« เมื่อ: เมษายน 21, 2011, 07:37:18 pm »
0
พระนาคแรกเดี่ยว พิมพ์ใหญ่
กรุพระธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
...... แผ่นดินอีสาน มีลักษณะสูงขึ้นไปทางทิศตะวันตกและทิศใต้ของภาค มีแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นอยู่ทางทิศตะวักตก และมีเทือกเขาสันกำแพง เทือกเขาพนมดงรักอยู่ทางทิศใต้ของภาคจึงเป็นเหตุให้พื้นที่ของภาคอีสานจึง ค่อยๆ ลาดลงสู่ตอนกลางของภาค ซึ่งจะสังเกตุการไหลลงของแม่น้ำต่างๆ จะไหลลงไปทางทิศตะวันออกเพื่อไปสู่ลุ่มแม่น้ำโขง
......วัฒนธรรม “ทวาราวดี” ที่มีรากฐานมาจากพุทธศาสนาจาก อินเดีย ได้ส่งอิทธิพลเข้ามาสู่ภาคอีสานในราวพุทธศตวรรษที่ 12 โดยได้เข้ามาทาง ลุ่มแม่น้ำมูล และ แม่น้ำชี ในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างอย่างแพร่หลาย จนกระทั้งถึงปลายพุทธศตวรรษที่15
......จังหวัดมหาสารคามได้พบร่อง รอยหลักฐานของ วัฒนธรรมทวาราวดี สมัยประวัติศาสตร์ระยะแรกเริ่มกระจายอยู่ตาม บริเวณชุมชนสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมหลายแห่งด้วยกัน เช่น อำเภอกันทรวิชัย และ อำเภอนาดูน

......อำเภอนาดูน คือ นครจำปาศรี ในอดีต ตัวเมืองเป็นรูปไข่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 600 เมตร และมีเชิงเทินดิน สูงประมาณ 3 เมตร กว้างประมาณ 6 เมตร และมีคูอยู่กลาง กว้างประมาณ 20 เมตร เพื่อชักน้ำเข้ามาใช้ประโยชน์ในการบริโภค และเพื่อใช้ป้องกันข้าศึกศัตรู ภายในตัวเมือง นครจำปาศรี ได้มีการขุดพบโบราณวัตถุโดยกรมศิลปากรที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2522
ที่สำคัญ คือสถูปสัมฤทธิ์ 3 ชั้น ซึ่งมีความสูงรวมจากฐานถึงยอด 24.4 เซนติเมตร เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถูปชั้นนอกทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ชั้นกลางทำด้วยเงิน และชั้นในทำด้วยทองคำ ภายในสถูปมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่องค์หนึ่ง มีลักษณะเป็นสีขาวขุ่น ขนาดเท่าปลายเม็ดข้าวสารหัก หล่อเลี้ยงไว้ด้วย น้ำมันจันทน์ เมื่อเปิดออกจะได้กลิ่นหอมอบอวล ซึ่งเป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นยิ่งนัก
และต่อมาในปี พ.ศ.2525 – 2529 จึงมีการสร้างพระสถูปเจดีย์จำลอง ซึ่งมีลักษณะแบบ ทาวราวดี ดำเนินการสร้างโดย กรมศิลปากร สูง 50.50 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 35.70 เมตร เพื่อเป็นปูชนียสถานและสิริมงคลแก่ภูมิภาค และเพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา และศิลปะวัฒนธรรมอีสาน หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีว่านี่คือ พุทธมณฑลอีสาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของ ชาวจังหวัดมหาสารคาม
...... โบราณวัตถุอีกประเภทหนึ่ง คือ พระพิมพ์ดินเผา ซึ่งจัดว่าเป็น พระกรุที่เก่าแก่ที่สุด อีกกรุหนึ่งของประเทศไทย ประมาณ 1,500 ปี เป็นพระกรุที่มีจำนวนมากที่สุด และมีจำนวนพิมพ์มากกว่า 40 พิมพ์ และพระพิมพ์ดินเผากรุนาดูนก็ขึ้นอยูกับความแตกต่างในรายละเอียดของพระแต่ละ องค์ และความแตกต่างก็บ่งบอกถึงความหมายอยู่ในตัวอีกทั้งยังบอกถึงคติความเชื่อ ลัทธิศาสนา รวมถึงแสดง พุทธิปรัชญาที่แฝงอยู่ด้วย
......ค่านิยม พระพิมพ์ดินเผากรุนาดูนที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ พิมพ์เล็กห้อยคอ และ พิมพ์พระบูชา สำหรับพิมพ์เล็กขนาดขึ้นคอที่จัดว่ามีราคาสูงที่สุด ก็คือ ปางลีลา หรือ ปางตริภังค์ สาเหตุเนื่องจากเป็นพิมพ์ที่ขุดพบน้อยมาก หายาก และมีความอ่อนซ้อย สวยงาม เหมาะสำหรับขึ้นคอ รองลงมาคือ พิมพ์นาคปรกคู่ ส่วน พระพิมพ์บูชา เรียงความนิยมตามลำดับ คือ ปางนั่งเมือง ปางประทานพร ปางปาฏิหารย์ ปางเสด็จดาวดึงส์ ปางปรกโพธิ์ และ พระแผง ชนิดต่างๆ
และสุดท้ายต้องขอขอบคุณ อาจารย์ทรงเดช แสงนิล จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมาหาสารคาม ที่ได้เอื้อเฟื้อข้อมูล เกี่ยวกับเมืองนครจำปาศรี เพื่อเป็นวิทยาทานตามแนวทางแห่งบรรพชนไว้ ณ ที่นี้ที่มา
http://www.krusiam.com/book/moradok_mag/No_46/content/?BookSubCate_Content_ID=CID0000013
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 22, 2012, 12:10:36 pm โดย nathaponson »

บันทึกการเข้า

ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ