ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: องค์ประกอบในความเป็นมนุษย์ และภพชาติ  (อ่าน 8863 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
องค์ประกอบในความเป็นมนุษย์ และภพชาติ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2012, 01:08:10 pm »
0

องค์ประกอบในความเป็นมนุษย์ และภพชาติ

องค์ประกอบในความเป็นมนุษย์

จำแนกองค์ประกอบในความเป็นมนุษย์โดยความเป็นขันธ์ ๕
    ขันธ์(ภาษาบาลี) หมายถึงความเป็นกลุ่ม ก้อน กอง(ภาษาไทย) โดยลักษณะ ๕ อย่าง คือ
    รูป คือ ร่างกาย ที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
    เวทนา คือ ความรู้สึกทางกาย ที่เป็นสุข ,เป็นทุกข์,หรือเฉยๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข
    สัญญา คือ ความจำได้ กำหนดได้หมายรู้ในสิ่งต่างๆในส่วนปัจจุบันของความรู้สึก(เวทนา)

จากส่วนที่เก็บเป็นความทรงจำในอดีตอันเป็นเหตุให้จดจำอารมณ์หรือสิ่งนั้นๆได้
    สังขาร คือ สภาพความปรุงแต่งไปโดยความไม่รู้(อวิชชา๘)ให้ค่าสำคัญมั่นหมายสภาพธรรมต่างๆที่ประสบในสัญญาและเวทนา ปรุงแต่งทางจิต วจีและกาย
    วิญญาณ คือ สภาพที่เสริมสร้างตัวผู้รู้ให้แก่จิต ทำให้เกิดเป็นนามรูป ความรับรู้ประสาท สัมผัสทั้ง๖ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


จำแนกองค์ประกอบในความเป็นมนุษย์ โดยความเป็นธาตุ ๖
     จุดเริ่มต้น สภาพจิตวิญญาณที่โดนห่อหุ้มเคลือบไว้ด้วยความไม่รู้ คือ อวิชชา๘ ย่อมมีการแสวงหา เมื่อมีการแสวงหา จึงเร่าร้อน ร้อนเพราะไฟโลภะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ แรงเสียดสีให้เกิดประกายไฟ เพราะเชื้อไฟอันเนื่องด้วยอาสวะเสลดยางเหนียวที่เคลือบจิต(ทิฏฐาสวะ-กามาสวะ-ภมาสวะ-อวิชชาสวะ)ไว้ถูกแรงอันสืบเนื่องตามธรรมชาติ(สันตติ)เป็นตัวเข้ามากระทุ้งเสียดสียังให้เกิดประกายไฟเร่าร้อนแห่งการแสวงหา


     เมื่อแสวงหาจึงได้จึงปรากฏแรงกระตุ้นกระทุ้งทำให้รู้สึกเป็นตัวเป็นตนยังให้เกิดแรงยึดเหยี่ยวตัณหา(ความอยากเป็น)สร้างแรงดึงดูดยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)ในกามภพ อาสวะเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน๔
     อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐปาทาน สีลัมพพตุปาทาน อัตตาวาทุปาทาน

  * ความเป็นมนุษย์ได้มาโดยอาศัยวิบากกรรม กรรมคือการกระทำที่เป็นไปในส่วนดีและไม่ดีเมื่อกระทำจึงเกิดแรงสะสม ผลสะท้อนของการกระทำคือผลกรรม พลังงานที่สะท้อนกลับเป็นรอบให้เสวยผล คือวงกลมแห่งวิบากกรรม

    เมื่อมีการแสวงหา ย่อมมีแรงยึดเหนี่ยว การถึงความลงเอยในความรับรู้(วิญญาณทิฏฐิ)ด้วยสัญญา(ความหมายรู้เก่า)แล้วถือมั่น(อุปาทาน)กามภพว่าดีสัตว์ จึงลงสู่ครรภ์ อาศัยมูลธาตุ ๖ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ที่ตั้งต้นประกอบสงเคราะห์กันได้สัดส่วนแห่งกามภพ ชาติความเป็นมนุษย์จึงเกิด

     จึงได้ ตัวเข้าไปรู้วิญญาณธาตุ ที่เป็นรูปและนามที่แทรกซึมอยู่จุดต่างๆที่อายตนะ ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ตัวที่เข้าไปรับรู้ สภาพธรรมที่เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ตามจุดต่างๆที่เกิด-ดับ ตามการกระทบ(ผัสสะ)ที่อายตนะนั้นๆ คือ จิต

    จิต คื อธรรมชาติสภาพรับรู้ที่เกิด-ดับ.. เกิด-ดับ เป็นรอบๆ หากรู้แล้วยึดถือมั่น(อุปาทาน)ว่า เป็นตัวเราของเรา(อัตตา) สภาพรับรู้นั้นย่อมทำให้เกิดทุกข์ คือ ทุกข์ที่เนื่องจากเหตุปัจจัย คือ อุปาทานขันธ์๕



ภพชาติ

     สิ่งที่เป็นจริงเมื่อมนุษย์เกิดมาแล้วอย่างไม่มีทางหลีกหนีพ้น คือ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย
     เมื่อถึงกาลเวลาแห่งวิบากขันธ์ชะตากรรมของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามมีถึงที่สิ้นสุด คือ ความตายถึงวาระสละร่างกายประดุจเปลี่ยนรองเท้าเก่าที่อาศัยอยู่ ซึ่งคู่ที่ทรุดโทรมสู่รองเท้าคู่ใหม่


     สภาพนี้เรียกว่า ภาวะตรีทูต ธาตุรู้วิญญาณธาตุที่แทรกซึมอยู่ทั่วร่างกาย และจุดที่มีธาตุรู้แรกซึมรับผัสสะมากที่สุด คือ ประสาทสัมผัสทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้ม กาย ใจ(มโนทวาร-มโนธาตุ) แรงสืบสังขารหมดสิ้นไปโดยลำดับ
     ตา เห็นแต่ไม่สามารถรับรู้ในสิ่งที่เห็นได้ทุกอย่างค่อยๆมืดลง เพราะธาตุรู้ทุกส่วนไหลไปรวมกันที่ใจ(มโนธาตุ) เช่นเดียวกับหู จมูก ลิ้น กาย ความรับรู้สัมผัสภายนอกค่อยๆหมดสิ้นไป


     จิตที่เสวยธาตุรู้ทุกส่วนไหลไปรวมกันที่มโนวิญญาณธาตุ เมื่อไม่สามารถรับรู้สิ่งใดภายนอก จึงเข้าไปรับรู้แสงสว่าง อาศัยสังขารปรุงแต่งไปตามสัญญาคือความจำได้หมายรู้และเวทนา ความรู้สึกที่ปรากฏขึ้นมาภายใน ความจำได้หมายรู้ ในสิ่งที่กระทำประสบการณ์ต่างๆในชีวิต จักผุดปรากฏให้ความรู้สึกร่วมเข้าไปรับรู้ซึ่งความจริง อย่างตรงไปตรงมาโดยธรรมชาติ
     โดยมี มิติแห่งภพจิต กาละ คติ กรรม วิบากขันธ์ เป็นตัวกำหนดมูลฐานวาระ ภาวะนี้ประดุจวิดีโอที่ไหลย้อนกลับแห่งชีวิต

    จิตใดที่มีอวิชชา ตัณหา มานะทิฏฐิจักพาแล่นไปตามความเกิดและความดับ มโนสัญเจตนา หรือจิตตสังขาร เสวยความรู้สึกที่เกิดดับตามนั้น มิสามารถนับประมาณได้
     โดยที่มนุษย์นั้นมีความจำได้หมายรู้ในชีวิต ความปรุงแต่งและมโนคติ ต่างกันตามความเชื่อขนบธรรมเนียม ประเพณีแต่ละภูมิภาคส่วนในโลก
     สิ่งสวยงาม ความสุขในการแปรความหมายไปตามความรู้สึก ไปตาม กรรม คตินิมิต เทพยดา สวรรค์ดินแดนวิมาน ของชาวตะวันตก ชาวอัฟริกา ชาวตะวันออกเอเชีย มีความต่างกันของคตินิมิต
     รวมไปถึงสิ่งน่ากลัว นรก ซาตาน ท้าวสุวรรณ ยมบาล อสูร สิ่งชั่วร้าย ความเร่าร้อน


     เมื่อภาวะตรีทูตปรากฏ ภาวะจิตที่มิได้ผ่านอริยสัจธรรมประจักษ์แจ้ง"สิ่ง" สารัตถะแห่งชีวิตย่อมมีการมา มีการไป ไหลเข้าไปร่วมดึงดูด ผลักไส พลังงานที่ปรากฏระหว่างสองขั้วของความสุข สุขและความทุกข์ ยังให้สังขารกรรมจิตดึงดูดสู่การเข้าไปสร้างแสวงหาภพภูมิที่อยู่ใหม่ แล้วนามกับรูปหรือจิตและกายก็ไหลตามไปอย่างนี้เรื่อยไปไม่จบสิ้น

     สภาพนี้เป็นสภาพที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ทุกชนชาติศาสนาใดในโลก ก็มิสามารถหลีกหนีได้สิ่งที่ประสบเพียงต่างกันด้วยสัญญาความจำได้หมายรู้ ในชีวิตที่ผ่านประสบการณ์มโนคติในความเป็นมนุษย์มีความต่าง ย่อมยังบังเกิดขึ้นแห่งความต่างการแสวงหาความละเอียดและคลื่นความถี่ของภพจิต

     โบราณท่านจึงมักสอนให้ดำรงความเป็นกลางของจิต ไม่ยินดีเข้าไปร่วมกับสิ่งที่สวยงามที่ดึงดูด ไม่ผลักไสสิ่งที่น่ากลัวชั่วร้ายไม่ว่าจักเป็นสิ่งใดก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านั้นปรากฏขึ้นมาจากใจ(สัญญาและเวทนา) ความรู้สึกชั่วดีความรักความชัง สิ่งที่ปรุงแต่งต่างๆจากชีวิตที่ผันผ่าน เมื่อสิ่งแรงพลังก็กลับสู่แรงดึงดูดไปยังจุดเริ่มต้น



วงกลมแห่งสังสารวัฏฏ์นี้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด คือ วงรอบปฏิจจสมุปบาท

    พระพุทธดำรัส ..."ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่น(อุปาทาน) ธาตุ๖ ปฐวี(ธาตุดิน) อาโป(ธาตุน้ำ) เตโช(ธาตุไฟ) วาโย(ธาตุลม) อากาส(ธาตุ) วิญญาณ(ธาตุ) สัตว์จึงลงสู่ครรภ์เมื่อมีการลงสู่ครรภ์ ถึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เราบัญญัติว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์แก่ผู้เสวยเวทนาอยู่"

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชรา... มรณะ... โสกะ.... ปริเทวะทุกข์... โทมนัส... อุปายาส... การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก...การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก.... ความปรารถนาสิ่งใดมิได้สมหวัง... ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์๕ เป็นทุกข์

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารเพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ..... โสกะ.... ปริเทวะทุกข์... โทมนัส... อุปายาส...


“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน อริยมรรคมีองค์๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบความตั้งใจชอบ”
________________
ติตถสูตร ติ. อํ. (๕๐๑)



อ้างอิง
หนังสือ ปฏิปทาหนทางดำเนินสู่ "สิ่ง" สารัตถะแห่งชีวิต โดย นันทาริยา
http://www.dhammachak.net
ขอบคุณภาพจาก http://learners.in.th/,http://www.skytemple.org/,http://www.pairin.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ