ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ต้องมนต์อีสาน ถิ่นแห่ง.."ตำนานและความศรัทธา"  (อ่าน 2072 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29309
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ต้องมนต์อีสาน ถิ่นแห่ง.."ตำนานและความศรัทธา"

พาลัดเลาะเที่ยวภาคอีสานช่วงหน้าฝน ยลเสน่ห์เมืองแห่งธรรมะ และธรรมชาติ กราบไหว้สิ่งศักสิทธิ์เสริมสิริมงคล

หน้าฝนเป็นฤดูกาลที่การท่องเที่ยวในหลายจุดของประเทศมีนักท่องเที่ยวไปเยือนน้อยลง เนื่องด้วยสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน และการเดินทางเป็นไปอย่างยากลำบาก วันนี้ เดลินิวส์ออนไลน์ จะพาไปเยือนแดนอีสานที่มีความงามน่าค้นหาทุกฤดู กับ โครงการ“เที่ยวหน้าฝน  ยลธรรมะ และธรรมชาติ ” ที่จะทำให้ทุกคนหลงมนต์เสน่ห์ภาคอีสานจนถอนตัวไม่ขึ้น

การเดินทางตาม โครงการ“เที่ยวหน้าฝน  ยลธรรมะ และธรรมชาติ ” ตอน พลังศรัทธา สู่บูรพาจารย์แดนอีสาน จัดขึ้นโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน ) นิตยสาร PHOTOTECH และ TRAVEL LINE ซึ่งเป็นการทำให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภาคอีสาน ที่ไม่ว่าฤดูกาลใดก็สามารถเดินทางมายลความงาม พร้อมรับรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ต่างๆได้อย่างเต็มที่



รูปปั้นหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน ที่วัดป่าบ้านตาด


สถานที่แรกที่อยากแนะนำให้รู้จักคือ วัดป่าบ้านตาด ตั้งอยู่ที่บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี วัดชื่อดังของภาคอีสานที่เคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ก่อนจะละสังขารไปด้วยวัย 98 ปี ทุกวันนี้วัดป่าบ้านตาด ยังคงมีบรรดาลูกศิษย์ที่เคารพและศรัทธา หลวงตามหาบัว เดินทางมากราบไหว้สักการะเถ้ากระดูก และผ่อนคลายจิตใจด้วยความสงบนิ่งอยู่ตลอดเวลา เพราะทางวัดได้จัดทำหุ่นขี้ผึ้งหลวงตาบัว




วัดป่าบ้านตาด


รวมถึงจัดบอร์ดนิทรรศการบอกเล่าประวัติ และเรื่องราวของหลวงตาบัว ไว้เตือนใจให้นักท่องเที่ยว รวมถึงเหล่าลูกศิษย์ทุกคนได้รับรู้และสำนึกในคำสอนของหลวงตาเมื่อเดินทางมาที่วัด พร้อมนำไปเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในทางที่ดี นับเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญที่ใครมาเยือนอีสานแล้วต้องการทำบุญพร้อมปล่อยใจให้สงบควรแวะเวียนเข้ามา


รูปหล่อเหมือนเท่าตัวจริงของพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าสุทธาวาส



จากนั้นมาต่อกันที่ วัดป่าสุทธาวาส ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.สกลนคร เป็นวัดที่เคยเป็นที่จำพรรษาและเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ประดิษฐานรูปหล่อเหมือนเท่าตัวจริงของพระอาจารย์มั่น อีกทั้งยังจัดแสดงเครื่องอัฐบริขาร และอังคารธาตุ พร้อมทั้งประวัติความเป็นมาของท่านตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ ในตู้จัดแสดงด้านข้างให้ผู้มาเยือนได้ซึมซับ และรับรู้ประวัติเรื่องราวของพระอาจารย์มั่น




วัดป่าสุทธาวาส


พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ วัดป่าสุทธาวาส

ลานจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้ ที่ วัดป่าสุทธาวาส



ภายในวัดยังมีเจดีย์บรรจุอัฐิหลวงปู่หลุย ซึ่งเป็นสถานที่ศักสิทธิ์ที่ชาวสกลนคร รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เคารพศรัทธา ต่างเดินทางเข้ามากราบไหว้เสริมสิริมงคลอยู่เป็นประจำ อีกทั้งยังมีบอร์ดนิทรรศการใต้ร่มไม้เกี่ยวกับประวัติของพระอาจารย์มั่น และความเป็นมาของวัดป่าสุทธาวาส ไว้เป็นแหล่งความรู้ให้ผู้มาเยือนอีกด้วย


วัดศาลาลอย


อีกหนึ่งสถานที่ที่ขาดไม่ได้ต้องยกให้ วัดศาลาลอย  ตั้งอยู่ที่ ต.โพธิ์กลาง จ.นครราชสีมา เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวัดที่ท้าวสุรนารีหรือย่าโม พร้อมด้วยเจ้าพระยามหิศราธิบดีสวามี สร้างขึ้นหลังจากชนะข้าศึกจากทุ่งสัมฤทธิ์ โดยย่าโมได้สั่งให้ทหารทำแพเสี่ยงทายเป็นรูปศาลาเพื่อนำไปลอยน้ำตามลำตะคอง

พร้อมกับอธิษฐานว่า หากกระแสน้ำพัดพาแพลอยไปติดอยู่ที่ใดก็จะสร้างวัดตรงที่แห่งนั้นไว้เป็นอนุสรณ์  จึงได้สร้างวัดศาลาลอยขึ้นในตำแหน่งที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งทุกวันนี้ภายในบริเวณวัดมีสิ่งศักสิทธิ์ต่างๆให้ผู้มาเยือนกราบไหว้สักการะมากมาย และยังมีการละเล่นพื้นเมืองอย่างการร้องเพลงโคราชสำหรับแก้บน เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่สะดุดตาผู้ที่ผ่านไปผ่านมาทุกคนอีกด้วย




วัดศาลาลอย

พระพุทธประพัฒน์สุนทรธรรมพิศาล ศาลาลอยพิมาลวรสันติสุขมุนินทร์+รูปปั้นคุณย่าโมนั่งพนมมือ


โดยวัดศาลาลอยมีความโดดเด่นสะดุดตาคือรูปทรงของพระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบประยุกต์รูปเรือสำเภาโต้คลื่น สร้างจากกระเบื้องดินเผาด่านเกวียน และได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ นอกจากสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นแล้ว

ภายในพระอุโบสถยังมีพระประธานปูนปั้นสีขาวปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปยืนประทับ ณ ประตูเมืองสังกัสนครโดยมีสมเด็จพระสังฆราชได้ทรงถวายพระนามว่า "พระพุทธประพัฒน์สุนทรธรรมพิศาล ศาลาลอยพิมาลวรสันติสุขมุนินทร์"



เพลงโคราชการละเล่นโบราณ



และศาลากลางสระน้ำที่อยู่ใกล้กันประดิษฐานรูปปั้นคุณย่าโมนั่งพนมมือ ซึ่งด้านข้างเป็นอนุสรณ์สถานเจดีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามากราบไหว้สักการะ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่การเดินทางสู่ภาคอีสาน เพราะโคราชเปรียบเสมือนประตูสู่ภาคอีสาน


พระมหาธาตุเจดีย์ วัดพุทธนิมิตร(วัดภูค่าว)



ปิดท้ายการเดินทางด้วย วัดพุทธนิมิต ( วัดภูค่าว ) ตั้งอยู่ใน ต.สหัสขันธ์ อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ เป็นวัดที่มีความร่วมรื่นเป็นอย่างมาก ภายในบริเวณวัดจะปกคลุมไปด้วยร่มไม้และมีนกยูงอาศัยอยู่หลายสิบตัว มีสถานที่ให้นักท่องเที่ยวได้กราบไหว้สักการะสิ่งศักสิทธิ์อยู่หลายจุดด้วยกัน แนะนำว่าควรมีเวลามากพอสมควรสำหรับการเดินทอดน่องชมความงามของสถาปัตยกรรม และสักการสิ่งศักสิทธิ์ภายในวัดให้ครบทั้งหมด

ไม่ว่าจะเป็น พระมหาธาตุเจดีย์ ที่สร้างอย่างยิ่งใหญ่อลังการ เพื่อใช้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และประดิษฐานพระพุทธนิมิตเหล็กไหล ทั้งองค์มีเนื้อสีดำ หรือศาลาที่เป็นที่เก็บพระเครื่อง ซึ่งเป็นพระเครื่องชั้นยอด โดยมีการติดพระเครื่องไว้รายรอบทั้งดาดฟ้าเพดาน



พุทธไสยาสน์นอนตะแคงซ้าย ที่ วัดพุทธนิมิตร(วัดภูค่าว)


พระมหาธาตุเจดีย์ ที่ วัดพุทธนิมิตร(วัดภูค่าว)


ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และประดิษฐานพระพุทธนิมิตเหล็กไหล


พระพุทธรูปภายในวัดพุทธนิมิตร(วัดภูค่าว)


และไฮไลท์สำคัญของวัดอีกอย่างคือ พุทธไสยาสน์นอนตะแคงซ้าย ซึ่งเป็นการสลักหินที่อยู่ในหน้าผาไม่สูงชันนัก เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ที่วัดพุทธนิมิตยังมีสิ่งศักสิทธิ์อีกมากมายรอให้ผู้คนเข้ามากราบไหว้พร้อมสงบจิตใจ

"การเดินทางมาเยือนถิ่นอีสานครั้งนี้ ทำให้ผมรู้ว่าการพักผ่อนทั้งทางจิตใจและร่างกายไปพร้อมๆกัน จะช่วยเสริมพลังงานให้เราหายทั้งความเหนื่อยกายและความไม่สบายใจไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะบางครั้งไม่จำเป็นต้องเที่ยวให้โลดโผนหรือพักผ่อนสถานที่หรูหรา แต่การเดินทางมาพบเรื่องราวประสบการณ์ใหม่ๆ พร้อมเปิดใจรับเรื่องราวเหล่านั้นอย่างเต็มที่ ก็ก่อให้เกิดความสุขและความสบายใจได้เช่นกัน"



ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.dailynews.co.th/article/821/148287
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 08, 2012, 09:01:16 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ