ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระอานนท์ สำเร็จ เป็น พระอริยะบุคคล ตอนไหนคะ ฟังธรรมชื่อว่าอะไร  (อ่าน 4404 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีความสนใจมากคะ เพราะว่า ท่านเป็น สกลสังฆปริยณายก สายมหายาน รูปที่ 2 นะคะ ( ฟังมาใช่หรือไม่ )

 อยากรู้ว่า ท่านพระอานนท์ บรรลุธรรมเป็น พระโสดาบัน ตอนไหนคะ ฟังธรรมชื่ออะไร จากใคร
                                        เป็น พระสกทาคามี  ตอนไหนคะ ฟังธรรมชื่ออะไร จากใคร
                                        เป็น พระอนาคามี ตอนไหนคะ ฟังธรรมชื่ออะไร จากใคร
                                        เป็น พระอรหันต์ ตอนไหนคะ ฟังธรรมชื่ออะไร จากใคร

ขอบคุณมากคะ

  :25: :25: :25: :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

เถรวรรคที่ ๔
๑. อานันทสูตร
ว่าด้วยปัจจัยให้มีและไม่ให้มีตัณหามานะทิฏฐิ

      [๑๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนทเถระเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า
      ดูกรอาวุโสทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระอานนท์แล้ว.


      ท่านพระอานนท์ จึงได้กล่าวว่า
      ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ท่านพระปุณณมันตานีบุตร มีอุปการะมากแก่พวกเราเหล่าภิกษุใหม่ ท่านกล่าวสอนพวกเราด้วยโอวาทอย่างนี้ว่า
      ดูกรท่านอานนท์
      เพราะถือมั่น จึงมีตัณหา มานะทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา.
      เพราะถือมั่น อะไร จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่นอะไร จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา.
      เพราะถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา
      เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา.


      ดูกรท่านอานนท์
      เปรียบเสมือนสตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มรุ่นสาว มีนิสัยชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตน ที่กระจกหรือที่ภาชนะน้ำ อันใสบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะยึดถือจึงเห็น เพราะไม่ยึดถือจึงไม่เห็นฉันใด.
      ดูกรท่านอานนท์
      เพราะถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา
      เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา ฉันนั้นเหมือนกันแล.

     
      ดูกรท่านอานนท์ ท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             อ. ไม่เที่ยง อาวุโส.
             ป. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             อ. ไม่เที่ยง อาวุโส ฯลฯ
             ป. เพราะเหตุนี้แล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. (โดยเหตุนี้แล ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า)

      ดูกรอาวุโส ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เป็นผู้มีอุปการะมาก แก่พวกเราเหล่าภิกษุใหม่ ท่านสอนพวกเราด้วยโอวาทนี้ ก็เราได้ตรัสรู้ธรรม เพราะฟังธรรมเทศนานี้ ของท่านพระปุณณมันตานีบุตร.

      จบ สูตรที่ ๑.



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๒๓๕๗ - ๒๓๘๓. หน้าที่ ๑๐๓ - ๑๐๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=2357&Z=2383&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=193
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/




อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔
อานันทสูตร
             
               เถรวรรคที่ ๔               
               อรรถกถาอานันทสูตรที่ ๑
   
           
               พึงทราบวินิจฉัยในอานันทสูตรที่ ๑ ดังต่อไปนี้ :-

               พระปุณณมันตานีบุตร               
               บุตรของนางพราหมณีชื่อมันตานี ชื่อมันตานีบุตร.
               บทว่า อุปาทาย แปลว่า อาศัย คือปรารภ ได้แก่มุ่งหมาย คืออิงแอบ.
               บทว่า อสฺมีติ โหติ ความว่า มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า ๓ อย่าง คือตัณหามานะและทิฏฐิที่เป็นไปอย่างนี้ว่า อัสมิ (เรามี เราเป็น).
               บทว่า ทหโร แปลว่า คนหนุ่ม.
               บทว่า ยุวา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยความเป็นหนุ่ม.
               บทว่า มณฺฑกชาติโย แปลว่า มีการแต่งตัวเป็นสภาพ คือมีปกติชอบแต่งตัว.
               บทว่า มุขนิมิตฺตํ แปลว่า เงาหน้า. ก็เงาหน้านั้นอาศัยกระจกเงาที่ใสสะอาดจึงปรากฏ.


               ถามว่า ก็เมื่อบุคคลมองดูกระจกเงาใสสะอาดนั้น เงาหน้าของตนปรากฏ หรือเงาหน้าของคนอื่นปรากฏเล่า?
               อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ถ้าเงาหน้าจะพึงเป็นของตนไซร้ (ไฉน) จะต้องปรากฏเป็นหน้าอื่น (อีกหน้าหนึ่ง) และถ้าเงาหน้าเป็นของ ผู้อื่น (อีกหน้าหนึ่ง) ไซร้ ก็จะต้องปรากฏไม่เหมือนกันโดยสีเป็นต้น เพราะฉะนั้น เงาหน้านั้น จึงไม่เป็นทั้งของตน ทั้งของคนอื่น แต่ว่า รูปที่เห็นในกระจกนั้น อาศัยกระจก จึงปรากฏ.


               ถามว่า ถ้าจะมีเงาหน้าใดปรากฏในน้ำ เงาหน้านั้นปรากฏได้เพราะเหตุไร?
               ตอบว่า ปรากฏได้ เพราะมหาภูตรูป (น้ำ) เป็นของใสสะอาด.
               บทว่า ธมฺโม จ เม อภิสเมโก ความว่า พระอานนทเถระกล่าวว่า
               ผมได้บรรลุธรรมคือสัจจะ ๔ ด้วยญาณ ผมจึงสำเร็จเป็นพระโสดาบัน.


               จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๑     
         
                         

อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=2357&Z=2383
ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=193
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
พรหมชาลสูตร
                     
พระอานนท์บรรลุพระอรหัต
               
       ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุมทำสังคายนา
       การที่เรายังเป็นพระเสขะอยู่ จะเข้าประชุมด้วยนั้น ไม่สมควรแก่เราเลย
       แล้วให้เวลาล่วงไปด้วย "กายคตาสติกรรมฐาน" ตลอดราตรีเป็นส่วนมากทีเดียว
       ในเวลาใกล้รุ่งของราตรีก็ลงจากที่จงกรมเข้าวิหาร เอนกายลงหมายจะนอน เท้าทั้งสองพ้นจากพื้นแล้ว
       แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

      พระอานนทเถระนี้ให้เวลาล่วงไปในภายนอกด้วยการจงกรม เมื่อไม่อาจให้คุณวิเศษเกิดขึ้นได้ ก็คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราไว้มิใช่หรือว่า (๑-)

      ดูก่อนอานนท์ เธอได้สร้างบุญไว้แล้ว จงหมั่นบำเพ็ญเพียรเถิด ไม่ช้าก็จะเป็นพระอรหันต์ดังนี้
      ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ตรัสผิดพลาด แต่เราปรารภความเพียรมากเกินไป
      ฉะนั้น จิตของเราจึงฟุ้งซ่าน ทีนี้เราจะประกอบความเพียรพอดีๆ คิดดังนี้แล้วลงจากที่จงกรม
      ยืนในที่ล้างเท้า ล้างเท้าเข้าวิหาร นั่งบนเตียงคิดว่าจักพักผ่อนสักหน่อย แล้วเอนกายบนเตียง
      เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน
      ในระหว่างนี้จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.
____________________________

(๑-) ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๓๕

     
      ความเป็นพระอรหันต์ของพระอานนทเถระ เว้นจากอิริยาบถ ๔
      ฉะนั้น เมื่อมีการกล่าวถามกันขึ้นว่า ในศาสนานี้ ภิกษุที่ไม่นอน ไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่เดินจงกรม
      แต่ได้บรรลุพระอรหัต คือภิกษุรูปไหน. ควรตอบว่า คือ พระอานนทเถระ.


      ครั้งนั้น ในวันที่ ๒ จากวันที่พระอานนท์บรรลุพระอรหัต คือวันแรม ๕ ค่ำ
      พวกภิกษุชั้นพระเถระฉันเสร็จแล้ว เก็บบาตรและจีวรแล้วประชุมกันในธรรมสภา.
      สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม.


      ท่านไปอย่างไร.
      ท่านพระอานนท์มีความยินดีว่า บัดนี้ เราเป็นผู้สมควรเข้าท่ามกลางที่ประชุมแล้ว
      ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง มีลักษณะเหมือนลูกตาลสุกที่หล่นจากขั้ว
      มีลักษณะเหมือนทับทิมที่วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง
      มีลักษณะเหมือนดวงจันทร์เพ็ญที่ลอยเด่นในท้องนภากาศอันปราศจากเมฆ
      และมีลักษณะเหมือนดอกปทุมมีเกสรและกลีบแดงเรื่อกำลังแย้มด้วยต้องแสงอาทิตย์อ่อนๆ
      คล้ายจะบอกเรื่องที่ตนบรรลุพระอรหัต ด้วยปากอันประเสริฐบริสุทธิ์ผุดผ่องมีรัศมีและมีสิริ ได้ไปสู่ที่ประชุมสงฆ์.

     ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะพอเห็นพระอานนท์ ดังนั้นได้มีความรู้สึกว่า
     ท่านผู้เจริญ พระอานนท์บรรลุพระอรหัตแล้ว งามจริงๆ
     ถ้าพระศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่ พระองค์ก็จะพึงประทานสาธุการแก่พระอานนท์ในวันนี้แน่แท้
     บัดนี้ เราจะให้สาธุการซึ่งพระศาสดาควรประทานแก่พระอานนท์ดังนี้แล้ว ได้ให้สาธุการ ๓ ครั้ง.


     ส่วนพระมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวว่า พระอานนทเถระประสงค์จะให้สงฆ์ทราบเรื่องที่ตนบรรลุพระอรหัต จึงมิได้ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเมื่อนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตนๆ ตามลำดับอาวุโส ก็นั่งเว้นอาสนะของพระอานนทเถระไว้.
     บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวกถามว่า นั่นอาสนะของใคร?
     ได้รับตอบว่า ของพระอานนท์.
     ภิกษุเหล่านั้นถามอีกว่า พระอานนท์ไปไหนเสียเล่า?

     สมัยนั้น พระอานนทเถระคิดว่า บัดนี้เป็นเวลาที่เราควรจะไป
     ต่อจากนั้น เมื่อจะแสดงอานุภาพของตน ท่านจึงดำดินแล้วแสดงตนบนอาสนะของตนทีเดียว.
     อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระอานนท์ไปทางอากาศแล้ว นั่งบนอาสนะของตน ดังนี้ก็มี.
     อย่างไรก็ตาม การที่ท่านพระมหากัสสปะเห็นพระอานนท์แล้ว ให้สาธุการ เป็นการเหมาะสมโดยประการทั้งปวงทีเดียว....ฯลฯ



อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=09&A=1&Z=1071
ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=1
ขอบคุณภาพจาก http://www.rmutphysics.com/,http://www.kunkroo.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 28, 2012, 01:42:55 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
มีความสนใจมากคะ เพราะว่า ท่านเป็น สกลสังฆปริยณายก สายมหายาน รูปที่ 2 นะคะ ( ฟังมาใช่หรือไม่ )

 อยากรู้ว่า ท่านพระอานนท์ บรรลุธรรมเป็น พระโสดาบัน ตอนไหนคะ ฟังธรรมชื่ออะไร จากใคร
                                        เป็น พระสกทาคามี  ตอนไหนคะ ฟังธรรมชื่ออะไร จากใคร
                                        เป็น พระอนาคามี ตอนไหนคะ ฟังธรรมชื่ออะไร จากใคร
                                        เป็น พระอรหันต์ ตอนไหนคะ ฟังธรรมชื่ออะไร จากใคร

ขอบคุณมากคะ

   
     พระอานนท์สำเร็จโสดาบันตอนไหน เท่าที่หาข้อมูลได้ตอนนี้ ต้องตอบว่า "ไม่ทราบค่ะ"
     ฟังธรรมชื่อว่า "ปัจจัยให้มีและไม่ให้มีตัณหามานะทิฏฐิ"
     ฟังธรรมจาก "พระปุณณมันตานีบุตร"


     พระอานนท์สำเร็จอรหันต์ ตอนที่กำลังจะนอน
     "ขณะที่นั่งอยู่บนเตียง เอนกายลง เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน"
     การสำเร็จครั้งนี้ไม่ได้ฟังธรรมจากใคร แต่เป็นการเจริญกายคตาสติกรรมฐาน เป็นส่วนใหญ่
     และอีกอย่างหนึ่งก็คือ ท่านเดินจงกรมด้วย


     หากสงสัยว่า กายคตาสติกรรมฐาน คือ อะไร
     ขอตอบว่า ก็คือ กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน นั่นเอง


     ส่วนการบรรลุ สกทาคามีและอนาคามี ผมไม่มีข้อมูลเรื่องนี้
     แต่ขอเดาว่า น่าจะสำเร็จคราวเดียวกันกับสำเร็จอรหันต์นั่นแหละ
     ขอให้นึกถึง "พระพาหิยะ" เป็นตัวอย่าง
     การบรรลุเป็นอริยบุคคลนั้น ต้องบรรลุไปตามลำดับเท่านั้น ไม่มีการข้ามโดยเด็ดขาด

      :welcome: :49: :25: :s_good:



    กระทู้แนะนำ
    “พหูสูต” มีคุณสมบัติอย่างไร ใครคือ "พหูสตที่แท้จริง"
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2134.msg8037#msg8037

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ