ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระสังกัจจายน์ พระ...แห่งโชคลาภ  (อ่าน 9135 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระสังกัจจายน์ พระ...แห่งโชคลาภ
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2011, 12:25:02 pm »
0


พระสังกัจจายน์ พระ...แห่งโชคลาภ

พระสังกัจจายน์ พระแห่งโชคลาภ "โชคลาภ" เป็นสิ่งปรารถนาของคนทุกชาติทุกศาสนา และที่เหมือนกัน คือ ทุกศาสนาและทุกชนชาติต่างก็มีองค์เทพเป็นที่พึ่ง

 เช่น ชาวจีนจะนับถือ เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยหรือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ นับเป็นเทพเจ้าองค์แรกที่ชาวจีนต้องเซ่นไหว้ก่อนเทพองค์อื่นๆ เป็นเทพเจ้าที่มีพลานุภาพให้โชคลาภ ความมั่งคั่งร่ำรวยแก่ผู้เซ่นไหว้ ไฉ่ซิงเอี๊ยเป็นเทพชั้นสูง ให้คุณทางด้านอำนวยโชคลาภ ความมั่งคั่งทรัพย์สินเงินทอง ชาวจีนจึงยกย่องให้ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ หรือเทพเจ้าแห่งเงินตรานิยมไหว้ช่วงวันตรุษจีน

นอกจากนี้แล้วชาวจีนยังเชื่อว่า การขอพรให้ท่านช่วยคุ้มครองลูกหลานผู้ไปอยู่ต่างถิ่นแดนไกลให้มีความสำเร็จในเรื่องของการศึกษา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไฉ่ซิงเอี๊ยเป็นเทพเจ้าที่รวมความศักดิ์สิทธิ์และอานุภาพหลายประการไว้ในองค์ท่านเอง

แต่ถ้าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภของชาวญี่ปุ่นแล้วมีมากถึง ๗ องค์รวมเรียก "ชิจิฟุกุยิน" ในจำนวนนี้มีเทพองค์หนึ่งที่เด่นกว่าองค์อื่นๆ คือ "องค์ไดโกกุ"เป็นเทพแห่งความมั่งคั่งการเพาะปลูก และเทพคุ้มครองข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน โดยเฉพาะในห้องครัว มักเห็นท่านถือช้อนเงินและถือถุงข้าวสารพร้อมใบหน้าอันยิ้มแย้มแจ่มใส ในบางครั้งจะพบหนูตัวเล็กๆ อยู่ข้างๆ ท่านด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ ตามร้านขายของมักนำท่านมาประดับเพื่อเป็นสิริมงคล

สำหรับองค์เทพแห่งยุคที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีคือ "จตุคามรามเทพ" โดยมีคำพูดตามมาที่ว่า"มึงมีกูไว้ไม่จน" และ"ขอได้ไหว้รับ" แม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอยู่บ้างบางส่วน ซึ่งไม่ชัดเจน


แต่ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างชัดเจนและขึ้นชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ คือ พระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นพระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้านั่นเอง 

พระสังกัจจายน์ มีพุทธลักษณะอ้วน พุงพลุ้ย มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ โชค ลาภ เป็นหนึ่งในพระสาวกผู้ใหญ่ จัดอยู่ในเอตทัคคะ ลักษณะของพระสังกัจจายน์ โดดเด่นมองเห็นก็รู้ว่า เป็นพุทธสาวกองค์ไหน เมื่อสรุปแล้วจะเห็นว่า พุทธสาวกจำนวน ๘๐ องค์ พระเอตทัคคะ ๔๑ องค์นั้น มีเพียง พระสังกัจจายน์ เท่านั้นที่สร้างอย่างโดดเด่น 

คติการสร้างพระสังกัจจายน์นิยมการสร้างมาก พระสังกัจจายน์จีน แบบมหายาน หินยาน โดยเฉพาะแบบจีน พระสังกัจจายน์จีนนิยมสร้างมากกว่าในเมืองไทย มีวัดจีนหลายวัดที่สร้างพระสังกัจจายน์ใหญ่ เป็นเนื้อโลหะ เครื่องเคลือบ สมัยเช็งเตาปังโคย กังไส ก็เคยพบพระสังกัจจายน์ในจำนวนมาก พระอรหันต์ทั้ง ๑๘ องค์ รวมพระสังกัจจายน์ไว้ด้วยอีกหนึ่งองค์ โดยมีคติความเชื่อที่ว่า

"ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ ย่อมเป็นมหามงคลอุดมด้วย ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรืองดีนักแล"



ประวัติ พระสังกัจจายน์

ในตำนานพุทธสาวกทั้ง๘๐ องค์มี ประวัติพระสังกัจจายน์ กล่าวว่า พระสังกัจจายน์ เป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิต กัจจานโคตร หรือกัจจายนโคตร ในแผ่นดินของพระเจ้าจัณฑปัชโชต กรุงอุชเชนี เมื่อกัจจายนะกุมารเจริญวัย เรียนจบไตรเพท บิดาได้ถึงแก่กรรม จึงได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา

ครั้นต่อมาพระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า พระศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวโปรดสัตว์สั่งสอน ประชุมชนธรรมะที่พระองค์สอนนั้น เป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์แก่ผู้ประพฤติตาม จึงมีพระประสงค์ใคร่เชิญเสด็จพระบรมศาสดาไปประกาศที่กรุงอุชเชนี จึงรับสั่งให้กัจจายนะปุโรหิตไปทูลเสด็จกรุงอุชเชนี

กัจจายนะปุโรหิตพร้อมด้วยผู้ติดตาม ๗ คน จึงออกจากกรุงอุชเชนี ครั้นมาถึงจึงพากันเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงเทศน์สั่งสอน ในที่สุดบรรลุอรหันต์ทั้ง ๘ คน หลังจากนั้นทั้ง ๘ ก็ทูลขออุปสมบท ทรงขออนุญาต ครั้นอุปสมบทแล้ว จึงทูลเชิญเสด็จกรุงอุชเชนี ตามหน้าที่ พระองค์รับสั่งว่า

"ท่านไปเองเถิด เมื่อท่านไปแล้ว พระเจ้าปัชโชตจักทรงเลื่อมใสท่าน"

พระกัจจายนะจึงออกเดินทางพร้อมพระอรหันต์อีก ๗ องค์ ที่ติดตามมาด้วย กลับคืนสู่กรุงอุชเชนี และประกาศสัจธรรมให้แก่พระเจ้าจัณฑปัชโชต พร้อมชาวพระนครเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และถ้อยคำประการอันเป็นสัจธรรม

หลังจากนั้นกลับคืนสู่สำนักของพระพุทธองค์ ตรัสว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดในการอธิบายแห่งการย่อคำพิสดาร

นับจากนั้นมาพระสังกัจจายน์ก็เป็นผู้สรุปย่อคำสอนบอกแก่บรรดาสาวกทั้งหลาย ด้วยความพอใจอย่างยิ่ง ในคำย่อนั้น และยังเป็นผู้ทูลขอให้พระพุทธองค์บัญญัติแก้ไขพุทธบัญญัติบางประการ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระทัยแก่องค์พระศาสดาเป็นอย่างมาก



พระสังกัจจายน์ เป็นผู้มีรูปงาม ผิวเหลืองดุจทอง ตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีโสเรยยะบุตรเศรษฐีคะนอง เห็นพระสังกัจจายน์จึงปากพล่อยกล่าวว่า ถ้าเราได้ภรรยามีรูปกายงดงามเยี่ยงท่านนี้ จักพอใจยิ่ง

พลันปรากฏว่าโสเรยยะบุตรมหาเศรษฐีหนุ่มคะนองปาก ได้กลายเพศเป็นหญิงในทันที จึงหลบหนีไป ต่อมาได้สามีและบุตรสองคน จึงกลับมาขอขมากับพระสังกัจจายน์ โสเรยยะจึงกลับคืนสู่เพศชายเช่นเดิม นับว่าพระสังกัจจายน์มีฤทธิ์อำนาจยิ่งองค์หนึ่งในพุทธสาวก

มีเรื่องแทรกเข้ามาว่าเพราะ รูปกายอันงดงามของพระสังกัจจายน์  สร้างความปั่นป่วนแก่อิตถีเพศอย่างมาก จึงได้เนรมิตกายใหม่ให้อ้วน พุงพลุ้ย น่าเกลียด เพื่อความสงบแห่งจิตและกิเลส

ประวัติพระสังกัจจายน์ เรื่องราวของพระสังกัจจายน์ พอสรุปได้ว่าเป็นพระพุทธสาวกที่มีความเฉลียวฉลาดมีความรู้ และเป็นที่โปรดของพระพุทธองค์ยิ่ง มีบารมี มีอิทธิฤทธิ์ ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ จึงได้รับพรจากพุทธสาวก อันเป็นเอตทัคคะอย่างสมบูรณ์

เมื่อพูดถึงเรื่องโชคลาภแท้ที่จริงแล้วชาวพุทธเราจำนวนไม่น้อยต่างได้ลาภอันประเสริฐกันทุกคน ลาภอันประเสริฐที่ว่า คือ  "ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" นั่นเองตามบาลีที่ว่า "อโรคฺยาปรฺมา ลาภา"

  ทั้งนี้พระพุทธเจ้าทรงเน้นเรื่องโรคทางใจมากกว่าเรื่องโรคทางกายพระองค์สรุปว่า "ผู้ที่ไม่มีโรคทางกายเป็นเวลาหลายปีนั้นพอหาได้ แต่ผู้ที่ไม่มีโรคทางใจแม้เพียงชั่วเสี้ยวนาที ก็หาได้ยาก" จึงมีคำกล่าวตามมาที่ว่า "ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ" เช่นกัน คาถาบูชาพระสังกัจจายน์



อ้างอิง
ชั่วโมงเซียนป๋องสุพรรณ ที่มา... หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5327401&Ntype=40
ขอบคุณภาพจากwww.tumsrivichai.com,www.amulet2u.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสังกัจจายน์ พระ...แห่งโชคลาภ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2011, 12:50:26 pm »
0

ประวัติพระสังกัจจายน์ในพระไตรปิฎก

พระมหากัจจายนะนั้นชาวไทยนิยมเรียกว่า พระสังข์กัจจายน์ มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมีที่มาจากเมื่อครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการขุดพบปฏิมากรรมรูปพระกัจจายนะในบริเวณวัดแห่งหนึ่งชื่อวัดสังข์กระจายในย่านธนบุรี ชาวบ้านจึงเรียกพระองค์นี้ว่าพระวัดสังข์กระจาย ต่อมาได้มีการนำชื่อวัดสังข์กระจายกับชื่อพระมหากัจจายนะมารวมกัน จึงกลายเป็นพระสังกัจจายน์ไปในที่สุด

ส่วนการสร้างพระสังข์กัจจายน์ให้มีรูปร่างอ้วนนั้น ตำนานเล่าขานโดยนำไปผูกโยงกับเรื่องที่โสไรยบุตรเห็นรูปท่านแล้วคิดอยากได้ท่านเป็นภรรยา ด้วยอกุศลจิตที่ปรามาสพระอรหันต์โสไรยบุตรจึงกลายเพศเป็นหญิง พระมหากัจจายนะเถระไม่มีความประสงค์จะให้รูปของท่านเป็นโทษกับใครอีก จึงอธิษฐานให้รูปของท่านเป็นพระอ้วน เพื่อป้องกันไม่ให้ใครคิดอกุศลกับท่านอีก

และในบางคัมภีร์กล่าวว่า พระกัจจายนะเถระมีรูปละม้ายคล้ายพระศาสดามาก เรียกท่านว่า พระภควัมปติ แปลว่ามีรูปคล้ายพระศาสดา บางครั้งเมื่อท่านเดินเข้าไปในสมาคม ภิกษุรูปอื่นๆ มองเห็นท่านแต่ไกลเข้าใจว่าพระศาสดาเสด็จมา จึงลุกขึ้นรอต้อนรับ พระเถระไม่ต้องการให้ภิกษุเข้าใจผิดจึงอธิษฐานรูปของท่านให้เป็นพระอ้วน

เรื่องของพระกัจจายนะมีปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถาพระไตรปิฎกมากมายหลายตอน เช่น

อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอตทัคคบาลี ประวัติพระมหากัจจายนเถระ
>> http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=146&p=10

มหากัจจายนเถรคาถาและอรรถกถามหากัจจายนเถรคาถา
>> http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=366

มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตรและอรรถกถามหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
>> http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร&book=9&bookZ=33

อรรถกถาโคปกโมคคัลลานสูตร (วัสสการพราหมณ์เกิดเป็นลิงเพราะพูดไม่ดีกับพระเถระ)
>> http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=105

อรรถกถาคาถาธรรมบท เรื่องพระโสไรยเถระ (โสไรยบุตรกลายเป็นผู้หญิง)
>> http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=9


ทีมา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5ff99e796a5bf320



    พระมหากัจจายนเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร


    พระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ตระกูลกัจจายนะ ผู้เป็นปุโรหิต (ที่ปรึกษา)
    ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี เดิมท่านชื่อว่า “กัญจนะ” เพราะมีรูปร่างลักษณะงาม
    สง่า มีเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น เมื่อเจริญวัยขึ้น ได้เรียนจบไตรเพท คือ คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา
    พราหมณ์ เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้วได้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา


    เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวจาริกประกาศหลักธรรมคำสอนตามคามนิคม
    ชนบทอยู่นั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชต มีพระราชประสงค์จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จสู่
    กรุงอุชเชนีของพระองค์บ้าง จึงรับสั่งให้ปุโรหิจกัจจายนะไปกราบทูลอาราธนา กัจจายนะถือ
    โอกาสกราบทูลลาเพื่ออุปสมบทด้วย เมื่อทรงอนุญาตแล้วจึงพร้อมด้วยบริวารติดตามอีก ๗ คน

    เดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อเดินทางไปถึงก็รับเข้าเฝ้า พระพุทธองค์ตรัสพระธรรมเทศนา
    ให้ ฟังและเท่านทั้ง ๘ คนนั้น ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วกราบทูลขออุปสมบท พระพุทธ
    องค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปนา เมื่อได้อุปสมบทแล้ว ได้กราบทูล
    อาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จสู่กรุงอุชเชนี ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เดินทางมา แต่พระ
    บรมศาสดารับสั่งให้ท่านไปเองพระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาวเมืองก็จะเกิดศรัทธาเหมือนกัน


    พระมหากัจจายนะ จึงกราบทูลลาพระบรมศาสดาพาภิกษุบริวารอีก ๗ องค์นั้น เดินทาง
    กลับสู่กรุงอุชเชนี ประกาศหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาว
    เมืองได้สดับรับฟัง เกิดศรัทธาเลื่อมใส ทำให้พระพุทธศาสนาแพร่กระจายทั่วกรุงอุชเชนีแล้ว
    ท่านก็ได้เดินทางกลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก

กราบทูลขอพระบรมพุทธนุญาตแก้ไขพุทธบัตติ
    เสมือนหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะ พักอาศัยอยู่ที่ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ
    ในอวันตีทักขิณาปถชนบท ขณะนั้น มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อว่า โสณกุฎิกัณณะ มีศรัทธาจะ
    อุปสมบท


    แต่เนื่องจากในอวันตีชนบทนั้นมีพระภิกษุจำนวนน้อย ไม่ครบเป็นคณปูรกะจำนวน
    ๑๐ รูป (ทสวรรค) ตามพระบรมพุทธานุญาต ท่านจึงให้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่นานถึง ๓ ปี
    กว่าจะได้อุปสมบท และเมื่อท่านโสณกุฏิกัณณะได้อุปสมบทแล้ว ปรารถนาจะเข้าเฝ้า
    พระบรมศาสดา ได้กราบลาพระมหากัจจายนะ ก็อนุญาตพร้อมทั้งสั่งให้ไปราบทูลขอ
    พระบรมพุทธานุญาต ให้พระพุทธองค์ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ๕ ข้อ ซึ่งไม่สะดวกแก่พระภิกษุผู้
    อยู่ในอวันตีชนบท คือ:-

    ๑) ในอวันตีชนบท มีพระภิกษุจำนวนน้อย ขอให้พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการอุปสมบท
    ด้วยคณะพระภิกษุน้อยกว่า ๑๐ รูปได้
    ข้อนี้ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตว่า “ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตการอุปสมบทในปัจจันตชนบท
    ด้วยคณะพระภิกษุ ๕ รูปได้”

    ๒) ในอวันตีชนบท มีพื้นดินขรุขระไม่เรียบไม่สม่ำเสมอ ขอให้พระผู้มีอาภาคทรงอนุญาตให้
    พระภิกษุในอวันตีชนบทสวมรองเท้ามีพื้นหลายชั้นได้
    ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า “ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตให้ภิกษุสวมรองเท้ามีพื้นหลายชั้น ใน ปัจ
    จันตชนบทได้”

    ๓) ในอวันตีชนบท อากาศร้อน บุคคลต้องอาบน้ำทุกวัน ขอพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้
    ภิกษุอาบน้ำเป็นนิตย์ได้
    ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า “ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์แก่ภิกษุผู้อยู่ใน ปัจ
    จันตชนบท”

    ๔) ในอวันตีชนบท มีเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังมีหนังแพะ และหนังแกะ เป็นต้น สมบูรณ์ดี
    เหมือนในมัชฌิมชนบท ขอพระพุทธองค์ทรงอนุญาตเครื่องลาดทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะ
    และหนังแกะ เป็นต้นเหล่านั้นเถิด
    ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า “ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์เหล่านั้น”

    ๕) ทายกทั้งหลาย มักจะถวายจีวรแก่ภิกษุผู้ที่ออกจากวัดไปแล้ว ด้วยสั่งไว้ว่า “ข้าพเจ้าทั้ง
    หลาย ขอถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” เมื่อเธอกลับมาแล้ว ทายกได้นำจีวรเข้าไปถวาย แต่เธอไม่
    ยอมรับด้วยเข้าใจว่า ผ้าผืนนี้เป็นนิสสัคคีย์
    ข้อนี้ ทรงอนุญาตว่า “ดูก่อนภิกษุ เราอนุญาตให้ภิกษุรับจีวรที่ทายกถวายลับหลังได้ ด้วย
    ว่า ผ้ายังไม่ถึงมือเธอตราบใด จะถือว่าเธอมีสิทธิ์ในผ้าผืนนั้นเต็มที่ไม่ได้ตราบนั้น”



      ความสามารถพิเศษของพระมหากัจจายนเถระ
    พระมหากัจจายนเถระ เป็นพระพุทธสาวก ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดสามารถอธิบาย
    ธรรมที่ย่อให้พิสดาร ให้ผู้ฟังเกิดศรัทธาเลื่อมใสได้โดยไม่ยาก ทั้งนี้เพราะส่วนหนึ่งท่านเป็นผู้มี
    ความเชี่ยวชาญในปฏิสัมภิทา ๔ คือ:-

    ๑) อัตถปฏิสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถ
    สามารถอธิบายความย่อให้พิสดารได้

    ๒) ธัมาปฏิสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในธรรม
    สามารถถือเอาความโดยย่อจากธรรมที่พิสดารได้

    ๓) นิรุตติปฏสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในนิรุตติ
    มีความเชี่ยวชาญในภาษา สามารถพูดให้คนอื่น
    เลื่อมใสได้

    ๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ผู้มีปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ
    มีไหวพริบและปฏิภาณ สามารถแก้ไขสถานการณ์
    เฉพาะหน้าได้


    นอกจากนี้ยังมีพระธรรมเทศนาของท่านอีกหลายกัณฑ์ ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ ได้
    ยกขึ้นสู่สังคีติ คือการทำสังคายนา ได้แก่:-

    ๑ ภัทเทกรัตตสูตร เป็นสูตรที่แสดงถึงเรื่องบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ คือ คนที่เวลา
    วันคืนหนึ่ง ๆ มีแต่ความดีงาม ความเจริญก้าวหน้า ได้แก่ ผู้ที่ไม่มัวครุ่นคิดถึงอดีต ไม่เพ้อฝัน
    หวังอนาคต ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์สิ่งที่เป็นปัจจุบัน ทำความดีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย
    ไป มีความเพียรพยายามทำกิจที่ควรทำตั้งแต่ในวันนี้

    ๒ มธุรสูตร เป็นสูตรที่ท่านแสดงแก่พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร ในขณะที่ท่านพักอยู่ที่
    คุณธาวัน มธุรราชธานี สูตรนี้มีใจความแสดงถึงความไม่แตกต่างกันของวรรณะ ๔ คือ กษัตริย์
    พราหมณ์ แพศย์ และศูทร วรรณะทั้ง ๔ นี้ แม้จะถือตัวอย่าง เหยียดหยามกันอย่างไร แต่ถ้าทำดี
    ก็ไปสู่ที่ดีเหมือนกันทั้งหมด ถ้าทำชั่วก็ต้องรับโทษไปอบายเหมือนกันทั้งหมดทุกวรรณะเสมอกัน
    ในพระธรรมวินัย ออกบวชบำเพ็ญสมณธรรมแล้ว ไม่เรียกว่าวรรณะอะไร แต่เป็นสมณะ
    เหมือนกันทั้งหมด


    ที่พระเถระกล่าวสูตรนี้ ก็เพราะพระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร ถามปัญหากับท่านเกี่ยวกับ
    เรื่องพราหมณ์ถือตัวว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และเกิดจากพรหม ท่านจึงแก้ว่าไม่เป็นความจริงแล้วยกตัว
    อย่างเป็นข้อ ๆ ดังนี้:-

    ๑) ในวรรณะ ๔ เหล่านี้ วรรณะใดเป็นผู้ร่ำรวย มั่งมีเงินทอง วรรณะเดียวกัน และ
    วรรณะอื่นย่อมเข้าไปหา ยอมเป็นบริวารของวรรณะนั้น

    ๒) วรรณะใดประพฤติอกุศลกรรมบถ เมื่อตายไป วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่อบายเสมอ
    เหมือนกันทั้งหมด

    ๓) วรรณะใดประพฤติกุศลกรรมบถ เมื่อตายไป วรรณะนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    เหมือนกันทั้งหมด

    ๔) วรรณะใดทำโจรกรรม ทำปรทาริกกรรม วรรณะนั้นต้องรับราชอาญาเหมือนกันทั้ง
    หมด ไม่มียกเว้น

    ๕) วรรณะใดออกบวช ตั้งอยู่ในศีลในธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับความนับถือ การ
    บำรุง และการคุ้มครองรักษา เสมอเหมือนกันทั้งหมด


    เมื่อพระเถระแสดงเทศนามธุรสูตรจบลงแล้ว พระเจ้ามธุรราช ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส
    ประกาศประองค์เป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา



    พระเถระแปลงร่าง
    ดังที่กล่าวมาในตอนต้นแล้วว่าพระมหากัจจายนเถระ เป็นผู้มีรูปร่างสง่างามผิวเหลือง
    ดุจทองคำสะอาดผ่องใจ เป็นที่ต้องตาถูกใจแก่ผู้พบเห็นทั่วไป จนกระทั่งมีเหตุการณ์วิปริตเกิดขึ้น
    แก่บุตรเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองโสเรยยะ ชื่อว่า โสเรยยะ เหมือนชื่อเมือง ขณะที่เขานั่งบนยาน
    พาหนะกับสหายเพื่อไปอาบน้ำพร้อมกับบริวารทั้งหลาย ได้เห็นพระเถระกำลังยืนห่มจีวร เพื่อ
    เข้าไปบิณฑบาตในเมืองแล้วเกิดความพอใจ ในดวงจิตคิดอกุศลขึ้นว่า “งามจริงหนอ พระเถระ
    รูปนี้ น่าจะเป็นภริยาของเรา หรือไม่ก็ขอให้ภริยาของเรามีสีผิวกายเหมือนพระเถระนี้”


    ด้วยอกุศลจิตคิดเพียงเท่านี้ ทำให้เพศชายของเขาหายไป กลายเป็นเพศหญิงไปทั้งร่าง
    ทำให้เขาอับอายเป็นอย่างมาก และโดยที่ไม่มีใครรู้เขารีบลงจากยานนั้นแล้วเดินตามกองเกวียน
    พ่อค้าไปยังเมืองตักสิลา และได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น อยู่ร่วมกันจนมีบุตร ๒
    คน แต่เดิมทีที่เขาอยู่ในเมือง โสเรยยะนั้น เขาก็มีภริยาอยู่แล้วและมีบุตรด้วยกัน ๒ คน เช่นเดียว
    กัน จึงปรากฏว่าเขาเป็นทั้งพ่อและแม่ หรือเป็นทั้งผัวและเมียในชาติเดียวกันนี้

    ต่อมา พระมหากัจจายนเถระ จาริกมายังเมืองตักสิลา โสเรยยะทราบแล้วจึงเล่าเรื่องราว
    ของตนที่ผ่านมาให้สามีฟัง แล้วพากันไปกราบขอขมาโทษต่อพระเถระ เมื่อท่านทราบเรื่องโดย
    ตลอดแล้วก็ยกโทษให้ และเพศหญิงก็หายไปเพศชายปรากฏขึ้นมาเหมือนเดิม เขาเกิดศรัทธา
    เลื่อมใสในพระเถระเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งเห็นว่าตนเองเป็นคนแปลกคือเป็นทั้งชายและหญิงในอัต
    ภาพเดียวเท่านั้น และยังคิดว่าไม่ควรที่จะอยู่ครองเพศฆราวาสต่อไป จึงมอบบุตรทั้ง ๔ คนให้
    บิดามารดาเลี้ยงดูต่อไป ส่วนตนเองได้ขอบวชในสำนักพระเถระ และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์


    ในกาลต่อมาพระมหากัจจายนะ นอกจากจะมีเรื่องของโสเรยยะแล้ว ยังมีเรื่องพระภิกษุเทวดาและ
    มนุษย์ทั้งหลาย เห็นพระเถระเดินมาแต่ไกลแล้วก็พากันกล่าวว่า “พระบรมศาสดาของพวกเรา
    เสด็จมาแล้ว” แล้วพากันทำความเคารพกราบไหว้ ทั้งนี้ก็เพราะท่านมีรูปลักษณ์ละม้ายกับ
    พระผู้มีพระภาคนั้นเอง

    พระเถระพิจารณาเห็นโทษเช่นนี้แล้ว จึงอธิษฐานจิตเนรมิตรร่างกายของท่านให้เปลี่ยน
    แปลงผิดแปลกไปจากเดิม ร่างกายที่เคยสง่างามก็ย่นย่อ ต่ำเตี้ย ท้องป่อง หมดความสวยงามดังที่
    พุทธศาสนิกชนนิยมสร้างรูปท่านไว้เป็นที่สักการบูชาในทุกวันนี้


    ได้รับยกย่องในทางอธิบายความย่อให้พิศดาร
    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรแต่โดยย่อ แล้วเสด็จเข้าสู่พระวิหาร
    ที่ประทับ พระภิกษุทั้งหลายไม่ได้โอกาสเพื่อจะกราบทูลถามเนื้อความที่ตรัสไว้โดยย่อให้เข้าใจ
    ได้ จึงพากันเข้าไปหาพระมหากัจจายนะ กราบอาราธนาให้ท่านได้เมตตาอธิบายขยายความให้
    ฟังพระเถระได้อธิบายขยายความย่อให้ฟังอย่างพิสดาร แล้วกล่าวแนะนำว่า “ท่านผู้มีอายุ
    ข้าพเจ้าเข้าใจความหมายแห่งพระสูตรนี้ตามที่อธิบายมานี้ แต่ถ้าท่านทั้งหลายมีความต้องการจะ
    ทราบให้แน่ชัดก็จงไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ทรงแก้อย่างไร ก็จงจำไว้อย่าง
    นั้นเถิด”


    พระภิกษุเหล่านั้นพากันลาพระเถระแล้ว เข้าไปกราบทูลเนื้อความที่พระมหากัจจายนะ
    อธิบายไว้ให้พระพุทธองค์ทรงสดับ
    พระผู้มีพระภาค ตรัสสรรเสริญพระเถระว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจายนะ เป็นผู้มี
    ปัญญา เนื้อความนั้นถ้าพวกเธอถามตถาคต แม้ตถาคตก็จะอธิบายอย่างนั้น เช่นกัน ขอพวกเธอ
    จงจำเนื้อความนั้นไว้เถิด”

    เมื่อครั้งพระพุทธองค์ ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงตั้งพระมหากัจจายนะ
    ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในฝ่าย ผู้อธิบายเนื้อความย่อให้พิสดาร
    ท่านพระมหากัจจายนเถระ ดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับ
    ขันธปรินิพพาน



ที่มา http://www.84000.org/one/1/15.html
ขอบคุณภาพจากwww.ezytrip.com,www.bloggang.com,www.dekdern.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสังกัจจายน์ พระ...แห่งโชคลาภ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2011, 09:22:48 am »
0
ขอบคุณมากครับ เคยอยากอ่านเรื่อง นี้มานานแล้ว
ได้รายละเอียดมากครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า