พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ ชื่อทีฆนิกาย มหาวัคค์
เป็นพระสุตตันตปิฎก (เล่ม ๒)
๙. มหาสติปัฏฐานสูตร
สูตรว่าด้วยการตั้งสติอย่างใหญ่ การพิจารณาธรรมแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน
๑.
พิจารณาธรรมที่กั้นจิตมิให้บรรลุสมาธิ ที่เรียกว่านีวรณ์ ๕ ( นีวรณบรรพ ). ๒. พิจารณาขันธ์ ๕ คือ รูป , เวทนา , สัญญา , สังขาร, วิญญาณ ( ขันธบรรพ ).
๓.
พิจารณาอายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ( อายตนบรรพ). ๔.
พิจารณาธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ที่เรียกว่าโพฌงค์ ( โพฌงคบรรพ ). ๕.
พิจารณาอริยสัจจ์ ๔ (สัจจบรรพ). อนึ่ง การพิจารณากาย , เวทนา , จิต , ธรรม ทั้งสี่ข้อนี้ นอกจากมีรายการพิเศษดังกล่าวมาแล้ว ยังมีรายการพิจารณาที่ตรงกันอีก ๖ ประการ คือ
๑. ที่อยู่ภายใน
๒. ที่อยู่ภายนอก
๓. ที่อยู่ทั้งภายในภายนอก
๔. ทีมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
๕. ทีมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
๖. ที่มีทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา.
อานิสงส์สติปัฏฐาน ครั้นแล้วทรงสรุปผลของการปฏิบัติ ในการตั้งสติ ๔ อย่างนี้ว่า จะเป็นเหตุให้ได้บรรลุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง คือบรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ถ้ายังมีเชื้อเหลือ ก็จะได้บรรลุความเป็นพระอนาคามี ( ผู้ไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีก ) ภายใน ๗ ปี หรือลดลงมาโดยลำดับถึงภายใน ๗ วัน.
ที่มา http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/2.4.html
อายตนบรรพ อยู่ใน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตรเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔. หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273
