ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทรงตรัสให้"นอน ๔ ชั่วโมง ที่เหลือให้ปฏิบัติโดยการเดินจงกรมและนั่ง"  (อ่าน 6477 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔


ว่าด้วยการแบ่งเวลา
             [๗๕๐] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก ความว่า ภิกษุพึงแบ่งกลางคืนและ
กลางวันให้เป็น ๖ ส่วนแล้ว ตื่นอยู่ ๕ ส่วน นอนหลับ ๑ ส่วน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ
ไม่พึงทำความหลับให้มาก.


             [๗๕๑] คำว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน

พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี

พึงสำเร็จสีหไสยา (นอนเหมือนราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ
ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี

กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี.


             คำว่า ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น คือ พึงซ่องเสพ ซ่องเสพพร้อม ซ่องเสพเฉพาะ
ซึ่งความเป็นผู้ตื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น.

             คำว่า มีความเพียร ความว่า วิริยะเรียกว่าความเพียร ได้แก่การปรารภความเพียร
ความก้าวออก ความก้าวหน้า ความย่างขึ้นไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความ
มั่นคง ความทรงไว้ ความก้าวหน้ามิได้ย่อหย่อน ความไม่ปลงฉันทะ ความไม่ทอดธุระ ความ
ประคองธุระไว้


   วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันเป็นไปทางจิต ภิกษุเป็นผู้เข้าถึง
เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้
ภิกษุนั้นเรียกว่า มีความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น.

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=7639&Z=9093&pagebreak=0



ยาม คราว, เวลา, ส่วนแห่งวันคืน

ปฐมยาม ยามต้น, ยามที่หนึ่ง, ส่วนที่หนึ่งแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน;เทียบ มัชฌิมยาม, ปัจฉิมยาม

มัชฌิมยาม ยามกลาง, ส่วนที่ ๒ ของราตรี เมื่อแบ่งคืนหนึ่งเป็น ๓ ส่วน, ระยะเที่ยงคืน;เทียบ ปฐมยาม, ปัจฉิมยาม

ปัจฉิมยาม ยามสุดท้าย, ช่วงสุดท้ายแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน;เทียบ ปฐมยาม, มัชฌิมยาม



อ้างอิง
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ยาม
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C2%D2%C1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 23, 2011, 11:17:22 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ
๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

บทว่า รตฺตินฺทิวํ ฉโกฏฺฐาสํ กริตฺวา ภิกษุพึงแบ่งกลางคืนและกลางวันให้เป็น ๖ ส่วน คือพึงแบ่งออกเป็น ๖ ส่วน กลางคืน ๓ ส่วนคือยามต้น ยามกลาง ยามสุดท้าย กลางวันก็เหมือนกัน.

               บทว่า ปญฺจโกฏฺฐาสํ ชาคเรยฺย พึงตื่น ๕ ส่วน คือพึงสละยามกลางในกลางคืนแล้วไม่หลับใน ๕ ส่วนที่เหลือ.
               บทว่า เอกํ โกฏฺฐานํ นิปชฺเชยฺย นอนหลับ ๑ ส่วน คือมีสติสัมปชัญญะ นอนหลับตอนยามกลาง ๑ ส่วน.
               บทว่า อิธ ภิกฺขุ ทิวสํ คือ แบ่งกลางวันออกเป็น ๓ ส่วน คือเช้า กลางวัน เย็น.

               บทว่า จงฺกเมน นิสชฺชาย ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง คือบริหารด้วยอิริยาบถทั้งสองนี้ตลอดวัน พึงชำระจิตจากธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต หรือจากอกุศลธรรมทั้งปวงอันได้แก่นิวรณ์ ๕.
               บทว่า จิตฺตํ ปริโสเธยฺย พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเหล่านั้น. ในที่นี้มิได้กำหนดการยืนไว้ก็จริง ถึงดังนั้นก็ควรกำหนดเอาการยืน อาศัยการเดินจงกรมและการนั่งนั่นแล.
               บทว่า ปฐมํ ยามํ คือ ตลอดยามต้น.

               พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า เสยฺยํ การนอน ดังนี้.
               การนอนมี ๔ อย่าง คือ กามโภคีเสยฺยา ๑ เปตเสยฺยา ๑ สีหเสยฺยา ๑ ตถาคตเสยฺยา ๑.
               ในการนอน ๔ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนบริโภคกามโดยมากนอนโดยข้างซ้าย นี้ชื่อว่ากามโภคีไสยา.
               จริงอยู่ คนบริโภคกามเหล่านั้นย่อมไม่นอนโดยข้างขวา.
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรตโดยมากนอนหงาย นี้ชื่อว่าเปตไสยา.
               จริงอยู่ เพราะเปรตมีเนื้อและเลือดน้อย เปรตห่อหุ้มด้วยโครงกระดูก จึงไม่อาจจะนอนโดยข้างหนึ่งได้ จึงต้องนอนหงาย.
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีหมฤคราชสำเร็จการนอนโดยข้างขวา ฯลฯ จึงพอใจ นี้ชื่อว่าสีหไสยา.



               จริงอยู่ สีหมฤคราชเพราะมีอำนาจสูง วางเท้าทั้งสองไว้ที่เท้าหลังข้างหนึ่งในที่เดียวกัน สอดหางไว้หว่างขา กำหนดโอกาสที่เท้าหน้าเท้าหลังและหางตั้งอยู่ แล้ววางศีรษะลงบนที่สุดเท้าหน้าทั้งสองนอน แม้นอนหลับตลอดวัน เมื่อตื่นก็ตื่นอย่างไม่หวาดสะดุ้ง เงยศีรษะสังเกตโอกาสที่เท้าหน้าเป็นต้นตั้งอยู่.
 
หากที่ไรๆ ละไปตั้งอยู่ไม่เรียบร้อย สีหมฤคราชก็เสียใจว่านี้ไม่สมควรแก่เจ้าผู้มีความกล้าหาญโดยกำเนิด จึงนอนต่อไปในที่นั้น ไม่ไปแสวงหาอาหาร แต่ครั้นเมื่อไม่ละ ตั้งอยู่เรียบร้อย สีหะก็ดีใจว่านี้สมควรแก่เจ้าผู้มีความกล้าหาญโดยกำเนิด จึงลุกบิดกายอย่างสีหะ สลัดขนที่คอ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วจึงไปหาอาหาร.


               ส่วนการนอนด้วยจตุตถฌานเรียกว่า ตถาคตไสยา (พระตถาคตนอน).
               ในไสยา ๔ อย่างเหล่านั้น ในที่นี้หมายเอาสีหไสยา. เพราะไสยานี้ ชื่อว่าเป็นไสยาอย่างสูงที่สุด เพราะเป็นอิริยาบถที่มีอำนาจสูง.

               บทว่า ปาเท ปาทํ ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า คือเท้าซ้ายทับเท้าขวา.
               บทว่า อจฺจาธาย คือ ตั้งเท้าเหลื่อมเท้าเลยไปนิดหน่อย. เพราะเมื่อข้อเท้าเสียดสีกับข้อเท้า เข่าเสียดสีกับเข่า นอนไม่สบาย. เมื่อตั้งเท้าเลยไปโดยที่ไม่เสียดสีกันเวทนาย่อมไม่เกิด จิตก็มีอารมณ์เป็นหนึ่ง นอนสบาย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า.


               บทว่า สโต สมฺปชาโน คือ เป็นผู้ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ. ด้วยบทนี้ กล่าวถึงสติสัมปชัญญะที่กำหนดไว้ดีแล้ว.
               บทว่า อุฏฺฐานสญฺญํ มนสิกริตฺวา ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ คือตั้งอุฏฐานสัญญากำหนดเวลาตื่นขึ้นไว้ในใจอย่างนี้ว่า เราจักตื่นขึ้นในเวลาโน้นดังนี้. เพราะทำอย่างนี้แล้วนอนจะตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้เป็นแน่.


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=699&p=3
ขอขอบคุณภาพจากเว็บtrang82.files.wordpress,sangthipnipparn,phrarjan999,files.myopera
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2013, 12:10:13 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ยาม, ยาม-
    [ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม;
        ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม;

        (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ;

        คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน;
        คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).


อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒



     ๑. ตามความเข้าใจของผม สมัยพุทธกาลน่าแบ่งกลางคืนออกเป็น ๓ ยาม แบบนี้ครับ
     ปฐมยาม คือ ๖ โมงเย็น ถึง สี่ทุ่ม
     มัชฌิมยาม คือ สี่ทุ่ม ถึง ตีสอง
     ปัจฉิมยาม คือ ตีสอง ถึง ๖ โมงเช้า

     กลางวันก็เช่นกัน คือ
     ยามแรก ๖ โมงเช้า ถึง ๑๐ โมงเช้า
     ยามที่สอง ๑๐ โมงเช้า ถึง บ่ายสองโมง
     ยามที่สาม บ่ายสองโมง ถึง ๖ โมงเย็น


   ๒. คำตรัสที่ว่า "ภิกษุพึงแบ่งกลางคืนและกลางวันให้เป็น ๖ ส่วนแล้ว ตื่นอยู่ ๕ ส่วน นอนหลับ ๑ ส่วน"
     ก็น่าจะเป็น แบ่งเวลากลางวัน ๓ ส่วน กลางคืน ๓ ส่วน รวมเป็น ๖ ส่วน


   ๓. คำตรัสที่ว่า
     "พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี
     ก็น่าจะหมายถึง ช่วงเวลา หกโมงเย็น ถึง สี่ทุ่ม ให้ทำกรรมฐานด้วยการนั่งและเดิน


   ๔. คำตรัสที่ว่า
     "พึงสำเร็จสีหไสยา (นอนเหมือนราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี"
     ก็น่าจะหมายถึง ตั้งแต่สี่ทุ่ม ถึง ตีสอง ให้นอน


   ๕. คำตรัสที่ว่า
     "กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี."
     ก็น่าจะหมายถึง ตีสองให้ตื่นมา เดินจงกรม และนั่งกรรมฐาน จนถึงหกโมงเช้า


     ในเวลากลางวันที่เหลืออีก ๓ ส่วน ก็น่าจะให้เดินจงกรมและนั่งกรรมฐาน




     ในความเป็นจริงพระสงฆ์ในปัจจุบัน น่าจะปฏิบัติเป็นส่วนน้อย โดยเฉพาะพระที่อยู่ในส่วน"คันถธุระ"
     ส่วนพระ"วิปัสสนาธุระ" ผมก็ไม่รู้ว่าปฏิบัติกันอย่างไร อาจจะตามสะดวกมากกว่า
     เพื่อนๆมีข้อมูลหรือเห็นอย่างไร มาแชร์กันให้รู้บ้าง

      :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2012, 12:02:39 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ