ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อเท็จจริง "กรณีวัดพระธรรมกาย" (อ่านแล้วหายง่วง)  (อ่าน 6203 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ประกาศลานธรรม ฉบับที่ ลธ ๒/๒๕๔๙

เรื่อง มติระงับกระทู้และกิจกรรมอันเนื่องด้วยวัดพระธรรมกาย

เรียน สมาชิกทุกท่าน


   ตลอดเวลาที่ผ่านมา ลานธรรมเสวนาสนับสนุนการเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์และพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาโดยตลอด ทั้งนี้ได้มีบุคคลและคณะบุคคลจำนวนมากเข้ามาใช้ลานธรรมเป็นสถานที่เผยแผ่ธรรมออกสู่วงกว้างอย่างสม่ำเสมอ

   ด้วยเหตุนี้คณะผู้ดูแลจึงพยายามคัดกรอง การเผยแผ่ธรรมโดยอ้างอิงจากพระไตรปิฏกเป็นหลักสำคัญ เพื่อให้การเผยแผ่ธรรมเป็นไปตามปณิธานที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว ดังพุทธพจน์ที่ว่า

โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต
โส โว มมจฺจเยน สตฺถา

ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว และ บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป

   เมื่อพระไตรปิฏกคือหลักฐานที่จารึกพระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เราชาวพุทธทั้งหลายจึงถือพระไตรปิฏกเป็นตัวแทนพระศาสดาสืบต่อมา ดังนั้นการแสดงธรรมที่ขัดแย้ง บิดเบือนหรือมีการตีความให้เกิดความเห็นผิดในพระสัทธรรมเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในลานธรรมเสวนา ทั้งนี้ในกรณีของวัดพระธรรมกายนั้นคณะผู้ดูแลลานธรรมได้เคยมีมติไม่ยุ่งเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายมาตั้งแต่การก่อตั้งกระดานสนทนาธรรม แต่เพื่อการทำความเข้าใจต่อสมาชิกลานธรรมให้ชัดเจนและถูกต้องอีกครั้ง ทางคณะผู้ดูแลลานธรรม

มีมติให้ระงับการตั้งกระทู้ การแสดงความคิดเห็น การแจ้งข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ใดๆ  การเผยแพร่เนื้่อหาคำสอน ตลอดจนการจำหน่ายจ่ายแจก CD หรือ VCD และ สื่อธรรมะทุกประเภท ที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย ทั้งหมดตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เนื่องจากปัญหาการดำเนินงานของวัดพระธรรมกายที่กระทบต่อพระธรรมวินัยดังที่จะได้อ้างอิงจากหนังสือกรณีธรรมกายของพระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) ต่อไปนี้


๑. สอนว่านิพพานเป็นอัตตา
๒. สอนเรื่องธรรมกายอย่างเป็นภาพนิมิต และให้มีธรรมกาย ที่เป็นตัวตนเป็นอัตตา
  ของพระพุทธเจ้ามากมายหลายพระองค์ ไปรวมกันอยู่ในอายตนนิพพาน
๓. สอนเรื่องอายตนนิพพาน ให้เข้าใจผิดต่อนิพพาน เหมือนเป็นดินแดนที่จะ
  เข้าสมาธิไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ถึงกับมีพิธีถวายข้าวพระ ที่จะนำข้าวบูชาไป
  ถวายแด่พระพุทธเจ้าในอายตนนิพพานนั้น


คำสอนเหล่านี้ ทางสำนักสายวัดพระธรรมกายคิดขึ้นใหม่ เป็นของนอกธรรมนอกวินัยของพระพุทธเจ้า แต่แทนที่จะสอนไปตามตรงว่าเป็นลัทธิของครูอาจารย์ ทางวัดพระธรรมกายกลับพยายามนำเอาคำสอนใหม่ของ ตนเข้าใส่แทนที่หลักคำสอนเดิมที่แท้ของพระพุทธศาสนา ยิ่งกว่านั้นเพื่อหาทางให้ลัทธิของตนเข้าแทนที่พระธรรมวินัยได้สำเร็จสำนักวัดพระธรรมกายยังได้เผย แพร่เอกสาร ที่จ้วงจาบพระธรรมวินัย ชักจูงให้คนเข้าใจผิด สับสน หรือแม้แต่ลบหลู่พระไตรปิฎกบาลี ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น

       ๑. ให้เข้าใจว่าพระไตรปิฎกบาลี บันทึกคำสอนไว้ตกหล่น หรือมีฐานะเป็นเพียง
           ความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เชื่อถือหรือใช้เป็นมาตรฐานไม่ได้
       ๒. ให้นำเอาพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ เช่น พระไตรปิฎกภาษาจีน และคำสอนอื่นๆ
           ภายนอกมาร่วมวินิจฉัย พระพุทธศาสนาเถรวาท
       ๓. ให้เข้าใจเขวไปว่าหลักการของพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องอภิปรัชญา ขึ้นต่อการตี
           ความ และความคิดเห็น ตลอดจนการถกเถียงทางวิชาการ
       ๔. อ้างนักวิชาการต่างประเทศ และการปฏิบัติของตน ดังว่าจะใช้วินิจฉัยหลักพระ
            พุทธศาสนาได้ ฯลฯ


       อีกทั้งสิ่งที่ยกมาอ้าง เช่น คัมภีร์ของมหายาน และทัศนะของนักวิชาการตะวันตก ก็ไม่ตรงตามความเป็นจริง หรือไม่ก็เลื่อนลอย นอกจากนั้นยังนำคำว่า "บุญ" มาใช้ในลักษณะที่ชักจูงประชาชนให้วนเวียนจมอยู่กับการบริจาคทรัพย์ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ชนิดที่ส่งเสริมความยึดติดถือมั่นในตัวตนและในตัวบุคคล อันอาจกลายเป็นแนวโน้มที่บั่นทอนสังคมไทยในระยะยาว พร้อมทั้งทำพระธรรมวินัยให้ลางเลือนไปด้วย พฤติการณ์ของสำนักวัดพระธรรมกายอย่างนี้ เป็นการจาบจ้วง ลบหลู่ ย่ำยีพระธรรมวินัย สร้างความ สับสนไขว้เขวและความหลงผิดแก่ประชาชน

นอกจากนี้มติของคณะผู้ดูแลลานธรรมเสวนายังได้ยึดแนวทางการดำเนินงานตามพระลิขิตซึ่งเป็นพระบรมราชวินิจฉัยของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๕ ฉบับต่อกรณีเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายดังต่อไปนี้

ฉบับที่ ๑

"ความบิดเบือนพระพุทธธรรมคำสอน โดยกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือน แตกแยกออกไปกลายเป็นสอง มีความเข้าใจความเชื่อถือพระพุทธศาสนาตรงกันข้ามเป็นการทำลายพระพุทธศาสนา ทำสงฆ์ให้แตกแยกเป็นอนันตริยกรรม มีโทษทั้งปัจจุบันและอนาคตที่หนัก ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการกระทำที่ถูกต้อง คือ ต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันที


ฉบับที่ ๒

การไม่ยอมคืนสมบัติให้วัด ในขั้นต้นอาจมิใช่มีเจตนาถือเอาเป็นของตน แต่เมื่อถึงอย่างไร ก็ยังไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดก็แสดงชัดแจ้งว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะ โดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสีย ให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา "

ฉบับที่ ๓


"การโกงสมบัติผู้อื่นตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไปคือประมาณไม่ถึง 300 บาทในปัจจุบัน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิกฐานผิดพระธรรมวินัยพ้นจากความเป็นพระทันที ในกรณีนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้รู้เห็นหรือไม่ ไม่ว่าจะมีการสั่งให้สึก ไม่ว่าจะมีการจับสึกหรือไม่ก็ตาม ภิกษุผู้ละเมิดพระธรรมวินัยข้อนี้ต้องอาบัติปาราชิก พ้นจากความเป็นพระโดยอัตโนมัติ

ที่ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรก็เพื่อเตือนให้รู้ทั่วกันว่า ผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้นไม่ใช่พระในพุทธศาสนา เป็นเพียงผู้นำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง เป็นพระปลอม ต่อจากนั้นย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้รักษากฎหมาย หรือของผู้มีหน้าที่ในการพุทธศาสนา จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้มีพระปลอมมาทำลาย ทำให้เสื่อมเสีย เช่นที่ผู้รักษากฎหมายเคยทำมาแล้ว เคยบังคับให้เป็นผู้ปลอมเป็นพระ ถอดผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากตัว การปฏิบัติต่อพระปลอมต้องไม่มีแตกต่างกัน ต้องไม่มียกเว้นว่า คนนั้นปลอมได้คนนี้ปลอมไม่ได้ เป็นพระปลอมมีอยู่ในพุทธศาสนาไม่ได้ทั้งนั้น


ประกาศนั้นเป็นคำบอกเล่าเป็นคำเตือนให้รู้ เป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับมหาเถรฯไม่บังคับให้เชื่อ ไม่บังคับใครให้ทำอะไร แสดงความถูกผิดให้ปรากฏอยู่เท่านั้น ในฐานะที่เป็นประมุขแห่งสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงต้องทำหน้าที่ส่วนตนให้เรียบร้อยถูกต้อง บอกความจริงด้วยความหวังดีมิได้บังคับ จงเข้าใจทั่วกัน"

ฉบับที่ ๔

" ในกรณีเกี่ยวกับเรื่องวัดพระธรรมกาย เราได้ทำหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราชสมบูรณ์ตามอำนาจแล้ว จึงไม่มีอะไรจะพูดอีกขณะนี้ ขออนุโมทนาทุกท่านที่สนใจห่วงใยพระพุทธศาสนา แสดงความเป็นคนดี ด้วยมีกตัญญูกตเวทิตาธรรม "

ฉบับที่ ๕


" ได้แจ้งให้เป็นที่เข้าชัดเจนดีทั่วกันแล้วก่อนหน้านี้ ว่าในตำแหน่งผู้เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เพื่อเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนาให้พ้นถูกทำลาย สมบูรณ์ดีที่สุดแล้วตามอำนาจ


ท่านกรรมการมหาเถรสมาคมทั้งหลายจะทำอะไรต่อไปตามความต้องการ จะไม่มานั่งฟัง
รับรู้ในที่ประชุมวันนี้ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 "

    ด้วยเหตุนี้ ทางลานธรรมเสวนาขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่าน งดกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกายและ กิจกรรมการเผยแผ่วิชชาธรรมกาย กรุณาแจ้งเบาะแสให้กับผู้ดูแลหากพบเห็นพฤติกรรมแอบแฝงที่ขัดต่อประกาศฉบับนี้

    อนึ่งถ้าได้ปรากฎว่ามีกิจกรรมอันใดที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกายปรากฎขึ้นในลานธรรม คณะผู้ดูแลจะดำเนินการลบออกทันที และอาจรวมถึงการพิจารณาปรับสถานภาพของสมาชิกผู้ละเมิดประกาศฉบับนี้จากสมาชิกลานธรรมถาวร ไปเป็น"กลุ่มสมาชิกผู้อ่านอย่างเดียว" หรือปรับสถานภาพอื่นๆตามความเหมาะสมต่อไป"

ท่านสมาชิกสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากลิ้งค์ด้านล่างดังต่อไปนี้

กรณีธรรมกาย โดย พระพรหมคุณากรณ์

ข่าวสารข้อเท็จจริงเรื่องวัดพระธรรมกาย

จึงแจ้งให้เพื่อรับทราบโดยทั่วกัน

ลานธรรมเสวนา

อ้างอิง
http://larndham.net/index.php?s=f67e2dc90aff142db0464e4e838c4a25&showtopic=23618
ขอขอบคุณ  http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/08/Y6927126/Y6927126.html



ที่เว็บพันธุ์ทิิพ มีข้อความที่น่าสนใจอยู่เยอะ ดุเดือด ตรงไปตรงมา ผมเลือกเอาบางส่วนมานำเสนอ

อยากอ่านเต็มๆไปที่ http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/08/Y6927126/Y6927126.html

สุดท้ายของเรื่องนี้ก็คือ ธรรมกายยอมถอย เพื่อแลกกับการถอนฟ้อง โดยอาศัยอิทธิทางการเมืองเข้าช่วย

ผมขอเอาหนังตัวอย่างมาแสดงสักบท ดังนี้ครับ




ยักยอกเงินบริจาควัด ปาราชิก แต่ ไม่ยอมสึก???


ศาลสั่งจำหน่ายคดีวัดพระธรรมกาย หลัง อสส.ยื่นคำร้อง ขอถอนฟ้อง“พระธัมมชโย” กับศิษย์ ฐานยักยอกเงินบริจาควัดกว่า 35 ล้าน ยกเหตุจำเลยคืนเงินวัดกว่า 950 ล้าน ทั้งยังเผยแผ่ศาสนาตามพระไตรปิฎก ตามพระลิขิตพระสังฆราชแล้ว ขณะที่คดีธรรมกายอีก 3 สำนวน อัยการพร้อมยุติคดีสั่งไม่ฟ้อง

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ศาลโดยนายสุนพ กีรติยุติ ผู้พิพากษาอาวุโส และองค์คณะ ออกนั่งบัลลังก์ มีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องในคดีดำหมายเลขที่11651/2542 และคดีดำหมายเลข 14735/2542 ที่ พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พระราชภาวนาวิสุทธิ์ หรือ พระไชยบูลย์ ธัมมชโย หรือนายไชยบูลย์ สิทธิพล อายุ 62 ปี อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และนายถาวร พรหมถาวร อายุ 57 ปี ลูกศิษย์คนสนิท เป็นจำเลยที่ 1-2

ทั้งนี้ เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานและสนับสนุนเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานและสนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

โดยร่วมกันยักยอกทรัพย์ และเงินบริจาคของวัดพระธรรมกาย จำนวน 6.8 ล้านบาท ไปซื้อที่ดินเขาพนมพา ต.หนองพระ อ.วังทรายมูล จ.พิจิตร โดยโอนกรรมสิทธิ์ใส่ชื่อนายถาวร จำเลยที่ 2
และเงินจำนวน 29,877,000 บาท ไปซื้อที่ดินเนื้อที่ 902 ไร่เศษ ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร และ ต.ท่าข้าม อ.ชนแดน จ. เพชรบูรณ์ โอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 2

คดีนี้เรืออากาศโทวิญญู วิญญกุล อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาล เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2549 สรุปว่า ตามที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2542 และวันที่ 16 ธันวาคม 2542 ตามลำดับ โดยกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องร่วมกันกระทำผิด

โจทก์ขอเรียนว่า การดำเนินคดีนี้สืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 กับพวก ไม่ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่มีว่า ความบิดเบือนพระพุทธธรรมคำสั่งสอน โดยกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือนแตกแยกออกไปกลายเป็นสองฝ่าย มีความเข้าใจความเชื่อถือ พระพุทธศาสนาตรงกันข้าม เป็นการทำลายพระพุทธศาสนา ทำให้สงฆ์แตกแยกเป็นอนันตริยกรรม มีโทษทั้งปัจจุบันและอนาคตที่หนัก

ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการทำที่ถูกต้องคือ ต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันที ไม่ได้คิดให้มีโทษเพราะคิดในแง่ยกประโยชน์ให้ว่า ในชั้นต้นหากมิใช่มีเจตนาถือเอาสมบัติของวัดเป็นของตนจริงๆ แต่ เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะที่เป็นพระคืนให้แก่วัด ก็แสดงชัดแจ้งว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอม เป็นพระด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสียให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา

บัดนี้ข้อเท็จจริงในการเผยแผ่คำสอน ปรากฏจาก อธิบดีกรมการศาสนา ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เลขาธิการมหาเถรสมาคม และ เจ้าคณะภาค 1 ว่า ในปัจจุบันจำเลยที่ 1 กับพวก ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนา ตรงตามพระไตรปิฎก และนโยบายของคณะสงฆ์??? ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เป็นที่ยอมรับทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกิจการของศาสนา ทั้งของคณะสงฆ์ ภาครัฐ และเอกชนจำนวนมาก

สำหรับในด้านทรัพย์สินนั้น ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 กับพวก ได้มอบทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งมีทั้งที่ดินและเงินจำนวน 959,300,000 บาท คืนให้แก่วัดพระธรรมกาย การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 กับพวก จึง เป็นการปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ครบถ้วนทุกประการแล้ว???

ขณะเดียวกัน ขณะนี้บ้านเมืองต้องร่วมกันสร้างความสามัคคีของคนในชาติทุกหมู่เหล่า เห็นว่าหากดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองต่อไป อาจก่อให้เกิดความแตกแยกในศาสนจักร โดยเฉพาะพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั้งในและต่างประเทศ ที่นับถือศาสนาพุทธ และไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ

อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งให้ถอนฟ้องคดีนี้ ดังนั้น โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ทุกข้อกล่าวหา ขอศาลโปรดอนุญาต เมื่อศาลได้สอบถามว่าจำเลยทั้งสองจะคัดค้านหรือไม่ ซึ่งจำเลยทั้งสองแถลงว่า ไม่คัดค้าน พิเคราะห์แล้วเห็นว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง ก่อนศาลมีคำพิพากษา โดยอ้างเหตุดังข้างต้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านที่โจทก์ถอนฟ้อง


จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 ศาลจึงอนุญาตให้ถอนฟ้องจำเลยทั้งสองและจำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความของศาลอาญา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้ได้มีการสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว อยู่ระหว่างการสืบพยานจำเลย ซึ่งที่ผ่านมามีการสืบพยานไปแล้วเกือบ 100 ครั้ง เหลือการสืบพยานอีกเพียง 2 ครั้ง ในวันที่ 23-24 สิงหาคม นี้ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง อธิบดีอัยการคณะกรรมการอัยการ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า การถอนฟ้องคดีก่อนศาลจะมีคำพิพากษา สามารถทำได้ ซึ่งในอดีตอัยการสูงสุด เคยยื่นคำร้องขอถอนฟ้องแล้วเช่น ความผิด พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ คดีกบฏ ผู้ก่อการร้าย

สำหรับคดียักยอกทรัพย์วัดพระธรรมกาย ที่อัยการยื่นฟ้องต่อศาลอาญามีเพียง 2 คดีเท่านั้น คงเหลือสำนวนคดียักยอกทรัพย์ที่รอการสั่งคดีในชั้นอัยการอีก 3 สำนวน ได้แก่

- 1.คดีที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ นางกมลศิริ คลี่สุวรรณ และนายมัยฤทธิ์ ปิตะวนิค ลูกศิษย์คนสนิท เป็นผู้ต้องหา ซึ่งถูกกล่าวหาว่า ร่วมกันเบียดบังนำเงินวัดจำนวน 95 ล้านบาทเศษไปซื้อที่ดิน

- 2.คดีที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ นางสงบ ปัญญาตรง นายมัยฤทธิ์ ปิตะวนิค และนายชาญวิทย์ ชาวงษ์ ลูกศิษย์คนสนิท เป็นผู้ต้องหา เบียดบังเงินจำนวน 845 ล้านบาทเศษ และ

-3.คดีที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ร่วมกับนายเทิดชาติ ศรีนพรัตน์ นายมัยฤทธิ์ ปิตะวนิค และนางอมรรัตน์ สุวิพัฒน์ หรือสีกาตุ้ย ลูกศิษย์คนสนิท ผู้ต้องหา ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารและสนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ


โดยเมื่ออัยการสูงสุดมีนโยบายให้ถอนฟ้อง การสั่งคดีของพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 ก็จะต้องมีความเห็นให้ยุติการสั่งคดีไว้ เนื่องจากการดำเนินคดีจะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547 ข้อ 78 และ 128 โดยเมื่อยุติการสั่งคดีก็ต้องถือว่าคดีนี้สิ้นสุดลงตามกระบวนการทางกฎหมายทันที ซึ่งจำเลยทั้งสองได้คืนที่ดินและเงินที่ก่อความเสียหายรวมมูลค่า 959,300,000 บาท ให้แก่วัดพระธรรมกายแล้ว

ที่มา  http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/08/Y6927126/Y6927126.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 10, 2011, 12:02:51 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ