ทำไมพระพุทธเจ้า จึงห้ามอวดอุตริมนุษยธรรม
เหตุและผลของการอวดอุตริมนุษยธรรม
บทบัญญัติซึ่งแสดงถึงเจตนารมณ์ที่มุ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ให้ความสำคัญแก่สงฆ์ ได้แก่ พุทธบัญญติไม่ให้ภิกษุอวดอุตริมนุษยธรรม
คือ คุณวิเศษหรือการบรรลุธรรมอย่างสูงที่เกินปกติของมนุษย์สามัญ เช่น สมาธิ ฌาน สมาบัติ มรรคผล ถ้าอวดโดยที่ตนไม่มีคุณวิเศษนั้นจริง คือ หลอกเค้าย่อมต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุ
แต่ถึงแม้ว่าจะได้ บรรลุคุณวิเศษนั้นจริง ถ้าพูดอวดหรือบอกเล่าแก่ชาวบ้าน หรือผู้อื่นใดที่มิใช่ภิกษุ หรือภิกษุนี ก็ไม่พ้นเป็นความผิดเพียงแต่เบาลงมา เป็นอาบัติชาจิตตีต์
ต้นเหตุที่จะให้มีพุทธบัญญัตินี้เกิดจากในคราวทุพภิกขภัย ภิกษุพวกนี้คิดหาอุบาย ให้พวกตนมีอาหารฉันโดยไม่ลำบาก กล่าวสรรเสริญกัน ให้ชาวบ้านฟังทั้งจริงและไม่จริงบ้าง ชาวบ้านเลื่อมใสพากันบำรุงเลี้ยงภิกษุกลุ่มนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้น
ห้ามติเตียนว่าไม่สมควรอวดอ้าง คุณความดีพิเศษกัน เพราะเห็นแก่ท้องและสำหรับผู้ที่อวดอ้างโดยไม่เป็นจริง ทรงติเตียนอย่างรุนแรงว่า เป็นมหาโจรที่เลวร้ายที่สุดในโลก เพราะบริโภคอาหารของชาวบ้านชาวเมือง โดยฐานบริโภค
พุทธบัญญัติอีกข้อหนึ่ง ในจำพวก ห้ามอวดอุตริมนุษยธรรม คือ สิกขาบทที่มีให้ภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่ชาวบ้าน ภิกษุใดแสดงภิกษุนั้นมีความผิด ต้องอาบัติทุกกฎ
ต้นเหตุเกิดจากเศรษฐีท่านเอาบาตรไม้จันทร์แขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่ แล้วประกาศท้าพิสูจน์ว่า ใครเป็นพระอรหันต์ มีฤทธิ์จริงก็ขอถวายบาตรนั้นแต่ให้เหาะไปเอาลงมาพระปิณโฑลภารัทวาชะได้ยินคำ ท้า ต้องการจะรักษาเกียรติของพระศาสนา จึงเหาะขึ้นไปเอาบาตรลงมา พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้าม โดยตำหนิว่า ไม่สมควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นธรรม ล้ำสามัญมนุษย์
เพราะเห็นแก่บาตรที่มีค่าต่ำ ทรงเปรียบการทำเช่นนั้นว่าเป็นเหมือนสตรี ที่เผยอวัยวะพึงสงวนให้เขาดูเพราะเห็นแก่เงินทองของต่ำทราม
เจตนารมที่คำนึงถึงสงฆ์ เพื่อการดำรงพระศาสนาตามหลักการของพระพุทธศาสนา การดำรงอยู่แห่งธรรมวินัย เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกนั้น ขึ้นอยู่กับสงฆ์เป็นส่วนรวม การที่จะสืบต่อพระศาสนา หรือรักษาธรรมวินัย จึงต้องทำให้สงฆ์คงอยู่ยั่งยืน
การอวดคุณพิเศษของภิกษุ ย่อมทำให้ประชาชนรวมจุดความสนใจไปที่ภิกษุนั้นแล้วหันไปทุ่มเทความอุปถัมถ์ บำรุงให้ในเวลาเดียวกัน สงฆ์จะด้อยความสำคัญลงภิกษุ ส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเอาใจใส่ และพระสงฆ์ส่วนรวมก็จะอ่อนกำลังลง การยืนยันความตรัสรู้ เป็นหน้าที่ของพระศาสดา
การอวดหรือบอกกล่าวอุตริมนุษยธรรม คือ คุณวิเศษของตน แก่ชาวบ้าน แม้จะเป็นจริงก็มีผลเสียหาย ที่สำคัญแก่ส่วนรวม ดังนี้
1. ทำให้ชาวบ้านตื่นเต้น ระดมความสนใจ มารวมที่บุคคลทั่วไป หรือกลุ่มเดียว แทนสนใจสงฆ์ดังได้กล่าวแล้ว และชาวบ้านผู้ไม่รู้ไม่เข้าใจก็จะคิดเปรียบคิดเทียบเกิดความรู้สึก ดูถูกดูแคลนท่านอื่น กลุ่มอื่น อย่างถูกต้องบ้าง
2. เมื่อมีการอวดกันได้ ไม่เฉพาะท่านที่รู้จริงได้ จริงเท่านั้น ที่จะอวดท่านที่สำคัญตนผิด ก็จะอวดแต่ที่ร้ายแรงยิ่งก็คือ เป็นช่องให้ผู้ไม่ละอายทั้งหลาย พากันฉวยโอกาสกันวุ่นวาย ชาวบ้านซึ่งไม่ได้รู้ไม่ได้มีประสบการณ์เอง ก็แยกไม่ถูกว่าอย่างไหนจริงอย่างไหนเท็จ
3. ชาวบ้านระดับโลกียปุถุชน ทั้งหลายมีความพอใจนิยมชมชอบต่างๆกัน ตื่นเต้นในต่างสิ่งต่างระดับกัน และผู้ที่บรรลุธรรมวิเศษ ก็มีบุคลิกลักษณะ คุณสมบัติและความสามารถด้านอื่นๆต่างๆ กันไป มิใช่จะมีคุณสมบัติที่พร้อมจะเป็นผู้นำตามรอยบาทพระศาสดาได้เหมือนกัน
4. เมื่อท่านที่บรรลุจริงสอนเก่ง อวดแล้วสอนบ้าง ท่านที่บรรลุจริงสอนไม่เป็น แต่พูดออกมาบ้างท่านที่ไม่รู้จริงสำคัญตนผิด คิดว่าบรรลุแล้วเที่ยวบอกเล่าไว้บ้าง ท่านที่ไม่บรรลุแต่ชอบหลอกพูดลวงเขาไปบ้างต่อไป หลักพระศาสนา ก็จะสับสนป่นเปฟั่นเฟือน ไม่รู้ว่าอันใดแท้อันใดเทียมเพราะหย่อนความรู้ทางปริยัติก็ทำให้หลักธรรม สับสนเสียเอกภาพแห่งคำสอนของพระศาสดา ความจริงนั้นความยืนยันความตรัสรู้ เป็นภารกิจของพระศาสดา ซึ่งเป็นผู้นำในเมื่อจะทำหน้าที่ตั้งพระศาสนา และปกป้องพระศาสนานั้น พร้อมทั้งหมู่สาวก
ส่วนหมู่สาวกภายหลัง เมื่อสมัครเข้ามาก็คือยอมรับคำสอนของพระองค์ ความรับผิดชอบในการ สอน ไม่อยู่ที่อ้างกานบรรลุของตน แต่อยู่ที่สอนให้ตรงกับคำสอน ของพระศาสดา
อ้างอิง
คัดลอกมาจากหนังสือ เหตุและผลของการอวดอุตริมนุษย์ธรรม โดย พระธรรมปิฎก (ป.ว. ปยุต.โต )
http://board.palungjit.com/f8/ทำไมพระพุทธเจ้า-จึงห้ามอวดอุตริมนุษยธรรม-290137.html
ขอบคุณภาพจาก
www.rmutphysics.com,www.oknation.net,http://hilight.kapook.com