ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รอยพระพุทธบาทในพระไตรปิฎก มีกล่าวไว้ 3 รอย ( อ่านเถิดมีสาระ )  (อ่าน 8372 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
แม่บทย่อยเรื่องของรอยพระพุทธบาท
========================
อรรถกถา สังยุตตนิกาย
สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ ฉันนวรรคที่ ๔
๕. ปุณณสูตร
พระพุทธเจ้า เสด็จแคว้น สุนาปรันตะ
( มีการอธิบายชัยภูมิว่า สุนาปรันตะ อยู่ห่างจาก พระเชตวัน 300 โยชน์
300 x 16 =4800 กม )
ถึง สัจจะพันธ์บรรพต ได้โปรด ดาบส ให้เป็นอรหันต์ แล้วอุปสมบถเป็นภิกษุชื่อว่า ปุณณะ ภิกษุปุณณะ จะขอติดตามพระพุทธเจ้ากลับไปด้วย แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ให้อยู่ทีเดิมโปรดชนที่นี่ต่อไป
==========================================
สตฺถา ตโต นิกฺขมิตฺวา สจฺจพนฺธปพฺพตํ คนฺตฺวา สจฺจพนฺธํ อาห "ตยา มหาชโน อปายมคฺเค โอตาริโต, ตฺวํ อิเธว วสิตฺวา เอเตสํ ลทฺธึ วิสฺสชฺชาเปตฺวา นิพฺพานมคฺเค ปติฏฺฐาเปหี"ติ. โสปิ ปริจริตพฺพํ ยาจิ. สตฺถา ฆนปิฏฺฐิปาสาเณ
อลฺลมตฺติกปิณฺฑมฺหิ ลญฺชนํ วิย ปทเจติยํ ทสฺเสสิ. ตโต เชตวนเมว คโต
-----------------------------------------------------------------
พระศาสดาเสด็จออกจากที่นั้น แล้วเสด็จไปยังสัจจพันธบรรพต ตรัสกะสัจจพันธภิกษุว่า เธอทำให้มหาชนหยั่งลงไปในทางอบาย เธอจงอยู่ในที่นี้แหล่ะ ให้ชนเหล่านั้นสละลัทธิเสียแล้วให้ดำรงอยู่ในทางแห่งพระนิพพาน.
ฝ่ายพระสัจจพันธภิกษุนั้นทูลขอข้อที่ควรประพฤติ. พระศาสดาแสดงพระเจดีย์ คือรอยพระบาท ที่หลังแผ่นหินแท่งทึบ เหมือนรอยตราที่ก้อนดินเหนียวเปียก. แต่นั้นก็เสด็จ กลับพระวิหารเชตวันตามเดิม.
ในอรรถกถานี้ยังกล่าวถึงรอยพระพุทธบาท นัมทานที ด้วย แต่รอยนี้อยู่กับนาค
==========================================
นมฺมทา นาม นาคราชา สตฺถุ ปจฺจุคฺคมนํ กตฺวา นาคภวนํ ปเวเสตฺวา ติณฺณํ รตนานํ สกฺการํ อกาสิ. สตฺถา ตสฺส ธมฺมํ กเถตฺวา นาคภวนา นิกฺขมิ. โส "มยฺหํ ภนฺเต ปริจริตพฺพํ เทถา"ติ ยาจิ. ภควา นมฺมทานทีตีเร ปทเจติยํ ทสฺเสติ
---------------------------------------------------------------------
พระยานาคนัมมทากระทำการต้อนรับพระศาสดา ให้เสด็จเข้าไปสู่ภพนาค ได้กระทำสักการะต่อพระรัตนตรัย. พระศาสดาแสดงธรรมแก่พระยานาคนั้น แล้วออกจากภพนาค. พระยานาคนั้นอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงประทานสิ่งที่ควรสละแก่ข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเจดีย์คือรอยพระบาทไว้ ณ ฝั่งแม่น้ำนัมมทานที เจดีย์คือรอยพระบาทนั้น เมื่อคลื่นหลากมาๆ ย่อมปิด เมื่อคลื่นไปแล้วย่อมเปิดออก ความถึงพร้อมด้วยมหาสักการะได้มีแล้ว.
เรื่องของรอยพระพุทธบาทที่ 2 ในพระไตรปิฎกมีหลักฐานแค่ใน อรรถกถา
ส่วนรอยพพระพุทธบาทที่ 1 อยู่ที่ประตูสังกัสสะนคร มีอยู่ในอรรถกถาเช่นกัน กล่าวถึงตอนที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับจากการโปรดพุทธมารดา
ดังนั้นในพระไตรปิฏก จึงมีรอยพระพุทธบาท ที่มนุษย์จะสามารถเข้าถึงได้ 2 รอย คือ รอยสังกัสสะ และรอยสัจจะพันธ์
สัจจะพันธ์บรรพต คือที่ไหน
สัจจะพันธ์บรรพต คือ เขานางฟ้า ที่วัดเขาวงพระจันทร์ เป็นสถานที่พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ 7 วัน ก่อนคือ โยนกนคร
ดังนั้นรอยพระพุทธบาทที่เขาวงพระจันทร์จึงเป็นรอยพระพุทธบาทที่ตรงกับข้อความในพระไตรปิฎก นั่นเองและในสายมูลกรรมฐาน ให้ความเคารพครูอาจาย์ทุกรูปต้องเดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท ส่วนนี้
แต่ส่วนที่ว่าในสมัยนั้นไม่ได้คัดค้าน รอยพระพุทธบาทที่สระบุรี ก็เพราะว่าไม่ต้องการมีอาชญาจากพระมหากษัตริย์ พระเถระครูอาจารย์ในสายกรรมฐานท่านจึงไม่คัดค้าน แต่เนื่องด้วยรอยพระพุทธบาท สัจจะพันธ์ การจะขึ้นไปกราบในสมัยก่อนมีความยากลำบากเพราะต้องปีนป่ายขึ้นไป ดังนั้นจึงมีแต่พระอริยะที่มีฤทธิ์ ขึ้นไปในสายกรรมฐานเท่านั้น แต่ปัจจุบันหลวงปู่ฟักท่านได้จัดสร้างบันได อำนวยความสะดวกในการขึ้นไป แต่บันไดก็ยังมีขั้นที่ขึ้นไปมากถึง 3790 ขั้น ดังนั้่นคนทั่วไปก็ไม่ค่อยจะชึ้นไปกันอยู่ดี ต้องมีความเคารพศรัทธาต่อพระพุทธเจ้ามาก ๆ นั่นเองจึงจะไปขึ้น
วันนี้แสดงแม่บทย่อยไว้ให้ศิษย์ได้รับทราบเอาไว้
สามารถอ่าน อรรถกถาได้ที่ลิงก์นี้
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ