ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “ตากระตุก” ไม่ใช่แค่โชคลาง อาจเป็นสัญญาณบอกโรค  (อ่าน 1081 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29305
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



“ตากระตุก” ไม่ใช่แค่โชคลาง อาจเป็นสัญญาณบอกโรค

“ขวาร้าย ซ้ายดี” ความเชื่อเรื่องตากระตุกที่แพร่หลายในสังคม แต่รู้หรือไม่ ตากระตุกอาจบอกโรคบางชนิด เช็กเลย ตากระตุกแบบไหน? ควรพบแพทย์

ตากระตุก (Eye Twitching) อาการที่เปลือกตามีการขยับเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว อาจเป็นเพียงเล็กน้อย หรืออาจเกิดขึ้นถี่ๆ จนทำให้เกิดความรำคาญได้ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง แต่มีอัตราการเกิดที่เปลือกตาบนมากกว่า สามารถเกิดขึ้นและหายได้เองในเวลาอันสั้น แต่ในบางกรณีอาการอาจรุนแรงและไม่สามารถหายเองได้ เช่น อาการตากระตุกเกร็งจนทำให้เปลือกตาด้านบนปิดลงมา

หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงบางอย่าง เช่น โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s Palsy)  โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia) เป็นต้น แต่กรณีนี้พบได้น้อยมาก

@@@@@@@

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ

    • นอนหลับไม่เป็นเวลา พักผ่อนไม่เพียงพอ
    • มีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน
    • ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
    • สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
    • แสงสว่าง แสงจ้า ลม หรือมลพิษทางอากาศ
    • ตาล้า ตาแห้ง
    • เกิดการระคายเคืองที่เปลือกตาด้านใน  โรคภูมิแพ้
    • การขาดวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารบางชนิด
    • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด




การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการ ตากระตุก

    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
    • พยายามลดการใช้ Smart phone หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลง
    • ลด/หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
    • งดการสูบบุหรี่ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • พยายามหาสิ่งที่ช่วยให้ผ่อนคลาย ไม่เครียดกับอาการที่เป็น
    • นวดกล้ามเนื้อรอบดวงตา
    • ประคบร้อน/อุ่นบริเวณดวงตา ประมาณ 10 นาที
    • หากเกิดอาการตาแห้ง หรือเกิดอาการระคายเคืองตา สามารถหยอดน้ำตาเทียมได้

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

    • มีอาการตากระตุก 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น
    • ตำแหน่งที่เกิดตากระตุกเพิ่มขึ้นจากบริเวณเดิม อาจเป็นที่ตาอีกข้างหนึ่ง เช่น ตาขวากระตุก แล้วตาซ้ายกระตุก หรือเป็นที่บริเวณอื่นๆ ของใบหน้า
    • บริเวณที่เกิดตากระตุกมีอาการอ่อนแรงหรือหดเกร็ง
    • มีอาการบวม แดง หรือมีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากดวงตา
    • เปลือกตาด้านบนห้อยย้อยลงมา รบกวนการมองเห็น
    • เปลือกตาปิดสนิททุกครั้งที่เกิดอาการตากระตุก

การรักษาอาการตากระตุก

หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น และดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ ซึ่งการรักษานั้นจะเป็นไปตามความรุนแรงและดุลยพินิจของแพทย์

    • การให้ยารับประทาน
    • การฉีด Botulinum Toxin หรือ Botox  หลังจากฉีดโบท็อกซ์แล้วอาการตากระตุกจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ผลของโบท็อกซ์นั้นจะอยู่เพียงแค่ 3-6 เดือนเท่านั้น





ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
Thank to : https://www.pptvhd36.com/health/care/3240?utm_source=line&utm_medium=linetoday_original&utm_campaign=news_3240
เผยแพร่ : 29 เม.ย. 2566
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ