ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย  (อ่าน 5808 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เป็นชาวพุทธควรรู้อะไรบ้าง?

เคยกล่าวในทุกครั้งที่เคยรับเชิญไปพูดหรือบรรยายทุกที่  และแม้แต่ในการเขียนเสมอว่า ‘ศาสนาพุทธ เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ทางจิต’  ที่กล่าวเช่นนั้นก็เพราะ...

หลักของวิทยาศาสตร์เป็นหลักที่ประกอบด้วยเหตุผลเพื่อค้นหาความจริง?

และ...พระพุทธเจ้าของเราก็ทรงตรัสเอาไว้ว่า...จงอย่าเชื่อสิ่งใดเพียงเพราะ ได้ยินได้ฟังมาจากบุคคลน่าเชื่อถือ หรือได้จากตำรา...อีกทั้งพระองค์ยังทรงย้ำเตือนเหล่าพุทธสาวกทั้งหลายด้วยว่า... ‘การจะเชื่อสิ่งใดนั้น  จงเชื่ออย่างการรู้จักพินิจพิจารณาด้วยเหตุและผลเสียก่อน...’

คำว่า ‘รู้’ ตัวนี้แหละครับ  ที่ภูเตศวรอยากจะกล่าวถึง...เพราะเมื่อกล่าวถึงคำคำนี้  เชื่อว่าหลายท่านอาจแปลกใจ...ทำไมต้อง ‘วิสัชนา’ กันให้เสียเวลา  บางรายคงนึกอยากจะกล่าวว่า...

‘ใคร ๆ ในโลกทุกคนก็ต้องรู้อะไรต่อมิอะไรกันบ้างล่ะ!’

ครับ...ใน โลกนี้ ทุกคนย่อมเคยเรียนรู้อะไรต่อมิอะไรกันมาบ้าง ตามแต่จังหวะโอกาสของชีวิตมากน้อยลดหลั่นกันไป...ทั้งทางการเล่าเรียนโดยตรง และโดยอ้อมเอาไว้  เพื่อใช้ความรู้นั้นมาประกอบการเลี้ยงดูชีวิตตนและครอบครัว...

ความรู้ดังกล่าวข้างต้นเป็น ‘รู้’ ทางโลก ‘รู้’ เพื่อประกอบสุขแก่กาย

แต่วันนี้ผู้เขียนอยากจะพูดถึงความรู้ที่อยู่ในความหมายของคำว่า ‘พุทโธ’ ที่แปลว่า...ผู้รู้...ผู้ตื่น...ผู้เบิกบาน
อันเป็น ‘รู้’ ด้านปัญญาธรรม


ปัญญาธรรมสำหรับชาวพุทธโดยแท้นั้น...คือ  รู้อะไร?



ดังได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ทางจิต  ดังนั้นเราจึงควรศึกษาให้รู้อย่างมีเหตุผล  เพราะการปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า ย่อมเนื่องด้วยจิตเป็นข้อสำคัญ  พระพุทธวจนะที่สั่งสอนก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ‘จิต’ เป็นส่วนใหญ่

เป็นที่รู้กันเป็นพื้นฐานว่า  มนุษย์ประกอบด้วย ‘จิตกับกาย’ เรื่องของกายออกจะเป็นรูปธรรมมากกว่าในความเข้าใจ หากแต่ถ้ากล่าวถึงจิตนั้น เป็นเรื่องเข้าใจได้ยาก เพราะเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้...

เมื่อใดที่กล่าวถึง ‘จิต’ มักจะมีคำว่า ‘วิญญาณ’ ต่อท้ายเสมอ เพราะจิตกับวิญญาณเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันได้ยาก เป็นสิ่งเกี่ยวเนื่องกัน

พระบรมศาสดาของเราทรงแยกองค์ประกอบของมนุษย์ออกเป็นธาตุ 6 (ในธาตุวิภคสูตร) คือ  ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)  อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)  เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)  วาโยธาตุ (ธาตุลม)  อากาศธาตุ (ธาตุอากาศคือช่องว่าง)  และท้ายสุดคือ วิญญาณธาตุ (ธาตุรู้)

เมื่อจัดสรุปเข้าในเรื่องกายกับจิต  ในธาตุ 5 ข้างต้น  ธาตุ 4 เป็นวัตถุ  ส่วนธาตุที่ 5 หมายถึงช่องว่างในกาย  ไม่ว่าจะเป็นช่องโพรงจมูก  ปาก  ช่องว่างต่าง ๆ ในกายทั้งหมด  ส่วนสำหรับผู้ที่ศึกษาสรีรวิทยาในปัจจุบันด้วยวิทยาการอันล้ำหน้า  จะเห็นว่าในร่ายกายของคนเราจะมีช่องว่างใหญ่เล็กอยู่มากมาย 

เมื่อดูด้วยกล้องขยายขนาดหลายร้อยพันเท่าแล้ว  แม้แต่เนื้อหนังที่มองด้วยตาเปล่าว่าทึบตัน  แท้ที่จริงก็ประกอบด้วยช่องว่างทั้งหมดและกล่าวว่า  เมื่อยุบรวมส่วนที่เหลือเข้าด้วยกัน  ไม่ให้มีช่องว่างอยู่เลย  จะเหลือเป็นก้อนนิดเดียว 

ฉะนั้นอากาศธาตุจึงหมายถึงช่องว่างดังกล่าวเป็นธาตุอย่างหนึ่ง  เพราะเป็นส่วนประกอบอยู่ในกาย  ทำให้กายดำรงอยู่ได้  ส่วน ‘ธาตุรู้’  อันเป็นธาตุที่ 6 เป็นธาตุสุดท้าย  ตัวนี้แหละครับเป็นตัวสำคัญ...

เป็นตัวที่ยากแก่การอธิบายอย่างยิ่ง!

แต่เป็นตัวจักรสำคัญที่สุดของมนุษย์  ที่ควรค่าต่อการศึกษาที่สุดเช่นกัน...

‘จิต’ เป็นคำกล่าวที่คนเราคุ้นเคยมาตั้งแต่เล็กจนโต  ทว่าน้อยนักที่จะเข้าใจอย่างลึกซึ้ง  เพราะจิตมิใช่วัตถุที่จะมองเห็นด้วยตา  จึงได้เห็นในปัญหาอยู่เสมอว่า  จิตคืออะไร?  จิตอยู่ที่ไหน?

ด้วยความเห็นแผกกันไปต่างๆนานา  ตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน..

เรื่องที่อยู่ของจิตนั้น  บ้างก็ว่าอยู่ที่หัวใจ  เพราะมีคำกล่าวควบกันไป  อย่างเช่น... ‘ฉันรักเธออย่างเต็มหัวใจ’ เพราะ ความรู้สึก ‘รัก’ เป็นอาการของ ‘จิต’ เมื่อเต็มหัวใจจิตก็น่าจะอยู่ที่หัวใจเป็นต้น...

บางรายก็แย้งว่าจิตอยู่ในสมอง  เพราะสมองเป็นตัวสั่งการให้ร่างกายกระทำสิ่งใด ๆ ได้  แม้กระทั่งความคิด  ซึ่งระยะหลังมานี้  ฝ่ายหลังออกจะมีภาษีมากกว่า  เพราะการผ่าตัดหัวใจเปลี่ยนหัวใจได้สำเร็จ  โดยการใช้หัวใจของผู้อื่นมาแทนนั้น  คนถูกผ่าตัดก็ยังมีจิตใจของตนอย่างเดิม



    ในพระธรรมบท  ซึ่งเป็นพระพุทธวจนะได้กล่าวไว้ว่า

    "จิตไม่มีสรีระหรือไม่ใช่สรีระ(อสรีร) มีคูหาเป็นที่อาศัย(คุหาสย) เที่ยวไปไกล เที่ยวไปผู้เดียวดวงเดียว" 

    ตามลักษณะดังนี้   จิตจึงมิใช่หัวใจ หรือมันสมองซึ่งเป็นสรีระ  และคำว่าคูหาซึ่งแปลตรง ๆ ตามปกติแปลว่า ถ้ำ  แต่ในเรื่องจิตนี้  พระอาจารย์ผู้กล่าวคำอธิบายได้อธิบายไว้อย่างกว้าง ๆ ว่า ‘กายนี้’

กายนี้ จึงเป็นคูหาแห่งจิต  เป็นที่อาศัยของจิต  ซึ่งมิอาจบ่งชัดได้ว่า  จิตอาศัยอยู่ ณ ส่วนใดของกายกันแน่
ด้วยเหตุนี้ จึงต้องยกผลประโยชน์ให้กับวิทยาการในปัจจุบันกับศัพท์คำเดียว คือคำว่า ‘คูหา’ ซึ่งแปลว่า ‘ถ้ำ’


ในความหมายทั่วไปนั้น มีลักษณะเป็นโพรง มีเพดานโค้งไปตามธรรมชาติ ลองค้นหาดูในร่างกายแล้ว ส่วนที่ลักษณะเช่นนั้นก็เห็นจะมีแต่กะโหลกศีรษะที่เหมือนมากที่สุด อีกทั้งเป็นที่อาศัยของมันสมองที่เป็นส่วนสำคัญเกี่ยวแก่ความรู้ ความคิด ความทรงจำต่าง ๆ ตามที่ทราบกันตามการแพทย์

จิตน่าจะต้องตั้งฐานแห่งความคิดได้ว่า...

จิตควรอาศัยอยู่ในคูหาส่วนนี้  อาศัยในสมองของเรา  เป็นธาตุรู้ที่ไม่มีสรีระ  อยู่อาศัยที่มันสมองในกะโหลกศีรษะนี้!

ครับ...ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น  เพื่อต้องการแสดงให้ท่านผู้อ่านเห็นว่า แม้แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งเอาไว้เกี่ยวกับ ‘คูหาแห่งจิต’ ก็ยังมีผู้คิดเห็นแผกกันออกไปตามทัศนะของตน  แต่สิ่งหนึ่งอันเป็นสัจจะก็คือ  ไม่ว่าจิตจะอาศัยอยู่ ณ ส่วนใดของกายก็ตาม  แต่ไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า

จิตไม่ได้อยู่ในกายนี้  และจิตของตนมีอยู่จริง !

นี่แหละครับ  คือประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนตั้งใจกล่าวถึงในวันนี้  เกี่ยวกับคำว่า ‘รู้’

รู้ภายนอกจากการได้ยิน  ได้ฟังมา  ฤา...เท่ารู้จากภายใน ของตัวเอง

รู้ด้วยตัวเอง  เป็นสัจจะที่ใครก็มิอาจปฏิเสธได้  ดังความรู้สึกนึกคิดแห่งตน  ความสุข-ทุกข์ของตัวเอง  ต่างคนต่างรับรู้ว่ามีได้ด้วยตน  โดยไม่ต้องให้ใครอธิบายให้ฟัง...

ดังนั้น  หากมีใครสักคนกล่าวว่า ‘ฉันไม่รู้ทำสิ่งใดแล้วได้บาป หรือทำสิ่งใดแล้วได้กุศล’  ท่านจะเชื่อหรือไม่  แน่นอนท่านทั้งหลายย่อมไม่เชื่อ  เพราะทุกคนเกิดมาล้วนมีมโนธรรมซ่อนอยู่ในจิตใจด้วยกันทุกคน  มีมโนธรรมย่อมรู้ดีและชั่วในพฤติกรรมแห่งตน  แต่ ‘รู้’ ตรงนี้ 

บางครั้งก็ดูจะไร้ประโยชน์สำหรับจิตวิญญาณ  เพราะสำนึกฝ่ายดีหรือมโนธรรมนั้น  มักพ่ายแพ้ต่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นที่มาจากตัณหาและอุปาทานอยู่เสมอ  หากเราท่านทั้งหลายขาดความแข็งแรงของ ‘สติสัมปชัญญะ’ อันถือเป็นต้นบังคับสำหรับกำหนดจิต  ให้เป็นไปตามมโนธรรมอย่างถูกอย่างควร



ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ตรัสถามพระนางมัลลิกาเทวีของพระองค์ว่า...ใครเป็นที่รักของพระนางฯ ยิ่งกว่าตัวพระนางฯ เอง  พระนางฯ กราบทูลว่า ‘ไม่มี’ แล้วกราบทูลถามพระเจ้าปเสนทิโกศลกลับคืนเช่นเดียวกันว่า...

‘ใครเป็นที่รักของพระองค์ยิ่งกว่าตัวพระองค์เองบ้าง?’

ผู้เป็นพระราชาธิราชทรงตรัสตอบว่า ‘ไม่มี’ เช่นกัน

พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลข้อที่ตรัสโต้ตอบกันนี้ต่อพระพุทธเจ้า  ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสอุทานขึ้นในเวลานั้นว่า...

‘ตรวจดูใจไปทุกทิศแล้ว ก็ไม่พบใครผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าตนในที่ไหน  ตนเป็นที่รักตนมากอย่างนั้น  ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น’

พระพุทธอุทานนี้ตรัสสอนให้คิดถึงใจเรา  เทียบกับใจเขานำใจเขามาใส่ใจเรา  เพื่อจะได้สังวรจากการกระทำใด ๆ ในการเบียดเบียนผู้อื่น  เพราะใครก็รักชีวิตตนเฉกเดียวกัน

พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในพระธรรมบทว่า ‘ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก พึงรักษาตนไว้ให้ดี บัณฑิตพึงประคับประคองตนตลอดยาม (วัย) ทั้ง 3 ยามใดยามหนึ่ง’ เป็นพุทธโอวาทตรัสเตือนไว้มิให้หลงลืมตน หน้าที่ของตนจะต้องประคับประคองตนไว้ให้ดี

สังเกตดูว่า  พระพุทธองค์มิได้ตรัสสอนให้ตนรักตนหรือควรรักตนเพราะตนเป็นที่รักของตนอยู่แล้ว  และยังรักกว่าสิ่งใดทั้งหมด  แต่สอนให้รู้จัก ‘รักษาตนให้ดี’

รู้รักษาตนให้ปลอดภัยทั้งกายและใจ

รักษาการจากอุบัติภัยและโรคาพยาธิ  รักษาใจจากอกุศลทั้งปวง  นี่แหละครับ คือสิ่งที่ชาวพุทธควร ‘รู้’ อย่างยิ่ง
รู้รักษาจิตตนให้อยู่ในศีล...ทาน  ภาวนา  โดยไม่ประมาท


รู้รักษาจิตให้ผ่องใส  และไม่เบียดเบียนใครอย่างขาดสติ

นี่แหละคือ  ‘ชาวพุทธ’ ที่แท้จริง!



ที่มา http://www.dhamma5minutes.com/webboard.php?id=6&wpid=0020
ขอบคุณภาพจาก http://cdn.gotoknow.org/,http://www.dmc.tv/,http://demo.thaitv3.com/,http://www.kctv.co.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2012, 04:38:48 pm »
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

 
คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓

   [๑๓] นักปราชญ์ย่อมทำจิต ที่ดิ้นรนกลับกลอก รักษาได้โดยยาก ห้ามได้โดยยาก ให้ตรงดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง

   ฉะนั้น จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือ เบญจกาม คุณเพียงดังน้ำซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก
   เพื่อจะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้วจากที่อยู่ คือ น้ำโยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่


   ฉะนั้น การฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์ อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร
   เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคลฝึกดีแล้วนำสุขมาให้


   นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่
   เพราะว่าจิตที่บุคคลคุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้

   ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป
   หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร

   ทูรงฺคมํ เอกจรํ   อสรีรํ คุหาสยํ
   เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ    โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๓๖๖ - ๓๙๔.  หน้าที่  ๑๗ - ๑๘.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=366&Z=394&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13
ขอบคุณภาพจาก http://ecards.dmc.tv/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 28, 2012, 04:41:44 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ