ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คนไทยใช่กบเฒ่า? เถรวาท vs. ลัทธิอาจารย์ (4)  (อ่าน 1506 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28543
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


คนไทยใช่กบเฒ่า? เถรวาท vs. ลัทธิอาจารย์ (4)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

ภายหลังนักวิชาการพยายามจะร้อยเรียงประวัติศาสตร์ ร้อยเรียงที่มาให้เข้าเป็นเรื่องเดียวกัน ก็เลยแต่งเติมเข้าไปจนเจอคำว่าเถรวาท ซึ่งคำนี้เอาเข้าจริงๆ เพิ่งใช้เมื่อตอนการประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) เมื่อปี พ.ศ.2493 ซึ่งจัดที่ประเทศศรีลังกา โดย Dr. G.P. Malalasekera เป็นประธานของ พสล.

เพราะว่ามีการเข้าใจผิดว่า เมื่อฝรั่งมาศึกษาพุทธศาสนาในเอเชีย ไปเจอทางญี่ปุ่น ทางจีน เกิดการขัดแย้งกัน ต่อว่ากันว่า ตัวเองเป็นมหายานแล้วอีกฝ่ายหนึ่งเป็นยานที่ต่ำกว่า หรือสอนไม่ถูกต้อง จึงใช้คำว่า "หินยาน" ขึ้นมา

ทีนี้พอหินยานที่เขาเอามาใช้ มันเป็นคำที่อาจารย์บอก มันเป็นคำต่อว่า พอเอามาใช้ผิดบริบท แล้วคนไทยที่ไม่มีความรู้ภาษาตอนนั้น พอไปฟังฝรั่งมาเรียกพระทางไทย ทางเอเชียว่าเป็นหินยาน ก็เลยรับเอาอย่างนั้น

พอมาประชุมทำความเข้าใจชัดเจนแล้วว่าที่มามันเรียกผิด จึงมีการตกลงให้ใช้คำว่า "เถรวาท" ในการประชุมครั้งนั้น สำหรับพุทธศาสนานิกายที่ไม่ใช่มหายาน นี่เป็นข้อมูลเบื้องต้น

ส่วนวิถีที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ในคำสอนอะไรต่างๆ ไม่เคยมีวิถีไหนเขียนชัดเจนว่าเราสอนแบบเถรวาท

พระพรหมคุณาภรณ์
: ถามนิดหนึ่ง ท่านอ่านหมดหรือเปล่า เพราะเคยได้ยินคล้ายๆ ว่า ท่านผู้เขียน พูดถึงกาลามสูตร อะไรด้วย อ่านหมดหรือเปล่าเมื่อกี้ มีหรือเปล่า


"กาลามสูตร"

พระนวกะ : กาลามสูตรจะเป็นอีกบทความหนึ่งครับ

พระพรหมคุณาภรณ์ : พูดถึงท่านพุทธทาส และกาลามสูตร

พระนวกะ : อันนั้นเป็นบทความครั้งแรกที่เขียน แต่ไม่ได้เอามา

พระพรหมคุณาภรณ์ : ที่จริงต้องรวมให้หมด ยอมเสียเวลาอีกนิดหนึ่ง คืออ่านข้อมูลให้เพียงพอ ถ้าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ก็ให้เพียงพอ

ระหว่างที่รอไปหาบทความนั้น ก็พูดไปพลางๆ นิดๆ หน่อยๆ ยังไม่เข้าตัวเนื้อหาสาระ

เท่าที่ฟังก็ได้ที่สังเกตว่า บทความที่อ่านก่อน ใช้คำว่า "วิถีเถรวาท" ส่วนบทความหลัง เติมคำว่า "ไทย" เป็น "วิถีเถรวาทไทย" อันนี้ก็เป็นจุดที่น่าสังเกตว่า เหตุใดคราวหลังจึงเติม "ไทย" เข้าไป


ขอพูดนอกประเด็นอีกนิดหน่อยก่อน คือเราจะได้ยินคำพระ ที่เป็นคำสำคัญ คำที่ถือว่าสูง ถูกนำมาใช้ในภาษาไทยในความหมายที่ไม่สู้เหมาะสม ยกตัวอย่างง่ายๆ คำว่า "อรหันต์" เขาพูดถึงนักการเมืองบ้าง คนอะไรๆ บ้าง เช่นว่า "8 อรหันต์" อะไรอย่างนี้ เคยได้ยินไหม ซึ่งก็เป็นข้อที่ควรสังเกตว่า สังคมไทยเรา มีการใช้ถ้อยคำโดยไม่คำนึงถึงความหมายที่แท้จริง และไม่ระวังว่าจะทำให้เกิดความสับสนในการศึกษา

อันนี้เป็นแง่หนึ่งที่เป็นเรื่องพื้นๆ ไม่ต้องลงลึกอะไร แค่นี้ก็มีปัญหา แง่อื่นเดี๋ยวค่อยพูด แง่ที่ว่านี้ก็จะทำให้เกิดพฤติกรรมหรือการกระทำ ที่กลายเป็นวิถีปฏิบัติในแนวนี้ต่อๆ กันไป เหมือนอย่างที่ว่า พอพูดถึงบุคคลแบบประชดประชันอย่างนี้ ก็เรียกว่า "อรหันต์" ทีนี้ พอพูดถึงสถาบันหรือระบบอะไรสักอย่างที่ต้องการประชดประชัน ก็เรียกว่า "เถรวาท" อะไรทำนองนี้

ถ้าเป็นแบบนี้ ก็กลายเป็นว่า เมื่อต้องการจะให้เป็นคำที่เด่นที่สะดุด ในการที่จะประชดประชัน ก็นำเอาคำศัพท์ที่ควรจะใช้แสดงความหมายที่ดีงาม ไปใช้สื่อความหมายที่ไม่ดี หรือที่จะกระแหนะกระแหน นี่ก็เป็นปัญหาของสังคมไทยในวงกว้าง



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOREF6TURFMU5RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB3TXc9PQ==
http://www.watnyanaves.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ