ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ใครคือ “คนกระจอก” ในสายพระเนตรของพระพุทธเจ้า  (อ่าน 10893 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 :25: :25: :25:

ใครคือ “คนกระจอก” ในสายพระเนตรของพระพุทธเจ้า

สหธรรมิกทุกท่านครับ บังเอิญผมไปเจอข้อธรรมในพระไตรปิฎกที่น่าสนใจ ที่บอกว่าน่าสนใจก็คือ ผมเจอคำว่า “คนกระจอก” และ “บุรุษอาชาไนย” ผมแปลกใจมาก ไม่เคยคิดมาก่อนว่า ในพระไตรปิฎกจะมีสองคำนี้อยู่เลย
 
ที่แปลกใจมากกว่า ก็คือ ความหมายของทั้งสองคำที่อยู่ในพระไตรปิฎก ต่างกับความหมายที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจและใช้กันอยู่

จะต่างกันอย่างไรนั้น ขอให้ทุกท่านพิจารณาได้ ณ บัดนี้

---------------------------------------------------
 


ว่าด้วย “คนกระจอก”
พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า คนกระจอกในโลกนี้มี ๓ ประเภท

ประเภทที่ ๑. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ใช้ไม่ได้
- ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
- และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ แต่ให้สำเร็จประโยชน์ไม่ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าไม่เป็นคุณสมบัติของเธอ
- และเธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้

ประเภทที่ ๒. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้
- ภิกษุในธรรมวินัย ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
- และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นคุณสมบัติของเธอ
- แต่เธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้

ประเภทที่ ๓. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้
- ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
-  และเธอเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นคุณสมบัติของเธอ
- และเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ได้ของเธอ

 st12 st12 st12

ว่าด้วย “คนดี”
พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า คนดีในโลกนี้มี ๓ ประเภท

ประเภทที่ ๑. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ใช้ไม่ได้
- ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
- และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ แต่ให้สำเร็จประโยชน์ไม่ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าไม่เป็นคุณสมบัติของเธอ
- และเธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้

ประเภทที่ ๒. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้
- ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
- และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นคุณสมบัติของเธอ
- แต่เธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้

ประเภทที่ ๓. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้
- ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
-  และเธอเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นคุณสมบัติของเธอ
- และเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ได้ของเธอ

@@@@@@

อุปปาติกะ [อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก. (ป. อุปปาติก, โอปปาติก).


 st11 st11 st11

ว่าด้วย “บุรุษอาชาไนย”
พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้มี ๓ ประเภท

ประเภทที่ ๑. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ใช้ไม่ได้
- บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
- และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ แต่ให้สำเร็จประโยชน์ไม่ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าไม่เป็นคุณสมบัติของเธอ
- และเธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้

ประเภทที่ ๒. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้
- บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
- และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นคุณสมบัติของเธอ
- แต่เธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้

ประเภทที่ ๓. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้
- บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
-  และเธอเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นคุณสมบัติของเธอ
- และเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ได้ของเธอ


เรียบเรียงมาจาก
พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน 
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฎฐก-นวกนิบาต
ขฬุงคสูตร ข้อ ๒๒๖

---------------------------------------------------
 


เพื่อนๆครับ หลังจากได้อ่านแล้ว เรามาสรุปกันหน่อยว่า คนกระจอก คนดี บุรุษอาชาไนย มีความหมายอย่างไร ตามที่พระพุทธเจ้าประสงค์จะให้เป็น

สิ่งที่ทำให้ คนกระจอก คนดี และบุรุษอาชาไนย มีความหมายที่ต่างกัน ก็คือ เชาวน์

เชาวน์ของคนกระจอก คือ รู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

เชาวน์ของคนดี คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

เชาวน์ของบุรุษอาชาไนย คือ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่


หลังจากพิจารณาเชาวน์ของแต่ละคนแล้ว ผมได้ข้อสรุปดังนี้
คนกระจอก หมายถึง  โสดาบันปัตติผล หรือ สกทาคามีผล
คนดี หมายถึง อนาคามีผล
บุรุษอาชาไนย หมายถึง อรหันตผล


เพื่อนๆเห็นด้วยกับผมไหมครับ

@@@@@@

คราวนี้มาดูความหมาย (ในภาษาไทย) ที่เราๆท่านๆใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน
ขอยกเอาความหมายใน พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
มาแสดงดังนี้ครับ

กระจอก  ว. เขยก (ใช้แก่ขา). (ข. ขฺจก ว่า ขาพิการ); (ปาก) ไม่สำคัญ, เล็กน้อย, เช่น เรื่องกระจอก, ต่ำต้อย เช่น คนกระจอก.

คนดี น. คนที่มีคุณความดี, คนที่มีคุณธรรม.

อาชาไนย ว. กําเนิดดี, พันธุ์หรือตระกูลดี; รู้รวดเร็ว, ฝึกหัดมาดีแล้ว, ถ้าเป็นม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียก ม้าอาชาไนย, ถ้าเป็นคนที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียกว่า บุรุษอาชาไนย. (ป. อาชาเนยฺย; ส. อาชาเนย).


---------------------------------------------------

ขอให้เพื่อนๆ เปรียบเทียบ ความหมายของคำว่า คนกระจอก คนดี บุรุษอาชาไนย
ระหว่างความหมายในพระไตรปิฎก กับความหมายในพจนานุกรม ว่าเหมือนหรือต่างกัน อย่างไร


 :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 17, 2018, 08:59:56 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครคือ “คนกระจอก” ในสายพระเนตรของพระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 02:20:26 am »
0
 :58: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง