การสูญพันธุ์ของถนนสายต้นยางเชียงใหม่-ลำพูน
เป็นวาบความคิดหลังการสนทนาบล็อกเกอร์ภาคเหนือเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ที่ผ่านมาเกี่ยวกับประเด็นผังเมืองเชียงใหม่ผลกระทบต่อชุมชน และได้มีการแตะไปถึงการขยายตัวของเมืองและโครงข่ายคมนาคมของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเกี่ยวพันไปกับทุนอสังหาริมทรัพย์ที่กระจายตัวล้อมรอบตัวเมือง ซึ่งมีประเด็นหนึ่งได้กล่าวถึงการขยายถนนจากย่านวัดเกตุ ยางไปถึงถนนสายต้นยาง (นา) เชียงใหม่ – ลำพูน ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่าอนาคตจะยังเหลือถนนที่มีต้นยางที่สวยงามที่สุดในประเทศแห่งนี้หรือไม่
ไม่มีใครรับประกัน เพราะถนนสายหนึ่งที่เคยถูกกระทำมาแล้วคือถนนต้นพะยอม หรือคะยอม ที่ถูกตัดไปในช่วงครบ 700 ปี เมืองเชียงใหม่เพื่อให้มีการขยายถนนสุเทพหลังมช. และถึงปัจจุบันคนก็ลืมเลือนไปว่ากาดต้นพะยอมมีความเป็นมาจากอะไร
ผมชอบมากหากไปลำพูนแบบไม่รีบเร่งต้องไปถนนสายนี้ ซี่งไม่สามารถขับรถเร็วได้ หากต้องการเดินทางไปด่วนต้องไปถนนสายเชียงใหม่ – ลำปาง แต่ช่วงหลังยอมรับว่าเวลาทำให้ผมใช้เส้นทางนี้น้อยลง แต่ไม่สามารถลืมถนนเส้นนี้ได้เพราะเป็นเอกลักษณ์ของเชียงใหม่ เพราะมีความยาวตั้งแต่ย่านหนองหอยจนถึงสารภี แม้ขับรถอยู่ถนนไกล ๆ ก็ยังเห็นต้นยางสูงตระหง่านเป็น Land Mark อยู่ตลอด
เบื้องต้นผมประมวลการสูญพันธุ์ของถนนประวัติศาสตร์สายต้นยางเชียงใหม่ – ลำพูนแห่งนี้ไว้ 4 -5 ด้านด้วยกัน
1.) การทำร้ายของมนุษย์ด้วยความโลภ หรือความไม่รู้ บางคนต้องการขยายหน้าร้านพื้นที่เพิ่มก็เอาสว่านเจาะ ใช้ดินประสิวใช้น้ำร้อน ตะปูตอกติดป้ายโฆษณา การเทซีเมนต์ล้อมรอบโคนต้น ทำลายราก ให้ต้นไม้ตายซากเพื่อจะได้โค่นทิ้ง กระทั่งมีการกำหนดกลยุทธ์ออกมาว่าหากใครทำลายต้นยางนา จะมีบาปกรรมเทียบเท่ากับการฆ่าพระฆ่าเณร ก็รักษามาได้ระดับหนึ่งแต่ปัจจุบันนี้มีแนวโน้มว่าคำขู่นี้จะอ่อนแรงทุกที
2.) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเมืองด้วยถนนตัดใหม่ หรือตามกฎหมายผังเมืองที่จะขยายถนนกว้าง 20 เมตร
3.) ด้วยอายุขัยของต้นไม้ หรือธรรมชาติเอง เช่น จากลมพายุ หรือถูกเชื้อราและแมลงเข้าไปทำลายทำให้เนื้อไม้ผุและเกิดเป็นโพรง เป็นต้น
4.) การสร้างอันตรายกับการสัญจรก็เป็นทั้งข้อเท็จจริงและข้ออ้างในการตัดต้นยางไปหลายต้นแล้ว
5.) การหลงลืมความเป็นถนนประวัติศาสตร์ของคนรุ่นหลัง
แต่ในทางการดูแลรักษาผมทราบว่าล่าสุดถนนสายนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่แล้ว แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงที่จะผิดปกติไปจากธรรมชาติผมคิดว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องครับ โดยเฉพาะเรื่องการที่คนโลภหรือไม่รักต้นไม้รังแก หรือการรังแกด้วยกฎหมาย และการไม่หวงแหนสิ่งที่มีค่าที่สุดกับเมืองเชียงใหม่ นี่สำคัญมากกว่า
ผมมีความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาถนนนี้เชิงการท่องเที่ยว-อนุรักษื คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อบจ. อบต.ในพื้นที่น่าจะจัดงานเชิงประวัติศาสตร์ – วัฒนธรรมของถนนสายนี้ในปีที่ 125 เป็นถนนที่ปลูกต้นยางใหญ่ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลก ที่สวยงาม เก่าแก่ ในประเทศไทยมีที่นี่แห่งเดียว 900 กว่าต้น ซึ่งแต่ละต้นมีขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณเมตรครึ่ง ปลูกมานานกว่า 100 ปี สามารถจัดเป็น Unseenได้อีกแห่ง และสามารถจัด Event ตลอดทั้งสายให้ย้อนยุคเป็นล้อเกวียน การขายของแบบโบราณ ซึ่งสามารถดึงนักท่องเที่ยวได้อย่างมหาศาล หากจัดได้จะเป็นงานระดับนานาชาติของเชียงใหม่อีกงานหนึ่งเลยทีดียว
หากจะประมาณการต้นยางในปัจจุบันแล้วผมคิดว่าน่าจะมีไม่เกิน 900 ต้น แต่ก่อนหน้านั้นในปี 2537 – 2546 มีต้นยางยืนตาย ถูกฟ้าผ่า พายุพัดโค่นล้ม 7 ต้น และกรมโยธาขอตัดออก เพื่อก่อสร้างถนนวงแหวน รอบกลาง สาย “ฌ” อีก ต้น รวม 75 ต้น ปัจจุบันเหลือต้นยาง 936 ต้น
ถนนสายเชียงใหม่ - ลำพูน เส้นทางประวัตศาสตร์ที่มีต้นยางใหญ่ 2 ข้างทางที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอสารภี จำนวน 600 กว่าต้น
พอย่างถึงเดือน มีนาคม - เมษายน จะมีดอกเอื้องบานสะพรั่งที่ติดตามต้นยางในเขตอำเภอสารภี
ขณะที่มีตัวเลขอีกด้านหนึ่งเมื่อปี พศ. 2539 มีจำนวน 1107 ต้น ( Pooma, 1996) ต้นยางนาที่เหลืออยู่ บางต้นอยู่ในสภาพทรุดโทรม ต้นที่ตายแล้วจะต้องถูกตัดทิ้ง บางต้นลำต้นหรือกิ่งเป็นโพรงผุ หรือเป็นแผลขนาดใหญ่ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
เช่น การบดอัดผิวถนน การเทซีเมนต์ล้อมรอบโคนต้นและพื้นที่โดยรอบ ขับขี่ยานพาหนะเข้าชนหรือกระแทก การทิ้งขยะสารเคมี และสิ่งของต่างๆ แล้วเผา บริเวณโคนต้น การติดป้ายโฆษณาหรือที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งคือ การจงใจทำให้ต้นยางนาตายโดยใส่สารพิษบริเวณโคนต้นให้รากดูดซับเข้าไป สำหรับสาเหตุที่เกิดจากธรรมชาติได้แก่ การถูกลมพัดทำให้โค่นล้มหรือกิ่งหัก ถูกเชื้อราและแมลงเข้าไปทำลายทำให้เนื้อไม้ผุและเกิดเป็นโพรง เป็นต้น
ปี 2536 แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 2 กรมทางหลวง สำรวจตรวจนับต้นยางที่อยู่ในเขตทางหลวงมี 1,011 ต้น แต่มีต้นยางบางต้นยืนแห้งตาย จึงประสานสำนักงานป่าไม้จังหวัด ให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ตัดไม้ยางออก ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ที่กำหนดไว้ว่า การตัดโค่นไม้ยางต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หากตัดโดยพลการจะมีความผิดตามกฎหมายอ้างอิง
1.)
www.chiangmainews.co.th2.) เว็บของเทศบาลตำบลสารภี
http://www.saraphi.com / เทศบาลตำบลยางเนิ้ง
www.theyang.go.th3.)
http://watket.wordpress.com/บทความ การสูญพันธุ์ของถนนสายต้นยางเชียงใหม่-ลำพูน เมื่อ มีนาคม 2551
ภาพและข้อมูลจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=228026