..ภูได้ออกจากห้องมาเพื่อทานข้าว ทานยา ตามที่ชิวบอก (ที่ภูฟังชิว เพราะว่าชิวปรับอารมณ์ความรู้สึกของภูให้ปกติขึ้น ทำให้ภูรู้สึกไม่เป็นภัย คุยได้ ไม่หวาดกลัว ไม่ระแวง ไม่เดลียด ไม่ชัง)
..พอปะป๊าเห็นภูไกลๆ ก็ยืนขึ้นโล่งอกดีใจที่ภูไม่ทำร้ายตัวเอง แต่ด้วยใจคิดอยากจะสอนลูก ดัดนิสัยลูก ติดคำว่าพ่อค้ำคออยู่ จนลืมว่าภูเพิ่งเป็นเด็กโต ขาดแม่ เป็นวัยที่ยังต้องการความรักจากครอบครัวอยู่
ปะป๊า : รอภูอยู่มากินข้าวได้แล้ว ต้องกินยาพักหมอ
ภู : ครับ
ปะป๊า : คราวหน้าอย่าทำอย่างนี้อีกนะ ภูโตแล้ว เป็นผู้ใหญ่แล้ว อย่าหาทางออกของปัญหาอย่างนี้อีก
ภู : ครับ ผมก็ไม่อยากทำอีก แต่พอมันคิดแล้ว มันก็ทำไปเองครับ
ปะป๊า : เฮ้อ..(ถอนหายใจแบบท้อใจตามภู) (。´-д-)
..พอกินข้าวกินยาเสร็จแล้ว ภูก็ขึ้นมาห้อง แล้วก็หลับไป.. ( ु⁎ᴗ_ᴗ⁎)ु.。oO
..พอตื่นเช้า 7:00 โมงมาภูยังภูยังหยุดเรียนภายใน 1 อาทิตย์อยู่ ก็ได้ออกไปซื้อข้าวเช้ามาทาน..ขณะไปซื้อข้าวก็มีข่าวนักเรียน ม.3 กระโดด ตึกฆ่าตัวตาย..กลุ่มคนที่ดูข่าวต่างพูดว่า..
..น่าเสียดายเด็กเรียนดี แต่เครียดกับเรียนจนฆ่าตัวตาย
..ฉลาดเรื่องเรียน แต่ปรับอารมณ์จัดการความคิดที่ยุ่งเหยิงไม่ได้ น่าเสียดายจริงๆ
..ฆ่าตัวตายก่อนหมดอายุไขพระท่านว่า ต้องฆ่าตัวตายซ้ำๆจนกว่าจะหมดอายุไข ต้องชดใช้กรรมหนัก ต้องเวียนเกิดแล้วกระโดดตึกตายซ้ำๆจนกว่าจะหมดอายุไขย
..นี่คงต้องทำวนไปอีกนานหลายสิบปีเลยสิ
..ตายจากโลกนี้แล้ว ก็ยังต้องไปตายซ้ำๆ ทุกข์ทรมาน จะรับบุญก็ไม่ได้ จนกว่าจะหมดอายุไขย..
..เมื่อภูได้ฟังดังนั้น ก็เกิดกลัวในใจ หากตนเองฆ่าตัวตายอีก และหากตายจริง ก็คงต้องวนตายซ้ำๆไม่หยุด คนเราอายุไขย 70 ปี ก็ต้องทำซ้ำๆอีก 56 ปี ไปไหนไม่ได้..
..ระหว่างภูเดินกลับบ้าน ชิว..ก็โผล่มาข้างๆภู..ภูสะดุ้งตกใจร้อง...
ภู : ว้ากกกก !!! ... !!!!!(o≧o≦)○))o
ชิว : ภู.!!.ชิวเอง ตกใจอะไร
ภู : เฮ้อ..(ภูถอนหายใจ)..ยังไม่ชินน่ะชิว
ชิว : 555 เอิ๊กๆๆ
ภู : ชิว...ภูกลัว
ชิว : กลัวอะไรหรอ
ภู : ภูไม่อยากฆ่าตัวตายอีก..ถ้าทำแบบไม่รู้ตัวอีกจะทำยังไงดี..ภูไม่อยากต้องไปฆ่าตัวตายซ้ำๆ ไม่มีข้าวกิน ไม่ได้รับส่วนบุญ (。•́︿•̀。)
ชิว : ไม่ต้อห่วงนะ ชิวจะช่วยภูรักษาเอง..ก็แก้ด้วยการใช้สติปัญญาให้มากๆไง
ภู : ทำยังไงล่ะ เฮ้อ...
ชิว : ข้อแรกนะภูต้องอยากหายจริงๆก่อน ถึงจะทำได้
ภู : อยากหายจริงๆสิ บอกภูหน่อย แต่ภูกินข้าวก่อนนะ ಠ﹏ಠ
ชิว : ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ
..เมื่อภูกินข้าวเสร็จ ชิวก็บินวนภู..
ชิว : พร้อมรึยัง
ภู : พร้อมแล้วงับ
ชิว : สิ่งแรกเลยนะภูต้องมีเป้าหมายก่อน คือ อยากหายด้วยใจจริง ตั้งใจจะฝึกฝนทำทุกวัน เพื่อให้ตัวเองบำบัดจิตใจจนหายได้
ภู : โอเช เยย
ชิว : งั้นมาเริ่มกันเลย
ชิว : 1. รู้ตน การรักษาสภาพจิตใจ ภูต้องรู้ว่า..
1.1 ) ตนเองมีฐานะอะไร เป็นลูก เป็นผู้ชาย เป็นนักเรียน พอมีพอกิน ร่ำรวย หรือยากจน
1.2 ) มีภาวะร่างกายและจิตใจอย่างไร
..๑.๒.๑) มีภาวะร่างกายแบบไหนในปัจจุบัน..ลมหายใจแรง-เบา-สั้น-ยาว หรือ กำลังอยู่อิริยาบถใด เคลื่อนไหวอย่างไร ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ขี้ เยี่ยว ทำกิจการงานใดอยู่
..๑.๒.๒) มีสภาพร่างกายอย่างไร..อ่อนแอหรือแข็งแรง, ครบ 32 ประการหรือพิการ, เจ็บป่วยมีโรคหรือไม่มีโรค
..๑.๒.๓) มีสภาพจิตใจแบบไหน..ดี-ร้าย-สุข-ทุกข์-เฉยๆ
..๑.๒.๔) มีภาวะอะไรเกิดขึ้นทางใจในปัจจุบัน..มีจิตปกติ ผ่องใส เบา สบาย เย็นใจ หรือ..เกิดความไม่ปกติด้วยใคร่-โหยหา-โลภ-โกรธ-พยาบาท-เกลียดชัง-ห่อเหี่ยว-หดหู่ซึมเศร้า-ว้าวุ่น-เคลิบเคลิ้ม-ติดเข้ามิติความคิดในโลกส่วนตัว-กลัว-ฟุ้งซ่านในใจ
1.3 ) มีกำลัง..ความรู้ ทักษะความสามารถ ความถนัด และคุณธรรมอย่างไร (IQ, EQ, CQ, FQ, HQ, MQ, PQ, AQ, SQ, TQ) ว่าขณะนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
.๑.๓.๑) ใช้ปัญญา..ไม่ใช้ความรู้สึก คือ รู้วิเคราะห์ไตร่ตรองเลือกเฟ้นเห็นคุณและโทษก่อนลงมือทำ รู้ว่าผลทุกอย่างอยู่ที่เหตุการกระทำ และ ทุกๆการกระทำมีผลสืบต่อให้เราได้รับผลเสมอ, ทุกอย่างมีเหตุทำให้เกิดผลแสดงขึ้นมาได้หมด, เป็นความเชื่อ เป็น Mindset แนวทางความคิด ที่ใช้ อริยะสัจ ๔ กำกับรู้ (ศรัทธา)..(สาเหตุที่ไม่จำกัดความหมายของ ศรัทธา ในข้อนี้ว่า ความเชื่อ หรือ รู้แจ้งกรรม เพราะจะเป็น..ความเชื่อร่วมกับสัมมาทิฎฐิ ความรู้แจ้งเห็นจริงด้วยปัญญาเห็นชอบ กำกับด้วย อริยะสัจ ๔ ซึ่งเป็นทั้งธรรมที่ใช้ วิเคราะห์ วินิจฉัย ไตร่ตรอง และการปฏิบัติ รู้ว่าผลนี้เกิดแต่เหตุใด รู้ว่าเหตุนี้มีอะไรเป็นผล รวมถึงความรู้แจ้งแทงตลอดเหตุเกิดและเหตุดับแห่งนามรูป ความดับทุกข์ และทางปฏิบัติให้หลุดพ้นทุกข์ รวมทั้งมหาสติปัฏฐาน ๔)
..๑.๓.๒) มีวินัย คือ รู้กฎระเบียบ รู้กฎเกณฑ์ รู้การปฏิบัติ วางตัวเหมาะสม (ศีล)
..๑.๓.๓) มีความรู้ คือ มีการศึกษาหาความรู้ วินิจฉัย ค้นคว้า เรียนรู้ (สุตะ)
..๑.๓.๔) มีอัธยาสัยดี คือ การเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีใจกว้าง มีน้ำใจเอื้ออาธร (จาคะ)..(สาเหตุที่ไม่จำกัดความหมายของ จาคะ ในข้อนี้ว่า การสละ เพราะจะเป็นการมีจริยธรรมในจิตใจ โอบอ้อมอารีย์ มีมนุษยสัมพันธ์ดี คิดกุศล(คิดบวก) ไม่ผูกโกรธแค้น คิดอกุศล(คิดลบ) มีใจเอื้อเฟื้อ รู้ช่วยเหลือ แบ่งปัน..จาคะ ที่เป็นการสละ นี้มี 2 ประการ ๑.) การให้ทาน เป็นการให้สิ่งของ ตลอดจนการให้ที่เป็นมหาทาน คือ ภัยทานที่เป็น ศีล , ๒.) การเดินจิต เป็นการสละตวามเห็นแก่ตัว ตลอดจนสละคืนอุปธิทั้งหมดคือถึงพระนิพพานด้วย จึงใช้คำจำกัดความไทยที่มีคุณลักษณะของ การสละให้ และ การสละคืนกิเลสทำจิตใจให้แจ่มใส ที่เข้าใจง่ายในการดำรงชีพ)
..๑.๓.๕) มีความเข้าใจแจ้งชัดตามจริง ในสิ่งต่างๆที่ได้เรียนรู้ หรือ รับรู้มา (ปัญญา)
..๑.๓.๖) มีไหวพริบ คือ ความเฉียบไวในการตัดสินใจแก้ไขตอบโต้ (ปฏิภาณ) ..ต้องมีทักษะความสามารถ รับรู้และเข้าใจในสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน, รู้โจทย์ความต้องการของใจคน หรือ สิ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้นของเหตุการณ์นั้นๆ ว่า..บุคคลนี้ๆ สถานการณ์อย่างนี้ๆ คืออะไร → มีความเป็นมาอย่างไร → บ่งบอกถึงอะไร → อะไรที่มีอยู่ → อะไรที่ขาดไป → กำลังต้องการอะไร → อะไรที่จำเป็นต้องมีในเหตุการณ์นี้ → ต้องตอบสนองโจทย์ปัญหาและความต้องการของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร → ทำให้สามารถตัดสินใจแก้ไขตอบโต้ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ถูกต้องฉับไว
ปฏิภาณ จะอาศัยทักษะร่วมอีก 3 ประการ คือ..
..ประการที่ 1 มีความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้, รู้ว่าเหตุนี้ให้ผลสืบต่ออย่างไร..มีความเข้าใจแจ้งชัดในความหมาย, รู้วิธีการ, รู้จุดประสงค์ที่มุ่งเน้นในหลักการต่างๆ สามารถแยกแยะอธิบายขยายความในแบบต่างๆ ไปสู่ผลลัพธ์ที่มุ่งหมายให้เหมาะกับสถานการณ์ได้
..ประการที่ 2 มีความเข้าใจสามารถสืบสาวหาเหตุในหนหลังได้, รู้ว่าผลนี้เกิดแต่เหตุใด..ฟังเนื้อความแล้วสามารถจับประเด็นจุดหลักสำคัญของเนื้อความได้ ทำให้สามารถกำหนดขึ้นเป็นหัวข้อหลักการและจำแนกหมวดหมู่วิธีการของเนื้อความนั้นๆได้
..ประการที่ ๓ เข้าใจใช้คำพูดและภาษาในการสื่อสารที่เหมาะสมเข้าใจง่าย คือ พูดสื่อสารภาษาเดียวกันกับผู้ฟัง..โดยใช้คำจำกัดความที่เข้าใจง่าย
ภู : เยอะจัง ภูงง..เอาสั้นๆได้มั้ย (。ŏ﹏ŏ)
ชิว : อุบ !! (ชิวกั้นขำ) ... (ʘᴗʘ✿) ...
: 555.. Ꮚ\(๑^ꇳ^๑)/Ꮚ .. งั้นชิวจะบอกข้อกำหนดสั้นๆ คือ..
ชิว : 1. การรู้ตน คือ มีสติรู้ว่า..ตนเองอยู่ในสถานะใด มีหน้าที่อย่างไร มีกฎเกณฑ์อย่างไร..ของเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่นั้นๆ, ตนมีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดตนเองเป็นอย่างไร, ตนมีความรู้ ทักษะ ความสามารถอย่างไร, มีข้อดีจุดไหน อ่อนด้อยอะไร ควรฝึกฝนพัฒนาเพิ่มเติมอย่างไร ด้วยใช้ อริยะสัจ ๔ เป็นหลักการกำหนดรู้
๑. ยกตัวอย่างเรื่อง การรู้สถานะ, หน้าที่ และกฏเกณฑ์ ของตนในสถานการณ์นั้นๆ เช่น..
ชิว : ตอนภูไปเตะบอล ภูรู้ไหมอยู่ในสภานะใดสนามของการแข่งขัน
ภู : เป็นประตูไง
ชิว : ดีมาก..แล้วประตูทำหน้าที่อะไร
ภู : ก็ป้องกันประตูไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามยิงเข้าไง
ชิว : นี่แสดงว่า..ภู รู้ตน ในข้อที่ว่าด้วย..การรู้สถานะและกฏเกณฑ์ของตนในเหตุการณ์นั้นแล้ว
ภู : ว้าว ง่ายจัง แค่นี้เอง แค่รู้ตำแหน่งหน้าที่ตนเองในสนามฟุตบอล ก็รู้ตัวเองแล้ว
: ง่ายจัง !!.. ✧*。(◍^ᴗ^◍)✧*。
ชิว : การรู้สถานะหน้าที่ของตน รู้กฎเกณฑ์ในสถานการณ์นั้นๆ เป็นการรู้ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง รู้สิ่งที่ตนเองควรทำต่อสถานการณ์นั้นๆ เหมือนภูเป็นลูก..ก็ต้องรู้สถานะตัวเอง ไม่ล่วงเกินก้าวก่ายโวยวายปะป๊า..รู้หน้าที่ของตนที่ควรทำ คือเป็นลูกที่เคารพรักให้เกียรติปะป๊า มีระเบียบวินัย ตั้งใจเรียน เป็นต้น..นี่คือ..การวางตัวเป็น..วางตัวได้ถูกต้องเหมาะสม..ของภู..
ชิว : งั้นข้อต่อไปเลยนะ
๒. ยกตัวอย่างการรู้กายตนเอง เช่น..
ชิว : รู้กาย..อันดับที่ 1. การรู้กายด้วยลมหายใจ
: ..ตอนนี้ภูกำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก สั้นหรือยาว แรงหรือเบา..
ภู : งืมๆๆ..(แล้วภูก็หลับตาทำความรู้ลมหายใจ)..ตอนนี้ก็หายใจปกตินะ กำลังหายใจเข้า พอดีๆ ไม่สั้น ไม่ยาว กำลังหายใจออก แต่สั้นกว่าลมหายใจเข้าหน่อยนึง ลมหายใจเข้า สบายๆ ลมหายใจออกก็สบาย ไม่ได้หายใจแรงจนเสียงดังจนได้ยินเสียงลมหายใจตัวเอง..ก็ปกติดีนะ
ชิว : เยี่ยมเลย..นี่แหละเวลาเรามีสภาพร่างกายจิตใจปกติก็จะหายใจสบายๆแบบนี้แหละ
ภู : ว้าว .. ( ◜‿◝ ) ♡ ..
ชิว : งั้นภูรู้ทันลมหายใจเข้าออกสบายๆต่อไปสักพักนะ
ภู : โอเชเยย .. ( ◜‿◝ ) ♡ ..
...เวลาผ่านไป 10 นาที...
ชิว : เอาล่ะนะทีนี..พอภูรู้ลมหายใจแล้ว ภูเป็นอย่างไร รู้สึกผ่อนคลายมั้ย
ภู : ก็ดีนะ มันสบายดี ไม่ต้องคิดอะไร แค่รู้ทันลมหายใจว่าเข้าหรือออก สั้นหรือยาว เท่านั้นเอง
ชิว : แล้วรู้สึกว่าภู สมองโล่งขึ้นมั้ย
ภู : โล่ง เบา ผ่อนคลายดีขึ้นมากเลยล่ะ
ชิว : แล้วตอนนี้ภูรู้สึกว่า ตัวเองรับรู้ทุกอย่างสบายใจขึ้น ดีขึ้นไหม
ภู : อืมม..ก็ดีนะ รับรู้แล้วไม่คิดอะไรมากมาย สบายๆ
ชิว : แสดงว่าตอนนี้ภูเริ่มรับรู้อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้ดีขึ้นแล้วใช่ไหม
ภู : งืมๆๆๆ..มั้งนะ
ชิว : เพราะตอนนี้ภูรู้ว่าตนเองรู้ว่าตนเองผ่อนคลาย สบาย คิดน้อย
ภู : ใช่..
ชิว : นี้เรียกว่ามีสติดีขึ้น มีกำลังดีขึ้น ทำให้รู้ตัวมากขึ้น รู้เท่าทันไวขึ้น ทำให้ใจภูตั้งขึ้น เข้มแข็งขึ้น หนักแน่นขึ้น อ่อนไหวตามความคิดน้อยลง เป็นอานิสงส์จากการรู้ลมหายใจ การรู้ทันลมหายใจเข้า-ออก ไม่ทิ้งลมหายใจนี้แหละ เป็นสร้างเหตุให้สติเกิดขึ้น ฝึกสติให้ไวเท่าทันความรู้สึกนึกคิด สร้างกำลังให้สติ ทำให้สติตั้งมั่น และสร้างกำลังให้สมาธิ เป็นอาหารให้ใจเรา ..นี่คือ บังไค ระดับที่ 1 ของภู..
ภู : อ่อ..เป็นแบบนี้นี่เอง แค่รู้ลมหายใจเท่านี้ มันดีอย่างนี้เลยนะ..(เริ่มเข้าใจไวขึ้นนะนี่ อิอิ)
ชิว : รู้กาย..อันดับที่ 2. การรู้กายด้วยสัมปะชัญญะ
: ..ตอนนี้ภูกำลังทำอะไร..อยู่ในท่าทางอิริยาบถใด..
ภู : ภูกำลังฟังชิวสอนภูอยู่ไง
ชิว : ดีมาก..แล้วชิวกำลังสอนอะไรภู
ภู : สอนการรู้ตนให้ภู
ชิว : ดีมาก..แล้วภูกำลังอยู่ท่าทางใด
ภู : ภูกำลังนั่งเหยียดขา พิงหัวเตียงอยู่
ชิว : ทีนี้ให้ภูลุกยืนขึ้นนะ
...(แล้วภูก็ลุกยืนขึ้น)..
ชิว : ..ตอนนี้ภูรู้ตัวเองไหม ว่ากำลังทำอะไร
ภู : ก็ยืนตามชิวบอกไง
ชิว : ดีมาก..แล้วลองเดินซิ
..(พอภูกำลังยกขวาขึ้นย่างก้าว ชิวก็บอกให้หยุดค้างท่านั้นไว้ก่อน)..
ภู : ห๊ะ..
ชิว : ภูรู้ตัวไหมว่ากำลังทำอะไร
ภู : กำลังเดินไง
ชิว : กำลังยกขาไหน
ภู : ขาขวาไง
ชิว : กำลังจะก้าวขาไหน
ภู : ก็ขาขวาไง
ชิว : ดีมาก..วางขาขวาก้าวลงไปข้างหน้าได้ ให้ภูทำความรู้สึกตัวของร่างกายแบบนี้ทั้งขาซ้ายและขวานะ ทำแบบนี้ไป 20 ก้าว
ภู : อ่า (。ŏ﹏ŏ)
..เมื่อภูเดินครบ 20 ก้าว..
ชิว : ตอนที่ภูเดิน ภูคิดมากมั้ย เครียดมั้ย
ภู : งืมๆๆ..ก็ไม่นะ เพราะใจมันตั้งจับอยู่ที่การยกขา เหยียดก้าวขา วางพื้น การสลับขาอีดข้าง แล้วก็ยกขา เหยียดก้าวขา วางพื้น มันเลยไม่ไปคิดอย่างอื่น ก็ไม่ได้เครียดอะไรนะ
ชิว : ดีมากเลยตอนนี้..นี่เรียกการเดินจงกรม ทำแค่นี้แหละ จะช่วยตัดใจที่จมอยู่กับความคิด แล้วหันมาจดจ่อที่กาย เพื่อทำความรู้สึกตัวแทนได้ ภูรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกายตัวเองดีขึ้นมั้ย
ภู : (◍•ᴗ•◍)
ชิว : งั้นนั่งลง (ภูก็ค่อยๆนั่งลง) ..ทีนี้ภูมีความรู้สึกว่า..ภูรับรู้ทันการเคลื่อนไหวทางกายดีขึ้นไหม
ภู : ก็ดีนะ ตอนภูนั่งเมื่อตะกี๊รู้สึกว่า..ใจภูเห็นตัวเองว่า..กำลังย่อ หย่อนก้นลงที่นอน รู้ว่าก้นแตะบนที่นอนนุ่มๆ
ชิว : ดีมากๆเลยนะ..ตอนที่ภูเดินจงกรม และจะนั่งลง ใจภูเป็นตัวสั่งให้ ยก ย่าง เหยียด ลง หรือร่างกายมันเป็นไปเอง
ภู : งืมๆๆ (ภูหลับตาย้อนทบทวนเหตุการณ์) รู้สึกเหมือนว่า..เวลาขาภูขยับ ใจภูจะมีความคิดนึกว่าจะให้กายทำอะไร คือ ในใจคิดว่าจะเดิน..จะขยับอะไร(ขาขวา) ขยับตรงส่วนไหน(ยกเข่าขึ้น) จะเคลื่อนไหวไปยังไง(ยก เหยียด ย่าง หมายก้าวไปข้่างหน้า) แล้วกายก็ทำไปตามนั้น
ชิว : ดีแล้วๆ..นี่แหละเขาเรียก ใจสั่งกาย จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว จิตเป็นตัวสั่งกายให้กระทำต่างๆไป นี่เรียกว่า..ภูรู้จักสืบค้นหาเหตุของการกระทำ จากผลลัพธ์ที่แสดงออกมาแล้วนะนี่..ภูฉลาดมากเลยนะนี่
ภู : (◍•ᴗ•◍) ~~~ (人*´∀`)。*゚+
ชิว : นี่ล่ะฝึกแบบนี้ไปเรื่อยๆนะ การรู้ตัวทางกายว่า..ตนกำลังทำอะไร, อยู่ในอิริยาบถไหน, กำลังเคลื่อนไหวไปยังไงบ่อยๆนี้แหละ..จะช่วยให้ภู..รู้ทันใจที่สั่งกาย..รู้ทันการเคลื่อนไหวของกาย รู้ทันใจที่กำลังนึกสั่งให้กายกระทำ เรียกว่า..รู้ทันเจตนาทางกาย..จะทำให้ภูห้ามตนเองให้ไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดีได้ทัน หรือ ห้ามตนเองทันก่อนทำเรื่องที่แย่ๆได้ทัน นี่เรียกความรู้สึกตัว เรียกว่า สัมปะชัญญะ ..นี่คือ บังไค..ระดับที่ 2 ของภู..
ภู : ว้าว.. (◍•ᴗ•◍) เหมือนลำบากกว่าดูลมหายใจ แต่ก้อไม่ยากเย็นอะไร เพราะแค่ทำความรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรสิ่งใดอยู่ อยู่ในท่าทางยังไง แล้วก็เดินจงกรมเท่านั้นเอง การเดินจงกรมก็เหมือนที่ภูเข้าแถวเดินในวิชาลูกเสือที่เดินพร้อมกัน ซ้าย ขวา ซ้าย เอิ้ว ซ้าย ขวา ซ้าย..เท่านั้นเอง แค่รู้เพิ่มว่า..ขาไหนกำลังทำอะไรเท่านั้นเอง เรากำลังยกขาไหน กำลังเหยียดขาไหน กำลังก้าวขาไหน กำลังเอาขาไกนแตะพื้น..เท่านั้นเอง สบายมาก..แค่นี้ภูก็จะไม่เผลอฆ่าตัวตายแล้วใช่มั้ย
ชิว : ใช่เลย เยี่ยมมาก
ชิว : รู้กาย..อันดับที่ 3 การรู้กายด้วยอัตภาพร่างกาย
: ..แล้วภูมีสภาพร่างกายครบพร้อม หรือพิการ มีร่างกายแข็งแรง หรือเป็นไข้..
ภู : ก็ต้องครบปกติไม่ได้พิการ แล้วก็ยังสุขภาพร่างกายดีไม่ได้เป็นไข้
ชิว : เยี่ยมเลย..นี่คือการรู้กาย มีแค่นี้เอง
ภู : ง่ายจัง แค่นี้เองหรา ( ꈍᴗꈍ)
ชิว : ใช่แล้ว..งั้นภูก็ไปโรงเรียนได้แล้วสิ
ภู : เด่วนะ.. เดี๊ยวก่อน..\(◎o◎)/..ว้าก !!
: ภูยังไม่อยากไป ยังไม่ใช่ตอนนี้นะ.. (;ŏ﹏ŏ)
ชิว : 555..นี่เขาเรียกขี้เกียจนี้นา แล้วภูรู้ใจตัวเองตอนนี้มั้ย .. ✧°•.* Ꮚ\(。•̀ᴗ-)/Ꮚ ✧°•.* ..
ภู : (≧▽≦) ..รู้อยู่งับ
ชิว : จริงๆแล้ว ที่ให้รู้อัตภาพร่างกายตนเองนี้ มีจุดประสงค์ 3 ประการ ดังนี้..
ข้อที่ 1. เพื่อให้เรารู้จักประมาณตนเอง รู้กำลังร่างกายของตนที่มีอยู่ รู้สภาพร่างกายของตน รู้จุดดีของร่างกายที่มี รู้จุดด้อยของร่างกายที่ควรเสริม รู้จุดที่แปรปรวนบกพร่องของสภาพร่างกายที่ควรดูแลรักษา รู้จักหยุด รู้จักพอ รู้จักความพอดี ไม่ทำเกินตัว ไม่ทำเกินสภาพร่างกายที่ตนเองจะรับได้..แต่ถ้าสิ่งไหนดีอยู่ในขอบเขตหน้าที่ของตน ที่ไม่เกินกำลังของตน..ก็ให้ทำในทันที
ข้อที่ 2. เพื่อให้เรารู้คุณค่าและประโยชน์ของร่างกาย ที่เราควรดูแลรักษาเพื่อใช้ร่างกายนี้ทำประโยชน์การงานต่างๆ..จุดนี้ให้รู้คุณที่พ่อแม่ให้ร่างกายนี้เรามา ให้จิตเราที่จรมาได้อาศัยใช้ทำประโยชน์สุข จิตเดิมเรานี้..เราอาจจะเกิดเป็นหมา แมว ไส้เดือน แมลงสาบ หนอนในขี้ หนอนในที่เน่าเหม็นมา ถ้าไม่มีร่างกายนี้เราคงเกิดเป็นหนอนในขี้ เป็นพยาธิ คางคก กิ้งกือ สิ่งมีชีวิตในของสกปรกเน่าเหม็น แต่เพราะได้อาศัยกายที่พ่อแม่ให้มานี้แหละเราจึงได้เกิดเป็นคน ยากนะจะได้เป็นคน ภูควรรักษากายนี้ไว้ให้ดี
ภู : (≧▽≦) ..รับแซบงับ
ชิว : ข้อที่ 3 เพื่อให้เรารู้ว่ากรรมทุกอย่างมีผลสืบต่อ ควรเห็นคุณค่าร่างกายที่พ่อแม่ให้มา จะมีมากมีน้อย ครบถ้วนบริบูรณ์ หรือขาดไม่สมบูรณ์ ก็อยู่ที่..บุญกรรมอันเก่าส่งผล..มันเป็นแค่สิ่งหนึ่งให้เราต้องพบเจอในชีวิตตามธรรมชาติ อันเป็นผลมาจากการกระทำในครั้งเก่าก่อน ซึ่งมีอยู่นับล้านๆแบบในโลกนี้ ไม่ได้มีไว้ให้เราต้องจมดิ่งกับสิ่งที่มีน้อยหรือด้อยกว่าคนอื่นนั้น..แต่มีไว้ให้เราตระหนักรู้ว่า..กรรมทั้งปวงมีผลสืบต่อ เราจึงควรสำรวมระวังการกระทำ..แล้วมีใจหนักแน่นพร้อมเผชิญหน้าและเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันให้ได้โดยที่ไม่มีทุกข์ เราต้องทำเพิ่ม ต้องเสริม ต้องทดแทนในส่วนที่ขาดด้อยหรือหายไปนั้นของเรา สิ่งดีอันใดที่เรามีน้อย ชาตินี้เราเกิดมาเพื่อสะสมเหตุในสิ่งนั้นให้มันเต็ม ทำสิ่งที่เต็มแล้วให้บริบูรณ์..ด้วยร่างกายที่พ่อแม่ให้มานี้มีคุณค่ามาก..มีไว้เพื่อให้เราใช้สร้างบุญบารมีและความสำเร็จประโยชน์สุขทั้งปวง..ดังนั้นห้ามทำร้ายร่างกายตนเองให้เสื่อมพัง และห้ามฆ่าตัวตายเด็ดขาด..บาปมาก เป็นมหาบาป..เพราะเราต้องใช้งานเขาอีกมาก..ทั้งใช้เลี้ยงดูตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ที่ให้กำเนิดและชุบเลี้ยงตนมาได้ด้วย เป็นผีทำไม่ได้นะ..ถ้าภูเลิกทำไม่ดีในเวลาใด..เวลานั้นภูก็จะไม่เพิ่มเสริมผลของกรรมนั้นให้มากขึ้นไปอีกได้
..อุปมาเหมือน..เราเลิกกำถ่านที่ไฟลุกโชนไปแล้ว มันยังจะเป็นการว่าเรายังคงถือถ่านที่ติดไฟก้อนนั้นในตอนนี้อยู่อีกหรือไม่..ก็ไม่ใช่เลย เพราะปัจจุบันเราโยนทิ้งถ่านก้อนนั้นไปแล้ว..แต่ว่าความร้อน พุพอง แสบร้อนในมือที่ได้รับอยู่ในตอนนี้ ก็คือผลสืบต่อจากการที่เราเคยกำถ่านที่มีไฟลุกไหม้ของเราในช่วงก่อนหน้านี้เท่านั้น แล้วเราจะเลือกรักษาให้แผลพุพองหาย หรือเลือกจะปล่อยมันไปแล้วกำถ่านที่มีไฟรุกโชนต่อ นั่นอยู่ที่เราเลือกที่จะทำ
ภู : <( ̄ ︶  ̄)↗ ..อ่าาา..รับแซบงับ
ชิว : ..ดังนั้นให้หมั่นคอยสอดส่องตรวจสอบดูข้อดีข้อด้วยของตน ขาดอะไร พร่องอะไร สิ่งใดมี สิ่งใดไม่มี เราสามารถทำสะสมเหตุของสิ่งนั้นให้มันเกิดมีขึ้นมาได้..เพราะการกระทำทุกอย่าง..มีผลสืบต่อเสมอ..เหมือนการรินน้ำใส่แก้ว เมื่อเติมน้ำใส่แก้ว จากแก้วเปล่าก็ทำให้แก้วนั้นมีน้ำ เมื่อรินไปเรื่อยๆน้ำก็เต็มแก้ว..สิ่งใดไม่มีหากทำสะสมบ่อยๆเรื่อยๆไม่ขาดก็จะเกิดมีขึ้นมาได้
ภู : (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧ ..รับแซบงับ
ชิว : ..เวลาเรียนรู้ ฝึกฝน หรือทำสิ่งใด ให้ภูรู้ว่า..มันคือการพัฒนาทักษะของตน เพื่อประโยชน์สุขของตน เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ เป็นสิ่งที่ตนต้องมี ต้องทำให้สำเร็จ ต้องก้าวผ่านมันไปให้ได้ การกระทำทุกอย่างส่งผลเสมอ สิ่งไหนไม่เคยทำครั้งแรกก็ย่อมยากเป็นธรรมดา..แต่หากเราเรียนรู้ สังเกตุ วิเคราะห์ทำความเข้าใจ ฝึกฝนทำไปเรื่อยๆก็จะเก่งขึ้น คล่องขึ้น ไวขึ้น และสำเร็จได้ด้วยดี..ทุกครั้งที่ทำสิ่งใดก็ให้ระลึกไว้ในใจแบบนี้ และ คอยตรวจสอบผลลัพธ์จากพัฒนาการที่ได้ของตน เราก็จะมีความสุขที่สามารถทำมันได้สำเร็จ นี้เรียกว่า..ความชอบในสิ่งที่ทำ..ส่งผลให้เกิดความเต็มใจทำในสิ่งนั้น..ทำให้เกิดความเพียรมุ่งมั่นตั้งใจในสิ่งที่ทำ เป็นพลังใจภายในให้มุ่งไปเพื่อทำให้สำเร็จ..แต่ให้เพียรด้วยความรู้สึกตัว ยินดี-แต่ไม่ตั้งความคาดหวังปารถนา คือ ทำให้เป็นที่สบายกายใจ-แต่ให้ทำบ่อยๆไม่ขาด(ยินดี)..(ไม่หย่อนไป)..จะช่วยให้ไม่เกิดความท้อแท้ เบื่อหน่าย..มีความเอาใจใส่จดจ่อในสิ่งที่ทำ ตั้งใจแน่วแน่ไม่วอกแวกหวั่นไหว ตั้งหน้าไปให้ถึงที่สุดด้วยความรู้สึกตัว-ไม่กระสันเอาผล(ไม่ตั้งความคาดหวังปารถนา)..(คือไม่ตึงไป)..จะทำให้ไม่หมกมุ่น..แล้วคอยตรวจสอบสอดส่องพัฒนาการข้อขาดตกบกพร่องของสิ่งที่ทำ เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีและสำเร็จลุล่วง..นี่คือการใช้ อิทธิบาท ๔ คอยกำกับสอดส่องข้อดีข้อด้อยที่ตนมี เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ของตนเอง
..ด้วยประการดังนี้.. ๑.) การรู้กายเพื่อรู้ประมาณตน, ๒.) การรู้กายเพื่อรู้คุณค่าร่างกายที่พ่อแม่ให้มา, ๓.) การรู้กายเพื่อรู้ในกรรมว่า..ทุกๆการกระทำมีผลสืบต่อ..แล้วทำสะสมเหตุคอยฝึกฝนสอดส่องพัฒนาการด้วยอิทธิบาท ๔ เสมอ..นี้แหละคือ..บังไค ระดับที่ 3 ของภู..
ภู : (≧▽≦) ..รับแซบงับป๋ม
ชิว : ดังนี้แล้ว พ่อแม่ให้กายเรานี้มาเพื่อสะสมบุญบารมี ไม่ใช่มาชดใช้กรรม เราจึงควรรักษาร่างกายและชีวิตนี้ไว้ เพื่อสร้างบุญบารมีและประโยชน์สุขให้ตนเอง เข้าใจนะภู..!!..
ภู : โอเชเยยย
ชิว : ดังนั้นต้องตั้งใจยึดมั่นไว้ว่า ห้ามฆ่าตัวตายนะภู...ชิวววว... Ꮚ\(。・`-´・。)/Ꮚ ...
ภู : ได้งับ (◍•ᴗ•◍)
ชิว : งั้นมาเริ่มข้อที่ 3 กันเลย รู้ใจตน คือ รู้อามณ์ความรู้สึกนึกคิดตนเอง
ภู : (≧▽≦) ..เด่วก่อนนะ ภูขอเอาเท่านี้ก่อน ถ้าเยอะเกินเดี๋ยวปัญญาอันน้อยนิด ของคนหน้าตาดีอย่างภู จะจำไม่ได้
ชิว : ได้เลย..ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ ...
คุยกันหลังจบตอน
..เด็กโตช่วงอายุ 14-16 คือ ช่วงเวลาที่เด็กมีฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเพื่อโตเป็นวัยรุ่นเต็มตัว ช่วงนี้จะเริ่มมีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่ชัดเจน เริ่มเปลี่ยนขั้ว เริ่มเปลี่ยนวัย หากไม่สามารถสร้างทัศนคติ หลักและวิธีการใช้ชีวิต, การเข้าสังคม, การแก้ปัญหา และ ตั้งมายด์เซ็ทในทางที่ถูกเพื่อปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ เด็กก็จะมีอารมณ์รุนแรง เริ่มเปลี่ยนขั้ว หรือ รู้สึกทุกอย่างผิดกับตน หรือ ตนผิดกับทุกอย่างทั้งหมด บ้างใคร่ บ้างโหยหา บ้างฟุ้งซ่าน บ้างจมติดในฝันที่ใคร่ได้ครอง ติดกับความอยากมีอยากเป็น บ้างอารมณ์ร้าย ฝังจำ ฝังแค้น ผูกโกรธ ผูกแค้น บ้างเกลียดชังริษยา บ้างหดหู่ ซึมเศร้า ติดอยู่กับความอยากให้ไม่มีสิ่งนี้เกิดขึ้นกับตน อยากให้ตนไม่ต้องพบเจอสิ่งที่ไม่ชอบ เกลียดชัง อยากให้ตนไม่มีหรือไม่ต้องพบเจอในสิ่งที่ไม่ชอบไม่พอใจ รู้สึกขาดจนเป็นอุปนิสัย เมื่อผ่านจุดนี้ไป..เด็กโตก็จะเข้าสู่วัยรุ่น
..เมื่อเป็นวัยรุ่นแล้ว Attitude, Mindset, จิตพัฒนาการ ที่ผ่านมาทั้งหมด ก็จะทำให้วัยรุ่นแต่ละคนนั้นมีอุปนิสัยเปลี่ยนไป บ้างดีขึ้น บ้างเลวร้าย แต่ตัวแปรสำคัญก็ยังอยู่ที่การปรับทัศนคติ โดยการเปลี่ยน Mindset เมื่อปรับได้ ทัศนคติ และจิตพัฒนาการในปัจจุบันก็จะเปลี่ยนแปลงจากการสะสมฝึกฝน Mindset ของแต่ละคน
ด้วยเหตุนี้ การมีศรัทธา ความเชื่อด้วยปัญญา เชื่อด้วยสัมมาทิฏฐิ ใช้ปัญญาไม่ใช้ความรู้สึก เชื่อด้วยความเห็นจริงตามพระอริยะสัจ ๔ จึงสำคัญ
การรู้ตนในส่วนกายนี้มีความสำคัญ คือ.. เป็นรากฐานแห่งสติ เป็นการฝึกสติ สร้างสติให้เกิดขึ้นบ่อยๆ ทำให้สติมีกำลังตั้งมั่น สามารถยับยั้ง แยกใจจากความคิด แยกแยะถูกผิด พิจารณาไตร่ตรองแยบคายจนสามารถเลือกเฟ้น..ธัมมารมณ์หรือสิ่งที่ควรเสพ, ควรน้อมใจไป, ควรเอามาเป็นที่ตั้งในใจ, ควรคิด-ควรพูด-ควรทำ และ..ธัมมารมณ์หรือสิ่งที่ไม่ควรเสพ, ไม่ควรน้อมใจไป, ไม่ควรเอามาเป็นที่ตั้งของใจ, ไม่ควรคิด-ไม่ควรพูด-ไม่ควรทำได้ ทำให้จิตไม่หดหู่ ห่อเหี่ยว ซึมเศร้า มีความอิ่มใจ เย็น เบาใจ
เมื่อฝึกรู้ตนด้วยกาย คือ สัมปะชัญญะ ใจก็จะรู้ทันความคิดนึกที่สั่งการทางกาย ที่เรียกว่า เจตนาทางกาย ทำให้ไม่เผลอตัวทำอะไรผิดพลาด มีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นได้ไว ทันจิตที่สั่งกาย ทันเจตนาทางกาย
เมื่อสติสัมปะชัญญะตั้งมั่น ทรงได้นาน ก็ทำให้ใจเรามีกำลังมากขึ้นตาม เพราะทำงานน้อยลง จึงมีแรงกำลังมากขึ้น จัดระเบียบการรับรู้และความคิดได้ดีขึ้น เป็นระบบขึ้น เข้มแข็งขึ้น ตั้งมั่นขึ้นตาม หนักแน่น มั่นคง ไม่หวั่นไหวตามความคิด ไม่อ่อนไหวตามความรัก ชัง หลง กลัว จิตเป็นอารมณ์เดียวไม่แตกซ่านไหวกระจายไปทั่ว ที่เรียกว่า จิตตั้งมั่น หรือ สมาธิ นั่นเอง
เพราะจิตที่ตั้งมั่น หนักแน่น มั่นคง รวมลงเป็นอารมณ์เดียว จึงไม่มีความรู้สึกนึกคิดกิเลสบดบังการทำความรู้เห็นตามจริงด้วยพระอริยะสัจ ๔ เรียกว่า รู้ว่าผลนี้เกิดแต่เหตุใด..เข้าใจรายละเอียดชัดเจน รู้ว่าเหตุการกระทำนี้ให้ผลอย่างไร..จับจุดหลักได้ จำแนกรายละเอียดได้ชัดเจน บันทึกจดจำเข้าใจง่าย สื่อสารง่าย มีวิธีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ รวดเร็ว ว่องไว ทันการ ที่เรียกว่า..สติปัญญา เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ
เรื่องกรรม
..หัวใจหลักให้ใจมีความมุ่งมั่น มีแรงบรรดาลใจ เพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้า ให้เราหนักแน่นไว้ในใจว่า..เราเกิดมาเพื่อเอาชนะปัญหา..เราไม่ได้เกิดมาเพื่อพ่ายแพ้ให้กับมัน..
..สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสสอนไว้ว่า..การกระทำทุกอย่าง..ย่อมส่งผลสืบต่อทั้งหมด หากเราทำสิ่งใดไว้..ก็ย่อมได้รับผลจากการกระทำนั้น..
..หากเราเชื่อมั่นว่า..ปัญหาที่เราพบเจอนั้น มันก็เป็นเพียงแค่กรรมเก่าที่เคยทำไว้ส่งผลให้เราต้องพบเจอ..เราเกิดมาเพื่อเอาชนะมัน..เราเกิดมาเพื่อทำให้วิบากกรรมนั้นหมดสิ้นไปไม่สืบต่อผลของมันอีก..ไม่ใช่เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม หรือยอมแพ้ให้กับมัน..เราก็จะสามารถกระทำการแก้ไขให้วิบากกรรมหรือปัญหาเหล่านั้นสิ้นสุดลงได้..
..เหมือนคนที่เขาทุพพลภาพ หรือ คนที่เขาไม่มีความสามารถไม่มีทักษะอะไรเพื่อใช้ดำเนินชีวิตเลย..แต่เขาไม่ยอมแพ้ หมั่นศึกษาเรียนรู้ฝึกฝนเพิ่ม Skill ทักษะความสามารถให้ตนเอง..การกระทำนั้นย่อมส่งผลให้เขา ได้ทักษะที่ตนไม่เคยมี เกิดขึ้นมาไม่มากก็น้อย..แต่ไม่มีทางที่จะไม่ได้อะไรเลย และ ทักษะใดที่มีอยู่แล้วก็จะบริบูรณ์ขึ้น
..ดังนั้นการคิดว่า..ตนเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม แล้วนอนจมดิ่งปล่อยตามยถากรรม ให้วิบากกรรมเก่าส่งผลสืบต่อไปเรื่อยๆ ย่อมทำให้ตนเองถึงความฉิบหาย..ความคิดนั้นก็จะกลายเป็นแค่..คำปลอบใจของคนที่ไม่สู้ปัญหา
..แต่คนที่ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจริง..เขาจะคิดว่า..วิบากกรรมเก่า คือ สิ่งที่ทำให้เราต้องพบเจอเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งเรื่องดี เรื่องร้าย อย่างเลี่ยงไม่ได้..แต่ไม่ใช่สิ่งที่ลิขิตชะตาชีวิตเรา..ส่วนสิ่งที่จะลิขิตชีวิตให้ก้าวไปในทิศทางใดนั้น ตัวเราคือผู้ลิขิต เราคือผู้ที่จะเลือกกระทำตอบโต้กลับโชคชะตาที่ต้องพบเจอนั้น..เราควรแก้ไขวิบากกรรมนั้นเสียตั้งแต่ตอนนี้ เลือกที่จะทำให้ดีขึ้น ไม่ไหลตามวิบากกรรมที่พบเจอตรงหน้าให้วิบากกรรมนั้นส่งผลสืบต่อเพิ่มขึ้น เพื่