ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิเปรียบเสมือนตะปู ปัญญาเปรียบเสมือนค้อน  (อ่าน 3913 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



สมาธิเปรียบเหมือนตะปู ปัญญาเปรียบเหมือนค้อนที่ตอกตะปู

(คำสอนของท่านพ่อลี ธัมมธโร)


"สมาธิเปรียบเหมือนตะปู ปัญญาเปรียบเหมือนค้อนที่ตอกตะปู

ถ้าตะปูเอียงไป....ค้อนก็ตีผิดๆถูกๆ ตะปูนั้นก็ไม่ทะลุกระดานนี้ฉันใด

ใจเราจะบรรจุธรรมชั้นสูงทะลุโลกได้ จะต้องมีสมาธิเป็นหลักก่อน แล้วจึงเกิดญาณ"




ที่มา http://board.palungjit.com/f4/สมาธิเปรียบเหมือนตะปู-ปัญญาเปรียบเหมือนค้อนที่ตอกตะปู-ท่านพ่อลี-ธัมมธโร-325751.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.pupasoong.com/,http://www.nokroo.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ตอแห่งจิต และ กิเลสมัดใจ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2012, 10:54:37 am »
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์
เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๖ . เจโตขีลสูตร
สูตรว่าด้วยการอนุมาน

   ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชวตนาราม ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงเรื่องที่ว่า ถ้าภิกษุยังละกิเลสที่เปรียบเหมือนตอของจิต (เจโตขีละ) ๕ ประการ และถอนกิเลสที่เปรียบเหมือนเครื่องผูกมัดจิต (เจตโสวินิพันธะ) ๕ ประการไม่ได้ ก็มิใช่ฐานะที่ภิกษุนั้นจะถึงความเจริญงอกงามไพบูลในพระธรรมวินัยนี้.


ตอของจิต ๕
    ๒. แล้วทรงแสดงกิเลสที่เปรียบเหมือนตอของจิต   ๕ ประการ คือ   
           ๑. สงสัยในพระศาสดา
           ๒. สงสัยในพระธรรม
           ๓. สงสัยในพระสงฆ์
           ๔. สงสัยในสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา)
           ๕. โกรธเคืองในเพื่อนพรหมจารี เมื่อมีความสงสัยหรือโกรธเคืองข้อใดข้อหนึ่งนี้แล้ว จิตก็ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร.



เครื่องผูกมัดจิต ๕
    ๓. แล้วทรงแสดงกิเลสที่เปรียบเหมือนเครื่องผูกมัดจิต   ๕ ประการ คือ
           ๑. ไม่ปราศจากความกำหนัดพอใจรักใคร่ในกาม
           ๒. ไม่ปราศจากความกำหนัดพอใจรักใคร่ในในกาย
           ๓. ไม่ปราศจากความกำหนัดพอใจรักใคร่ในรูป
           ๔. กินแล้วก็ประกอบสุขในการนอน
           ๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยหวังว่าจะไปเกิดในเทพพวกใดพวกหนึ่ง เมื่อมีกิเลสเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่ง จิตก็ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร.



  ๔. ถ้าละและถอนกิเลสข้างต้นเสียได้ ก็มีฐานะที่จะถึงความเจริญงอกงามไพบูลในพระธรรมวินัยนี้.
 
   ๕. ทรงแสดงภิกษุผู้ประกอบด้วยอิทธิบาท คือ คุณธรรมที่ให้ถึงความสำเร็จ ๔ ประการ คือ 
        ๑. พอใจ
        ๒. เพียร   
        ๓. คิด   
        ๔. ไตร่ตอง
        พร้อมทั้งมีความกระตือรือร้น(อุสฺโสฬฺหิ)เป็นที่ ๕ รวมเป็นมีคุณธรรม ๑๕ อย่าง คือ
        ละกิเลสอย่างละ ๕ สองอย่างข้างต้น กับคุณธรรมอีก ๕ อย่าง ก็สามารถจะตรัสรู้ได้
        เปรียบเหมือนแม่ไก่กกไข่ดี แม้ไม่ปรารถนาอะไรมาก ลูกไปก็ออกมาได้ฉะนั้น.



อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน อ.สีชีพ ปุญญานุภาพ
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/4.2.html
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ "เจโตขีลสูตร ว่าด้วยตะปูตรึงใจ"
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๓๔๕๐ - ๓๖๓๐.  หน้าที่  ๑๔๐ - ๑๔๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3450&Z=3630&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=226
ขอบคุณภาพจาก http://www.jjmalls.com/,http://www.pixpros.net/,http://commondatastorage.googleapis.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ