ๔ เดิมสร้างเพื่อตั้งศพนางฉัตร อาชวานนท์ ปัจจุบันทาง วัดมอบให้เอกชนตั้งเป็น ร.ร. สอนเด็กชาย – หญิง ตั้งแต่ ป. ๑ ถึง ป. ๔

    - ร.ร.วัดสังข์กระจาย (แจ่ม วิชาสอน) สังกัดแผนก มัธยม กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตัวโรงเรียนเป็นไม้สักทั้ง ๒ ชั้น มี ๒ หลัง อยู่ทางหน้าวัดด้านใต้ เดิมเป็นบ้านของหลวงแจ่มวิชา สอน กับภรรยา ถวายให้เป็นสมบัติของวัดพร้อมทั้งที่ดิน

    - ส่วนของพระราชทานนั้น มีธรรมาสน์ พระไตรปิฎก พร้อมด้วยหนังสือพระไตรปิฎก และพระบรมรูปหล่อของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ สูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตรอีกหนึ่งพระรูป



ปูชนียวัตถุของวัด

๑. พระอุโบสถ
 
เป็นพระอุโบสถขนาดย่อม มีระเบียง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้อง ดินเผา ประดับช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีรูปเทพสลักไม้ นั่งบนดอกบัว ล้อมด้วยลายก้านขดปิดทอง ซุ้มประตู และซุ้มหน้าต่างเป็นปูนปั้นแบบหน้าบันประดับกระจก ปิดทอง มีเครื่องดินเผาปน ปัจจุบัน ทองที่บานประตู และบานหน้าต่างด้านนอกถูกคนร้ายเอากรดเช็ดสำรอก ทองไปหมดแล้ว ยังเห็นเงาของเดิมลายที่เขียนไว้เป็นลายเถาดอกเบญจมาศ

ในพระอุโบสถตอนที่เป็นบาน ประตูและบานหน้าต่าง มีภาพเขียนสีรูปเทวดายืนประ นมมือบนแท่น มีพญาวานรแบกภาพเขียนสีที่ผนังทั้ง ๔ ด้าน กล่าวกันว่าเป็นช่างเขียนสมัยรัชกาลที่ ๑ ตรงหุ้ม กลองด้านหน้าพระประธาน เป็นภาพพุทธประวัติตอน มารผจญ และหุ้มกลองด้านหลังพระประธาน เป็นภาพตอนเปิดโลก ผนังด้านขวาเป็นภาพเวสสันดรชาดก ด้านซ้ายเป็นภาพพุทธประวัติ ชั้นบนของผนังทั้งสองด้าน เป็นภาพเทพชุมนุม ภาพดังกล่าวมานี้ส่วนมากชำรุดลบเลือน






๒. พระประธาน

พระประธานประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ เป็น พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตัก กว้างประมาณ ๔ ศอก บนชุกชีหน้าพระประธานมี พระอัครสาวกทั้งขวาและซ้าย คือพระสารีบุตรกับ พระโมคคัลลานะ ปูนปั้นลงรักปิดทองเช่นเดียวกัน นั่งหันหน้าเข้าหาพระประธาน

๓. ใบเสมา

ใบเสมาเป็นเสมาคู่ หินสีเขียว อยู่ในซุ้มทำเป็น รูปคล้ายกบช้างสูงประมาณ ๒ เมตร มีรวมด้วยกันทั้ง หมด ๙ ซัม

๔. กำแพงแก้ว

กำแพงแก้วเป็นกำแพงเตี้ยๆ และมีประตูเข้า ออก ๔ ด้าน ซุ้มประตูเป็นแบบรัชกาลที่ ๓ ตรงประตู ด้านหน้าพระอุโบสถนอกกำแพงแก้วมีตุ๊กตา หินสีเขียว เป็นรูปหมูข้างละตัว ภายในกำแพงแก้วมีตุ๊กตาหินชนิด เดียวกันอยู่หลังประตูด้านหน้าพระอุโบสถข้างละตัว ที่เชิงบันไดหน้าพระอุโบสถมีตุ๊กตาจีนข้างละ ๒ ตัว และที่เชิงบันไดหลังพระอุโบสถอีกข้างละตัว มุมกำแพงแก้วด้านในหลังพระอุโบสถมีเจดีย์เหลี่ยมย่อไม้สิบสองมุมละองค์ เป็นเจดีย์ขนาดย่อม



๕. พระวิหารหลวงพ่อกัจจายน์

พระวิหารอยู่หลังวัด ติดกับถนนสายที่ตัดไปออกถนนเพชรเกษม มีกำแพงแก้วล้อมรอบ แต่เป็นกำแพงสร้างเสริมให้สูงขึ้นกว่าเดิม ทางด้านในเจาะเป็นช่องๆ สำหรับบรรจุอัฐิ หน้าพระ วิหารมีเจดีย์ขนาดย่อมอยู่ ๓ องค์ เป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อไม้ สิบสองด้านขวามีเจดีย์เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบใหญ่กว่าเจดีย์ด้าน หน้าประดิษฐานอยู่อีกองค์หนึ่ง ความจริง ยังมีเจดีย์ แบบลังกาอีกองค์หนึ่งอยู่ตรงหน้าประตูเข้าพระวิหารพอ ดี ทางวัดเกรงว่าจะบังหน้าพระในวิหารทําให้หมดความ สง่างาม จึงรื้อเสีย ยังเห็นรอยฐานของเจดีย์ปรากฏอยู่ด้านหลังพระวิหาร มีที่บรรจุอัฐิของอดีตเจ้าอาวาสเป็น รูปโกศ รวม ๕ โกศ ตั้งอยู่บนแท่นเดียวกันก่อด้วยอิฐถือปูน

ตัวพระวิหารเป็นรูปวิหารแกลบแบบเก่า หลังคาชั้นบนมุงกระเบื้องดินเผา ชั้นล่างเป็นสังกะสี บนชุกชี ภายในพระวิหาร มีพระพุทธรูปทั้งยืนและนั่งรวมด้วยกัน ๒๔ องค์ คือ พระนั่งปางมารวิชัย ๑๕ องค์ ปางสมาธิ องค์ ๑ พระยืน ๘ องค์ เป็นปางห้ามญาติ ๓ องค์ ปางห้ามสมุทร ๕ องค์ หน้าชุกชีประดิษฐานพระ กัจจายน์จำลองหน้าตักกว้างประมาณ ๒ ศอกไว้บนแท่น มีโต๊ะหมู่บูชาอยู่ข้างหน้า

พระวิหารดังกล่าวนี้ เริ่มเข้าใจว่าเป็นพระอุโบสถ และภายในกำแพงแก้วด้านซ้ายมือหน้าพระวิหารก็เคยมี พระวิหารแบบนี้ แต่เรียกกันว่า กุฏิวิปัสสนานายสังข์ ปัจจุบันรื้อแล้วเพราะเก่าแก่ทรุดโทรมมาก และยังมีที่บรรจุอัฐิของบุคคลอื่นๆ ทางด้านขวาหน้าพระวิหารอีกเป็นจำนวนมาก

หลวงพ่อกัจจายน์องค์ที่ขุดได้ เมื่อคราวสร้างวัดดัง ได้กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันทางวัดได้เก็บรักษาไว้ หน้าตัก กว้าง ๑๐ นิ้ว เดิมประดิษฐานไว้ที่พระวิหาร ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ทางวัดมีงานฉลองพระอุโบสถ ได้นิมนต์ หลวงพ่อกัจจายน์มาไว้ในพระอุโบสถ เพื่อให้ประชาชนสักการบูชา ครั้นงานเลิกแล้วได้มีคนร้ายตัดสายยูกุญแจพระอุโบสถขาดขโมยเอาหลวงพ่อกัจจายน์ไป และนับเป็นโชคดีอย่างยิ่งที่ติดตามกลับคืนมาได้ จึงไม่นำไปเก็บยังที่เดิม เพราะเกรงว่าจะเกิดหายอีก และได้จัดการหล่อองค์จําลองขึ้นใหม่ประดิษฐานแทนไว้ในพระวิหาร ดังกล่าวมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 30, 2022, 04:54:35 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29352
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


งานหล่อหลวงพ่อพระกัจจายน์จําลอง

กำหนดงานหลวงพ่อพระกัจจายน์จำลอง ได้เริ่มขึ้นในวันอาทิตย์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๔๙๘ เวลา ๑๖.๐๐ น. นายช่างเริ่มทำการสุมทอง พระสงฆ์ทรงวิทยาคุณซึ่งทาง วัดได้อาราธนามาในพิธีนี้ก็ได้เริ่มบริกรรมและสวดมนต์ พุทธาภิเศกกันเรื่อยไปตลอดคืน จนกว่าจะได้ฤกษ์เททอง

    พระสงฆ์ที่อาราธนามาในพิธีนี้มี
    ๑. ท่านเจ้าคุณพระมงคลทิพยมุนี วัดทองนพคุณ ธนบุรี
    ๒. ท่านเจ้าคุณพระราชโมลี วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี
    ๓. ท่านพระครูโฆสิตธรรมสาร (พระครูครั้น) สุพรรณบุรี
    ๔. ท่านพระครูพรหมญาณวินิต วัดหงษ์รัตนา ราม ธนบุรี
    ๕. ท่านพระครูญาณสิทธิ วัดราชสิทธาราม ธนบุรี
    ๖. ท่านพระครูวิริยกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี
    ๗. ท่านพระครูโสภณกัลยา (หลวงพ่อเซ่ง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี
    ๘. หลวงพ่อเคน วัดเขาอีโต้ ปราจีนบุรี
    ๙. พระปลัดทุ่ง วัดเทียนถวาย ปทุมธานี
   ๑๐. หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี
   ๑๑. พระอาจารย์ทองดำ กาญจนบุรี
   ๑๒. พระอาจารย์บุญมา วัดราชสิทธาราม ธนบุรี

พระอาจารย์ที่ออกนามข้างบนนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ทรงศีลมีอำนาจจิตตานุภาพสูง เชี่ยวชาญในศาสตร์ ไสยเวทย์ต่างๆทั้งนั้น



อนึ่ง ทางวัดได้แจกชนวนทองไปตามพระคณาจารย์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ได้นำมาหลอมเททองพร้อมกันในพิธีนี้อีกด้วย ช่างสุมหุ่นสุมหุ่น ที่สุมทองก็สุมกันไป พระสงฆ์ที่อาราธนามาในพิธีก็นั่งปรกภาวนากันเรื่อยไป ตลอดเวลาในพระอุโบสถ ท่ามกลางมหาชนที่ล้อมเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด

จวบกระทั่งได้อรุณ ดวงอาทิตย์อุทัยทอแสงเรืองๆ ขึ้นเบิกฟ้า เวลา ๖.๐๐ น. เป็นอุดมฤกษ์มหาชัย นายช่างก็จัดการให้เททอง พระสงฆ์ที่เป็นประธานงานจับไม้สายสิญจน์แตะลงกับหุ่น นายช่างก็เริ่มเททองเป็นเบ้าแรก น้ำทองถูกเทไหลลงเบ้าคว้างๆ เบ้าแล้วเบ้าเล่า เสียงสังข์และฆ้องชัย ก็ลั่นเป็นสัญญาณไชยมงคล มหาชนที่อยู่ล้อมรอบนอกวงพิธีรายเรียงก็เปล่งเสียงโห่ร้องไชโยกันขึ้นเป็นเสียงเดียวกัน

"บัดดลนั้น มหานิมิตก็พลันมีแก่องค์พระคณาจารย์ ผู้นั่งปรกคุมฤกษ์ให้บังเกิด แลเห็นลำเทียนไชยในพิธีลุกไสว สว่างโชติช่วงขึ้นทั่วต้น เปล่งรัศมีเขียวนวลปานสีมรกต เบื้องอุตรทิศ (ทิศเหนือ) ก็ปรากฏเป็นนางฟ้าเทพธิดาแต่งตัวกันหลากๆ เหยียบเมฆ ต่างนำเอาทองกันมาใส่ลงไปในเบ้าเป็นทิวแถว เป็นที่มหัศจรรย์"

ผู้เขียนจำได้ว่า องค์นั่งปรกบริกรรมคุมฤกษ์องค์นี้ คือ ท่านพระครูวิริยกิตติ (พระครูโต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี หลังจากพิธีนี้ได้ สิ้นสุดลงแล้ว ท่านได้เล่านิมิตนี้ให้ท่านผู้ใหญ่ๆฟัง และทำนายว่า รูปหลวงพ่อพระกัจจายน์จำลององค์นี้ จะบริบูรณ์ที่ไม่แหว่งเว้าเสียหาย และนานไปในอนาคต จะเป็นปูชนีย์อันศักดิ์สิทธิ์ มีกฤษฎาภินิหารเป็นที่เคารพบูชาอันสำคัญองค์หนึ่งของประชาชน

หลวงพ่อพระกัจจายน์จำลอง มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารด้านเหนือพระ อุโบสถ เปิดให้ประชาชนเข้านมัสการและปิดทองทุกวัน


        -จบแต่เพียงเท่านี้-
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 30, 2022, 04:57:35 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ