ผู้ศรัทธาเข้าสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ในวันสงกรานต์ ณ ท้องสนามหลวง.
นครศรีฯ..ย่อส่วนพุทธสิหิงค์ ขยายศรัทธาพลัง..รับพุทธชยันตี
พระพุทธสิหิงค์....เป็นพระพุทธรูปซึ่ง คนไทย เลื่อมใสว่า...ศักดิ์สิทธิ์!!
ทุกๆปี.....ช่วงมีการ เฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ หรือ “ตรุษไทย” ระหว่าง 12 ถึง 15 เมษายน ตลอดระยะ 78 ปี พุทธศาสนิกชนในกรุงเทพฯและปริมณฑลจะประกอบกิจสร้างสิริมงคลต่อตนเอง.....ด้วยการสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ณ ทุ่งพระเมรุ
(เมื่อปี 2477 พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ได้จัดพิธีสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์เพื่อสร้างสิริมงคลและเป็นขวัญกำลังใจแก่ชาวไทยในวันสงกรานต์จากนั้นจึงได้ยึดถือเป็นประเพณีสืบต่อถึงปัจจุบัน)
พระพุทธสิหิงค์.....สร้างโดยเจ้าลังกา 3 พระองค์
โดยร่วมพระทัยกันกับพระอรหันต์ในเกาะลังกา ราวๆปี พ.ศ.700
ซึ่งตำนานบันทึกว่า มีความตั้งใจจะให้ได้พระพุทธรูปเหมือนองค์พระพุทธเจ้าจริงๆวัดพระมหาธาตุฯ ปริมณฑลในพิธีมหาพุทธาภิเษก.
การปั้นแม่พิมพ์....พญานาคซึ่งเคยเห็นองค์พระพุทธเจ้า จึงมาแปลงกายให้ดูเป็นแบบและตัวอย่าง....
ระหว่าง พ.ศ.1820 ถึง 1860......พระภิกษุลังกาเข้าสู่ประเทศสยาม กิตติศัพท์เลื่องชื่อถึงพระพุทธรูปลักษณะที่งดงามซึ่งมีพลังศักดิ์สิทธิ์ตามติดมาด้วย พ่อขุนรามคำแหงฯทรงทราบจึงทูล ถึงวัตถุประสงค์ผ่านพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ให้แต่งตั้งทูตเชิญพระสาส์นไปขอประทานพระพุทธสิหิงค์จากเจ้ากรุงลังกา
เมื่อได้ตามพระราชประสงค์....พระเจ้าศรีธรรมโศกราชจึงได้ส่งพระพุทธสิหิงค์มายังกรุงสุโขทัย โดยทางเรือขึ้นฝั่งที่ นครศรีธรรมราช และมีการจัดงาน พิธีสมโภชใหญ่โตเป็นเวลา 7 วันพระพุทธสิหิงค์ นครศรีฯ ย่อส่วน.
พ่อขุนรามคำแหงฯเสด็จไปรับพระพุทธสิหิงค์ถึงนครศรีธรรมราชด้วยพระองค์เอง แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัยทุกพระองค์ได้ทรงเคารพบูชาพระพุทธสิหิงค์ตลอดมา
กาลเวลาที่ยาวนาน ...ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและอำนาจ การสงครามใครชนะ จะอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ไปประดิษฐาน ณ บ้านเมืองตัวเอง
ล่วงถึงปี 2334..... สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพไปขับไล่กองทัพพม่าพ้นเมืองเชียงใหม่ จึงได้ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ จนถึงปัจจุบัน
ในพระราชอาณาจักรแห่งแผ่นดินสยาม.... มีพระพุทธสิหิงค์อยู่ 3 องค์
องค์ที่ 1 เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเนื้อโลหะสัมฤทธิ์
ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กทม.
อีก 2 องค์ ประดิษฐานในภูมิภาค คือ
เชียงใหม่ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
เป็นพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ลงรักปิดทองศิลปะเชียงแสนปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร
กับอีกองค์เนื้อหล่อด้วยสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชรเช่นกัน
ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ ข้างศาลากลางนครศรีธรรมราช
พระพุทธสิหิงค์ องค์ประดิษฐานที่นครศรีธรรมราช.
พระพุทธสิหิงค์...องค์ประดิษฐานนครศรีธรรมราช เรียกว่า “แบบขนมต้ม” มีลักษณะตามแบบสกุลช่างท้องถิ่นคือมีพระพักตร์กลมอมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน แต่อยู่ในสัดส่วนที่งดงามมาก ชาวนครศรีธรรมราชศรัทธาว่าเป็นพระ-พุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง...!!!
พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ.....ผู้รวบรวมตำนานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งมีความเชื่อมั่น เลื่อมใส ในอานุภาพเคยบอกว่า..... “อย่างน้อยก็สามารถบำบัดทุกข์ร้อนในใจให้เหือดหาย ผู้ใดมีความทุกข์ร้อนในใจท้อถอยหมดมานะด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ถ้าได้มาจุด ธูปเทียนบูชาและนั่งนิ่งๆ มองดูพระองค์สัก 10 นาที...
...ความทุกข์ร้อนในใจจะหายไป ดวงจิตที่เหี่ยวแห้งจะกลับมาสดชื่น หัวใจที่ท้อถอยหมดมานะจะกลับเข้มแข็งมีความมานะพยายาม ดวงจิตที่หวาด กลัวจะกลับกล้าหาญ ดวงจิตที่เกียจคร้านจะกลับขยัน จากที่หมดหวังจะกลับมีความหวัง....”
พระโพธิรังสี.....ก็ได้บันทึกถึงพลานุภาพของพระพุทธสิหิงค์ไว้หลายตอน มีข้อความบางตอนว่า...“ พระพุทธสิหิงค์หามีชีวิตได้ก็จริง แต่มีอิทธานุภาพด้วยเหตุ 3 ประการ คือ อธิษฐานพละของพระอรหันต์ อธิษฐานพละของเจ้าลังกาหลายพระองค์ และศาสนพละของพระพุทธเจ้า.....”
...โดยหมายถึงกำลังใจของพระอรหันต์และกำลังใจของเจ้าลังกา พร้อมทั้งกำลังแห่งพระพุทธศาสนา กระทำให้พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธปฏิมากรที่ทรงในพลานุภาพ ด้วยพลังแห่งศรัทธา เมื่อประทับอยู่ ณ ที่ใด ย่อมทรงทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองดั่งดวงประทีปชัชวาล.....เสมือนหนึ่งว่าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่...!!!
เหรียญกริ่งวินยาภรณ์.
ล่วงถึงกาลร่วมเฉลิมฉลอง 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ หรือพุทธชยันตี ชาวนครศรีธรรมราชจึงได้ย่อส่วนของพระพุทธสิหิงค์ ขยายอาณาพลังแห่งพุทธศาสตร์สร้างพลังศรัทธาแก่ตัวผู้เลื่อมใส.....ให้เสมือนอยู่ชิดพระชนม์องค์พระศาสดา
ซึ่ง....ถือเป็นครั้งแรกและเป็นประวัติศาสตร์แห่งองค์พระพุทธสิหิงค์ โดยสร้างเป็น เหรียญฉลุแล้วบรรจุเม็ดกริ่งจากชนวนพระกริ่ง 155 ปี สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ ไว้ภายในเหรียญ เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ตั้งชื่อว่า “กริ่งวินยาภรณ์”
วันเสาร์ที่ 22 กันยายน สุดยอดพระเกจิอาจารย์สายใต้จะรวมพลังมหาพุทธาภิเษก ณ มณฑลพิธีวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร....เพื่อให้เกิดความเข้มขลัง
ยามพกพา......ให้ “กริ่ง” บังเกิดเสียงดังขับไล่เภทภัยไปพ้น แล้ว เรียกทรัพย์ เรียกโชค…!!''
ก้อง กังฟูขอบคุณบทความและภาพจาก
http://www.thairath.co.th/column/life/badal/284460