ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีแก้อาการขี้น้อยใจ  (อ่าน 21429 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
วิธีแก้อาการขี้น้อยใจ
« เมื่อ: เมษายน 18, 2011, 11:21:41 am »
0

วิธีแก้อาการขี้น้อยใจ


ถาม : เราน้อยใจใครสักคน...เรารู้ว่าเกิดจากอะไร แต่ทำไมเราตัดไม่ได้คะ ?

ตอบ : เพราะว่าสติและปัญญายังมีกำลังไม่เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับจิตให้มากกว่านี้ด้วยการภาวนา

การภาวนาจะสร้างสติของเราให้มั่นคง ทำให้กำลังใจของเราเข้มแข็ง พอถึงเวลาเราต้องรู้จักพิจารณาว่า เราน้อยใจเขาแล้วได้ประโยชน์อะไร ? เขาก็ตายเราก็ตาย ในที่สุดต่างคนก็ต่างตาย ระหว่าง ที่มีชีวิตอยู่ เขาก็ทุกข์ เราก็ทุกข์ เราน้อยใจเขา เราโกรธเขา เราคิดมากอยู่คนเดียว เขานอนสบาย เรากำลังหาเรื่องทุกข์ใส่ตัวหรือเปล่า ?

พอ ปัญญาเกิดจะค่อยๆ ละ ค่อยๆ ตัดไปเรื่อย แล้วในที่สุดเมื่อเจอหน้าเขาก็รู้สึกเฉยๆ ไม่กระเทือนใจอีก แผ่เมตตาให้เขาบ่อยๆ แรกๆ ก็ให้คนที่เรารักก่อน ถ้าไปให้คนที่เราเกลียดมากๆ ใจจะต่อต้าน ให้ไม่ไหว แรกๆ ให้คนที่เรารักก่อน

หลัง จากนั้นพอกำลังใจมั่นคง ก็ให้คนที่เราไม่รักไม่เกลียด คือบรรดาผู้ที่ร่วมทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตาย จะเป็นคนก็ดี เป็นสัตว์ก็ดี จะเป็นภพใดภูมิใดก็ตาม แล้วหลังจากนั้นก็ให้คนที่เราเกลียดน้อย แล้วค่อยให้คนที่เราเกลียดมาก ถ้าไปให้คนที่เกลียดมากทีเดียวกำลังใจจะถูกตีกลับ

ยัง มีใครยังขี้น้อยใจอีก ? ไปลองพิจารณาดูนะ แหม....ไปเจ้าคิดเจ้าแค้นน้อยใจเขา อดนอนข้ามวันข้ามคืน เจ้านั่นหลับครอกไม่รู้เรื่อง ปล่อยให้เราฉลาดอยู่คนเดียว จะว่าคิดมากก็ไม่ได้ เพราะคิดอยู่คนเดียว คิดคนเดียวจะมากได้อย่างไร ?

สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕

ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard...ead.php?t=2520
ขอขอบคุณ http://board.palungjit.com/f60/วิธีแก้อาการขี้น้อยใจ-282997.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีแก้อาการขี้น้อยใจ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 18, 2011, 11:30:25 am »
0

ทำอย่างไรให้เลิกเป็นคนขี้น้อยใจ
เป็นนิสัยที่แก้ไม่หายค่ะ รบกวนผู้รู้ช่วยชี้ทาง


ถามโดยnightbird
ดิฉันเป็นคนมีนิสัยขี้น้อยใจมากๆ ค่ะ แต่ด้วยความที่เป็นคนเงียบ พูดน้อย จึงไม่ค่อยแสดงออกให้ใครรู้ว่าตัวเองกำลังน้อยใจอยู่ และลึกๆ แล้วจะรู้สึกอยู่เสมอว่า ตัวเองไม่มีค่า ไม่มีใครต้องการ อาจเป็นปมฝังลึกจากประสบการณ์ในอดีตด้วยส่วนหนึ่ง ทั้งเรื่องครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ในวัยเด็ก และความผิดหวัง-สิ้นศรัทธาจากความรักเมื่อหลายปีก่อน

แต่ดิฉันก็ไม่ได้ปล่อยตัว-ปล่อยใจให้จมอยู่กับความทุกข์หรืออาการน้อยอกน้อย ใจนั้นนานหรอกนะคะ ทุกครั้งที่รู้ตัวว่ากำลังพลัดหลงเข้าไปสู่ความหดหู่หม่นเศร้า ดิฉันก็จะตักเตือนตัวเองว่า "ความรักคือการให้ ไม่ใช่การครอบครอง" เราควรมีความสุขจากการได้ให้ผู้อื่น หากแม้นเขาไม่เห็น หรือไม่ให้เรากลับคืน การนึกโกรธ น้อยใจ นั่นย่อมนับเป็นความอยากได้ใคร่ดี มิใช่ความปรารถนาดีอย่างบริสุทธิ์ใจแท้จริง

ยิ่งการเรียกร้องให้คนทุกคนมาใส่ใจเรา มันยิ่งเป็นเรื่องงี่เง่า เพราะนั่นเท่ากับเราไม่ได้ใส่ใจใครคนอื่นเลย มองเห็นแต่เพียงตัวเองเท่านั้น ยึดมั่นถือมั่นอยู่กับความสุขความพอใจของตัว อย่างนี้แล้วจะสุขอย่างไรได้ เมื่อจิตใจคับแคบขนาดนั้น


หากความเข้าอกเข้าใจเหล่านี้มันก็มักดำรงอยู่ได้แค่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง พอมีเหตุการณ์ใหม่เข้ามากระทบ ก็เกิดความรู้สึกมิชอบนั้นขึ้นมาอีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า หลายๆ ครั้งเข้า...ก็เหนื่อย และพาลคิดไปว่า ไม่เอาแล้ว ฉันขออยู่คนเดียวดีกว่า จะได้ไม่ต้องมีใครมาทำให้รู้สึกยึดติด-ผูกพันอีก เพราะเวลาที่ความเอื้ออาทรห่วงใยซึ่งเคยได้รับ...มาจางหายไป มันเป็นความทรมานเหลือทน

ไม่รู้ว่าดีมั้ยคะ หากจะตัดสินใจแบบนี้ (จริงๆ การอยู่คนเดียวก็มีต้นทุนอันหนักหนาด้านอื่นที่ต้องแบกรับเช่นกัน) หรือมีวิถีทางอื่นใดที่จะแก้อาการจิตฟุ้งซ่านเช่นนี้ได้ รู้ค่ะว่าคงไม่มียาวิเศษแบบกินปุ๊บหายปั๊บ แต่ก็อยากได้คำแนะนำเพื่อชี้แนวทางในการปฏิบัติตนจากกัลยาณมิตรในที่นี้น่ะ ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


ตอบโดยมโนเกษม
อารมณ์น้อยใจ ควรเป็นอารมณ์ผสมของปฏิฆะคือไม่สมหวังเล็กๆและเศร้าเล็กๆ
(ปฏิฆะ + โทมนัส)เป็นอุปกิเลศหนึ่งใน 16 อย่างที่มักมีกันทุกคนครับ ไม่มากก็น้อย

โทสมูลจิต หรือ ปฏิฆจิต มี ๒ ดวง คือ

๑. โทมนัสสสหคตัง ปฏิฆสัมปยุตตัง อสังขาริกัง

จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

๒. โทมนัสสสหคตัง ปฏิฆสัมปยุตตัง สสังขาริกัง


จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน



โทมนัสสสหคตัง แปลว่า เกิดพร้อมด้วยความเสียใจ

โทมนัสนี้เป็นเวทนา ชื่อว่า โทมนัสเวทนา เกิดได้พร้อมกับโทสจิต ๒ ดวงเท่านั้นเอง จะเกิดพร้อมกับจิตอื่นไม่ได้

ปฏิฆสัมปยุตตัง แปลว่า ประกอบด้วยความโกรธ

ปฏิฆะ ความโกรธ องค์ธรรมได้แก่โทสเจตสิก ปฏิฆะหรือโทสะจะต้องเกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนา จะเกิดพร้อมกับเวทนาอื่นไม่ได้


(๑) โทมนัสเป็นเวทนาเจตสิก มีลักษณะเสวยอารมณ์ที่ไม่ดีเป็นเวทนาขันธ์

(๒) ปฏิฆะเป็นโทสเจตสิก มีลักษณะดุร้าย หยาบคาย เป็นสังขารขันธ์

โทมนัสเวทนาจะต้องเกิดกับปฏิฆะเสมอ เพราะเป็นธรรมที่ต้องเกิดร่วมกัน


อยู่ที่สติที่จะฝึกได้ดีเพียงใด ในอารมณ์ปัจจุบัน และการหัดฝึกฝนในวิปัสสนากรรมฐานจนแก่กล้าครับ

ขอแสดงความชื่นชมที่ได้พยายามคิดจนจิตใจดีขึ้น อาจเรียก โยนิโสมนสิการได้ครับ
หรือการเข้ามาถามพูดคุยที่นี่ การเข้าหาคนดี คบคนดี การมีกัลยาณมิตรที่ดี ย่อมประเสริฐ

วัตถุประสงค์ทั้งหมดก็ย่อมเพื่อสติที่ดียิ่งขึ้น และน้อมวิสุทธิ7เข้ามา เปรียบรถ 7 ผลัด

วิสุทธิมัคค คือ ทางบริสุทธิ ที่นำไปสู่ความหมดจดจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง ซึ่งจัดเป็น ๗ ระยะ หรือ ๗ ขั้น อันเรียกว่า วิสุทธิ ๗ ประการนั้นเปรียบเหมือนรถ ๗ ผลัด หรือบรรได ๗ ขั้น จึงจะถึงซึ่งความบริสุทธิ วิสุทธิ ๗ ได้แก่

๑. สีลวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งสีล บุคคลที่สมบูรณ์ด้วย จาตุปาริสุทธิสีลนั้นชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยสีล เป็นสีลวิสุทธิ จาตุปาริสุทธิสีล ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรสีล อินทรียสังวรสีล อาชีวปาริสุทธิสีล และปัจจยนิสสิตสีล


๒. จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งจิต คือ จิตที่บริสุทธิจากนิวรณ์ทั้งหลาย ขณะใดที่จิตเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ ขณะนั้นเป็นจิตที่ปราศจากนิวรณ์ จึงได้ชื่อว่า เป็นจิตตวิสุทธิ

๓. ทิฏฐิวิสุทธิ
ความบริสุทธิแห่งทิฏฐิ ปัญญาที่รู้แจ้ง รูปนามตามความเป็นจริง ได้ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ กล่าวโดย โสฬสญาณ คือ ญาณ ๑๖ ก็เห็นแจ้งญาณที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณแล้ว (โสฬสญาณจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า)[/color]

๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งการข้ามพ้นจากความสงสัย เพราะเกิดปัญญาที่รู้แจ้งปัจจัยที่ให้เกิดรูปนาม คือ รูปเกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร, นามเกิดจาก อารมณ์ วัตถุ มนสิการ กล่าวโดยโสฬสญาณ ก็เห็นแจ้งญาณที่ ๒ ที่ชื่อว่า ปัจจยปริคคหญาณแล้ว

๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งญาณที่รู้ว่าทาง หรือ มิใช่ทาง กล่าวโดยโสฬสญาณก็เห็นแจ้งญาณที่ ๓ ที่ชื่อว่า สัมมสนญาณแล้ว และถึงญาณที่ ๔ ที่ชื่อว่า อุทยัพพยญาณ เพียง ตรุณะ คือ เพียงอย่างอ่อนเท่านั้น ยังไม่ถึง อุทยัพพยญาณ ที่เรียกว่า พลวะ คือ อย่างกล้า(ตรุณอุทยัพพยญาณ นี่แหละที่จะเกิด วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า)

๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งญาณที่รู้เห็นว่า นี่แหละเป็นทางที่ชอบแล้ว กล่าวโดยโสฬสญาณก็เห็นแล้ว พลวอุทยัพพยญาณ (อย่างกล้า)นั้นแล้ว เป็นต้นไปถึง อนุโลมญาณ และนับโคตรภูญาณรวมด้วยโดยปริยายโดยอ้อม

๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งญาณที่รู้เห็น พระนิพพาน คือ มัคคญาณ และนับผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ รวมด้วยโดยอนุโลม

ในขั้นต้นหลักศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมต้องฝึกฝนจนชำนาญ มี วสี

ให้ฝึกบ่อยๆ ในกรรมฐาน ทุกวันครับ

ที่พบมา เมื่อจิตยกสู่ ผลัดที่2 ขึ้นไป จิตสงบลงมาก น้อยใจเบาบางมากครับ จนหมดไปในขั้นท้ายครับ

สาธุครับ

ที่มา  http://larndham.org/index.php?/topic/24323-ทำอย่างไรให้เลิกเป็นคนขี้น้/page__st__25
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีแก้อาการขี้น้อยใจ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 18, 2011, 11:33:43 am »
0

MV ก็มันนอย น้อยใจ - ลูกตาล อาร์สยาม


บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ