ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จิตวิทยาแนวพุทธ  (อ่าน 38 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29286
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
จิตวิทยาแนวพุทธ
« เมื่อ: เมษายน 26, 2025, 10:07:40 am »
0
.



จิตวิทยาแนวพุทธ
   
 :25: :25:

ความหมายของจิตวิทยาแนวพุทธ

จิตวิทยาแนวพุทธ คือการนำศาสตร์ที่ศึกษาถึงจิตใจ และกระบวนการทางจิตใจคือจิตวิทยา มาอธิบายกระบวนการการเกิดทุกข์และการพ้นทุกข์ อันเป็นสาระสำคัญของพุทธศาสนานั้นเอง
     
ความแตกต่างระหว่างจิตวิทยาแนวพุทธ จิตวิทยาทั่วไป และพุทธศาสนา

จิตวิทยาทั่วไป หมายถึง การศึกษาพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน และสังเกตเห็นได้โดยทางอ้อม ตลอดจนการศึกษากระบวนการทำงานของจิตเพื่อการปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ แต่ไม่ได้มีเป้าหมายให้พ้นทุกข์อย่างถาวร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของจิตวิทยาแนวพุทธ
 
พุทธศาสนา รวมความถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างขวาง ทั้งยังรวมไปถึงความเชื่อถือ และการประพฤติปฏิบัติของชาวพุทธด้วย ขณะที่จิตวิทยาแนวพุทธ จะนำบางส่วนของพุทธศาสนา โดยเฉพาะส่วนแก่นกลางที่กล่าวถึงความทุกข์ทางใจ กระบวนการเกิดและดับของความทุกข์ทางใจ โดยอาศัยคำอธิบายของกระบวนการทางจิตใจที่ใช้กันอยู่ในจิตวิทยามาประยุกต์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจสำหรับคนในยุคปัจจุบันที่คุ้นเคยกับจิตวิทยา
     
@@@@@@@

ความหมายของคำว่า “สุข” และ“ทุกข์” ทางใจ

มนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมประสบกับภาวะจิตใจทั้งที่เป็นความสุขและความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าถามว่า ความสุข หมายถึงอะไร เราก็อาจตอบได้ว่า ความสุข หมายถึง การที่เราได้รับความพึงพอใจ ความสมหวังจากสิ่งต่างๆ รอบด้าน
     
จากความหมายดังกล่าว ถ้าถามว่า ความสุขของคุณคืออะไร เราจะได้รับคำตอบที่แตกต่างกันไป เช่น บางคนสุขเพราะได้อยู่กับคนที่รักหรือถูกใจ บางคนสุขเพราะได้ทำงานที่ถูกใจ สุขจากประสบความสำเร็จในการทำงาน สุขจากการได้ทำบุญ สุขจากการรอดภัยอันตราย สุขจากการได้ของถูกใจ หรือบางคนเพียงแค่เจอเพื่อนเก่าที่ไม่ได้เจอกันมานานก็เป็นสุขแล้ว
     
ในทำนองเดียวกับคนทั่วไปอธิบายความสุข ความทุกข์ หมายถึงสิ่งที่เราได้รับไม่เป็นที่พึงพอใจของเรา หรือเราสูญเสียสิ่งที่เราไม่อยากให้เสียไป เนื่องจากความทุกข์เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ปรารถนา และพยามหลีกเลี่ยง จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการศึกษาและเอาชนะไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยาหรือศาสนาต่าง ๆ
     
ความทุกข์ใจ ในทางจิตวิทยาเป็นภาวะยุ่งยากทางจิตใจ

เช่น ความกลัว ความวิตกกังวล ความรู้สึกผิด ละอายใจ ความท้อแท้สิ้นหวัง เป็นต้น ความทุกข์นี้เกิดจากการปรับตัวไม่ได้ หรือเสียสมดุลโดยอาจเกิดจากปัจจัยภายใน เช่น ความแปรปรวนในความคิดหรือภาวะอารมณ์ของเราเอง และหรือปัจจัยภายนอกมาทำให้เกิดความคิดและความรู้สึกที่เป็นทุกข์ เช่น การสูญเสียสิ่งรัก การประสบความผิดหวัง การเผชิญภาวะวิกฤติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน อาชีพ การทำงาน ครอบครัว ความยุ่งยากเหล่านี้อาจเป็นภาวะชั่วคราวของการปรับตัว หรือกระทั่งกลายเป็นความผิดปกติทางจิตใจ

     



ในทางจิตวิทยา ภาวะเป็นสุขทุกข์ไม่ว่า จะมีปัจจัยภายนอกมาเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใดก็ตาม ในที่สุดก็จะมีจุดร่วมที่เกี่ยวข้องกัน หรือมีสาเหตุจาก
     1. ความคิดทางลบ    
     2. ความรู้สึกเครียดที่สะสมในจิตใจ
     
ความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์ ทางจิตวิทยาจัดอยู่ในกลุ่มความคิดทางลบ เช่น คิดแต่สิ่งที่สูญเสีย คิดอยู่แต่กับอดีต มองโลกในแง่ร้าย กลัวการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ความรู้สึกที่ทำให้ทุกข์ใจจะมีลักษณะร่วม คือ เป็นความเครียดของจิตใจ เมื่อคนเราเผชิญความกดดันต่างๆ รอบตัว ทั้งเรื่องที่รับรู้ว่าเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ เมื่อประกอบกับความคิดทางลบที่ได้กล่าวมาแล้ว ความรู้สึกเครียดก็จะสะสม จนทำให้กลายเป็นความวิตกกังวล หรือนานไปก็กลายเป็นความท้อแท้สิ้นหวัง และซึมเศร้าในที่สุด
          
การศึกษาในปัจจุบันพบว่า แต่ละบุคคลมีความอ่อนไหวภายในตนเองที่จะเกิดความคิดทางลบ และความรู้สึกเครียด จนทำให้เกิดความทุกข์ใจได้ต่างๆ กัน เพราะสาเหตุในด้าน
    1. ความคิดทางลบ
    2. ปมในจิตใจที่สะสมมาจากวัยเด็ก
    3. ประสบการณ์ในตลอดชีวิต
     
@@@@@@@

เมื่อคนเรามีความทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ที่เกิดจากความคิดหรือความรู้สึกก็ตาม จะพยายามที่จะขจัดความทุกข์เหล่านั้น แนวคิดทางจิตวิทยาเสนอกระบวนการพัฒนาตนเองที่จะจัดการกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นโดย
     
1. การจัดการกับอารมณ์ โดยใช้เทคนิคการผ่อนคลายวิธีต่างๆ ในการคลายเครียด เช่น
    1. การหายใจ
    2. การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
    3. การจินตนาการ
เพื่อให้ความรู้สึกนั้นมันออกจากตัวเรา และเกิดอารมณ์ทางบวกในลักษณะของความสงบและผ่อนคลายเข้ามาแทนที่

2. การจัดการกับความคิด โดยปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ให้เป็นคิดทางบวก (Positive Thinking)
    ตัวอย่าง เมื่อเกิดมหัตภัยพิบัติ ผู้ที่สูญเสีย เกิดความทุกข์ใจเพราะมองแต่ด้านที่ตนสูญเสียไป ก็ปรับเปลี่ยน วิธีคิดเสียใหม่ว่าตนยังมีอะไรเหลืออยู่บ้าง เช่น มีเวลาให้กับตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น หรือเหตุการณ์นั้นทำให้ เราได้เรียนรู้ที่จะนำมาเป็นบทเรียน เพื่อจะปรับปรุงสิ่งบกพร่องต่อไป

     
@@@@@@@

การพัฒนาตนเองแนวจิตวิทยาทั้ง 2 วิธีการนั้น สามารถช่วยบรรเทาทุกข์ที่เกิดขึ้น ให้มีความคิดความรู้สึกที่บรรเทาเบาบางได้ แต่ไม่ใช้วิธีที่ดับทุกข์ เพราะยังไม่ได้เน้นให้หยั่งรู้ถึงความเป็นจริงว่าสิ่งใดก็ตามเมื่อมันเกิดก็ต้องมีดับไป จนสามารถปล่อยวางทั้งในเรื่องนั้นและเรื่องอื่นๆ ได้
      
หมายเหตุ : ศึกษา เรื่องหลักธรรมมะเพิ่มเติม เช่น วิธีดับทุกข์ เป็นต้น

     




Thank to : http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=132&typeID=22&form=9
คอลัมน์ : สงบใจไปกับธรรมะ โดย นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข   
วันที่ 12 เดือนมีนาคม พ.ศ.2552
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ