ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขาด Facebook...ขาดใจ จริงหรือ ?  (อ่าน 3067 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29304
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ขาด Facebook...ขาดใจ จริงหรือ ?
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 09:11:45 pm »
0


ขาด Facebook...ขาดใจ จริงหรือ ?
(คลุกวงใน พิศณุ นิลกลัด ขาด Facebook...ขาดใจ มติชนสุดสัปดาห์ 20-26 ก.ค.2555)


โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคไอทีอย่างสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ไปแล้วครับ

ผมเองเดี๋ยวนี้ติดต่อเจรจากับลูกค้าตกลงรับงานเสร็จสรรพเรียบร้อยโดยต่างฝ่ายต่างไม่ต้องนั่งคุยกัน ไม่เสียเวลาเดินทางไปประชุมทั้งเขาทั้งเรา ประหยัดเวลา ประหยัดน้ำมันไปได้เยอะ

ข้อมูล ข่าวสารในการพากย์ การเขียน บทความ หรือการจัดทำรายการในทีวี ผมไม่ต้องอาศัยทีมค้นคว้ามากมายเหมือนเก่า อยากรู้อะไรก็ค้นหาในกูเกิล ยูทูป ส่งอีเมลถามผู้รู้

เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของคนในโลกนี้ในเกือบทุกระดับชั้นไปแล้ว
หากเรารู้จักใช้ในทางที่ถูกที่ควรและเหมาะสม ประโยชน์ของเทคโนโลยีจะมีมากมายมหาศาล

แต่หากใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร จะส่งผลเสียต่อบุคคลและสังคมอย่างที่ปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ให้เห็นเกือบทุกวัน ผู้ปกครองที่มีลูกหลานอยู่ในวัยเด็ก วัยรุ่น ควรดูแลการใช้คอมพิวเตอร์ให้ใกล้ชิดและมีกฎเกณฑ์การใช้ที่เหมาะสม

ในเด็กซึ่งเป็นวัยที่ต้องเรียนรู้ในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในทุกด้านเพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ปรากฏว่ามีไม่น้อยที่มีคอมพิวเตอร์เป็นเพื่อนสนิทที่สุดเพียงคนเดียว ทำให้ขาดทักษะขาดการเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว รวมทั้งวัยผู้ใหญ่ คอมพิวเตอร์ทำให้หลายคนสร้างโลกสมมุติที่ตัวเองต้องการ สามารถหลบหนีออกจากโลกแห่งความจริงที่ทำให้เป็นทุกข์

    การเล่น Facebook หรือ Twitter เป็นการติดต่อสื่อสารอีกช่องทางหนึ่ง
    ที่มีความสำคัญมากสำหรับคนในสมัยนี้ คนจำนวนไม่น้อยบอกว่าจะไม่มีความสุขเลยหากไม่ได้เล่นทุกวัน!
    จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยแซลฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
    พบว่าคนที่เล่นเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ หรือเว็บไซต์โซเชี่ยล มีเดียเป็นประจำจะรู้สึกทุกข์ใจ
    รู้สึกว่าชีวิตยังไม่เพียงพอ ยังมีสิ่งที่ตัวเองขาด





มหาวิทยาลัยทำการศึกษาคน 298 คน และได้ผลการศึกษาที่น่าสนใจดังนี้ครับ

    51% บอกว่าการเล่นเว็บโซเชี่ยล มีเดีย ทำให้พฤติกรรมของตัวเองเปลี่ยนแปลงในทางลบ คือมีความรู้สึกขาดความมั่นใจเพราะเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนๆ ออนไลน์คนอื่น
    จำนวน 2 ใน 3 บอกว่าหลังจากเล่นเว็บโซเชี่ยล มีเดียแล้วนอนไม่หลับ จิตใจไม่ผ่อนคลาย
    กว่า 60% บอกวิธีเดียวที่จะหยุดพัก ไม่เล่นโซเชี่ยล มีเดีย คือต้องปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ปิดมือถือ ไม่อย่างนั้นอดใจไม่เล่นไม่ไหว
    55% บอกรู้สึกกังวล ไม่สบายใจ เมื่อเข้าเว็บไซต์โซเชี่ยล มีเดียไม่ได้ หรือเช็กอีเมลไม่ได้
    25% บอกเมื่อทะเลาะกับคนออนไลน์ ทำให้จิตใจไม่สบาย กระทบชีวิตส่วนตัวและชีวิตการงาน


    ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนเมษายน ก็มีการศึกษาจากยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ เยอร์เทย์บอร์รี่ ของสวีเดนเรื่องเฟซบุ๊กกับความสุข ความภูมิใจในตัวเอง (self-esteem) ซึ่งได้ผลใกล้เคียงกันกับที่มหาวิทยาลัยแซลฟอร์ดทำการศึกษา โดยพบว่าคนที่ติดเฟซบุ๊กมักมีความภูมิใจในตัวเองต่ำ

    การศึกษานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเฟซบุ๊กที่ใหญ่ที่สุดในสวีเดน ทำการศึกษาคน 1,011 คน (หญิง 676 คน ชาย 335 คน) มีอายุเฉลี่ย 32.6 ปี พบว่า...
    84% เล่นเฟซบุ๊กเป็นกิจวัตรประจำวัน โดยเฉลี่ยวันละ 75.2 นาที

ยิ่งใช้เวลาเล่นเฟซบุ๊กนานเท่าไหร่ ความภูมิใจในตัวเองก็ยิ่งลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิง การที่คนจะรู้สึกภูมิใจในตัวเองลดลงหรือทุกข์มากขึ้นหลังเล่นเฟซบุ๊กหรือโซเชี่ยลมีเดียอื่นๆ นั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะคนเรามักจะโพสต์เรื่องราวในทางบวกของตัวเองให้คนอื่นอ่าน ทำให้คนโพสต์รู้สึกดีว่าชีวิตตัวเองมีความสุข ทำให้คนอื่นอิจฉา ทั้งๆ ที่ชีวิตจริงไม่ได้มีความสุขตลอดเวลาอย่างที่โพสต์





    เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา  ที โมบายล์ (T-Mobile) ซึ่งให้บริการด้านโทรศัพท์มือถือ ของสหราชอาณาจักรพบว่า
     40% ของคนสหราชอาณาจักรที่ท่องเที่ยวพักผ่อน เข้าไปโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กของตัวเองทุกวันเพื่อให้เพื่อนฝูงทราบข่าวคราวไปเที่ยวที่ไหน กินอะไร สนุกอย่างไร
     51% โพสต์รูปตัวเองในเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ โดยเป็นรูปที่ถ่ายกับสถานที่สำคัญในต่างประเทศเพื่อที่จะโชว์กับเพื่อนๆ
     30% ตั้งใจเขียนโม้ว่าตัวเองเที่ยวสนุกสุดขีดเพื่อที่จะให้เพื่อนที่ไม่มีโอกาสได้ไปเที่ยวไหนอิจฉา
     60% ของคนที่เขียนบอกว่าตัวเองเที่ยวสนุกมากให้เหตุผลว่าในเมื่อตัวเองมีความสุขก็มีสิทธิ์ที่จะเขียนโชว์เรื่องของตัวได้ เพราะไม่ได้ไปละเมิดสิทธิ์ของใคร
     50% ของคนที่เขียนโม้เกินจริงบอกเป็นเรื่องปกติเพราะใครๆ ก็ทำกันทั้งนั้น
     40% ของจอมโม้บอกโพสต์เพราะต้องการให้คนอ่านหงุดหงิดและอิจฉา
     15% ของคนที่เขียนเกินเลยบอกทำไปเพราะอยากให้แฟนเก่าอิจฉา และเสียดายที่เลิกกะเรา


    ในหมู่ของชาวสหราชอาณาจักร (ประกอบด้วย คนอังกฤษ คนสก๊อต คนไอร์แลนด์เหนือ และคนเวลส์) พบว่าคนไอร์แลนด์เหนือชอบโม้ในเฟซบุ๊กมากที่สุดเวลาไปเที่ยวพักผ่อน ตัวเลขอยู่ที่ 70% ตามมาด้วยคนในกรุงลอนดอน และคนสก๊อต 65% เท่ากัน

    โรบิน ริฮานน่า เฟนดี หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ริฮานน่า นักร้องผิวสีชื่อดังก้องโลก และ วิกตอเรีย เบ็คแฮม ติดอันดับท็อป 5 ที่คนคิดว่าเป็นจอมโม้ตัวแม่เพราะชอบโอ้อวด ชอบโชว์รูปตัวเองเวลาไปเที่ยวพักผ่อนตากอากาศตามที่ต่างๆ

    การที่คนติดเล่น Facebook Twitter หรือ โซเชี่ยล มีเดียอื่นๆ
     เดิมทีอาจเป็นคนที่ขาดความมั่นใจ ไร้สุขในชีวิตอยู่ก่อนแล้ว
     ไม่ชอบปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นแบบต้องเห็นหน้าพูดคุยกัน
     จึงเลือกที่จะมีสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ทางสังคมออนไลน์แทน




ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342699407&grpid=01&catid=&subcatid=
ขอบคุณภาพจาก http://www.mindjumpers.com/,http://krukosit.files.wordpress.com/,http://blog.hubze.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ