ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คนไทยใช่กบเฒ่า? เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์ (2)  (อ่าน 2330 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29305
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

คนไทยใช่กบเฒ่า? เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์ (2)

วิถีเถรวาททำให้ปรัชญาการศึกษา "แห่งชาติ" ของไทยทุกระดับ ตั้งแต่ประถม, มัธยม, อุดม เน้น "รูปแบบ" สำคัญกว่า "เนื้อหา" เห็นได้จากให้ความสำคัญกับเครื่องแบบนักเรียน-นักศึกษา มากกว่าความคิดในสมอง และลงทุนทำรั้วทำป้ายชื่อสถาบันมากกว่าลงทุนห้องสมุด-ห้องแล็บ ฯลฯ

อาจารย์มหาวิทยาลัย "แห่งชาติ" ของไทยจึงมัวแต่หมกมุ่นกับเครื่องแบบนักศึกษาโดยไม่เอาใจใส่ความก้าวหน้าทางวิชาการ ส่งผลให้อาจารย์ให้ความสำคัญกับรายได้ของตัวเองอยู่เหนือผลงานทางวิชาการ สร้างสำนึกกะล่อน, ขี้โกง, สั่งสมสันดานเอารัดเอาเปรียบคนอื่น ฯลฯ เลยพากันแย่งงบฯ ทำงานพิเศษ แล้วเร่หาเป็น "ม้าใช้" หน่วยงานอื่น เช่น กทม., เอกชน, ฯลฯ เพื่อเพิ่มรายได้ให้ตัวเองมากกว่าทุ่มเทให้วิชาความรู้

การ "เลือกตั้ง" ผู้บริหารมหาวิทยาลัยอย่างที่เป็นมาและกำลังเป็นอยู่ขณะนี้ คือความเสื่อมของการบริหารจัดการวิชาความรู้การศึกษาทั้งระบบ

ฉะนั้นต้องพิจารณาลด ละ เลิก วิถีเถรวาทเป็นสำคัญ เว้นเสียแต่จะเห็นเป็นอย่างอื่นที่ดีกว่า แต่ถ้ายังไม่ยอมรับความจริงก็ต้องตกอยู่ในความด้อยประสิทธิภาพต่อไปจนกว่าจะหาไม่


อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ

บทความที่ 2 : วิถีเถรวาทไทย

พระนวกะ : จบ เป็นบทความแรกที่ออกเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมครับ และล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม 2551 ในหนังสือ พิมพ์มติชนรายวันเช่นเดียวกัน คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ก็ออกมาเขียนอีกบทความหนึ่ง เรื่อง "ของจริง-ของปลอม ในโลกของศิลปศาสตร์ไทย" ขออนุญาตอ่าน :

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สรุปแบบประเมินโครงการที่ผมไปบรรยายพิเศษเรื่อง ประวัติศาสตร์แห่งชาติและปราสาทพระวิหาร เมื่อวันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม แล้วส่งมาให้ผมอ่าน มีบางข้อบางคนเขียนว่า

"ควรใช้คำสุภาพต่อคณะศิลปศาสตร์ ไม่ใช่ใช้คำรุนแรง และควรให้เกียรติคณะศิลปศาสตร์ด้วย ไม่ใช่อยากพูดอะไรก็พูด เขาเรียกว่าไม่มีมารยาทการเป็นวิทยากร"

ตอบว่าผมตั้งใจพูดอย่างนั้น เตรียมการพูดอย่างนั้นแท้ๆ เตรียมพูดนานมาก หลายวันหลายเดือนหลายปี แม้เขียนในคอลัมน์นี้ก็เขียนอย่างที่พูดวันนั้น

ตอบว่าได้พูดอธิบายและบอกหลักฐานแล้วทุกอย่าง แม้เอกสารที่แจกก็มีให้เห็นหลักฐาน ปัญหาอยู่ที่คนฟังส่วนมากไม่เคยรู้จักหลักฐาน สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย (รวมทั้งที่อุบลฯ) ก็มักไม่เผยแพร่หลักฐาน เพราะสอนกันตาม "วิถีเถรวาทไทย" คือท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทอง


"วิถีเถรวาทไทย" ใช้ท่องจำเป็นสรณะนี้เอง ที่อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี บอกไว้ในคราวปาฐกถาทบทวนทิศทางไทย เมื่อเร็วๆ นี้ ว่ามีรากเหง้าปัญหาข้อหนึ่งอยู่ที่ "ศรัทธาปลอมๆ"

ศิลปศาสตร์ในมหาวิทยาลัยไทยสนับสนุนให้สังคมไทยมี "ศรัทธาปลอมๆ" ด้วย "วิถีเถรวาทไทย" จะยกข้อความของอาจารย์ธีรยุทธมาให้อ่านก่อนดังนี้

"ปัญหาคนไทยไม่อยู่กับปัญญาความรู้ แต่อยู่กับศรัทธาปลอมๆ เพราะไม่เคยมีอำนาจจริงจัง ไม่เคยแก้ปัญหาตัวเองและของประเทศด้วยหลักเหตุผล คนไทยจึงสอพลออุดมการณ์มานาน เช่น ยึดมั่นประชาธิปไตยเลือกตั้งที่มีแต่การซื้อเสียงและผลลัพธ์ก็คือชาวบ้านไม่ได้อะไร
     แต่กลุ่มทุนการเมืองเป็นผู้เสวยประโยชน์ระบอประชาธิปไตยแบบทุนสามานย์รุ่งเรือง บางส่วนก็ยึดมั่นในอุดม การณ์ชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ แบบปลอมๆ คือไม่ได้เน้นการยึดมั่นแบบใช้ปัญญาที่จะทำให้สถาบันหลักของชาติก้าวหน้า เกิดประโยชน์ที่สถาพรต่อบ้านเมืองและประชาชนจริงๆ เมื่อมีวิกฤตทุกหนก็เกิดการขัดแย้งทางความคิดปลอมๆ ซึ่งไม่ได้เกิดจากแก่นสารทางปัญญา จึงคลี่คลายไม่ได้"



ที่มา http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXhOVEkzTVRJMU5BPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1TMHhNaTB5Tnc9PQ==
ขอบคุณภาพจาก http://www.matichon.co.th/,http://www.oknation.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ