ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “คุณสมบัติของผู้มุ่งสันตบท” ทางของผู้ปรารถนาความสงบ โดย อ.วศิน อินทสระ  (อ่าน 4088 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



“คุณสมบัติของผู้มุ่งสันตบท” ทางของผู้ปรารถนาความสงบ โดย อ.วศิน อินทสระ



 :25: :25: :25:

บอกกล่าวและขอบคุณที่มา

หนังสือ “คุณสมบัติของผู้มุ่งสันตบท” ทางของผู้ปรารถนาความสงบ โดย อ.วศิน อินทสระ เล่มนี้ เป็นหนังสือดีลำดับที่ ๑๖๒ ของ ชมรมกัลยาณธรรม

พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ จำนวนพิมพ์ ๗,๐๐๐ เล่ม
จัดพิมพ์โดย ชมรมกัลยาณธรรม ๑๐๐ ถนนประโคนชัย ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๒๗๐ โทรศัพท์ ๐-๒๗๐๒-๗๓๕๓ และ ๐-๒๗๐๒-๙๖๒๔

ภาพประกอบ : ปิ่นนุช ปิ่นจินดา
จัดรูปเล่ม : คนข้างหลัง
ช่วยแก้คำ : อะต้อม
พิสูจน์อักษร : หะนู
ศิลปกรรม : ต้นกล้า
พิมพ์โดย : บริษัท สำนักพิมพ์สุภา จำกัด ๑๑๘ ซอย ๖๘ ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร. ๐-๒๔๓๕-๘๕๓๐

สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ
การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง

www.kanlayanatam.com




 :25: :25: :25:

คํ า อ นุ โ ม ท น า

หนังสือเรื่องนี้พิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ โดย ขวัญ เพียงหทัย แห่งสำนักพิมพ์เรือนธรรม ซึ่งหนังสือได้หมดไปนานแล้ว บัดนี้ชมรมกัลยาณธรรมโดยทันตแพทย์หญิงอัจฉรา กลิ่นสุวรรณ์ ผู้เป็นประธานชมรม ได้ขออนุญาตจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ เพื่อเผยแผ่ให้แพร่หลายในชุมชนต่างๆ ข้าพเจ้าอนุญาตและอนุโมทนาด้วยความยินดียิ่ง ปลื้มใจที่หนังสือทำนองนี้จะได้แพร่หลายออกไปเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน

“คุณสมบัติของผู้มุ่งสันตบท” คือคุณสมบัติของผู้ดำเนินไปเพื่อความสงบ ได้มีรายละเอียดอยู่ในกรณียเมตตสูตรตามที่คำนำชมรมได้กล่าวถึงแล้ว ผู้ต้องการความสงบควรมีคุณสมบัติของผู้สงบ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในกรณียเมตตสูตร ข้าพเจ้าได้อาศัยหลักในพระสูตรนี้ขยายความตามที่เห็นสมควร จึงออกมาเป็นหนังสือดังที่ท่านเห็นอยู่นี้ ข้อความที่ควรกล่าวข้าพเจ้าได้ พูดไว้บ้างแล้วในคำนำในการพิมพ์ครั้งแรก ซึ่งพิมพ์ไว้ต่อจากคำอนุโมทนานี้

ข้าพเจ้าขอขอบคุณชมรมกัลยาณธรรมที่เห็นคุณค่าของหนังสือนี้ ขอคุณพระศรีรัตนตรัยและอานุภาพแห่งกรณียเมตตสูตรซึ่งผู้เห็นคุณค่าปฏิบัติตามแล้ว พึงคุ้มครองให้ผู้ปฏิบัติพ้นจากทุกข์ โศก โรค ภัย อันตรายต่างๆ ประสบแต่ความสุขสวัสดีในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ และขออนุโมทนาอย่างยิ่งต่อกุศลเจตนาของชมรมกัลยาณธรรม ขอให้ชมรมฯ พึงตั้งมั่นสถิตสถาพรชั่วกาลนาน

                                                                 ด้วยความปรารถนาดีอย่างยิ่ง
                                                                         วศิน อินทสระ
                                                                     ๗ กันยายน ๒๕๕๔






 :25: :25: :25:

คํ า นํ า ใ น ก า ร พิ ม พ์ ค รั้ ง แ ร ก

สันตบท หมายถึง ทางดำเนินแห่งผู้สงบ “สันตะ” แปลว่า สัตตบุรุษหรือคนดีก็ได้ สุภาษิตโบราณท่านว่า
    แมลงวันชอบแผล (มกฺขิกา วณมิจฺฉนฺติ),
    เศรษฐีชอบทรัพย์ (ธนมิจฺฉนฺติ เสฏฺฐิโน),
    คนพาลชอบทะเลาะ (พาลา กลหมิจฺฉนฺติ),
    บัณฑิตชอบสันติ (ความสงบ) (สนฺติมิจฺฉนฺติ ปณฺฑิตา)

พุทธศาสนสุภาษิตบางแห่งกล่าวว่า
    “สัตบุรุษหรือคนดี ยินดีในการเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง” (สนฺโต สพฺพหิเต รตา),
พระพุทธภาษิตบางแห่งตรัสถึงสภาวธรรมว่า
    “ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นไม่มีสภา ผู้พูดไม่เป็นธรรมก็ไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ (คนดี)
     (เนสา สภา ยตฺถ น สนฺติ สนฺโต สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ)

พระพุทธพจน์และพุทธศาสนสุภาษิตที่เกี่ยวกับสัตบุรุษมีหลากหลาย ขอนำมากล่าวอีกแห่งหนึ่งว่า
     “เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ได้ยาก ทำสิ่งที่ทำได้ยากอยู่ อสัตบุรุษทำตามไม่ได้ เพราะธรรมหรือทางดำเนินของสัตบุรุษทำตามได้ยาก”
      (ทุทฺททํ ททมานานํ ทุกฺกรํ กมฺมกุพฺพตํ อสนฺโต นานุกุพฺพนฺติ สตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย)
    “เพราะฉะนั้นทางดำเนินหรือทางไปของสัตบุรุษและอสัตบุรุษ จึงต่างกัน อสัตบุรุษไปทางเสื่อม สัตบุรุษไปทางเจริญ”

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ดำเนินสู่สันตบท คือ ทางแห่งผู้สงบหรือทางแห่งคนดี ตามนัยแห่งกรณียเมตตสูตร ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ หน้า ๑๓ ข้อ ๑๐

หวังว่า ท่านผู้อ่านด้วยโยนิโสมนสิการคงได้รับประโยชน์ ไม่น้อยเลยทีเดียว ขอขอบใจบุคลากรทุกฝ่าย ผู้มีส่วนช่วยเหลือให้หนังสือเล่มนี้ออกมาอย่างที่เห็นอยู่นี้

                                                         ด้วยความปรารถนาดีอย่างยิ่ง
                                                                วศิน อินทสระ
                                                           ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕




 :25: :25: :25:

คํ า นํ า ข อ ง ช ม ร ม กั ล ย า ณ ธ ร ร ม

หากพูดถึงการสาธยายมนต์ ข้าพเจ้าเห็นว่ามนต์บท “กรณียเมตตสูตร” เป็นบทพระปริตรที่น่าสวดสาธยายมากเป็นพิเศษบทหนึ่ง เพราะนอกจากเนื้อหาสาระธรรมดี มีทำนองเสียงไพเราะแล้ว ยังมีแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้มุ่งปรารถนาทางแห่งความสงบ โดยแยกแยะเป็นข้อๆ ละเอียด ครอบคลุม เหมือนได้สอนตัวเองด้วยทั้งสมถะและวิปัสสนาภาวนาทุกวัน ด้วยบทสาธยายมนต์กรณียเมตตสูตรนี้

ไม่นานมานี้ได้มีโอกาสฟังเสียงรวมธรรมบรรยายของท่านอาจารย์วศิน อินทสระ ซึ่งในตอนหนึ่งเป็นรายการ “ธรรมะร่วมสมัย” ที่ท่านอาจารย์ได้สนทนาธรรมกับพลตรีทองขาว พ่วงรอดพันธุ์ และคณะ ถึง “คุณสมบัติของผู้มุ่งสันตบท” ซึ่งเมื่อฟังแล้วก็รู้สึกคุ้นหู น่าสนใจติดตามฟังมาก เพราะเนื้อหาทั้งหมดที่ท่านสนทนากัน ล้วนคือคุณค่าความหมายและรายละเอียดของกรณียเมตตสูตร บทสวดพระปริตรที่อยู่ในดวงใจมาเนิ่นนาน ทำให้เกิดธรรมฉันทะในการตั้งใจสดับฟัง ทำความเข้าใจและปรารถนาประพฤติปฏิบัติให้คุณสมบัติเหล่านี้มีในตน

ทั้งยิ่งชื่นชมในท่านอาจารย์วศิน อินทสระ ที่ท่านช่างเลือกหัวข้อธรรมที่มีสารประโยชน์และประทับใจผู้ฟัง พร้อมสามารถอธิบายอย่างละเอียดพิสดารกว้างขวางชัดเจน สมเป็นธรรมเจดีย์แห่งยุคสมัย ด้วยลีลานำเสียงที่สงบเยือกเย็นชวนฟัง ข้าพเจ้าอยากให้เพื่อนร่วมปฏิบัติได้มีโอกาสฟังธรรมเช่นนี้บ้าง

ทราบว่าแต่แรกเว็บไซต์เรือนธรรมได้จัดพิมพ์หนังสือ คุณสมบัติของผู้มุ่งสันตบท แล้ว แต่ยังเผยแพร่อยู่ในวงจำกัด และหนังสือได้หมดไปนานแล้ว ข้าพเจ้าจึงกราบขออนุญาตท่านอาจารย์จัดพิมพ์เผยแพร่ให้กว้างขวางอีกครั้ง ด้วยความเอื้อเฟื้อจากเพื่อนๆ เหล่าศิลปินผู้ร่วมทางธรรม ช่วยกันรังสรรค์จัดรูปเล่มใหม่ให้ชวนอ่านและดูทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้ด้วยเห็นประโยชน์แห่งคุณค่าสารธรรม ที่ท่านอาจารย์ได้เมตตาถ่ายทอดไว้อย่างกระจ่างแจ่มแจ้ง ยากจะหาใครเปรียบได้

ในนามชมรมกัลยาณธรรม ซึ่งมุ่งมั่นปณิธานแห่งการให้ธรรมะเป็นทาน ตามพุทธพจน์ที่ว่า “สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ข้าพเจ้าขออ้างถึงอานิสงส์แห่งธรรมทานอันถูกตรง และอ้างถึงอานุภาพแห่งกรณียเมตตสูตร ซึ่งเป็นแนวทางแห่งสัมมาปฏิบัตินี้ ต่างช่อมาลาบูชาคุณพระรัตนตรัยและน้อมกราบบูชาพระคุณท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ ครูผู้ส่องประทีปโคมธรรมสว่างสู่ใจมวลชนอย่างต่อเนื่องมาตลอดชีวิต ทั้งหวังให้ทุกท่านที่ได้อ่านได้ศึกษา จงได้พบแนวทางแห่งความสงบและความพ้นทุกข์ทั่วกัน

                                                              ทพญ. อัจฉรำ กลิ่นสุวรรณ์
                                                              ประธานชมรมกัลยาณธรรม




 :25: :25: :25:

     ส า ร บั ญ


     ๑. สักโก เป็นผู้องอาจ กล้าหาญ
     ๒. อุชุ เป็นผู้ซื่อตรง สุหุชุ ซื่อตรงด้วยดี
     ๓. สุวโจ เป็นคนว่าง่าย
     ๔. มุทุ เป็นผู้อ่อนโยน
     ๕. อนติมำนี ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น

     ๖. สันตุสสโก เป็นผู้สันโดษ
     ๗. สุภโร การเป็นผู้เลี้ยงง่าย
     ๘. อัปปกิจโจ เป็นผู้มีกิจน้อย
     ๙. สัลลหุกวุตติ ประพฤติตนเป็นผู้เบากาย เบาใจ
   ๑๐. สันตรินทรีโย มีอินทรีย์สงบ

   ๑๑. นิปโก ผู้มีปัญญารักษาตน
   ๑๒. อัปปคัพโภ เป็นผู้ไม่คะนองกาย วาจา มีจิตสงบ
   ๑๓. กุเลสุอนนุคิทโธ ไม่ติดพันในตระกูลทั้งหลาย
   ๑๔. อนูปวำโท ไม่กล่าวร้าย
   ๑๕. เมตตวำ มีเมตตา
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



สักโก : เป็นผู้องอาจ กล้าหาญ

นี่ก็ผ่อนอธิบายลงมาได้ทั้งทางโลกและทางธรรม อธิบายทางธรรมให้เข้มงวด ให้อุกฤษณ์ก็ได้ อธิบายทางโลกผ่อนอธิบายลงมาให้คนทั่วๆ ไปปฏิบัติก็ได้ ถ้าเผื่ออธิบายแบบอุกฤษณ์ เรียกว่ามีจิตใจกล้าหาญที่จะเลื่อยความชั่ว และกล้าทำความดี

ถ้าผ่อนลงมาสำหรับคนทั่วไปอีกหน่อยหนึ่งก็คือ กล้าจะตัดสินใจทำสิ่งที่ถูกที่ควรที่ต้องการจะทำ อย่างถ้าจะบอกว่ากล้าทำในสิ่งที่ต้องการจะทำ เช่น กล้าไปปล้น อย่างนี้ก็ไม่ใช่ผู้ที่มาในทางสันตบท แต่เป็นอสันตบท คือทางแห่งความวุ่นวาย หรือบางคนที่รู้ว่าสิ่งที่ตนกำลังทำเป็นความชั่ว แต่ไม่กล้าเลิกความชั่ว

ยิ่งเคยทำชั่วกันเป็นกลุ่มมาด้วยแล้วละก็ยิ่งไม่กล้าใหญ่ เกรงเพื่อนจะตำหนิว่าทิ้งเพื่อน เคยเล่นไพ่มาด้วยกัน เคยกินเหล้าสรวลเสเฮฮามาด้วยกัน มันก็ต้องทำกันต่อไป ไม่กล้าเลิก เรียกว่ากอดคอกันเสื่อม เรียกว่าเกรงใจเพื่อนมากกว่าเกรงใจความชั่ว ยิ่งพวกมิจฉาชีพ บางทีต้องการจะปลีกตัวออกมากลัวเพื่อนมาตามเก็บปิดปาก ก็มาปรึกษาว่าจะทำอย่างไรดี

ถ้าเผื่อความเห็นผม ผมจะให้เขากล้าตัดสินใจที่จะออกมาเลย เป็นไงเป็นกันคือยอมเสี่ยงเอา จะตายก็ตาย จะเป็นก็ให้เป็นอยู่ดีๆ ข้างหน้าต้องกล้าตัดสินใจ ใช้ธรรมะข้อนี้คือ สักโก ไม่เกรงใจเพื่อนมากกว่าเกรงใจความชั่ว

บางคนว่าทำไมไม่เลิกสูบบุหรี่ ตอบว่าลงทุนมาเยอะแล้วคือหวนคิดถึงรสของมัน ไม่กล้าสลัดออก ถุงลมโป่งพองจะมาถึงเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น เดินก็เหนื่อย นั่งก็เหนื่อย เหนื่อยไปหมด ถึงตอนนั้นก็ต้องเลิก

ในด้านตรงกันข้าม บางคนรู้ว่าอะไรเป็นความดี แต่ก็ไม่กล้าทำ ไม่รู้ว่าเพราะอะไร อาจกลัวถูกหาว่าเชย ครึ หรือถูกหาว่าทำความดีมากเกินไป อย่างเวลาคนเดินเข้าบาร์เสียงดังเชียว พอจะเข้าวัดต้องแอบ กลัวคนเห็น เหมือนเข้าโรงจำนำเลย

ฉะนั้น ๒ ข้อนี้ กล้าเลิกควำมชั่ว กล้าทำความดี มันต้องอาศัยคุณธรรมข้อจำคะ คือสละ การเสียสละความชั่ว ความไม่ดี และกล้าทำความดี


@@@@@@@

และมีความกล้าอย่างหนึ่งน่าสนใจมาก คือ กล้าตัดสินใจเลือกดำเนินชีวิตตามความเหมาะสมแก่ตน ไม่ใช่ตามที่คนทั้งหลายนึก ถ้าเผื่อใครไปดำเนินชีวิตตามที่คนอื่นเขาบงการหรือกำหนดให้ โดยที่ตัวเองไม่ชอบก็จะมีความทุกข์ทรมานไปตลอดชาติ ไม่ได้ผลทั้งทางผลงานและด้านจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านจิตใจก็จะเสื่อมลง สุขภาพจิตเป็นสิ่งที่ควรหวงแหนมากที่สุดก็จะเสื่อมลง เพราะทำสิ่งที่ตัวไม่ชอบ ในที่สุดก็จะเสียไปหมด

ที่ว่าภาวะผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ คือเรื่องนี้นี่เอง อย่างจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ท่านเป็นคนกล้ามาก ท่านจะบอกว่า“ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว” คือ จะเป็นไงก็เป็นกันค่อยแก้ปัญหากันอีกที แต่ท่านกล้าตัดสินใจ สมมุติว่าจะผิดก็เป็นเรื่องธรรมดา การตัดสินใจก็ต้องผิดบ้าง ถ้าไม่มากเกินไปแต่ถ้าไม่กล้าตัดสินใจ มันก็ทำอะไรไม่ได้เลย แต่การกล้าตัดสินใจมันต้องดูสถานการณ์ด้วย

อีเมอร์สัน นักปราชญ์ชาวอเมริกัน ท่านได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “สิ่งที่ข้าพเจ้าทํ า ก็คือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า ไม่ใช่สิ่งที่คนทั้งหลายคิด” What I must do is concern me, not what the people think. นี่คือการแสดงความกล้าหาญในการตัดสินใจ

ถ้าเผื่อเราไปทำตามที่คนทั้งหลายคิด ถ้าเผื่อ ๑๐ คนก็คิดไป ๑๐ อย่างก็ลังเล เราไม่สามารถจะตัดสินใจได้ว่าจะทำอย่างไรดี ต้องดูว่ามันเกี่ยวข้องกับเรา แค่ไหน อย่างไร คนอื่นบางทีไม่รู้ข้อมูลต่างๆ เหมือนกับตัวเราเอง

ปัจจุบัน แต่ละคนในรัฐบาลก็จะมีทีม หรือคณะที่ปรึกษาผลการตัดสินใจจะอยู่ที่คณะที่ปรึกษาหรือว่าอยู่ที่ตัวเอง นี่ก็แล้ว แต่บางท่าน บางท่านก็ปล่อยให้เป็นไปตามที่คณะที่ปรึกษาตกลงกัน บางท่านก็ฟังความเห็นของคณะที่ปรึกษา แล้วตัดสินใจเองอีกครั้งหนึ่ง อาจจะไม่ตรงกับที่คณะที่ปรึกษาเขาแสดงความเห็นก็ได้ อันนั้นก็ต้องเป็นคนที่จิตใจเข้มแข็ง เฉลียวฉลาดมากพอที่จะเป็นตัวของตัวเองได้

ในแง่ของทหารที่เขามีฝ่ายเสนาธิการ เขาจะทำการวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ เสร็จแล้วจะมาสรุปเป็นข้อเสนอแนะเป็น ๒ แนวทาง แล้วแต่ท่านจะเลือกเอาแนวทางไหน ผู้บังคับบัญชาก็เลือกไป ก็ต้องถามด้วยว่า ถ้าปฏิบัติตามแนวนี้ๆ จะมีผลดีผลเสียอย่างไร ต่อไปก็เลือกแล้วยอมรับผลดีหรือเสียที่จะเกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาต้องกล้าตัดสินใจเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง และต้องกล้ารับผิดชอบด้วย ไม่ใช่โยนความรับผิดชอบให้คนอื่น





บางคนมีวิชาความรู้ดี มีโครงการยอดเยี่ยม แต่ไม่กล้าตัดสินใจทำอะไรตามวิชาความรู้ของตัว ตามหลักการที่คิดแล้วคิดอีกว่าดี

ความกลัวนี้จะทำให้เขาไม่สามารถเข้าไปสู่ความสำเร็จได้ไม่เป็นสักโก หากว่าได้ตัดสินใจทำแล้ว แต่พลาดไปก็ยังดี อย่างน้อยความล้มเหลวนั้นก็เป็นบทเรียนให้ได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงว่าอย่างนี้มันผิด เป็นช่องทางให้ค้นหาทางใหม่ต่อไป ก็เริ่มำเนินการใหม่ ก็จะค้นพบช่องทางที่ดีเข้าวันหนึ่ง

พระพุทธเจ้าท่านทรงกล้าลองผิดลองถูก ทดลองทุกอย่างว่าอะไรเป็นอะไร และได้ผลยังไง ทีหลังท่านจึงสามารถตรัสได้เต็มพระโอษฐ์ว่า ความทุกข์ยากอย่างนี้ พระองค์ได้ผ่านมาทุกอย่างแล้ว แต่ก็ไม่สำเร็จ พระพุทธเจ้าท่านมุ่งเอาอุดมคติเป็นที่หมาย ไม่ได้มุ่งเอาสิ่งที่คนทั้งหลายเขาคิด อย่างปัญจวัคคีย์หลีกหนีจากพระพุทธเจ้าไป เพราะว่าคิดอย่างที่คนทั้งหลายเขาคิดว่านักบวชจะต้องอยู่อย่างทุกข์ทรมาน จึงจะสำเร็จผลที่ต้องการ

แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้คิดอย่างที่คนทั้งหลายคิด ท่านคิดตามแนวอุดมคติของท่าน ว่าหนทางทั้งหมดได้ทดลองเดินมาเยอะแล้ว ไม่มีทางที่จะไปถึงอุดมคติได้ ท่านก็เปลี่ยนวิธีการโดยไม่คำนึงถึงเสียงของคนรอบข้างว่า จะคิดอย่างไร

ในแง่ของหลักการ มันมี ปรโต โฆสะ แต่ปรโต โฆสะนี้ มีทั้งดีและเสีย เราต้องฟังไว้บ้างเป็นการเก็บข้อมูล ฉะนั้นก็อยู่ที่โยนิโสมนสิการ ในหลักธรรมของเราที่พูดถึงสัมมาทิฐิ กับมิจฉาทิฐิ ก็มีปรโต โฆสะเหมือนกัน ถ้าปรโต โฆสะเสีย และมีอโยนิโสมนสิการด้วย ก็เป็นมิจฉาทิฐิ เห็นผิดไป

ถ้าได้ปรโต โฆสะที่ดี แล้วได้โยนิโสมนสิการที่ดี ที่ถูกต้องก็จะเป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฐิ ความเห็นถูก และตัดสินใจถูก ปรโต โฆสะ ความหมายมันกว้างมาก หมายถึงสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ทั้งตำรา ครูบาอาจารย์ เพื่อนฝูง ดินฟ้าอากาศ รวมหมด


@@@@@@@

เกี่ยวกับเรื่องความกล้าหาญนี้ มันมีประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ ขอให้มั่นคงในอุดมคติของเรำพอสมควร จับทำอะไรเข้ำก็อย่ำเลิกง่ำย เมื่อเห็นว่าทางนี้เป็นทางของเราถูกใจเรา ถูกอัธยาศัยของเรา แม้จะล้มเหลวบ้างในเบื้องต้น ก็ต้องพยายามต่อไป ความสำเร็จก็คงคอยอยู่ข้างหน้า

พ่อค้าวาณิชใหญ่ๆ โตๆ ลองศึกษาประวัติของเขาดู เขาจะต้องเคยล้มเหลวมาไม่น้อย จนกว่าจะมาจับอะไรเข้า ถูกทางของตัว แล้วก็ประสบความสำเร็จด้วยดีมีความกล้าอีกชนิดหนึ่งที่ดีมาก คือควำมกล้ำเผชิญหน้ำกับควำมทุกข์ กล้าเผชิญหน้าอุปสรรค เห็นอุปสรรคเป็นสิ่งท้าทายน่าทดลอง เห็นความทุกข์เป็นเทพธิดาที่ปลอมแปลงมาในรูปของมารร้าย และกล้าเผชิญหน้าความทุกข์ว่าท้าทายดี เหมือนการเรียนก็เรียนกันหามรุ่งหามค่ำ ต่อมาเทพธิดาก็เผยตัวจริงออกมาให้เห็นเมื่อเรียนสำเร็จ

อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสงสารสำหรับเด็กของเราคือไม่กล้าแสดงออกนอกแถวเพื่อน เวลานี้เด็กวัยรุ่นของเราจะทำอะไรตามกัน มีแฟชั่นตามกันไม่กล้าเดินออกนอกแถว เคยพูดกับเด็กว่า ทำไมเราไม่เป็นผู้นำในทางดีเสียบ้าง ทำไมต้องไปตามเขาในสิ่งที่ตัวเองก็รู้สึกไม่ดี แต่ไม่กล้าฝืน ต้องทำตามเขาไป เช่น สมัยที่เด็กเขาไว้ผมยาว ถือย่าม นุ่งกางเกงยีน เอ๊ะ ทำไมเราไม่ทำแบบอย่างในทางที่ดี ทำไมต้องไปเอาอย่างเขาเรื่อยๆ

แม้ในสิ่งที่เราเห็นว่าไม่ถูก แต่ไม่กล้าแตกแถวออกมา กลัวเพื่อนว่าเชย แต่เด็กบางคนเมื่อได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ก็ทำได้ ไม่กลัว เลยกลายเป็นผู้นำในทางที่ดี บางทีก็สงสารเด็กเหมือนกัน คือเด็กไม่ได้ยินได้ฟังในสิ่งที่ดี ปรโต โฆสะไม่ดี ผู้ใหญ่ไม่ได้ยืนยันในสิ่งที่ดี เขาก็เลยลังเล เลยไปตามเพื่อนนี่น่าเสียดาย

นี่คือ ความไม่กล้าหาญที่จะตัดสินใจทำในสิ่งที่ควรจะทำและถูกชักจูงไปด้วยปรโต โฆสะที่ไม่ดี

@@@@@@@

ความรู้สึกบางอย่างที่ไม่กล้าเพราะกลัวถูกว่าเชย ไม่กินเหล้ากลัวเพื่อนว่าเชย ความรู้สึกอย่างนี้ทำให้เสียคนกันไปเยอะแล้ว อยากจะมาถึงจุดที่ว่า แม้จะเชย แต่ก็ไม่ทำชั่ว น่าจะดีกว่ายอมเชยดีกว่ายอมชั่ว อย่ายอมชั่วเพราะกลัวเชย อย่างบางคนว่าถ้ามัวสันโดษก็จนตาย แต่จะให้แสวงหาในทางทุจริต ไม่สันโดษหรือเป็นข้าศึกกับสันโดษ ไม่เอา จนเป็นจน มันต้องกล้าหาญอย่างนี้

    ทุทฺททํ ททาติ ...ให้ สิ่งที่ให้ได้ยาก
    ทุกฺกรํ กโรติ   ...ทำ สิ่งที่ทำได้ยาก
    ทุกฺขมํ ขมติ   ...อดทน สิ่งที่อดทนได้ยาก
    ทุชฺชหํ ชหาติ  ...สละ สิ่งที่สละได้ยาก
    ทุชฺชยํ ชยติ   ...เอาชนะ สิ่งที่ชนะได้ยาก
    ทุลฺลภํ ลภติ   ...ย่อมได้ สิ่งที่ได้โดยยาก

                   ...พุทธพจน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 13, 2025, 09:40:33 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



สันตุสสโก : เป็นผู้สันโดษ

ข้อนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย พอพูดคำว่าสันโดษ ทุกคนก็รู้แต่ไม่ค่อยจะเข้าใจความหมาย ในทางปฏิบัติก็ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไร จนถึงกับผมเคยฟังผู้พูดออกทีวีบางคราวก็พูดบอกว่า เมืองไทยนี่พัฒนาบ้านเมืองไม่ได้ พัฒนาการเมืองไม่ได้เพราะว่ามีหลักธรรมทางพุทธศาสนา

ว่าพุทธศาสนาเป็นอุปสรรคในการพัฒนาการเมือง พัฒนาบ้านเมือง หลักธรรมที่วิทยากรผู้นั้นยกขึ้นมาพูดก็มี ๒ หัวข้อ คือ

ข้อ ๑. สันโดษ ว่าสันโดษสอนให้คนพอใจในสภาพที่เป็นอยู่ ไม่กระตือรือร้น เป็นเหตุให้คนพวกหนึ่งฉกฉวยทางการเมืองและเสวยผลแห่งการได้โอกาสนั้น

ข้อ ๒. เรื่องกฎแห่งกรรม การสอนเรื่องกฎแห่งกรรมนี้ทำให้เชื่อกรรมแล้วยอมรับสภาพที่ต่ำต้อยของตน ไม่ดิ้นรนต่อสู้เป็นเหตุให้พวกที่ดิ้นรนต่อสู้ได้อำนาจ และครองอำนาจอยู่ตลอดเวลา

นี่คือ ความไม่เข้าใจ หรือ เข้าใจผิดของพิธีกรคนนั้น

@@@@@

ผมจะคุยเรื่อง สันโดษ ก่อน

สันโดษ เป็นหลักธรรมที่เป็นพื้นฐำน ให้คนงดเว้นทุจริตป้องกันอทินนำทาน และป้องกันคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ

ถ้าคนประพฤติธรรมข้อสันโดษ ประกอบอาชีพสุจริต มีสัมมาอาชีวะ คำว่าสันโดษในที่นี้ต้องหมายความว่า การพอใจในสุจริต มีความหมายของสันโดษอยู่คำหนึ่งคือ สมํ ตุฏฐิ คือ พอใจในสุจริต สนฺตํ ดุฎฺฐิ พอใจในสิ่งที่เป็นของตน ไม่พอใจของผู้อื่น

ถ้าทำได้อย่างนี้ ขโมยก็ไม่มี เมื่อขโมยไม่มี คอร์รัปชั่นไม่มีมันก็เป็นพื้นฐานให้เราพัฒนาบ้านเมืองไปเท่าไหร่ ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ เข้ามา มันก็ไปได้เร็ว ไม่มีเครื่องถ่วงมาดูอีกด้านหนึ่งว่า เราลงทุนทางเศรษฐกิจสูญเปล่า เพื่อป้องกันคนไม่สันโดษมีเท่าไหร่ เหล็กดัดทั่วประเทศ เหมือนอยู่ในกรง เราทำเพื่ออะไร ถ้าไม่จำเป็นใครอยากจะทำ ก็ทำเพื่อป้องกันขโมย

ขโมย คือ พวกไม่สันโดษ ไม่ สมํ ตุฏฐิ ไม่ยินดีในของของตน เราก็ต้องทำเหล็กดัดทั่วประเทศ แล้วกุญแจก็แพงเหลือเกินกุญแจก็ทำเพื่อป้องกันขโมย ยังมีรั้วอีก เรามีการลงทุนทางเศรษฐกิจที่สูญเปล่า เพื่อป้องกันทรัพย์สินสูญหายเยอะแยะไปหมด


@@@@@

มีรถยนต์ ก็ต้องมีเครื่องกันขโมย เป็นการเพิ่มรายจ่าย ถ้าคนมีสันโดษ อาจจะไม่ต้องมีการฟ้องร้อง ไม่ต้องมีอัยการ หรือไม่ต้องมีคุก ไม่ต้องมีกรมราชทัณฑ์ ตำรวจก็อาจจะมีแต่ตำรวจจราจร แล้วเอาเงินทั้งหมดนี้ไปพัฒนาบ้านเมืองได้ คดีฟ้องร้องในศาลเวลานี้ ๘๐% เป็นเรื่องของอทินนาทาน

ฉะนั้น สันโดษนี่เป็นการป้องกันอทินนาทาน ป้องกันการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ ดังนั้นขอให้เข้าใจเถอะว่าสันโดษเป็นสิ่งที่ดีกับสังคมและดีกับตัวบุคคลเอง มันทำให้มีความสุขสำราญใจอยู่เรื่อยๆ เสมอๆ คืออิ่มใจ ได้อะไรมาก็พอใจ เหมือนกับหม้อน้ำที่มันเต็มอยู่ด้วยน้ำ มันชุ่ม แต่ถ้าหม้อน้ำที่มันแห้ง ก็เหมือนกับคนที่ได้อะไรมาก็ไม่พอใจ ไม่มีความพอใจ จิตใจมันก็ร้อนอยู่เรื่อย กระวนกระวายอยู่เรื่อย ไม่สันโดษ

แต่ท่านไม่ได้ห้ามความเพียรพยายาม เพราะว่าท่านสอนสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ ท่านสอนว่าไม่ให้สันโดษในกุศลธรรม นี่เป็นเรื่องที่ชาวพุทธควรทำความเข้าใจกันให้ดี

ถ้าเราพัฒนาประเทศโดยไม่มีสันโดษ เราอย่าพัฒนาดีกว่าเพราะโครงสร้างมันสั่นคลอนไปหมด มันจะพัฒนาไปสู่ระบบการโกงกินกันเป็นทีม และระบบการรับสินบน ขูดรีดโดยไม่มียางอาย ใครมือยาวสาวได้สาวเอา ไม่แยแสกับความอดอยากแร้นแค้นของผู้อื่น นี่คือการพัฒนาโดยไม่มีสันโดษเป็นตัวควบคุม
มันจะมีทุจริตเต็มไปหมด





ขอพูดเรื่องกรรมหน่อย เพราะว่าพิธีกรคนนั้นเขาพูดถึงเรื่องกรรมว่า คำสอนในพุทธศาสนาในเรื่องกรรมนี้ เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ ทำให้คนไม่มีคุณภาพ เพราะว่าคนที่เชื่อเรื่องกรรมนี้ ยอมรับสภาพของตัว

เช่น ชาวนาที่ยากจน พอคิดว่าเราเป็นชาวนาที่ยากจน เพราะเหตุที่ชาติก่อนทำกรรมไว้ไม่ดีมาไม่ได้ให้ทานมา ต้องมาเป็นคนยากจน เพราะฉะนั้นต้องก้มหน้ารับกรรมไป ไม่ต้องดิ้นรนขวนขวาย เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ดิ้นรนขวนขวายเข้าครอบครอง มีอำนาจอยู่ตลอดเวลา

มีลัทธิที่ว่า บุพเพกต เหตุวา เป็นลัทธิที่เชื่อว่า จะทุกข์สุขจะดีชั่วอย่างไรก็แล้วแต่กรรมเก่า ถ้าเป็นอย่างนี้พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นมิจฉาทิฐิ

ทั่วไปเรามักย้ำกันมากว่า คนที่เกิดมายากจน เพราะไม่เคยให้ทาน คนที่เกิดมาร่ำรวย เพราะให้ทานไว้เยอะ

สมมุติว่าเราคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง แต่ไม่ใช่จริงทั้งหมด สมมุติว่าสาเหตุที่ทำให้คนยากจนมีอยู่ ๑๐ ส่วน อันนี้ยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่ง คือ ๑ ใน ๑๐ อีก ๙๐ ทำไมไม่พูดว่าเขายากจน เพราะเขาขี้เกียจทำการงาน เขาฝักใฝ่อบายมุขทุกชนิด ซึ่งเป็นการปฏิบัติผิดหลักธรรมของพระพุทธศาสนา

และระบบสังคมได้เอื้ออำนวยให้เขาเงยหน้าอ้าปากได้ไหม ระบบสังคมได้เอารัดเอาเปรียบเขาหรือเปล่า ทำนองนี้นะครับ ซึ่งสามารถจะแจงออกไปได้เป็น ๑๐ อย่าง ๒๐ อย่าง

@@@@@

ถ้าเขาตั้งตัวไว้ดี ตั้งตัวไว้ชอบ อัตตสัมมาปณิธิ แล้วรวมกับกฎอนิจจัง ไม่เที่ยง คือว่าจนได้ แต่ถ้าตั้งตนไว้ชอบก็เปลี่ยนเป็นรวยได้ ถ้าประกอบเหตุปัจจัยดี และระบบสังคมเอื้ออำนวยให้เขาตั้งเนื้อตั้งตัวได้ ไม่เป็นระบบที่เอารัดเอาเปรียบ ทำนองนี้ก็สามารถทำให้คนที่เกิดมาจน พอมีพอกินได้

ระบบสังคมนี่ก็ต้องเอามาพิจารณาด้วย ไม่ใช่เอาแต่ตอกย้ำกันว่าเกิดมาจน เพราะว่าชาติก่อนไม่ได้ให้ทานเอาไว้

ความเป็นอยู่ดีหรือไม่ดีของคนในสังคม ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่เหตุในอดีตเป็นส่วนใหญ่ ถ้าแบ่งเป็น ๔ ส่วน เหตุในอดีตก็เป็น ๑ ปัจจุบันเป็น ๓

ผมยกตัวอย่างจากหลักธรรม ธรรมที่เป็นเหตุให้บุคคลหมุนไปสู่ความเจริญ มี ๔ ข้อ คือ
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะต่อกิจการนั้น
๒. สัปปุริสูปสังเสว หรือ สัปปุริสูปัสสยะ คบคนดี
๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
๔. บุพเพกตปุญญตา ได้ทำบุญไว้ก่อน

@@@@@

ตามหลักธรรมนี้ เหตุปัจจุบัน ๓ ส่วน เหตุในอดีต ๑ ส่วน เขาได้อยู่ในถิ่นที่เหมาะกับกิจการ เขาทำนา นานั้นดินดีไหม มีน้ำหรือเปล่า แห้งแล้งเกินไปหรือเปล่า น้ำท่วมหรือเปล่า ทำนองนี้พืชพันธุ์ต่างๆ มันดีไหมที่จะทำให้นาดี ตัวประกอบมันดีไหมปัจจัยต่างๆ มันต้องพร้อม

หรือค้าขาย ประการที่ ๑ ก็ต้องทำเลดี ต่อมาก็กัลยาณมิตรตัวเองก็ต้องตั้งตนไว้ชอบ เป็นคนดีด้วย

นี่ก็ชี้แจงให้เห็นว่า คำสอนเรื่องหลักกรรมของพุทธศาสนานี้ ถ้าเราเข้าใจไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้คนเห็นว่าคำสอนเรื่องกรรมหรือกฎแห่งกรรมนี้ ทำให้คนยอมรับสภาพตามที่ตนเป็นอยู่ และก็ไม่ดิ้นรนขวนขวาย งอมืองอเท้า ทำให้ถูกกดขี่

ที่สำคัญ ความเชื่อเรื่องกรรม ทำให้คนเว้นความชั่วได้อย่างตั้งอกตั้งใจที่จะเว้น และตั้งหน้าตั้งตาทำความดีด้วยความสนิทใจ ความเต็มใจ ไม่ลังเลที่จะทำความดี นี่ก็เป็นคุณเป็นประโยชน์แก่สังคมมากมาย

ฉะนั้น ถ้าคนในสังคมทำในเรื่องสันโดษและเชื่อเรื่องกรรมในทำนองที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ประเทศมีความสงบร่มเย็น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2025, 08:46:27 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



นิปโก : ผู้มีปัญญารักษาตน

ปัญญามีหลายแบบ

๑. สชาติกปัญญา

ปัญญาที่ติดมาแต่กำเนิด บุคคลประเภทที่มีปัญญาที่สืบเนื่องมาจากกรรมเก่า ได้สะสมปัญญาบารมีมามาก ก็ติดมาตั้งแต่กำเนิด ที่เรียกว่ามีไอคิวสูง คนเราเกิดมาฉลาดไม่เหมือนกัน สชาติกปัญญา แสดงถึงความฉลาดมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าเขาได้เรียนน้อย ความฉลาดนั้นอาจจะน้อยลง หมายความว่าไม่มีตัวเสริมเป็นไปเองเท่าที่มีมาแต่กำเนิด intelligent จะเล็งไปทาง mental ability ความสามารถทางจิตที่จะรู้อะไรได้มาก ถ้าเผื่อว่าคนมีสชาติกปัญญามาดี แล้วก็มาได้ศึกษาเล่าเรียนดีด้วย อีกคนไม่มี

สชาติกปัญญา ได้แต่โยคปัญญาอย่างเดียว คือความรู้ที่ได้จากการเล่าเรียน การสดับตรับฟัง มันก็สู้คนที่เขามีทั้งสองอย่างไม่ได้

คนสมองดี จะจำได้หมายรู้เร็ว แต่คนมีปัญญาดี จะคิดเหตุผลได้ทะลุปรุโปร่ง คนปัญญาดีเรียกว่าเฉลียวฉลาด คนที่สมองดี ปัญญาดี ความเพียรดี ก็จะไปได้ไกลมาก

ความฉลาดของคนไม่เท่ากัน เหมือนความสูงของต้นไม้ อย่างเอากระถินกับต้นสักปลูกด้วยกัน มันสูงไม่เท่ากัน หรือลูกลิงกับลูกช้าง โตเต็มที่ของลิงกับช้างมันผิดกัน ฉะนั้นการที่ได้อะไรสะสมมาแต่ชาติก่อนก็มีส่วนเยอะเหมือนกัน และก็มาเพิ่มเอาในชาตินี้ด้วย

พระปัญญาบารมีของพระพุทธเจ้า ตามที่เราได้ศึกษากันมา อย่างในชาติที่เป็นมโหสถ ก็มีปัญญามาตั้งแต่เด็กๆ ผู้ใหญ่สู้ไม่ได้ ผู้ใหญ่คิดไม่ออกท่านคิดออก


@@@@@@@

๒. โยคปัญญา

โยคะ แปลว่า ประกอบหรือกระทำ ปัญญาที่เกิดจากการประกอบ การกระทำในปัจจุบัน ขยันหมั่นเพียรหมั่นฟังหมั่นคิดหมั่นอบรมฝึกฝน ปัญญาชนิดนี้ ถ้าเผื่อคนฟังเท่ากันคิดเท่ากันอบรมเท่ากันก็จะได้รับมาเท่าๆ กัน

๓. เนปักกปัญญา

นี่คือ นิปโก ปัญญาที่รู้จักรักษาตัวไม่ให้ตกไปในความชั่ว ผู้มีปัญญาอย่างนี้ จะต้องประกอบด้วยโกศล ๓ อย่าง คือ

๑. อายโกศล ฉลาดรู้เรื่องความเจริญ
๒. อปายโกศล ฉลาดรู้เรื่องความเสื่อม อะไรคือความเจริญ อะไรคือความเสื่อม
๓. อุปายโกศล ฉลาดรู้อุบายที่จะหลีกจากความเสื่อมดำเนินไปสู่ความเจริญ

คำว่า อุบาย ในภาษาธรรมะ แปลว่า วิธีการ

เวลาเราเรียนหนังสือ เราเน้นไปที่พุทธิศึกษา คือสอนให้คนเก่ง แต่ไม่ได้สอนให้คนดี สอนให้รู้เรื่องความเจริญ ความเสื่อมที่จะรู้จักหาวิธีหลีกจากความเสื่อมไปหาความเจริญก็ยังน้อยอยู่เรื่องความดีความชั่ว ความถูกความผิด ความควรไม่ควร อะไรพวกนี้มันต้องเรียนกันต่างหาก

สังเกตดูคนทำความดีกันไม่ค่อยเป็น เราขาดการสอนเรื่องเนปักกปัญญา มาตรฐานความสำเร็จในชีวิต เรามุ่งเอาทางวัตถุกันเกินไป ใครที่ได้วัตถุมากก็กลายเป็นความสำเร็จในชีวิตในสายตาของสังคมไป ที่จริงมันไม่ใช่ แต่มันก็เห็นยาก วัตถุต่างๆมันเห็นง่ายก็เลยเอาไว้ก่อน ที่จริงมันไม่ใช่ ที่ใช่ก็คือความสงบสุขในชีวิต และการได้ทำประโยชน์กับผู้อื่น อันนั้นเป็นความสำเร็จในชีวิตที่ดีกว่าตั้งเยอะเลย





๔. นิเพธิกปัญญา

หมายถึง ปัญญาที่แจ้งทะลุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแทงทะลุอริยสัจ ๔ แจ่มแจ้งความเป็นจริง ซึ่งประกอบด้วยรอบ ๓ อาการ ๑๒ ที่มาคู่กับนิเพธิกปัญญาอยู่เสมอคือ อุทยัตถคามินีปัญญา คือ ปัญญาที่รู้ความเกิดและความดับของสังขารและนามรูปเป็นคนละอย่างกัน แต่จะมาคู่กันเสมอ

ท่านจะแสดงอุทยัตถคามินีปัญญาก่อน คือ รู้จักความเกิด ความดับของสังขารและนามรูป เป็นญาณต่างๆ ต่อมาก็ถึงแทงทะลุอริยสัจ คือนิเพธิกปัญญา แทงทะลุอริยสัจตามความเป็นจริง ซึ่งประกอบด้วยรอบ ๓ ไตรปริวัฏ อาการ ๑๒

ในแนวทางของพระศาสนา ในการที่จะเสริมสร้างปัญญาทั้ง ๔ นี้ มีวิธีการยังไง ก็มีวิธีการต่างๆ กันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นหัวข้อธรรมรวมที่ใช้ได้กับปัญญาทั่วๆ ไป ก็คือ ปัญญาวุฒิธรรม คือ ธรรมที่ทำให้ปัญญาเจริญ หรือเป็นไปเพื่อความเจริญปัญญามี ๔ อย่าง

   ๑. สัปปริสูปสังเสวะ การคบคนดี คบคนดีก็ได้ปัญญาเยอะ
   ๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังธรรม ฟังคำสั่งสอนของคนดี
   ๓. มีโยนิโสมนสิการ
   ๔. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม


@@@@@@@

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น ปฏิบัติอย่างไร

อันนี้มี ๒ ความหมาย

๑. ปฏิบัติธรรมให้เหมาะสมแก่ฐานะของตนว่า อยู่ในฐานะอย่างไร ควรจะทำอย่างไร ปฏิบัติธรรมแค่ไหน จึงจะเหมาะสมแก่ฐานะของตน อย่างจะให้ทาน ก็รู้ว่าฐานะของตนเป็นอย่างไร ควรจะให้ทานเท่าใด รักษาศีลก็เหมือนกัน รักษาให้เหมาะแก่ฐานะของตน ไม่อย่างนั้นอยู่ไม่ได้หรืออยู่ลำบาก ถ้ามีอาชีพเป็นชาวประมง ก็ถือศีลข้อ ๑ ไม่ได้ ก็ไปถือข้ออื่นให้เคร่ง ถืออทินนาทานให้เคร่ง อย่าไปขโมยของคนอื่น

อย่างนายอริยะพรานเบ็ด ตกปลาอยู่ พระพุทธเจ้าถามว่าเธอชื่ออะไร เขาว่าชื่ออริยะ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้ายังทำอย่างนี้อยู่ยังไม่ใช่ชื่ออริยะ

ถ้าพระจะไปเทศน์ชาวประมง ก็เทศน์เรื่องอื่นไม่ต้องไปเทศน์ให้เลิกฆ่าสัตว์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสท่านเคยตำหนิพระที่ไปเทศน์ให้ชาวประมงฟัง แล้วท่านไปเทศน์เรื่องปาณาติบาต

ท่านก็เรียกมาเตือน ท่านบอกว่าเทศน์อย่างนี้ไม่ได้ เหมือนกับไปหักด้ามพร้าด้วยหัวเข่า ทำได้อย่างไรมันเป็นอาชีพของเขาไปเทศน์เขาก็คงเว้นไม่ได้ ศาสนามีคุณกับเขาอย่างไร เขาก็รู้อยู่เขาจึงได้ลงทุนบำรุงศาสนา อุตส่าห์นิมนต์พระไปเทศน์ ก็มีเรื่องอื่นจะเทศน์เยอะแยะไป ท่านก็ติงแบบนี้

    @@@@@@@

๒. ปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยตามธรรมใหญ่ หมายความว่า ในศาสนาจะมีหลักใหญ่อยู่ เหมือนกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายลูกต้องไม่ขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญอทินนาทานให้เคร่ง อย่าไปขโมยของคนอื่น

เช่น หลักธรรมเป็นหลักของพุทธศาสนา การทำอะไรต้องไม่ขัดกับหลักธรรม ถ้าขัดกับหลักธรรมก็ต้องถือว่าไม่ปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยตามธรรมใหญ่ เช่น

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ฤกษ์ดี ยามดี ขณะดี อยู่ที่สุจริตกาย วาจา ใจ เราบอกจะย้ายที่ทำงาน ดูฤกษ์เสียหน่อย เรียกว่าขัดกับหลักกรรม หรือว่าทำดีตอนเช้า เช้านั้นก็เป็นฤกษ์ดี ทำดี ตอนบ่าย บ่ายนั้นก็เป็นฤกษ์ดี นี่หลักของพระพุทธเจ้า ถ้าเราไม่ถืออันนี้ ไปดูฤกษ์ดูยามในการทำอะไร ก็ไม่ถูก หรือถ้าไปบนบานศาลกล่าว ก็ถือว่าขัดกับหลักใหญ่แล้ว

    @@@@@@@

    อสาตํ สาตรูเปน ปิยรูเปน อปฺปิยํ
    ทุกฺขํ สุขสฺส รูเปน ปมตฺตมติวตฺตติ.

    สิ่งที่ไม่น่ายินดีย่อมครอบงำคนประมาท ด้วยรูปลักษณ์ว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดี
    สิ่งที่ไม่น่ารักย่อมครอบงำคนประมาท ด้วยรูปลักษณ์ว่าเป็นสิ่งที่น่ารัก
    ทุกข์ย่อมครอบงำคนประมาท ด้วยรูปลักษณ์ว่าเป็นสุข


    (ขุ.ชำ. ๒๗/๑๐๐ อสำตรูปชำดก)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2025, 08:26:54 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



อนติมานี : ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น

กิริยาที่อ่อนโยนหรือวาจาที่อ่อนหวานเป็นเครื่องหมายที่บ่งให้รู้ถึงสภาพจิตใจที่ราบเรียบสงบ ลองเทียบดูว่า เวลาโกรธจิตใจก็ไม่อยู่ในสภาพที่ราบเรียบ อาการทางกายทางวาจาก็จะผิดปกติไป หยาบขึ้น ถ้าจิตใจราบเรียบ ก็จะอ่อนโยนอ่อนหวาน คือ ไม่มีกิเลสประเภทดูหมิ่น ดูถูก ดูแคลนผู้อื่น

ในเรื่องอริยวังสะ ปฏิปทา ปฏิปทาของผู้ที่เดินตามอริยวงศ์ มี ๔ ข้อ คือ
    ๑. สันโดษด้วยอาหาร ถ้าเป็นพระก็คืออาหารบิณฑบาต ถ้าเป็นฆราวาสก็คืออาหารทั่วไป
    ๒. สันโดษในจีวร หรือเสื้อผ้า
    ๓. สันโดษในที่อยู่อาศัย หรือเสนาสนะ
    ๔. ยินดีในภาวนา

ตอนสุดท้าย ท่านจะบอกไว้ทุกข้อว่า แม้จะเป็นผู้สันโดษอย่างนี้ มีคุณสมบัติอย่างนี้ เมื่อไม่ได้ก็ไม่ได้เดือดร้อน เมื่อได้ก็ไม่หมกมุ่น ไม่ติดอยู่ในปัจจัยที่ได้นั้น และไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะคุณธรรมอันนั้น เนวตฺตานุกฺกํเสติ โน ปรํ วมฺเภติ - ไม่ยกตนข่มผู้อื่น

พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเหมือนภิกษุบางรูปที่ออกไปบิณฑบาต แล้วก็ได้บิณฑบาตเต็มบาตร ยังได้รับนิมนต์วันรุ่งขึ้นอีก กลับมาวัดก็มาดูหมิ่นภิกษุที่มีลาภน้อย มีอาหารน้อย ไม่เหมือนตัว

พระพุทธเจ้าก็เปรียบว่า เหมือนแมลงกุดจี่ขี้ ที่มันกินอุจจาระจนเต็มท้อง แล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ หอบติดหน้าท้องไว้อีก ไปไหนก็หอบไปด้วย พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงแสดงเพื่อไม่ให้ภิกษุหรือใครก็ตาม ที่จะยกตนข่มขู่หรือดูหมิ่นผู้อื่น เป็นข้อหนึ่งในสันตบท หรือธรรมที่เป็นไปเพื่อสันตบท เพื่อจะไม่ดูหมิ่นผู้อื่น แม้ในคุณสมบัติที่ตนมี ไม่ต้องพูดถึงไม่มีคุณสมบัติ

@@@@@@@

มีสุภาษิตที่เรามักจะได้ยินกันอยู่เสมอว่า "คนที่เห็นคนเป็นคนนั่นแหละ..คน คนที่เห็นคนไม่เป็นคน..ใช่คนไม่" ก็คือว่า เมื่อเราเป็นคนเหมือนกัน ถ้าไม่เห็นคนอื่นเป็นคน ก็ไม่ใช่คนด้วย คือ ไปด่าลูกน้องว่าไอ้ควายอย่างนี้นะครับ คนที่ปกครองควายจะเป็นใคร ก็ต้องเป็นควายด้วยบางคนก็ดูหมิ่นผู้อื่น เพราะเห็นว่าเขามีการศึกษาน้อยกว่า มียศน้อยกว่า มีตำแหน่งฐานะน้อยกว่า ยากจนกว่า หรือว่าความสวยงามทางร่างกายน้อยกว่า มีชาติตระกูลที่ต่ำกว่า เป็นต้น ก็ดูหมิ่นเขาด้วยเหตุเหล่านี้

     อติมานี คือ ยกตนข่มผู้อื่น
     อนติมานี คือ ไม่ยกตนข่มผู้อื่น

ที่จริงคนที่เขามีการศึกษาน้อยกว่าเรา เป็นเพราะเขามีโอกาสน้อยกว่าก็ได้ แต่มันสมองและความเฉลียวฉลาด บางทีก็ไม่ได้ด้อยกว่าคนที่ดูถูกเขาหรอก ลองดูมันสมองชนบท เด็กบ้านนอกนี่น่าดูนะครับ แต่เขาไม่มีโอกาสได้เรียน พอได้เรียนก็เฉลียวฉลาดเยอะ ที่เป็นผู้ใหญ่บริหารคณะสงฆ์อยู่เวลานี้ ก็คนชนบททั้งนั้น แม้แต่ข้าราชการผู้ใหญ่ก็เหมือนกัน คนกรุงเทพฯมีน้อย เพราะฉะนั้น ไม่ควรจะดูถูกกัน ด้วยเหตุที่เขามีการศึกษาน้อยกว่า

พระพุทธเจ้าบางทีท่านนั่งเอาจีวรคลุมพระเศียรอยู่ใต้ต้นไม้ มีคนเข้าไปถามพระองค์ว่า ตระกูลอะไร ชาติอะไร
     พระพุทธเจ้าตรัสว่า...
     มา ชาติ ปุจฺฉ จรณญฺจ ปุจฺฉ - อย่าถามเรื่องชาติตระกูลเลย
     จรณญฺจ ปุจฺฉ - ถามเรื่องความประพฤติดีกว่า

ที่จริงท่านก็ไม่ได้มีปมด้อยเรื่องชาติตระกูล บอกว่าไฟที่เกิดจากเชื้อต่างๆ แม้จะเกิดจากไม้บ้าง แกลบบ้าง อื่นๆ บ้าง มันก็ล้วนแต่เป็นไฟ หุงข้าวสุกเหมือนกัน สำเร็จประโยชน์ที่ใช้ไฟได้ มันต่างกันที่เชื้อเท่านั้น

@@@@@@@

อาจารย์ทองขาวเล่าว่า “มีเรื่องเล่ากันมาในสมัยรัชกาลที่๖ ตอนท่านเรียนที่อังกฤษ ก็ได้ทราบว่าท่านเป็นคนสนุกสนานกับนักเรียนไทย แต่ต่อมาเมื่อท่านได้รับสถาปนาเป็นสยาม-มกุฎราชกุมาร ท่านก็ไม่ค่อยเล่นแล้ว ท่านก็ชักถือตัว ผู้ที่ดูแลก็กราบทูลมาถึงรัชกาลที่ ๕ ว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชมีความประพฤติเปลี่ยนแปลงไป ต่อมารัชกาลที่ ๕ ก็ได้เขียนโคลงบอกว่า

    ฝูงชนกําเนิดคล้าย  คลึงกัน
    ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ  แผกบ้าง
    ความรู้อาจเรียนทัน  กันหมด
    ยกแต่ชั่วดีกระด้าง  อ่อนแก้ ฤาไหว


เป็นบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงเตือนให้ระลึกถึงว่าอย่าถือเนื้อถือตัว ตอนนั้นรัชกาลที่ ๕ ทรงเสด็จไปประเทศอังกฤษ และเป็นวันทรงคล้ายวันประสูติของเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงเอาไดอารี่มาบอกว่า พระบิดาเขียนพระโคลงให้ในวันนั้น ทรงทราบอยู่แล้วว่ามีผู้ไปฟ้อง หลังจากนั้นมา พระองค์ก็เปลี่ยนนิสัยกลับไปอย่างเดิมเป็นผู้ที่สม่ำเสมอกับทุกคน จนต่อมาได้ครองราชย์ เล่นละครแล้วท่านก็ไม่ได้เป็นตัวพระ แต่เป็นตัวเสนา”

เรียกว่า เตือนครั้งเดียว ได้ผลไปตลอด นี่เรียกว่า ม้าดีนะครับ ม้าอาชาไนย บางคนก็ดูหมิ่นเขาว่ามียศน้อยกว่า ถ้าเขาคิดได้ว่าที่เขามียศน้อยกว่าเพราะว่าเขาทำงานทีหลัง ถ้าเริ่มพร้อมๆ กัน เขาอาจจะมากกว่าก็ได้ หรือถ้าเขาเริ่มมาก่อน อาจจะมีตำแหน่งที่สูงกว่าก็ได้ บางคนแยกตัวไป ไม่ยอมกินข้าวกับใคร พวกนี้มีอหังการสูง แก้ไขลำบาก นอกจากไปโดนอะไรแรงๆ เข้า จึงจะย้อนกลับมาได้

ในสมัยพุทธกาล นายฉันนะก็อติมานะแรง ว่าเป็นผู้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า ออกบวชก็ตามเสด็จ ใครสั่งสอนอะไรก็ไม่ฟัง นี่คือ อติมานี เหมือนกัน


@@@@@@@

บางคนก็ไปดูหมิ่นคนอื่นในเรื่องตำแหน่งฐานะน้อยกว่า ถ้านึกว่าสาขางานที่เขาชำนาญ มันมีเพียงแค่นั้น เขาก็น้อยกว่าเป็นธรรมดา บางคนนี่คติวิบัติ คือ เขาอยู่ในที่ที่ตำแหน่งมันมีแค่นั้นแล้ว เขาขึ้นไปมากกว่านั้นไม่ได้ ต้องนึกถึงเรื่องนี้ด้วย ว่าเอ๊ะ ทำไมคนนี้จึงฐานะต่ำต้อย บางทีที่เขามีอยู่แค่นั้น อย่างเป็นฆราวาส ถึงจะเก่งแค่ไหนก็ไม่ได้เป็นสังฆราช แม้แต่เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะตำบลก็ไม่ได้เป็น ในทางกลับกัน พระเก่งเท่าไหร่ ก็เป็นพันเอกไม่ได้ มันมีข้อจำกัดอยู่

เพราะฉะนั้น คนที่เขาคิดเป็น เขาก็จะคิดอย่างนี้ ก็ไม่ดูถูกใคร อย่างเวลาปรับคณะรัฐมนตรี ถ้าถูกปรับออกก็จะทุรนทุรายกัน ที่จริงถ้าเผื่อเขาคิดได้ทั้งสองด้านก็จะไม่มีปัญหาอะไร คือทุกอย่างที่เขาเป็นอยู่มันมีทั้งคุณทั้งโทษ ถ้าส่วนที่เป็นคุณมันหายไป ส่วนที่เป็นโทษก็หายไปด้วย มันก็เท่านั้น

วันก่อนมีการวิจารณ์เรื่องสมัครผู้ว่าฯ บอกว่าเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วอยู่ๆ มาสมัครเป็นผู้ว่าฯ มันไม่เอาไหน อย่างนี้ก็มี การที่ใหญ่แล้วมาเล็กก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา คือ ต้องใหญ่เป็นเล็กเป็น แฟบเป็นพองเป็น มันถึงจะอยู่ได้ เรือเวลาน้ำขึ้นก็ขึ้นไป ตามน้ำ เวลาน้ำลงก็ลงไปตามน้ำ ถ้าเผื่อน้ำขึ้นแล้วมันไม่ขึ้นก็จม ถ้าเผื่อน้ำลงแล้วไม่ลง ก็ค้างเติ่งอยู่ที่ไหนไม่รู้ มันอยู่ไม่ได้ ต้องใหญ่เป็นเล็กเป็น อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ โอ้ อย่างนี้เราเคยเป็นมาแล้ว

พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้ในสังยุตตนิกาย
    “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอเห็นคหบดีมั่งคั่งสมบูรณ์ เห็นพระราชามหากษัตริย์ เห็นใครต่อใคร ขอให้คิดว่าอย่างนี้ เราก็เคยเป็นมาแล้ว ในสังสารวัฏที่ยาวนานนี้ ถ้าไปเห็นคนยากจนเข็ญใจ คนทุพพลภาพ กำพร้ายากจน ก็ให้นึกอย่างนี้ เราก็เคยเป็นมาแล้ว โดยที่สุดแม้จะไปเห็นสุนัขขี้เรื้อน อย่างนี้เราก็เคยเป็นมาแล้ว”

มันเพื่อนเก่าเราทั้งนั้น ข้างบนข้างต่ำเราเคยเป็นมาแล้ว ก็เลยไม่ริษยา และก็ไม่ดูหมิ่นดูถูกใคร

อาจารย์ทองขาวเล่าว่า
    “ได้ทราบว่า สมเด็จพระพุทธาจารย์โตท่านเดินไปผ่านเจอสุนัขนอนขวางทาง ท่านบอกว่า พ่อเจ้าประคุณเอ๊ยขอลูกผ่านไปหน่อยเถอะ คนก็ว่า เอ้า ทำไมไปทำอย่างนั้นล่ะ ท่านก็บอกว่า “ไม่แน่หมาตัวนี้อาจจะเป็นพระโพธิสัตว์ก็ได้”
     นี่ก็แสดงว่า ท่านก็ไม่มีอติมานะ

มีอยู่คราวหนึ่ง ที่วัดของท่าน ตอนเย็นๆ ก็จะเตะตะกร้อชาวบ้านไปฟ้องท่านก็เฉย มาวันหนึ่ง ท่านเข้าวังได้จีวรผ้าไหมมา ตอนเย็นท่านก็เอาผ้าไตรใส่พานไปไว้กลางวงตะกร้อเลย แล้วกราบ บอกว่าโอ๊ยพ่อเจ้าประคุณเอ๊ย เตะตะกร้อสวยเหลือเกิน ลูกไม่มีอะไรจะให้รางวัล ขอถวายไตร ตั้งแต่นั้นพระเลิกเตะตะกร้อเลย”

     นี่คือ เอาชนะด้วยอุบาย





บางคนก็ดูถูกคนยากคนจน เห็นคนจนก็เหยียดหยาม ถ้าคนที่คิดเป็น เขาก็จะคิดว่าเขาอาจมีดี มีความพยายามเหนือเราก็ได้ แต่เนื่องจากเขาทำงานทีหลัง หรือไม่มีมรดกจากบรรพบุรุษก็ได้ ฉะนั้นเขาก็ยังยากจนอยู่ คิดได้อย่างนี้ก็ไม่ดูถูกคนจน ยิ่งรวยนี่คนจนเป็นฐานให้เขา ได้อาศัยแรงงานคนจนเป็นฐานให้ทำอะไรต่ออะไรได้ ถ้าคนรวยเท่าเขาหมดแล้ว จะไปจ้างใคร

ถ้าคิดเป็น จะมองอะไรได้เห็นชัด ปัญหาอยู่ตรงที่คิดไม่ออกเพราะกิเลสตัวนี้มันปิดหูปิดตาหมด บางคนเกิดมาสวย ก็หลงตัวเองแล้วดูหมิ่นคนขี้เหร่ แต่ถ้าเขาคิดเป็น เขาต้องคิดว่าเออ คนขี้เหร่ดี มันทำให้เราดูสวยยิ่งขึ้น และเขาก็อาจมีคุณสมบัติอื่นๆ เหนือเราก็ได้

มันอยู่ที่ความคิดเป็น ถ้าคิดเป็นแล้ว กิเลสตัวนี้จะลดลงได้ง่าย เพราะในสังคมเราต้องมีคนทุกจำพวก คนกวาดถนน คนขนขยะ ทำอะไรทุกอย่าง คนขับรถเมล์ คนขับแท็กซี่ คนเป็นนายกฯ ต้องหลากหลายแล้วแต่ว่าใครจะไปอยู่ตรงไหน เท่านั้นเอง

แต่ว่าทุกคนก็ทำหน้าที่ให้สังคมนี้อยู่ได้ ต่างคนต่างก็ทำหน้าที่ ถ้าเขาทำหน้าที่ได้ดีที่สุด อันนั้นแหละ คือ เกียรติของเขา

    เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้า จึงสรุปเอาไว้ว่า
    คนจะดีหรือเลวเพราะชาติตระกูลก็หามิได้ คนจะดีหรือเลวก็เพราะการกระทำของตน
    น ชจฺจา วสโล โหติ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ กมฺมุนาวสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ

ชาติตระกูลก็เหมือนกัน บางคนก็เกิดในตระกูลต่ำ แต่ว่าเขาเป็นบุคคลอาชาไนยได้ เหมือนไฟที่เกิดจากเชื้อที่กล่าวมาแล้ว ฉะนั้นการคิดเป็น และการไม่ดูหมิ่นผู้อื่น จึงสำคัญ


@@@@@@@

ในสมัยพุทธกาล พระอุบาลีก็เป็นช่างตัดผม ท่านราธะก็เป็นคนยากจน พระยสะก็เป็นลูกเศรษฐี แต่เข้ามาบวชแล้วก็กลมกลืนกัน ท่านไม่มีความรังเกียจกันว่า คนนั้นเป็นอย่างนั้นเข้ามาบวชแล้วละลายพฤติกรรมหมด ท่านเข้าถึงหัวใจของพุทธศาสนา ว่าพระพุทธเจ้าเองก็ต้องการปกครองสงฆ์ให้เป็นแบบอย่างของสังคม เป็นสังคมตัวอย่าง จึงไม่ให้มีวรรณะ เหลือแต่ความเป็นสมณศากยบุตรในฐานะที่เป็นมนุษย์

เกียรติของมนุษย์เป็นสิ่งที่สูงสุด ซึ่งใครจะเหยียดหยามไม่ได้ อย่างคนที่ไม่มีอะไรเลย ขี้เมาหยำเปโดยคุณธรรมแล้วเขาไม่ค่อยมีอะไรเท่าไหร่ แต่ถ้าลองไปขับรถชนเขาสิ กฎหมายเอาเรื่อง ในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์คนหนึ่งเหนือเชื้อชาติ เหนือสิ่งอื่นใดก็มีความเป็นมนุษย์ ต้องให้เกียรติในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์ ถึงเขาจะเป็นอะไรไม่เป็นอะไร แต่ศักดิ์ศรีที่เขามีอยู่ ก็คือความเป็นมนุษย์

ปัจจุบันมีคำว่า สิทธิมนุษยชน ทุกคนมีสิทธิ์เสมอเหมือนกันหมด แต่ทางพุทธเรากว้างกว่านั้นอีก คือ เวลาแผ่เมตตา จิตจะแผ่กว้างออกไปถึงสัตว์โลกทุกชนิด บอกว่าสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เราแผ่ออกไปจนถึงสัตว์ทุกชนิดทุกจำพวก ไม่ควรจะเบียดเบียนกัน ให้อยู่เป็นสุข

ในกรณียเมตตสูตร มีอยู่ตอนหนึ่งที่พูดเอาไว้ดีที่ว่า
    น ปโร ปรํ นิกุพฺเพถ นาติ มญฺเญถ กตฺถจิ นํ กิญฺจิ
    คนอื่นไม่ควรจะข่มเหงคนอื่นในที่ใดๆ เลย
    พฺยาโรสนา ปฏิฆสญฺญา นาญฺญมสฺส ทุกฺขมิจฺเฉยย
    ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่ผู้อื่น เพราะความโกรธ ความเคียดแค้นชิงชัง

ฉะนั้น เราควรจะสวดเมตตสูตรกัน จะทำให้เรามองเห็นคนอื่นมีคุณค่าเหมือนกันหมด เราใช้คำว่าสัตว์ทั้งหลาย คือ ทั้งหมดใน ๓๑ ภูมิ ตัวเองรักสุขเกลียดทุกข์อย่างไร คนอื่นก็อย่างนั้น ก็ไม่ควรจะไปรังเกียจรังแกทำร้ายซึ่งกันและกัน ไม่ดูหมิ่นซึ่งกันและกัน ให้เกียรติตามฐานะของเขา เช่น มีคนใช้อยู่ในบ้าน ก็ให้เกียรติตามฐานะของเขา ไม่ใช่จะไปยกมือไหว้เขา แต่ว่าเราให้เกียรติที่เขาเป็นเช่นนั้น

@@@@@@@

พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าให้ “ให้ทานโดยเคารพ” แม้แต่ให้กับสัตว์เดรัจฉาน ก็ให้ด้วยความตั้งอกตั้งใจ ด้วยความเอื้ออาทร ด้วยจิตใจที่เปี่ยมด้วยเมตตา ไม่ใช่ต้องไปเคารพสุนัขอะไรทำนองนั้น ให้โดยเคารพ คือว่ามีจิตใจอ่อนโยน เอื้ออาทรต่อมัน ให้โดยเคารพ คือ ให้ด้วยเมตตา เอื้ออาทรว่า เพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน

มีนายทหารหญิงคนหนึ่ง ตอนเช้าหุงข้าวใส่ถุงมาเต็มเลยขับรถมาเผื่อจะเจอสุนัขที่ไหนบ้าง ถ้าเจอก็จอดเอาข้าวไปให้กินแสดงว่าใจดี ใจถึง ทำได้ยาก นานๆ จะมีสักคน

นโปเลียนเป็นคนที่ให้เกียรติเพื่อนมนุษย์มากเลย ท่านอาจจะมาจากระดับต่ำ ท่านเข้าใจมนุษย์ดีพอสมควร ท่านจะให้เกียรติคนที่ทำงานหนัก พวกกรรมกร เป็นต้น ไปเยี่ยมโรงงาน ก่อนจะกลับ ท่านจะโค้งให้คนงานเป็นการอำลา หรือแม้เวลาเดินอยู่ในวัง ถ้ามีคนแบกของหนักผ่านมา ท่านก็หลีกทางให้ มีคนบอกว่าหลีกให้เขาทำไม เขาเป็นคนงาน ท่านบอกไม่ได้ เขาทำงานหนัก คนทำงานหนักเป็นคนมีเกียรติเสมอ

หลวงพ่อปัญญานันทะ ท่านเดินทางไปใต้ ท่านนั่งรอรถไฟอยู่ คนงานที่กวาดทำความสะอาดอยู่ที่สถานีรถไฟ บ่นบอกว่า พวกนี้มาทำให้สกปรก ทิ้งข้าวทิ้งของเต็มไปหมด น่าเบื่อหน่ายหลวงพ่อก็ถามว่า โยม เขาจ้างโยมมาทำอะไร เขาตอบว่า มาทำความสะอาด หลวงพ่อก็บอกว่า แล้วถ้าพวกนี้เขาไม่มาทำสกปรกไว้ เขาจะจ้างโยมมาทำงานไหม

นี่ท่านจี้จุดดี สมัยที่ไปพม่ากับท่านโลกนาถ ไปขอพักที่วัดพระไทยด้วยกันไม่ให้พัก เลยไปพักที่วัดพระจีน พระจีนต้อนรับดี ที่หลับที่นอนดี ตื่นเช้ามาเลี้ยงข้าวต้มดี พอจะลากลับ ท่านยกมือไหว้ เพื่อนพระด้วยกันบอก อ้าว ไหว้ได้ยังไง เขาเป็นพระจีนท่านบอกว่า ไม่ได้ไหว้พระจีน ไหว้คุณธรรมของท่าน พระไทยไม่ให้พักเลย อย่าว่าแต่จะเลี้ยงข้าวต้ม ท่านปัญญาท่านมีคำพูดที่คมๆ เวลามีอะไรเกิดขึ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 19, 2025, 07:33:24 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



อนูปวาโท : ไม่กล่าวร้าย

น จ ขุทฺทํ สมาจเร กิญฺจิ เยน วิญญู ปเร อุปวเทยฺยํ
แปลว่า ติเตียนผู้อื่นอย่างไร ก็ไม่ควรทำอย่างนั้น วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นได้ด้วยการกระทำอย่างใด ก็ไม่ถึงกระทำกรรมหรือการกระทำอย่างนั้น

ผมก็เลยขอรวบเป็นว่า ไม่ทำอย่างที่ตำหนิผู้อื่น และขอรวบเป็นศัพท์ว่า อนูปวำโท ไม่กล่าวร้าย คือแต่งศัพท์ขึ้นใหม่ จากการรวบบาลียาวๆ

โดยทั่วไปเป็นนิสัยที่ไม่ดีอย่างหนึ่งของคนบางคน หรือโดยมากก็ได้ อาจจะตำหนิผู้อื่นในแบบที่ว่า “โทษคนอื่นมองเห็นเป็นภูเขา โทษของเรามองไม่เห็นเท่าเส้นขน” ตามอุทานธรรมของท่านศาสนโสภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล)

ถ้าตำหนิผู้อื่นในสิ่งที่ตัวเรา หรือตนเองไม่ได้ทำก็ไม่เป็นไรไม่สู้กระไรนัก ถ้าทำอย่างที่ตำหนิผู้อื่นไว้ ก็จะน่าขายหน้า เพราะเขาจะชี้หน้าเอาได้ ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง

ตัวอย่างที่เห็นชัด อย่างคอร์รัปชั่นในวงราชการก็จะมีวงการทั่วๆ ไปก็จะมี หรือผู้ใหญ่ในวงการราชการพูดถึงการปราบคอร์รัปชั่น สั่งปราบคอร์รัปชั่น ถ้าหากว่าผู้ใหญ่เองไม่คดโกงก็ดีแล้ว ก็คงจะเป็นไปได้เรียบร้อยสะดวกดี ถ้าหากผู้สั่งเป็นผู้ทุจริตเสียเอง ก็ไม่รู้จะไปปราบได้อย่างไร

หรือเจ้าอาวาสที่เป็นปาราชิก ก็จะเลี้ยงลูกวัดที่เป็นปาราชิกเอาไว้เพื่อเป็นพวกพ้องของตัว ก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนหาพวก


@@@@@@@

ตัวอย่าง ก็คือ พระอุปนนท์ เทศนาให้คนทั้งหลายภิกษุทั้งหลายสันโดษ แต่ท่านไปที่วัดไหน เวลาเข้าพรรษา ท่านก็อยากได้ของออกพรรษา ท่านก็ไปวางรองเท้าไว้บ้าง วางร่มไว้บ้าง เพื่อท่านจะมีส่วนด้วย พอออกพรรษาแล้วท่านก็เดินเก็บไปทีละวัด นี่ก็เห็นชัด กล่าวยกย่องความมักน้อยสันโดษ แต่ตัวเองกลับไปทำตรงกันข้าม

แต่บางเรื่องก็มีข้อยกเว้น เช่น พระแก่ ท่านหวังดีแก่ลูกศิษย์ ตื่นมาตี ๔ ก็เที่ยวเดินปลุกให้พระหนุ่มเณรน้อยขึ้นมาท่องหนังสือ เสร็จแล้วท่านก็ไปนอนต่อ เพราะท่านแก่แล้ว อย่างนี้ก็ยกเว้นให้ด้วยสุขภาพของท่าน ไม่ควรตำหนิท่าน

      ในพุทธพจน์มีว่า
     "อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโรสิยา อฺตตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ"
      ตนที่ฝึกดีแล้วย่อมได้ที่พึ่งที่ได้โดยยาก ต้องฝึกตนก่อนแล้วฝึกผู้อื่นภายหลังก็ไม่เศร้าหมอง

      อีกบทหนึ่งว่า
     "อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ นหาปเย"
      ไม่ควรพร่าประโยชน์ตนเพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก รู้ประโยชน์ของตนแล้ว พึงทำประโยชน์ของตนให้บริบูรณ์ พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน

แต่อันนี้ไม่ได้สอนให้เห็นแก่ตัว เพียงแต่ว่าทำตัวให้ดี แล้วก็ช่วยผู้อื่นให้ดีด้วย คือไปพร้อมๆ กัน แต่ถ้าเผื่อฝึกตนได้แล้วก็จะดียิ่งขึ้น



พุทธพจน์ : ก็วาจาหยาบเช่นกับขวาน เกิดในปากของบุรุษแล้ว เป็นเหตุตัดรอนตนเองของบุรุษผู้เป็นพาล ผู้กล่าวคำทุพภาษิต ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรนินทา หรือนินทาคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมก่อโทษเพราะปาก ย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต)


เกี่ยวกับเรื่องวาจา ที่ว่าไม่ควรทำอย่างที่ตำหนิผู้อื่น หรือไม่ควรกล่าวร้ายผู้อื่นโดยไม่มีข้อเท็จจริง มีพุทธภาษิตในสังยุตต-นิกาย พรหมสังยุต อยู่ตอนหนึ่ง ซึ่งผมเห็นว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้สนใจอยู่มาก

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า
     "คนที่เกิดมาทุกคน มีขวานติดปากมาด้วย สำหรับให้คนพาล ผู้ที่ชอบพูดร้าย พูดชั่วๆ ไว้เชือดเฉือนตนเอง ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นเรียกว่า เกลี่ยโทษลงด้วยปาก เขาก็จะไม่ได้รับความสุขเพราะโทษนั้น
     การเสียทรัพย์เพราะแพ้การพนัน สิ้นเนื้อสิ้นตัวก็ยังโทษน้อยกว่า การทำใจให้ประทุษร้ายในพระสุคต การทำใจให้ประทุษร้ายในพระสุคตคือพระพุทธเจ้านี้มีโทษมากกว่า มีโทษติดตามไปหลายชาติ" น่ากลัว

     บุคคล ๔ จำพวก

     ๑. ยกย่องคนที่ควรยกย่อง ตำหนิคนที่ควรตำหนิ
     ๒. ไม่ยกย่องคนที่ควรยกย่อง ไม่ตำหนิคนที่ควรตำหนิ
     ๓. สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ แต่ไม่ติเตียนคนที่ควรติเตียน
     ๔. ติเตียนคนที่ควรติเตียน แต่ไม่สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ

@@@@@@@

พระพุทธเจ้าคุยกับ โปตลิย ปริพาชก ปริพาชกก็ตอบว่า คนที่เฉยๆ แหละดี คือ ไม่ติเตียนใคร ไม่สรรเสริญใคร เขาชอบใจคนพวกนี้ เพราะว่าตั้งอยู่ในอุเบกขา

พระพุทธเจ้าท่านไม่เห็นด้วย ท่านบอกว่า เรานิยมคนที่ติคนที่ควรติ สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ ตามความเป็นจริง ตามกาลอันควร เพราะว่าตั้งอยู่ใน กาลัญญุตา

ในสังคมเรา บางทีก็พลาด คนไปให้ค่ากับคนที่เฉยๆ ไม่ว่าใคร ว่าท่านดีเหลือเกินไม่ว่าใครเลย ทำผิดทำถูกก็ไม่ว่าใครเลยอันนี้มันเป็น concept ที่ผิด เอาหลักพระพุทธเจ้ามาเทียบ ก็ต้องตำหนิคนที่ควรตำหนิ ยกย่องคนที่ควรยกย่อง

พระพุทธเจ้าท่านไม่เฉย ใครควรตำหนิท่านก็ตำหนิ ใครควรยกย่องท่านก็ยกย่อง ถ้าเป็นคนมีสาระเอาจริงเอาจัง ทนต่อคำสอนเขาก็จะอยู่ได้ คือ พระพุทธเจ้าท่านทรงต้องการแก่น

มีอีกพุทธพจน์ที่ว่า "ยถาวาที ตถาการี" ทำอย่างที่พูด พูดอย่างที่ทำ อันนี้ก็ดีครับ

ท่านมหาตมะ คานธี มีคนไปถามท่านว่า ท่านอยู่ในปัจฉิมวัย ท่านมีคำพูดอะไรสักหน่อยหนึ่งไหม จะฝากเอาไว้สำหรับให้คนรุ่นหลังถือเอาเป็นแบบอย่างปฏิบัติตาม ท่านบอกว่า
     “ชีวิตของข้าพเจ้าทั้งหมดนั่นแหละ คือ คำพูดของข้าพเจ้า”
      หมายความว่า ถ้าอยากรู้ว่า ข้าพเจ้าจะพูดอะไร ก็ดูชีวิตของข้าพเจ้าก็แล้วกัน
      แปลว่า ทำให้ดู เป็นอยู่ให้เห็น แทนคำพูดของท่าน

    ในสังคมเรา บางคนสอนเก่ง ได้รับยกย่องว่ามีวาทศิลป์ แต่ตัวเองทำตรงข้ามกับที่สอน ถ้าจะตัดสินก็คือว่า ก็ดีที่สอนได้ แต่ก็แย่ที่ทำไม่ได้ แต่ก็ไม่ทำให้เกิดความประทับใจต่อผู้ที่ถูกสอน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 22, 2025, 08:24:11 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



สุภโร : การเป็นผู้เลี้ยงง่าย

เท่าที่พบหลักตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ ก็มีอยู่ข้อหนึ่งใน ๘ ข้อคือ ธรรมใดเป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยงง่าย ธรรมนั้นเป็นธรรมวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ธรรมใดเป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยงยาก ธรรมนั้นไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา

ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย อย่างไรเรียกว่าเป็นผู้เลี้ยงง่าย ถ้าเป็นเด็กก็เป็นนัยหนึ่ง เด็กเลี้ยงง่าย เด็กเลี้ยงยาก ก็ไม่ต้องพูดถึงไม่ใช่ในความหมายนี้

ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย โดยใจความสำคัญ ก็คือ เป็นผู้อยู่ง่ายกินง่ายตายยาก อยู่ยากกินยากตายเร็ว ก็เป็นคนง่าย

    ภรรยานายทหารคนหนึ่งถามว่า เอ๊ะ อยู่กันมา ๓๐ ปี ไม่เคยบ่นเรื่องอาหารเลย
    เขาตอบว่า เธอทำให้กินก็ดีแล้ว อย่างนี้ก็เลี้ยงง่าย

มีพระพุทธภาษิตอยู่แห่งหนึ่ง ที่น่าจะนำมาพิจารณาเรื่องเลี้ยงง่าย เลี้ยงยาก

     สุชีวํ อหิริเกน กากสูเรน ธํสินา ปกฺขนฺทินา ปคพฺเภน สงฺกิ ลิฏเฐน ชีวิตํ หิริมตา จ ทุชฺชีวํ นิจฺจํ สุจิคเวสินา อลีเน นาปคพฺเภน สุทฺธาชีเวน ปสฺสตา

     "คนไม่มีหิริ กล้าเพียงดังกา มีปกติกำจัดคุณของคนอื่น แล่นไปเอาหน้า คะนองกายวาจา เป็นผู้เศร้าหมอง ย่อมเป็นอยู่ง่าย ส่วนผู้มีหิริ แสวงหาปัจจัยที่สะอาดอยู่เสมอ ไม่หดหู่ ไม่คะนอง มีอาชีวะบริสุทธิ์ เห็นแจ้งอยู่ ย่อมเป็นอยู่ยาก"


นี่ไม่ใช่เลี้ยงง่าย เป็นอยู่ง่าย เลี้ยงยากแต่เป็นอยู่ง่าย คือ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วละก็สะดวกสบาย

ส่วนคนมีหิริ แสวงหากรรมอันสะอาดอยู่เป็นนิจไม่หดหู่ ไม่คะนองกาย วาจา เลี้ยงชีพด้วยปัจจัยที่บริสุทธิ์ เห็นอาชีวะหมดจดว่าเป็นสาระ ย่อมเป็นอยู่ยาก แต่เลี้ยงง่าย หมายความว่า ค่อนข้างจะแร้นแค้น คือ ว่าไม่กล้าดังกา

ภาษิตที่ยกมานี้ พูดถึงพระที่เป็นคนเลี้ยงยาก แต่ว่าเป็นอยู่ง่าย คือ สะดวกสบาย เช่น มีรถ มีกุฏิสะดวกสบาย เป็นต้น

@@@@@@@

ที่ว่า กล้าดังกา หมายความว่า กามันกล้าที่จะลักขโมย คือ ทำเป็นไม่สนใจเนื้อหรือปลาที่ชาวบ้านเขาตากเอาไว้ นั่งเฉย แต่พอเจ้าของเผลอ ก็โฉบลงมาทันที จับเอาก้อนเนื้อหรือปลาเต็ม ปากแล้วก็บินไป ฉันใด คนกล้าเพียงดังกา ก็เหมือนกัน อาจจะทำทีไม่สนใจต่อเงินทองบางอย่าง ในเมื่อไม่มีโอกาส แต่พอมีโอกาสเมื่อใดก็ทำทุจริตทันที นี่หมายถึงชาวบ้าน นะครับ

พระอรรถกถาจารย์ก็พูดถึงบรรพชิตว่า เข้าไปในบ้านกับภิกษุทั้งหลาย กำหนดที่ตั้งของอาหาร เมื่อภิกษุผู้มีความละอายเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน ได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไปแล้วไปสู่โรงฉัน พิจารณาแล้วดื่มยาคูแล้ว ทำกรรมฐานไว้ในใจ สาธยายพระพุทธพจน์ ปัดกวาดโรงฉัน

แต่บุคคลผู้กล้าเพียงดังกาไม่ทำอะไร มุ่งหน้าตรงไปยังบ้าน เข้าไปสู่เรือนหลังหนึ่ง บรรดาเรือนที่กำหนดเอาไว้แล้ว เมื่อชาวบ้านแย้มประตูไว้ ทำการของตนอยู่เอามือข้างหนึ่งผลักบานประตูเข้าไปข้างใน

เจ้าของเรือนเห็นภิกษุนั้นแล้วแม้ไม่ปวารณา ก็นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะ ถวายข้าวยาคูที่ตนมีอยู่ เขาบริโภคตามต้องการแล้ว ถือเอาส่วนที่เหลือแล้วก็หลีกไป บุคคลดังนี้เรียกว่า กล้าเพียงดังกา

นี่พูดตามตำราที่ท่านให้ไว้ ต้องขออภัยพระคุณเจ้าที่เป็นพระสำรวมระวัง มีอินทรียสังวรดีแล้ว อย่าได้กระทบกระเทือนใจแต่อย่างใด

อเนสนา แสวงหาหรืออาชีพที่ไม่บริสุทธิ์มี ๕ อย่าง คือ

    ๑. กุหนา หลอกลวง
    ๒. ลปนา พูดจาพิรี้พิไร
    ๓. เนมิตกตา พูดจาหว่านล้อม
    ๔. นิเปสิกตา พูดท้าทายให้เจ็บใจเพื่อให้เขาให้
    ๕. ลาเภนะ ลาภัง ชิคิงสนตา ต่อลาภด้วยลาภ หรือหากำไรทางอ้อม





๑. กุหนา หลอกลวง

ท่ำนให้ดูกุหนวัตถุ ๓ อย่ำง

    ๑.๑ แกล้งปฏิเสธปัจจัย ทั้งๆ ที่อยากได้อยู่ เพื่อให้เขาเห็นว่าเป็นผู้ไม่มีความต้องการ แล้วในที่สุดก็รับ ทำทีเหมือนว่าเพื่ออนุเคราะห์เขา เช่น โยมเอาของมาถวาย ก็ไม่รับ เขาก็คะยั้นคะยอ ยิ่งปฏิเสธมากโยมก็ยิ่งเลื่อมใส ในที่สุดก็บอกว่าเอ้ารับก็รับ ก็ดูเหมือนว่าอนุเคราะห์เขา แต่ใจจริงอยากได้

    ๑.๒ พูดเลียบเคียงหรือพูดอ้อมค้อมให้เขาเข้าใจว่า คุณวิเศษสูงสุดมีอยู่ในตน เช่น ที่ท่านยกตัวอย่างไว้ในตำราว่า “เมื่อมีคนมาหา ถ้าเป็นเจ้าของกุฏิที่อยู่ก็ว่า ผู้ใดอยู่ในวิหารของท่าน ผู้นั้นเป็นโสดาบัน เป็นสกทาคามี หรือว่าได้ฌาน ได้วิปัสสนา ทำนองนี้ พูดเลียบเคียง ไม่บอกตรงๆ”
         ถ้าสมมุติว่า โยมเจ้าของกุฏิมาหา พระก็บอกว่า “กุฏิที่ โยมสร้างนี่ พระที่อยู่ส่วนมากอย่างน้อยก็ได้ฌาน” พูดเลียบเคียงให้เขาเข้าใจว่า ผู้ที่อยู่นี่ไม่ใช่พระธรรมดา แต่ที่จริงก็หมายถึงตนนั่นแหละ

    ๑.๓ แต่งอิริยาบถให้น่าเลื่อมใส ทำเป็นเคร่ง จริงๆ แล้วไม่ได้เคร่ง คือ ต่อหน้าอย่างหนึ่ง ลับหลังอักอย่างหนึ่ง

๒. ลปนา พูดจาพิรี้พิไร

ท่านยกตัวอย่างว่า ชอบทักขึ้นก่อน คือ ชอบคุย ขี้คุยเสนอตัว ชอบพูดว่าคนใหญ่คนโตมาหาตัว นี่เรียกว่า เสนอตัว วิธีการนี้พวกหมอดูชอบใช้

การพูดเอาใจก็เป็นลปนาเหมือนกัน พูดยกยอ พูดผูกมัด พูดประจบ พูดเหมือนแกงถั่ว คือ พล่ามมาก เพ้อเจ้อมากแต่จริงน้อย


๓. เนมิตกตำ ธรรมนิมิต

เช่น บอกใบ้ เป็นทำนองว่าเห็นเขาถืออะไรมา ก็ถามว่า ถืออะไรมา เขาตอบว่าถืออาหารมา ก็พูดบอกใบ้ว่าพระควรจะได้ฉันบ้าง หรืออย่างโยมมา บอกว่าจะมานิมนต์พระไปฉันที่บ้าน พระก็บอกว่า “หนึ่งอาตมาแล้วสองใครหรือโยม” นี่คือบอกใบ้

ต่อมาก็พูดเคาะ เช่น ถามว่าถืออะไรมา ตอบว่าถือนมมา พระบอกว่าคงไม่ใช่ เพราะถ้าใช่ พระคงได้ฉันบ้าง เรียกว่าพูดเคาะ

พูดเลียบเคียง หน้ากฐินมีกันบ่อย พูดเลียบเคียงให้ไปทอดที่วัด ทำนองว่าที่วัดยังไม่มีใครทอดกฐิน

@@@@@@@

๔. นิเปสิกตำ พูดข่ม

เพื่อให้เขำเจ็บใจแล้วก็ให้ เช่น “บ้านนี้เมื่อก่อนนี้ ผู้หลักผู้ใหญ่เคยทำบุญให้ทาน พอมาถึงรุ่นหลานนี้ไม่เห็นมีใครทำ” นี่ก็พูดให้เขาเจ็บใจ เพื่อให้เขาให้

พูดใส่ร้าย พูดเยาะเย้ย พูดประชด พูดหวานต่อหน้านินทาลับหลัง นี่ก็อยู่ในนิเปสิกตา


๕. ต่อลาภด้วยลาภ

คือ ให้ของเล็กน้อย เพื่อหวังว่าจะได้ของมาก ทางหลักศาสนาถือว่าผู้ที่ประกอบอเนสนา เป็นผู้เลี้ยงยากไม่ใช่คนเลี้ยงง่าย ไม่อยู่ในสุภโร ห่างไกลจากสันตบท

ในกรณีที่บอก “โยม อาตมาฉันน้ำพริกปลาทู” อย่างนี้ถ้าไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา ก็เป็นอเนสนา เพราะทำไม่ได้อยู่แล้ว

ในกรณีที่พระท่านเดินทางไปถึงเวลาเพล ก็เข้าร้านอาหารร้านก็จะถามว่า จะฉันอะไร พระก็บอกว่าก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ถ้าโดยกิริยาของพระ ก็ไม่ควรจะระบุ ควรแล้วแต่เขาจะจัดมาถวาย แต่ถ้าเป็นซื้อฉันเอง ก็บอกได้ เพื่อเขาจะได้จัดให้ถูก ซื้อฉันเองบอกได้ไม่เป็นอเนสนา

@@@@@@@

สุภโร เป็นคุณธรรมสู่สันตบท คือ ความสงบ ฆราวาสยิ่งทำได้ง่าย เพราะเลี้ยงตนอยู่แล้ว ทำอย่างไรจึงจะเป็นคนเลี้ยงง่าย กินอยู่ธรรมดาๆ กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน กินอยู่แต่พอดีไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการกินดีอยู่ดี

ส่วนชีวิตพระต้องอาศัยชาวบ้าน ก็ยิ่งต้องทำให้เขาเลี้ยงง่าย

มีอยู่ข้อหนึ่งในหลักธรรมที่ให้พระพิจารณา "ปรปฏิพทฺธา เม ชีวิกา" ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ฉะนั้นเราต้องทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย เป็นหลักธรรมที่ให้พระสงฆ์พิจารณาเนืองๆ

ถือว่าเป็นคุณธรรมที่ทำให้ยิ่งน่าเคารพมากขึ้น คือ ไม่ไปยุ่งกับเรื่องการกิน กินมากเกินเหตุเกินควร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 23, 2025, 09:27:59 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



กุเลสุอนนุคิทโธ : ไม่ติดพันในตระกูลทั้งหลาย

คุณสมบัติข้อนี้ ถ้าเป็นพระสงฆ์ก็เห็นได้ง่าย เพราะท่านสอนไม่ให้คลุกคลีกับตระกูล ไม่ให้ติดพันตระกูล ให้ชักกายชักใจออกห่าง มองเห็นตระกูลเป็นอันตรายเหมือนมองเห็นภูเขาที่โตรกชัน เหมือนบ่อน้ำที่ปากเป็นหล่มเลน ไม่กล้าเข้าไปใกล้กลัวจะตกลง ประพฤติตนเหมือนดวงจันทร์ให้แสงสว่างแก่โลก แต่ไม่ลงมาคลุกคลีกับโลก จันทูปมา ปฏิปทา

พระมหากัสสปได้รับยกย่องมากในเรื่องนี้ และมีพระติสสะเถระผู้หนึ่งที่เข้าไปคลุกคลีกับนายช่างแก้วเป็นประจำ และถูกหาว่าไปขโมยแก้วมณีเขาในเรื่องนกกระเรียน จากวันนั้นมาท่านบาดเจ็บแล้ว ท่านก็อธิษฐานใจว่าไม่ยอมเข้าสู่ร่มชายคาของบ้านใด ถ้ายังมีปลีแข้งอยู่ ก็จะเที่ยวบิณฑบาตไปตามประตูบ้าน คือ จะไม่เข้าบ้านใคร เพราะว่าประสบภัยพิบัติจากการเข้าสนิทสนมในตระกูล

ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ถ้าจะทตัวให้สอดคล้องกับข้อนี้ คือว่า ไม่คลุกคลีกับเพื่อนบ้านมากเกินไป แม้ในหมู่ญาติก็ไม่คลุกคลีมากเกินไป เพราะเป็นเหตุให้ทะเลาะวิวาทกัน บาดหมางกันได้ง่าย มีสุภาษิตที่ว่า

   “มิตรภาพย่อมจืดจางเพราะห่างเหินกันเกินไป หรือเพราะคลุกคลีกันเกินไป”

๑. อัจจาภิกขณสังคัคคา คลุกคลีกันมากเกินไป
๒. อสโมสรเณน จ ห่างเหินกันมากเกินไป คือไม่สโมสรกันเลย
๓. อกาเล ยาจนาย จ ขอในกาลที่ไม่ควรขอ เอเตน มิตฺตา ภิชฺชนฺติ มิตรทั้งหลายย่อมจะจืดจางไป เพราะเหตุนี้

สามข้อนี้เป็นเหตุในการรักษามิตรภาพ คือ วางจังหวะให้พอดีๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2025, 06:37:23 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ