ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปรารภความเพียร คือ อะไร  (อ่าน 9440 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ปรารภความเพียร คือ อะไร
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2011, 02:18:17 pm »
0
พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  [๑.  มูลปริยายวรรค]
๔.  ภยเภรวสูตร


{๔๑} [๔๕] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้เกียจคร้าน ปราศจากความเพียร เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัว และความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตนคือความเป็นผู้เกียจคร้าน ปราศจากความเพียร

ส่วนเรามิใช่เป็นผู้เกียจคร้าน มิใช่ปราศจากความเพียร เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ   เราเป็นผู้ปรารภความเพียร(๑) พระอริยะเหล่าใดเป็นผู้ปรารภความเพียร เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น’

 


เชิงอรรถ

(๑) ปรารภความพียร ในที่นี้หมายถึง มีความเพียรที่บริบูรณ์  และมีความเพียรที่ประคับประคองไว้สม่ำเสมอไม่หย่อนนัก  ไม่ตึงนัก  ไม่ให้จิตปรุงแต่งภายใน  ไม่ให้ฟุ้งซ่านภายนอก

คำว่า  ความเพียร  ในที่นี้หมายเอาทั้ง  ความเพียรทางกาย  เช่น  เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน  ดุจในประโยคว่า  “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดินจงกรม  ด้วยการนั่งตลอดวัน”  (อภิ.วิ.(แปล)๓๕/๕๑๙/๓๙๑)

และ ความเพียรทางจิต  เช่น  เพียรพยายามผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่ เป็นต้น  ดุจในประโยคว่า “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน”(องฺ.เอกก.อ.  ๑/๑๘/๔๓)

   

ที่มา โปรแกรมตรวจค้นพระไตรปิฎก (E-tipitaka 2.1)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ 
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
สุตตันตภาชนีย์
มาติกานิเทศ


[๖๐๙] ก็ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและปัจฉิมยามเป็นอย่างไร

     ภิกษุในศาสนานี้ ชำระจิตให้หมดจด จากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน
     ชำระจิตให้หมดจดจากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี


     สำเร็จสีหไสยาสน์ โดยนอนตะแคงขวา วางเท้าซ้อนกัน มีสติสัมปชัญญะ
     ทำสัญญาในการลุกขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
     ลุกขึ้นชำระจิตให้หมดจดจากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรมด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี


     ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=7871&Z=8548
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2011, 02:20:48 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรารภความเพียร คือ อะไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 06:05:12 am »
0


๒๓.  วิริยวรรค  คือ  หมวดเพียร

๔๑๑. กาลาคตญฺจ  น  หาเปติ  อตฺถํ
คนขยัน  ย่อมไม่พร่าประโยชน์ซึ่งถึงตามกาล.

ขุ.  ชา.  ฉกฺก.  ๒๗/๑๙๕.

๔๑๒. วิริเยน  ทุกฺขมจฺเจติ.
คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร.

ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๖๑.

๔๑๓. ปฏิรูปการี  ธุรวา  อุฏฺฐาตา  วินฺทเต  ธนํ.
คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ  ย่อมหาทรัพย์ได้.

สํ.  ส.  ๑๕/๓๑๖.  ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๖๑.

๔๑๔. อกิลาสุ  วินฺเท  หทยสฺส  สนฺตึ.
คนไม่เกียจคร้าน  พึงได้ความสงบใจ.

ขุ.  ชา.  เอก.  ๒๗/๑.

๔๑๕. น  นิพฺพินฺทิยการิสฺส  สมฺมทตฺโถ  วิปจฺจติ.           
ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย.

ขุ.  ชา.  จตฺตาฬีส.  ๒๗/๕๓๓.

๔๑๖. อนิพฺพินฺทิยการิสฺส    สมฺมทตฺโถ  วิปจฺจติ.
ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยไม่เบื่อหน่าย.

ขุ.  ชา.  จตฺตาฬีส.  ๒๗/๕๓๓.


๔๑๗. อถ  ปจฺฉา  กุรุเต  โยคํ  กิจฺเจ  อาวาสุ  สีทติ.
ถ้าทำความเพียรในกิจการล้าหลัง  จะจมอยู่ในวิบัติ.

ขุ.  ชา.  วีส.  ๒๗/๔๓๔.

๔๑๘. หิยฺโยติ  หิยฺยติ  โปโส    ปเรติ  ปริหายติ.
คนที่ผัดวันว่าพรุ่งนี้  ย่อมเสื่อม  ยิ่งว่ามะรืนนี้  ก็ยิ่งเสื่อม
.

ขุ.  ชา.  วีส.  ๒๗/๔๖๖.

๔๑๙. อชฺเชว  กิจฺจมาตปฺปํ.
ควรรีบทำความเพียรในวันนี้.

ม.  อุป.  ๑๔/๓๔๘.  ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๑๖๕.

๔๒๐. วายเมเถว  ปุริโส    ยาว  อตฺถสฺส  นิปฺปทา.
บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์.

สํ.  ส.  ๑๕/๓๓๐.

๔๒๑. กเรยฺย  โยคฺคํ  ธุวมปฺปมตฺโต.
ผู้ไม่ประมาท  ควรทำความเพียรให้แน่วแน่.

นัย-ขุ.  ชา.  ทุก.  ๒๗/๗๘.

๔๒๒. ยถา  ยถา  ยตฺถ  ลเภถ  อตฺถํ    ตถา  ตถา  ตตฺถ  ปรกฺกเมยฺย.           
พึงได้ประโยชน์ในที่ใด  ด้วยประการใดๆ  ควรบากบั่นในที่นั้น  ด้วยประการนั้น ๆ.

องฺ.  ปญฺจก.  ๒๒/๗๐.  ขุ.  ชา.  ปญฺจก.  ๒๗/๑๘๐.

ที่มา http://dhammasound.multiply.com/journal/item/15
ขอบคุณภาพจาก http://www.dmc.tv/,http://www.chaoprayanews.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ภัทเทกรัตตคาถา ว่าด้วยเรื่องความเพียร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 08:51:36 am »
0
ภัทเทกรัตตคาถา

อะตีตัง  นานวาคะเมยยะ      นัปปะฏิกังเข  อะนาคะตัง
ยะทะตีตัมปะหีนันตัง             อัปปัตตัญจะ  อะนาคะตังฯ

    บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว   ด้วยอาลัย
    และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
   สิ่งที่เป็นอดีตก็ละไป    สิ่งที่เป็นอนาคตก็ยังไม่มาฯ

ปัจจุปปันนัญจะ   โย   ธัมมัง     ตัตถะ  ตัตถะ   วิปัสสะติ
อะสังหิรัง  อะสังกุปปัง        ตัง   วิทธา  มะนุพรูหะเย ฯ

    ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้น ๆ   อย่างแจ่มแจ้ง
    ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน    เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้ ฯ

 อัชเชวะ  กิจจะมาตัปปัง      โก  ชัญญา   มะระณัง  สุเว
นะ  หิ  โน  สังคะรันเตนะ     มะหาเสเนนะ   มัจจุนา ฯ

   ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้     ใครจะรู้ความตาย  แม้พรุ่งนี้
    เพระการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ้งมีเสนามาก   ย่อมไม่มีสำหรับเรา ฯ


เอวังวิหาริมาตาปิง       อะโหรัตตังมะตันทิตัง
ตัง  เว  ภัทเทกะรัตโตติ    สันโต   อาจิกขะเต   มุนิฯ

    มุนีผู้สงบ  ย่อมกล่าวเรียก   ผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น   ไม่เกียจคร้าน
    ทั้งกลางวัน กลางคืนว่า   ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว  ก็น่าชม ฯ


   เนื้อหาของความเพียร มิได้มีอยู่ในบุคคลที่ ไม่เคยเข้าใจหลักธรรม หรือ ปุถุุชนทั่วไป
   การทำความเพียร เป็นลำดับของ โคตรภูบุคคล

   โคตรภูบุคคล คือบุคคลที่เห็นความเบื่อหน่าย ในสังสารวัฏ
   มีวิปัสสนาญาณ ถึง ขั้น นิพพิทาญาณ ถึงจักมีความเพียรอย่างไม่เกียจคร้าน
   บุคคลเช่นนี้ เรียกว่า มุนี (ผู้สงบ ) โดยสภาวะ

   การทำความเพียรจึงเป็นเรื่องลำบาก ของปุถุชน ไม่มีกำลังใจ ทำไม่ได้แน่ ๆ
   เพราะผู้ที่ทำความเพียรเช่นนี้ ต้องภาระทางโลก เว้นความอาลัย และ ไม่พะวง
   สิ่งที่จะเกิดขึ้น มุ่งมั่นภาวนา เพียงเป้าหมายเดียว คือ การพ้นจากสังสารวัฏ

   Aeva Debug: 0.0005 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ