ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เดินจงกรม คลานจงกรม จนเท้าเข่ามือแตกเลือดไหล ก็ยังไม่บรรลุ  (อ่าน 4044 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระโสณโกฬิวิสเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร


พระโสณโกฬิวิสะ เกิดในตระกูลเศรษฐี เมืองจำปา แคว้นอังคะ มีชื่อเต็มว่า “โสณะ”
ซึ่งแปลว่า “ทองคำ” เพราะท่านมีผิวพรรณสวยงาม มาแต่กำเนิดส่วนคำว่า “โกฬิวิสะ” เป็นชื่อโคตรตระกูล บิดาชื่ออุสภเศรษฐี

•   มีขนสีเขียวขึ้นที่ฝ่ายเท้า
ท่านโสณะ เป็นผู้มีความชำนาญในการดีดพิณสามสาย เป็นคนสุขุมมาลชาติ มีความ
ละเอียดอ่อน ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี บิดาได้สร้างปราสาท ๓ หลัง เพื่อเป็นที่พักอยู่อันเหมาะสม
กับภูมิอากาศใน ๓ ฤดูกาล ให้บริโภคเฉพาะอาหารที่ประณีตซึ่งหุงจากข้าวสาลีชนิดเลิศ และที่
ฝ่าเท้าทั้งสองของท่านมีขนสีเขียวเหมือนแก้วมณีงอกออกมาด้วย

ขณะที่พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่เขาคิชกูฎ เมืองราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารรับ
สั่งให้พสกนิกรของพระองค์ในหมู่บ้าน ๘๐,๐๐๐ ตำบล ในแคว้นอังคะ มาประชุมกันที่ลาน
บริเวณพระราชวัง เพื่อรับฟังพระราโชบายพร้อมกันนี้ได้รับสั่งให้อุสภเศรษฐี ส่งโสณโกฬิวิสะ
บุตรของตนเฝ้าด้วยเพื่อจะทอดพระเนตรฝ่าเท้าที่มีขนสีเขียวเหมือนแก้วมณีงอกออกมาตามที่มี
ข่าวเล่าลือ

อุสภเศรษฐีได้อบรมบุตรของตนให้ทราบถึงระเบียบมารยาทในการเข้าเฝ้าโดยห้าม
เหยียดเท้าไปทางที่ประทับ อันเป็นการไม่สมควร แต่ให้นั่งขัดสมาธิซ้อนเท้าทั้งสองไว้บนตัก
หงายฝ่าเท้าขึ้น เพื่อให้ทอดพระเนตรโสณโกฬิวิสะ


เมื่อเข้าเฝ้า ก็ได้ปฏิบัติตามที่บิดาสั่งสอนทุกประการ พระเจ้าพิมพิสาร
ทอดพระเนตรแล้วหายสงสัย จากนั้นได้ประทานโอวาท และชี้แจงพระราโชบายเกี่ยวกับกิจการ
บ้านเมืองให้พสกนิกรทราบแล้ว ทรงนำพสกนิกรเหล่านั้นพร้อมทั้งโสณโกฬิวิสะ ไปเข้าเฝ้า
สมเด็จพระบรมศาสดาถึงที่ประทับ

ขณะนั้น พระสาคตะ รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงพาพสกนิกร
มาขอโอกาสเพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ท่านได้แสดงฤทธิ์ โดยดำดินลงไปแล้วโผล่ขึ้นที่หน้า
พระคันธกุฎีบนยอดภูเขาคิชฌกูฏนั้น ประชาชนทั้งหลายเป็นแล้วก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสต่างพากัน


คิดว่า “พระพุทธสาวก ยังมีความสามารถึงเพียงนี้ พระบรมศาสดาจะต้องมีความสามารถมาก
กว่านี้อย่างแน่นอน” แล้วพากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้รับฟังพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถา
และอริยสัจ ๔ แล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน แสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ขอถึงพระรัตนตรัย
เป็นที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิตแล้ว กราบทูลลากลับนิวาสถานของตน ๆ

ส่วน โสณโกฬิวิสะ ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเหมือนกันได้พิจารณาเห็น
ว่าการอยู่ครองเพศฆราวาสนั้น ยากนักที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ จึงกราบ
ทูลขออุปสมบท ซึ่งพระบรมศาสดารับสั่งให้กลับไปขออนุญาตจากบิดามารดาก่อน เมื่อ
โสณโกฬิวิสะ ปฏิบัติตามเรียบร้อยแล้ว จึงประทานการอุปสมบทให้ตามความประสงค์


•   ทรงแนะให้ทำความเพียรเหมือนพิณ ๓ สาย
ครั้นบวชแล้ว ได้ไปบำเพ็ญเพียรที่ป่าสีตวัน เขตเมืองราชคฤห์ ท่านเดินจงกรมอย่างหนัก
จนฝ่าเท้าแตก เลือดไหล เมื่อเดินด้วยเท้าไม่ได้ ท่านจึงใช้วิธีคลานด้วยเข่าและฝ่ามือทั้งสอง จน
กระทั่งเข่าและฝ่ามือทั้งสองแตกอีกแม้กระนั้น ท่านก็ยังไม่บรรลุมรรคผลอันใด


ท่านจึงเกิดความท้อแท้น้อยใจในวาสนาบารมีของตนว่า
“บรรดาสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้บำเพ็ญเพียรอย่างหนัก
นั้น เราก็เป็นผู้หนึ่งที่มิได้ย่อหย่อนกว่าผู้อื่น ๆ ถ้ากระไรเราควรลาสิกขาออกไปครองเพศฆราวาส
ทำบุญสร้างกุศลตามสมควรแก่ฆราวาสวิสัยจะดีกว่า”


พระบรมศาสดา ทรงทราบดำริขอท่านเช่นนั้น จึงเสด็จมาตรัสสอนให้บำเพ็ญเพียรแต่พอ
ปานกลาง อย่าให้ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไปแล้วทรงยกพิณสามสายซึ่งท่านมีความชำนาญใน
การดีดพิณอยู่ก่อนแล้ว ขึ้นมาแสดงเป็นเครื่องเปรียบเทียบให้เห็นว่า

“พิณที่สายตึงเกินไป เมื่อดีดแล้วสายก็จะขาด พิณที่สายหย่อนเกินไป เมื่อดีดแล้วเสียงก็ไม่ไพเราะ ต้องสายที่ตึงพอปานกลางจึงจะไม่ขาดและมีเสียงเพาะ”

ท่านโสณโกฬิวิสะ ปฏิบัติตามพระดำรัสที่ทรงแนะนำ ไม่ตึงเกินไป หรือไม่หย่อนเกิน
ไป ปรับอินทรีย์ให้เสมอกันได้แล้ว ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลใน
พระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา ณ ป่าสีตวันนั้น


•   มูลเหตุทรงอนุญาตให้ภิกษุสวมรองเท้าได้
เพราะท่านโสณโกฬิวิสะ ทำความเพียรจนฝ่าเท้าเข่ามือแตกเลือดไหลได้รับทุกขเวทนา
อย่างหนัก ทรงปรารภเหตุนี้ จึงทรงอนุญาตให้เธอสวมรองเท้าชั้นเดียวได้ แต่ท่านได้กราบทูล
ขอโอกาสให้ทรงมีพระบรมพุทธานุญาต แก่พระสาวกรูปอื่น ๆ ด้วย พระพุทธองค์ประทานให้
ตามที่ขอโดยรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วตรัสอนุญาตว่า:-


“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตให้พวกเธอสวมรองเท้าชั้นเดียวได้ แต่ไม่อนุญาตรองเท้าหลายชั้น”

(ต่อมาภายหลัง พระมหากัจจายนะ กราบทูลขออนุญาตรองเท้าหลายชั้นใน
ปัจจันตชนบท ตั้งแต่นั้นมาพระภิกษุสงฆ์จึงสวมรองเท้ามีพื้นหลายชั้นได้)

ด้วยเหตุที่ท่านทำความเพียงอย่างหนักดังกล่าวมา พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านใน
ตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทางผู้ปรารภความเพียร
ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

ที่มา  http://www.84000.org/one/1/30.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 27, 2011, 12:18:58 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ