ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตามหมอไทย...ไปตะลอน "อินเดีย"  (อ่าน 2028 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29299
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ตามหมอไทย...ไปตะลอน "อินเดีย"
« เมื่อ: เมษายน 14, 2012, 11:27:58 am »
0

สีสันริมฝั่งแม่น้ำคงคา

ตามหมอไทย...ไปตะลอน "อินเดีย"

ถ้าถามว่าประเทศไหนในโลกที่มีความเป็นที่สุดอยู่บ้าง “อินเดีย” ก็น่าจะเข้าข่ายประเทศที่ว่านั้น ทั้งร้อนจัด หนาวจัด รวยสุด จนสุด ล้วนหาดูได้ในอินเดีย

ภูมิปาโลคลินิก..วัดไทยพุทธคยา


เที่ยวตามตะวัน ทริปนี้ ไม่ได้พาไปเที่ยวอินเดียแบบถึงแก่น...อย่างที่หลายคนอยากให้พาไป อดใจรอสักพัก รับรอง คราวต่อๆไป ถ้ามีโอกาสจะพาทุกท่านไปคลี่ส่าหรี กินโรตีแขกให้ถึงใจแน่ๆ แต่สำหรับครั้งนี้จะพาไปรู้จักกับสถานพยาบาลของไทยที่ตั้งอยู่ในเขตวัดไทย ในพื้นที่ของสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งที่ตั้งอยู่ในประเทศอินเดียและเนปาล

คณะถ่ายรูปหน้าสถานที่ปรินิพพาน ในเมืองกุสินารา

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ทุกๆปีระหว่างเดือน ต.ค.-มี.ค. จะมีพระภิกษุ สามเณร พุทธศาสนิกชนทั้งคนไทยและคนต่างชาติจำนวนเป็นล้านๆคนเดินทางไปแสวงบุญ เดินสายไหว้พระพุทธเจ้า ณ สังเวชนียสถาน 4 แห่ง

ดูหน้าตาประมาณการอายุ อานามของผู้แสวงบุญส่วนมากแล้ว ล้วนมีอายุ 50 อัพ หรือมากกว่า 50 ปีขึ้นไป บางคนมีโรคประจำตัวเป็นเสมือนสัมภาระติดตัวไปด้วย บางคนไปถึง อินเดีย ไม่คุ้นเคยกับทั้งสภาพแวดล้อม อากาศ โดยเฉพาะอาหารการกิน ก็เลยทำให้เกิดเจ็บป่วยในระหว่างการเดินทางกันระนาว...

วัดไทยหลายแห่งในอินเดียจึงได้จัดตั้งสถานพยาบาลขึ้นเพื่อดูแลผู้แสวงบุญที่เจ็บไข้ได้ป่วย และเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา กรมการแพทย์ นำโดย พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ ได้นำคณะผู้บริหารเดินทางไปให้กำลังใจแพทย์ไทย ในสังกัดกรมการแพทย์ ที่เดินทางไปปฏิบัติงานในสถานพยาบาล 3 แห่งในประเทศอินเดีย คือ


สถานพยาบาลกุสินาราคลินิก วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์, สถานพยาบาลภูริปาโลคลินิก วัดไทยพุทธคยา และ สถานพยาบาลวัดไทยลุมพินี ซึ่งกรมการแพทย์ได้จัดส่งแพทย์ไปปฏิบัติงานเป็นประจำทุกปี ในช่วง 6 เดือน

การเดินทางของคณะ ไล่จากทางใต้ขึ้นไปทางเหนือ เริ่มจาก สถานพยาบาลภูริปาโลคลินิก ตั้งอยู่ในเขตวัดไทยพุทธคยา ต.พุทธคยา อ.คยา รัฐพิหาร หลายคนอาจจะแปลกใจว่า ทำไมมีอำเภอแล้วจึงกลายเป็นรัฐ เหตุผลก็เพราะระบบการปกครองพื้นที่ในอินเดียนั้น ไม่มีจังหวัด มีเพียงตำบล อำเภอ และรัฐ

สำหรับพื้นที่บริเวณนี้นั้น ในอรรถกถากล่าวไว้ว่า พุทธคยาถิ่นนี้เคยอุดม งดงามด้วยป่าไม้ วิหคนกกา ธารน้ำใสสะอาด บัดนี้เหลือรอยแห่งอักษรที่จารึกไว้เท่านั้น คงเหลือแต่คันนาในทุ่งกว้างให้ระลึกถึง


ลามะ...ทิเบตที่พุทธคยา


ในอดีต ก่อนจะถึงพุทธคยา ต้องผ่านแม่น้ำถึง 6 สาย คือ ปัญจนคี ติเลาย่า ดาดา เปมา ธโครี และ เนรัญชรา ตามประวัติกล่าวถึงที่มาของชื่อตำบล “คยา” ว่า เป็นชื่อของอสูรตนหนึ่ง ที่ต้องคำสาปของพระวิษณุ ที่ว่า
 
    “เมืองของอสูรนี้ มีแม่น้ำขอให้มีแต่ทราย มีหญิงมีชายขออย่าให้มีคนงาม
    มีภูเขาขออย่าให้มีต้นไม้ มีคนค้าคนขายก็พอมีอยู่มีกิน


     ซึ่งเมื่อไปเดินเตร็ดเตร่เที่ยวในเมืองแล้ว ก็ดูเหมือนจะต้องตามคำสาป ทั้งๆที่เป็นดินแดนแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศอินเดีย 
 
     ในช่วงเดือน ต.ค.-มี.ค.ของทุกปี จะมีนักบวช พุทธศาสนิกชนจากทั่วโลก โดยเฉพาะลามะจากทิเบต เดินทางมานมัสการ “พุทธคยามหาสังฆาราม” ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่เป็นที่มาของชื่อ “พุทธคยา” ซึ่งแผลงมาจาก “โพธคยา” หรือ “ธรรมารัณย์”

    จุดที่น่าสนใจในเขตของโพธคยานั้น มีทั้ง รัตนจงกรมเจดีย์
    ซึ่งมีหินทรายสลักเป็นดอกบัวบานรับแสงพระอาทิตย์จำนวน 19 ดอก
    และแท่นหินทรายแดงยาวประมาณ 6 เมตร
    เป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ 3 ของการตรัสรู้
 
    ในอำเภอคยา หรือเมืองคยาแห่งนี้ มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ต.อุรุเวลาเสนานิคม, บ้านนางสุชาดา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำเนรัญชรา ที่วันนี้คงเหลือให้เห็นแต่ผืนทรายแห้งขอด
    รวมทั้งมหาวิทยาลัยเก่าแก่อย่าง มหาวิทยาลัยมคธ ที่มีคนไทยทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเดินทางไปศึกษาเป็นจำนวนมาก


"ธัมเมกขสถูป" สถานที่แสดงปฐมเทศนา


จากพุทธคยา มุ่งหน้าสู่พาราณสี ที่นี่ไม่มีสถานพยาบาลให้แวะเยี่ยม แต่คณะได้มีโอกาสนมัสการ “ธัมเมกขสถูป” ซึ่งเป็นสถูปโบราณทรงบาตรคว่ำ ก่อด้วยหินทราย เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา ในเขตเมืองสารนาถ ความสำคัญของสถานที่แห่งนี้คือ เป็นสถานที่ที่มีสังฆรัตนะเกิดขึ้นครั้งแรกในโลก เมื่อพระอัญญาโกณฑัญญะ 1 ใน 5 ของปัญจวัคคีย์ ได้ดวงตาเห็นธรรม

ป้ายกุสินาราคลินิก

นอกจากนั้นในเมืองนี้ เรายังได้มีโอกาสเห็นสีสันของแม่น้ำคงคา ที่ไม่เคยหลับใหล ทั้งผู้มาอาบชำระล้างร่างกาย และที่เขียนถึงกันอยู่บ่อยๆก็คือ การนำร่างที่ไร้วิญญาณไปเผาที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา โดยเชื่อว่าจะเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สรวงสวรรค์

โรงแรมหลายแห่งริมแม่น้ำคงคาแห่งนี้ ได้ชื่อว่าเป็น มรณา โฮเต็ล เพราะคนที่ใกล้ตายจะมาเช็กอินเพื่อรอรับความตายที่นี่จากพาราณสี คณะของเราเดินทางต่อไปยังกุสินารา เพื่อพบปะกับคณะแพทย์ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ที่ สถานพยาบาลกุสินาราคลินิก บริเวณ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์

สถานพยาบาลกุสินาราคลินิก มีผู้มารับบริการวันละ 50-100 ราย ถ้าเป็นช่วงเทศกาลแสวงบุญ อาจเพิ่มเป็นเท่าตัว มีแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ประจำ ทุกคนมาทำหน้าที่ด้วยใจ วันพุธเป็นวันพิเศษที่สถานพยาบาลจะเปิดให้บริการผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และวันเสาร์ สำหรับเด็กที่อายุไม่เกิน 5 ขวบ


อีกมุมของกุสินาราคลินิก


จากกุสินารา เดินทางต่อไปยังลุมพินีต้องผ่านด่านข้ามประเทศ  เพราะลุมพินีอยู่ในเขตประเทศเนปาล มีด่าน 960 พุทธวิหารสาลวโนทยานเปิดให้ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติไปใช้บริการได้  มีร้านโรตีอรีดอย อร่อยสุดยอดไว้คอยบริการด้วย

ที่ลุมพินี สถานพยาบาลเป็นเพียงคลินิกเล็กๆ แต่ก็เป็นที่พึ่งของทั้งคนไทย อินเดีย และเนปาล ที่แวะเวียนมาไม่ขาดสาย ถือเป็นที่พึ่งที่พิงของทั้งนักเดินทางและประชาชนในพื้นที่ภารกิจของผู้เดินทางเยี่ยมเยียนในครั้งนี้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ปฏิบัติการของคณะแพทย์ พยาบาล บุคลากรด้านสาธารณสุขที่แวะเวียนไปให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เป็นธรรมทาน ยังคงเดินหน้าต่อไป.


แตงโม..โรตี อรีดอย


ขอบคุณข้อมูลแะภาพจาก
http://www.thairath.co.th/column/life/travelmylife/252917
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ