อ่านแลว ไม่ค่อยจะเข้าใจ คะ ใครอธิบาย ช่วยเพิ่มเติมมาด้วย คะ
จุดประสงค์ ของ พระสูตรบทนี้

พระสูตรที่คุณ whuchi โพสต์นั้น อยู่ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ เป็น พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
สูตรนี้มีชื่อว่า "อลคัททูปมสูตร" ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยอสรพิษ
ข้อธรรมที่โพสต์นั้น เป็นเพียงหัวข้อหนึ่งเท่านั้น ยังไม่เต็มสูตร
สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่นี่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๔๔๔๓ - ๔๘๔๕. หน้าที่ ๑๘๑ - ๑๙๖.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=4443&Z=4845&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=274
เพื่อความเข้าใจ ผมขอนำบทสรุปโดยย่อ จากพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน ของ อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
มาแสดงให้ดูดังนี้ครับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
๒๒ . อลคัททูปมสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม . ภิกษุชื่ออริฏฐะ ผู้สืบสกุลที่เคยฆ่าแร้ง มีความเห็นผิดเกิดขึ้นว่า ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคแสดงว่ามีอันตรายนั้น ไม่เป็นอันตรายแก่ผู้ส้องเสพจริง ภิกษุทั้งหลายตักเตือนก็ไม่ฟัง ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกไปชี้แจง ก็นั่งนิ่งเก้อเขินถอนใจ ไม่มีปฏิภาน. ๒. จึงตรัสต่อไปถึงบางคนผู้เรียนธรรม แต่ไม่พิจารณาความหมายของธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา เมื่อไม่พิจารณาความหมาย ธรรมะของคนเหล่านั้นก็ไม่ทนต่อการเพ่ง คนเหล่านั้นเรียนธรรมะเพียงเพื่อจะยกโทษผู้อื่นและเพื่อเปลี้องวาทะของผู้อื่น จึงไม่ได้ประโยชน์ของการเรียน ธรรมะที่เรียนไม่ดี จึงเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เปรียบเหมือนคนต้องการงูพิษ แต่จับไม่ดี ก็อาจถูกงูกัดตายหรือปางตาย ส่วนคนที่เรียนดี พิจารณาความหมาย เป็นต้น ก็ได้รับประโยชน์จากการเรียน เหมือนคนต้องการงูพิษ จับงูพิษดี ก็ไม่ถึงแก่ความตาย ไม่ได้รับทุกข์ปางตายฉนั้น.
๓. ตรัสถามที่สำคัญต่อไปว่า เพราะฉะนั้น พึงเข้าใจความหมายแห่งภาษิตของเราแล้วทรงจำไว้ ถ้าไม่เข้าใจ ก็พึงไต่ถามเราหรือภิกษุผู้ฉลาด เราแสดงธรรมมีออุปมาด้วยเเพ เพื่อให้ถอนตัว ( นิตถรณะ ) ไม่ใช่เพื่อให้ยึดถือ ( คหณะ ) เหรียบเหมือนคนข้ามฝั่งน้ำด้วยอาศัยเเพ เมื่อถึงฝั่งแล้วไม่จำเป็นต้องแบกแพไปด้วย . เมื่อรู้ธรรมะที่เราแสดงเปรียบด้วยเเพ ก็พึงละแม้ธรรมะ จะกล่าวไยถึงอธรรมว่าจะไม่ต้องละ. ๔. ทรงแสดงที่ตั้งแห่งความเห็น ๖ อย่าง คือ รูป , เวทนา , สัญญา , สังขาร , สิ่งที่เห็น ที่ฟังที่ทราบ ที่รู้ ที่ค้นหาด้วยใจ ( รวม ๕ อย่าง ) ที่บุคคลเห็นว่า นั้นเป็นของเรา เราเป็นนั้น นั้นเป็นตัวตนของเรา กับ ( อย่างที่ ๖ ) ยึดถือความเห็นที่ว่า โลกหรืออัตตาเที่ยง ว่าเป็นของเรา เราเป็นนั้น นั้นเป็นตัวตนของเรา. อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมเห็นว่า สิ่งเหล่านั้นมิใช่ของเรา เราไม่เป็นนั้น นั้นมิใช่ตัวตนของเรา. เมื่อเห็นอย่างนั้น ก็ไม่สดุ้งดิ้นรนในเมื่อสิ่งนั้นไม่มี.
๕. เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลถามถึงความสะดุ้งดิ้นรน และความไม่สะดุ้งดิ้นรนในสิ่งที่ไม่มีทั้งภายนอกภายใน เป็นลำดับ จึงตรัสชี้แจงทั้งสี่ประการ. ๖. ตรัสแสดงว่า เมื่อยังหวงแหน ยังมีวาทะว่าตัวตน ยังอาศัยทิฏฐิ ( ที่ผิด ) ก็จะต้องเกิดความโศกความคร่ำครวญ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และคับแค้นใจ.
๗. ตรัสว่า เมื่อมีตน ก็มีการยึดว่า สิ่งที่เนื่องด้วยตนของเรามีอยู่, เมื่อมีสิ่งเนื่องด้วยตน ก็มีการยึดว่าตนของเรามีอยู่ , เมื่อไม่ได้ตนหรือสิ่งที่เนื่องด้วยตนโดยแท้จริง ความเห็นว่าโลกเที่ยง อัตตาเที่ยง จึงเป็นธรรมะของคนพาลอันบริบูรณ์ ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายให้เห็นด้วยตนเองว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตน ไม่ควรยึดถือ . อริยสาวกผู้รู้เห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และหลุดพ้น . ต่อจากนั้นทรงแสดงข้อเปรียบเทียบภิกษุผู้หลุดพ้นในทำนองผู้ชนะศึกที่ตีเมืองอื่นได้.
๘. ตรัสว่า พระองค์ทรงบัญญัติทุกข์และความดับทุกข์ทั้งในกาลก่อนและในปัจจุบัน แต่สมณพราหมณ์บางพวกก็ยังกล่าวหาว่าทรงสอนขาดสูญ แล้วทรงแสดงต่อไปว่า ไม่ทรงอาฆาตหรือเสียใจเพราะมีผู้อื่นด่า ไม่ทรงชื่นชมโสมนัสเพราะมีผู้อื่นสักการะเคารพนับถือบูชา แล้วตรัสสอนภิกษุให้ทำเช่นนั้นบ้าง กับได้ตรัสสรุปว่า สิ่งที่ไม่ใช่ของท่าน จงละเสีย สิ่งที่ไม่ใช่ของท่านคือ ขันธ์ ๕ ( ความมุ่งหลายคือ เพื่อคลายความยึดถือ ).
๙. ทรงแสดงถึงผู้ปฏิบัติได้ผลในพระธรรมวินัยที่ตรัสไว้ดีแล้ว ตั้งแต่พระอรหันต์ลงมาถึงชั้นต่ำสุด คือผู้มีความศรัทธา มีความรักในพระองค์. อ้างอิง
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/4.3.html
ขอบคุณภาพจาก www.84000.org/