« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2012, 01:28:09 pm »
0
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมรำลึกถึงพระบรมศาสดาพระผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระคุณอันประเสริฐ ๓ ประการ คือ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ โดยปฏิบัติบูชาเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ครบ ๒๖๐๐ ปี
๒. เพื่อให้ประชาชนได้แสดงความจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕
๓. เพื่อให้ประชาชนแสดงความจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕
๔. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา
๕. เพื่อแสดงให้ชาวพุทธทั่วโลกได้เห็นว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ที่ทุกจังหวัด ทุกอำเภอ และทุกชุมชนท้องถิ่น มีพระพุทธศาสนาที่เข้มแข็งและอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยทั่วทั้งแผ่นดิน
๖. เพื่อรวบรวมองค์ความรู้อันหลากหลาย “มหัศจรรย์วิถีไทยวิถีพุทธ” ที่เกิดจากการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาไปปฏิบัติเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น โดยองค์ความรู้เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเป็นแบบอย่างในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของสังคมในวงกว้างเป้าหมาย ๑. พุทธศาสนิกชนในกรุงเทพมหานคร จังหวัด/อบจ. ๗๖ จังหวัด ๙๒๗ อำเภอ ๑,๒๔๑ เทศบาล ๖,๖๘๕ อบต. ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาตามวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นและปฏิบัติบูชาเพื่อเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั่วประเทศ
๒. ประชาชนมีการระดมความคิดเกี่ยวกับการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ปฏิบัติในชีวิต ตามความต้องการของคนในจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น หรือนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาของจังหวัด/อำเภอ/ท้องถิ่น ทำให้ชุมชนดีขึ้น เกิดเป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อวิถีชีวิตและเกิดเป็น ๑ จังหวัด ๑ พุทธบูชา ๑ อำเภอ ๑ พุทธบูชา และ ๑ ท้องถิ่น ๑ พุทธบูชาเพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาในโอกาสฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ - วันมาฆบูชา พ.ศ. ๒๕๕๖หน่วยงานที่มีส่วนร่วม ๑. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
๒. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
๓. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
๔. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๕. หน่วยงานระดับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัด
๖. หน่วยงานระดับอำเภอ โดยนายอำเภอ
๗. หน่วยงานระดับท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
• องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
• เทศบาล โดยนายกเทศมนตรี
• องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
๘. คณะสงฆ์ โดยเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาสวัด
๙. พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
๑๐. ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
๑๑. องค์กรเครือข่ายทางพระพุทธศาสนาในพื้นที่ อาทิ พุทธสมาคมจังหวัด ฯลฯ
๑๒. หน่วยงานภาครัฐ อาทิ สถานศึกษา
๑๓. หน่วยงานภาคเอกชน
๑๔. หน่วยงานภาคประชาสังคมสถานที่ดำเนินงาน ๑. ส่วนกลาง มณฑลพิธีท้องสนามหลวง วัดต่าง ๆ สถานที่ที่กำหนด กรุงเทพมหานคร
๒. ส่วนภูมิภาค มอบหมายให้จังหวัด ๗๖ จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดโครงการพร้อมกับส่วนกลาง โดยสถานที่ ประกอบด้วย
๑) ระดับจังหวัด จัดกิจกรรมถวายพุทธบูชาระดับจังหวัด ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดหรือสถานที่ที่เหมาะสม หรือวัดสำคัญประจำจังหวัด
๒) ระดับอำเภอ จัดกิจกรรมถวายพุทธบูชาระดับอำเภอ ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอหรือสถานที่ที่เหมาะสม หรือวัดสำคัญประจำอำเภอ
๓) ระดับท้องถิ่น แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดกิจกรรมถวายพุทธบูชา ระดับท้องถิ่น ณ บริเวณศูนย์กลางของชุมชนหรือสถานที่ที่เหมาะสม หรือวัดสำคัญของชุมชน
อ่านรายละเอียดอื่นๆได้ในเอกสารที่แนบมา (pdf file)ที่มา
http://www.buddhajayanti.net/th/index.php
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 19, 2012, 01:30:25 pm โดย nathaponson »

บันทึกการเข้า

ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ