ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เหมือนหงายของที่คว่ำ_เปิดของที่ปิด_บอกทางให้แก่คนหลงทาง คืออะไร..??!!  (อ่าน 11079 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อุบัติแห่งพระศาสดา


    มีการอุปมาว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น  ทรงแสดงธรรมอุปมาได้  4  อย่าง
 
        - เหมือนหงายของที่คว่ำ 
        - เหมือนเปิดของที่ปิด 
        - เหมือนชี้ทางกับผู้เดินทางไม่ให้หลงทาง   
        - เหมือนจุดประทีปเอาไว้ในที่มืด 


ประทีปที่จุดไว้ในที่มืดสามารถทำให้ผู้เดินทางได้เห็นอย่างแจ่มชัด   ไม่สะดุดและไม่เดินชนสิ่งกีดขวาง  ชีวิตจะได้ราบรื่น  เมื่อพระศาสดาอุบัติเกิดขึ้น  ฝูงชนเป็นอันมากพากันแซ่ซ้องสาธุ ตั้งแต่ราชามหากษัตริย์  ถึงยาจกยากจนแสนเข็ญ  รวมถึงสัตว์โลกทั้งหลาย


ที่มา http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/buddhist1/index/indexpic1.htm


ธรรมอุปมา ๔ อย่างนี้ หากค้นในพระไตรปิฎก จะพบได้หลายที่ คำเหล่านี้ล้วนเป็นการสรรเสริญธรรมของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น เท่าที่หาได้มีอยู่ในพระไตรปิฎกหลายเล่ม เช่น

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑  มหาวิภังค์ ภาค ๑
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒  มหาวิภังค์  ภาค ๒
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔  มหาวรรค  ภาค ๑
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕  มหาวรรค  ภาค ๒
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑  ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒  ทีฆนิกาย มหาวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓  ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔  มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕  มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖  มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗  สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘  สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐  สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑  สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒  อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓  อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔  อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗  ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


ผมจะยกตัวอย่างมาให้ดูสักเล่ม เป็น พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕  มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ สูตรนี้ชื่อว่า "ทีฆนขสูตร" เป็นของทีฆนขปริพาชก มีศักดิ์เป็นหลานของพระสารีบุตร พระพุทธเจ้าได้เทศน์โปรดฑีฆนขปริพาชกจนบรรลุโสดาบัน ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ พระสารีบุตร ซึ่งนั่งอยู่ด้วยได้บรรลุอรหันต์

วันนั้นมีเหตุการณ์ที่มหัศจรรย์เกิดขึ้น ๔ อย่างด้วยกัน คือ

    ๑. พระสงฆ์ 1,250 รูปที่พระพุทธองค์ได้ส่งไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแว่นแคว้นต่างๆ ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
    ๒. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
    ๓. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ คือผู้ได้อภิญญา 6 ข้อ
    ๔. วันที่พระสงฆ์ทั้งหมดมาชุมนุมกันนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)


ซึ่งในโอกาสนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่เรียกว่าโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาอีกด้วย

ถึงตรงนี้คงเข้าแล้วนะครับว่า วันนี้คือ วันจาตุรงคสันนิบาต หรือที่ีเรียกกันโดยไปว่า วันมาฆบูชา นั่นเอง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 14, 2011, 10:21:16 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

โปรดปริพาชกทีฆนขะ


     วันนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่เรียกกันว่าแบบลักษณะแคนนอน ระบบตีวัวกระทบคราด หรือว่ายังไงก็ได้ ว่าแต่ไม่ใช่เป็นเจตนาเช่นนั้น ความจริงแล้วเป็นเรื่องของความเข้าใจของผู้ทำหน้าที่พัดอยู่ คือพระสารีบุตร อัครสาวกฝ่ายขวา ทำหน้าที่พัดขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมกับปริพาชกทีฆนขะ

ปรากฏว่าขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่นั้น พระสารีบุตรผู้ทำหน้าที่พัดอยู่ข้างหลัง ก็เกิดแวบขึ้นในพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงจนกระทั่งได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ นี่เรียกว่าเทศน์กับองค์ข้างหน้า แต่องค์ข้างหลังบรรลุ นี่เป็นการแสดงธรรมในลักษณะแคนนอน


ที่มา  http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/buddhist1/index/indexpic60.htm


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ ชื่อมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๕

๒๔. ทีฆนขสูตร
สูตรว่าด้วยปริพพาชกชื่อทีฑนขะ

   ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ถ่ำสูกรขาตา ( ถ้ำสุกรขุด ) เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. ปริพพาชก ชื่อทีฆนขะ ( ไว้เล็บยาว ) มาเฝ้า แสดงความเห็นว่า ทุกอย่างไม่ควรแก่ตน ๑๓  ตรัสตอบว่า ถ้าอย่างนั้น ความเห็นนั้น ก็ไม่ควรแก่ท่านด้วย. ทูลต่อไปว่า ตนชอบใจความเห็นที่ว่า สิ่งนั้นเหมือนกันหมด ๑๔  ตรัสตอบว่า คนที่พูดอย่างนี้ ยังไม่ละทิฏฐินั้น ซ้ำยังไปถือทิฏฐิอื่นอีกด้วย มีอยู่มาก แต่คนที่พูดอย่างนี้แล้วละทิฏฐินั้นไม่ถือทิฏฐิอื่น มีน้อยมาก.

   ๒. ครั้นแล้วตรัสแสดงถึงสมณพราหมณ์บางพวกที่เห็นว่า ทุกสิ่งควรแก่ตนบ้าง ทุกสิ่งไม่ควรแก่ตนบ้าง เห็นว่า บางอย่างควร บางอย่างไม่ควรบ้าง. ฝ่ายที่เห็นว่า ทุกสิ่งควรแก่ตน ใกล้ไปทางยินดี ยึดมั่นยึดถือ. ฝ่ายที่เห็นว่า ทุกสิ่งไม่ควรแก่ตน. ใกล้ไปในทางไม่ยินดี ไม่ยึดมั่น ไม่ยึดถือ .

ปรพพาชกจึงกล่าวว่า พระสมณโคดมยกย่องความเห็นของตน. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสต่อไปว่า ฝ่ายที่เห็นว่า บางอย่างควร บางอย่างไม่ควร ก็ใกล้ไปทางยินดีบ้าง ไม่ยินดีบ้าง เป็นต้น. แล้วตรัสต่อไปว่า วิญญูชนย่อมพิจารณาเห็นว่า การยึดถือทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมทำให้ทะเลาะวิวาทกัน ทำให้เบียดเบียนกัน จึงละทิฏฐิเหล่านั้น และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น.

   ๓. ตรัสสอนว่า ควรพิจารณาเห็นกายนี้โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นต้น จนถึงไม่ใช่ตัวตน. เมื่อพิจารณาอย่างนี้ ก็จะละความพอใจในกายเสียได้.

   ๔. ครั้นแล้วตรัสเรื่องเวทนา   ๓ คือ   สุข   ทุกข์   ไม่ทุกข์ไม่สุข   และชี้ให้เห็นความไม่เที่ยง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เป็นต้น ของเวทนาเหล่านั้น. เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ อริยสาวกย่อมเบื่อหน่ายในเวทนาทั้งสามและเมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด และหลุดพ้น รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว สิ้นชาติ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำหน้าที่เสร็จแล้ว ฯ ล ฯ . ผู้มีจิตหลุดพ้นอย่างนี้ ย่อมไม่วิวาทกับใคร ๆ . สิ่งใดที่เขาพูดกันในโลก ก็พูดตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดถือ.

   ๕. พระสารีบุตรนั่งพัดอยู่เบื้องพระปฤษฏางค์พระผู้มีพระภาค มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ( เป็นพระอรหันต์ ) ส่วนปริพพาชกชื่อทีฆนขะ ได้ดวงตาเห็นธรรม ( เป็นโสดาบันบุคคล ) เมื่อเห็นธรรมแล้ว ปริพพาชกชื่อทีฆนขะกราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.


ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

๔. ทีฆนขสูตร
เรื่องทีฆนขปริพาชก

             [๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์.
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มี
พระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.


ได้กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่ง
ทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.


             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่
เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.


             ท่านพระโคดม ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น แม้ความ
เห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.

อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือ
ความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้.


อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้
ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อยคือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้.

ฯลฯ..........................ฯลฯ.........................ฯลฯ

ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)

ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก

             [๒๗๕] ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันถึงแล้ว มีธรรมอัน
ทราบแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความ
เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า


ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก

     - เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
     - เปิดของที่ปิด
     - บอกทางให้แก่คนหลงทาง
     - หรือตามประทีปในที่มืด


 ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม
โดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระ
ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.

จบ ทีฆนขสูตร ที่ ๔.

ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  บรรทัดที่ ๔๖๖๑ - ๔๗๖๘.  หน้าที่  ๒๐๔ - ๒๐๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4661&Z=4768&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269
ขอขอบคุณภาพจาก www.fisho.com/,www.wanramtang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ