ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กังหันน้ำชัยพัฒนาจากไทยสู่อินเดีย-ทิศทางเกษตร  (อ่าน 1710 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


กังหันน้ำชัยพัฒนาจากไทยสู่อินเดีย-ทิศทางเกษตร

    ด้วย คณะกรรมการบริหาร วัดโพธิมหาวิหารพุทธคยา (The BcdhgayaTemple Management Committee) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย ทำหน้าที่บริหารจัดการดูแลรักษา และบูรณะวัดโพธิมหาวิหารพุทธคยา มีความประสงค์จะนำกังหันน้ำชัยพัฒนาไปติดตั้ง ณ สระมุจจลินท์ บริเวณพุทธคยา เพื่อบำบัดน้ำเสีย และรักษาสภาพแวดล้อม เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในโอกาสครบรอบ 2,600 ปี ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ณ สถานที่แห่งนี้

     มูลนิธิพระดาบสพิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติเพื่อบำบัดน้ำเสีย ณ สระน้ำมุจจลินท์ โดยนำกังหันน้ำชัยพัฒนาไปติดตั้งนั้น นอกจากจะเป็นการถวายเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นโอกาสอันดีที่จะถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

     นอกจากนั้นยังเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณที่ทรงประดิษฐ์ คิดค้นกังหันน้ำชัยพัฒนาจนทรงได้รับรางวัล เหรียญ สเปเชี่ยล คอมเมโมเรทิฟ โกลด์ เมเดิล(Special Commemorative Gold Medal) พร้อมประกาศนียบัตรแด่ผลงานประดิษฐ์ เรื่องกังหันน้ำชัยพัฒนา ซึ่งเป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ประจักษ์ชัดในการบำบัดน้ำเสีย



    ทั้งนี้ทางมูลนิธิพระดาบสได้ประสานขอนำกังหันน้ำชัยพัฒนาจากมูลนิธิชัยพัฒนาจำนวน 2 ตัว ไปติดตั้ง ณ สระมุจจลินท์ซึ่งเป็นสระกว้างประมาณ 60 เมตร ยาวประมาณ 70 เมตร หลังจากที่ทางมูลนิธิชัยพัฒนาได้จัดส่งชิ้นส่วนกังหันน้ำชัยพัฒนาพร้อมเจ้าหน้าที่เดินทางไปถึงประเทศอินเดียก็ได้มีการติดตั้งในสระน้ำดังกล่าวทันที

    มีการจัดทำแผ่นป้ายคำบรรยายทั้งภาษาอินเดียและภาษาอังกฤษ พร้อมตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 อีกด้วย

    มหาโพธิมหาวิหารพุทธคยาเป็นพุทธสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกประกาศให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ.  2002 ถือเป็นพุทธโบราณสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดียและของโลก ในแต่ละปีมีผู้มาเยือนประมาณ 3 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธจากทั่วโลกที่มาสักการะสังเวชนียสถานแห่งนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสังเวชนียสถาน 4 แห่งที่ชาวพุทธต่างปรารถนาจะไปสักการะให้ได้ครั้งหนึ่งในชีวิต



    การดูแลพุทธสถานโบราณแห่งนี้ มีคณะกรรมการบริหารชุดหนึ่ง ทำหน้าที่ดูแล รักษาและพัฒนา ประกอบด้วยผู้แทน 9  คน เป็นคนอินเดียทั้งหมดโดยแบ่งเป็นชาวพุทธ 4 คนและชาวฮินดู 4 คน กับประธาน 1 คน ทั้งนี้ในส่วนของฮินดู 4 คน ให้รวมมหันต์อยู่ในส่วนของฮินดูนี้ด้วย

     ในกรณีของมหันต์ หากเป็นผู้เยาว์และไม่สมควรเป็นกรรมการ ก็ให้ฮินดูเป็นกรรมการแทนได้  คณะกรรมการอยู่ในวาระ 3 ปี และจะแต่งตั้งโดยรัฐบาลอินเดียให้ 1 ใน 8 เป็นเลขาธิการ และมีคณะกรรมการที่ปรึกษา 1 คณะ ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศพุทธที่มีวัดและองค์การพุทธที่ตั้งอยู่ในเมืองคยาจะได้รับเชิญให้เป็นกรรมการที่ปรึกษาด้วย มีวาระ 2 ปี

    การที่กังหันน้ำชัยพัฒนาได้ถูกนำไปติดตั้งในสถานที่ที่เป็นมงคลแก่ชาวพุทธทั่วโลกนั้นจะเป็นคุณูปการอย่างยิ่งใหญ่แก่พุทธศาสนิกชนที่เดินทางไปจากทั่วโลกมา ณ สถานที่แห่งนี้เพื่อการบำเพ็ญเพียรจะได้สัมผัสกับสระน้ำที่ใสสะอาดอันเป็นผลมาจากการบำบัดน้ำจากกังหันน้ำชัยพัฒนา ที่ทั่วโลกให้การยอมรับว่านี่คือเครื่องจักรกลที่คิดค้นขึ้นมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของชาวไทย.


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dailynews.co.th/agriculture/6046
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ