ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธบาทที่ปรากฏในพระไตรปิฏก มีกี่รอยจ๊ะ และมีอยู่ที่ไหนบ้าง  (อ่าน 27096 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

saithong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระพุทธบาทที่ปรากฏในพระไตรปิฏก  มีกี่รอยจ๊ะ และมีอยู่ที่ไหนบ้าง



พระพุทธบาทสี่รอย ที่แม่ริม เชียงใหม่ คะ


 ;D ;D ;D
บันทึกการเข้า

noppadol

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 144
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
0
ในบทสวดมีครับ
 ยัง  นัมมะทายะนะทิยา  ปุลิเน  จะตีเร
 ยัง สัจจะพันธะคิริเก  สุมะนาจะลัคเค 
 ยังตัตถะ  โยนะกะปุเร มุนิโน  จะ ปาทัง  ตัง   ปาทะลัญชะนะมะหัง  สิระสา  นะนามิ
 1 สุวัณณะมาลิเก  เชียงใหม่
 2 สุวัณณะปัพพะเต  วัดพระพุทธบาท ประเทศไทย
 3 สุมะนะกูเฏ   ศรีลังกา
 4 โยนะกะปุเร  ลพบุรี
 5 นัมมะทายะ  นะทิยา  ภูเก็ต 
ปัญจะปาทะวะรัง 
ฐานัง  อะหัง  วันทามิ  ทูระโต

รายละเอียดต้อง คุณ nathaponson แล้วครับ ถูกผิดอย่างไรก็ขออภัยไว้ก่อนครับ
บันทึกการเข้า

pakorn

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
 ;D ลงรูปประกอบให้ด้วยจะดีมาก ๆๆๆ
สาธุ
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


รอยพระพุทธบาท ๕ แห่ง

แต่ก่อนที่ถึงเรื่องราวทั้งหลายต่อไป จะขอ ย้อนกล่าวถึงรอยพระพุทธบาททั้ง ๕ แห่งเสีย ก่อน ความจริงรอยพระพุทธบาทในประเทศไทย ยังมีอีกมาก แต่เท่าที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกจนเป็น ที่ยอมรับของท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายนั้น มีปรากฏอยู่ในพระบาลีดังนี้ คือ :-

    ๑. สุวรรณมาลิก (ลังกา) หาภาพไม่ได้

    ๒. สุวรรณบรรพต (อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี


    ๓. สุมนกูฏ (ลังกา) หาภาพไม่ได้

    ๔. โยนกปุระ (อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่)


    ๕. นัมทานที (เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต)



ข้อความในวงเล็บนั้น ผู้เขียนลงเอาไว้เพื่อความเข้าใจตามที่ได้ค้นคว้ามา ซึ่งจะหาอ่านรายละเอียดได้จากหนังสือ “ธัมมวิโมกข์” ฉบับ ที่ ๑๕๖, ๑๖๓, ๑๖๔ (ปี ๒๕๓๗) ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะรอยพระพุทธบาทที่ ๕ “นัมทานที” ซึ่งได้ยืนยันไว้เป็นหลักฐานจากหนังสือ “พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์”อ่านคำจารึกโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต) วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ มีใจความตามสำนวนสมัยเมื่อสอง พันห้าร้อยกว่าปีมานี้เองว่า...
“บุญมุนี อยู่ถ้ำฤษี ผู้นำพุทธ สู่เกาะ คนชาวน้ำ หมู่คนน้ำ เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พุทธสอนมาก หมู่คนขอรอยตีนไว้ ชายทเล พุทธเหยียบดิน ทำให้ใหญ่กว่า ๓ เท่า เมื่อวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนอ้าย พุทธพัสสา ๒๒...”
ถ้าใช้สำนวนในปัจจุบันอ่านได้ดังนี้


“พระปุณณะ อยู่ถ้ำฤษี (เขางู จ.ราชบุรี) ผู้นำพระพุทธเจ้า สู่เกาะคนชาวน้ำ (ชาวเล) หมู่คนน้ำ เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พระพุทธเจ้าสอนมาก หมู่คนขอรอยพระบาท ไว้ที่ชายทะเล...”
ท่านเจ้าคุณพระราชกวี ได้วินิจฉัยเรื่องนี้ ไว้อีกว่า

“เท่าที่ปรากฏรอยตีนพุทธนี้ ย่อมทรงแสดงให้เห็นหลักฐาน พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระองค์ว่า ได้เสด็จตั้งแต่ใต้สุดถึงเหนือสุดของ ดินแดน “สุวัณณภูมิ” จึงเสด็จเพื่อทรงเหยียบ แสดงรอยพระบาทเป็นประจักษ์พยานไว้ สัจจพันธ์คีรี (จังหวัดสระบุรี) และที่ เกาะแก้ว(เกาะแก้วพิสดาร?) หรือ “นิมมทานที” (ไทยว่า..นัมมะทา) ซึ่งเป็นที่เลื่องลือมานาน กระทั่งถึงต่างประเทศคือลังกาและชมพูทวีป เพราะคำใน “อรรถกถา” ยืนยันอยู่

________________________________________

อรรถกถาปุณโณวาทสูตร

นตอนนี้ตามความใน อรรถกถาปุณโณวาทสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกรุงสาวัตถีได้ตรัสเรียกพระอานนท์มาสั่งว่า
“อานันทะ..ดูก่อนอานนท์ พรุ่งนี้พวกเราจะเที่ยวบิณฑบาตที่หมู่บ้านพ่อค้าในแคว้นสุนาปรันตะ เธอจงให้สลากแก่ภิกษุ ๔๙๙ รูป..”

เมื่อพระอานนท์รับพระพุทธบัญชาแล้วจึงได้ประกาศแก่ภิกษุทั้งหลาย และในวันนั้นพระกุณฑธานเถระ จับได้สลากเป็นองค์แรกในตอนเช้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งเข้าผลสมาบัติ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะเกิดร้อนขึ้นมา

พระองค์ทรงพิจารณาแล้วทราบว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจะเสด็จไป แคว้นสุนาปรันตะ ซึ่งเป็นระยะทางไกลมาก จึงรับสั่งให้ วิษณุกรรมเทพบุตร เนรมิต เรือนยอด ๕๐๐ หลัง สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๔ มุข (จตุรมุข) ของพระอัครสาวกทั้งสองมี ๒ มุข ที่เหลือมี มุขเดียว พระศาสดาทรงเข้าสู่เรือนยอด และ พระสาวก ๔๙๙ รูป ต่างเข้าสู่เรือนยอด ๔๙๙ หลังตามลำดับ โดยมีเรือนยอดว่างอยู่หลังหนึ่ง เรือนยอดทั้ง ๕๐๐ หลังนั้นลอยไปในอากาศ

ครั้นถึงภูเขาชื่อ“สัจจพันธ์” แล้วทรงหยุดเรือนยอดไว้ในอากาศ ทรงเทศน์โปรดท่าน สัจจพันธ์ฤาษีจนสำเร็จพระอรหันต์แล้ว จึงได้เข้าสู่เรือนยอดที่ว่างหลังนั้น ตามเสด็จไปพร้อมกับพระภิกษุทั้งหลายมายังหมู่บ้านพ่อค้า (เพชรบุรี) ที่เป็นน้องชายพระปุณณะ ต่างก็ได้ถวายทานเป็นอันมากแด่พระภิกษุทั้งหลาย อันมีองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน
เมื่อพระศาสดาประทับในที่นั้น ๒-๓วัน จึงได้เสด็จไปโปรด “นัมทานาคราช” ซึ่งตาม ในจารึกกเบื้องจารได้บอกว่า พระศาสดาได้ เสด็จโปรด “คนน้ำ” ที่เกาะแก้ว โดยประทับ ไว้ทำให้ใหญ่กว่า ๓ เท่า

ท่านเจ้าคุณพระราชกวี วินิจฉัยคำว่า “นาค” กับ “น้ำ” นั้นออกเสียงใกล้เคียงกัน และใน “อุทานวรรค” ตรัสว่าเป็น “คนทะเล” ซึ่งในเวลานี้ปรากฏว่า “คนน้ำ” หรือว่า “ชาวเล” ยังมีอยู่ ๕ กลุ่ม เช่นที่ “หาดราไวย์” เป็นต้น ใครจะลองไปถามประวัติแกดูบ้างก็ได้ เผื่อแก อาจจะจำได้บ้าง แต่ต้องพูดภาษาเขาได้นะ

แต่ตามที่ทราบว่า สมัยก่อนพวกนี้จะรับจ้างพายเรือรับส่งคนไปกราบรอยพระพุทธบาทต่อมาชาวบ้านแถวหาดราไวย์ สามารถใช้เรือหางยาวแทน แกจึงเลยตกงานไปโดยปริยาย เพราะไม่สามารถไปหาเงินมาซื้อเรือหางยาวแข่ง กับชาวบ้านได้ จึงต้องไปดำน้ำหากุ้งหาปลามา ขายแทน แต่บางคนก็มีกับเขาเหมือนกันนะ

ตามความในพระไตรปิฎกกล่าวต่อไปว่าเมื่อพระศาสดาทรงออกจากที่นั้นแลัวก็เสด็จถึงภูเขาสัจจพันธ์ คือที่ สระบุรีนี่เอง ทรงแสดงรอยพระบาทไว้บนหลังแผ่นหินทึบ เหมือนประทับตราไว้บนก้อนดินเหนียวสดๆ ฉะนั้น ต่อจากนั้นก็เสด็จไปถึงพระเชตวันทีเดียว

เรื่องนี้ตามที่วินิจฉัยไว้แล้วว่า รอยพระพุทธบาททั้ง ๒ แห่งนี้ มิได้อยู่ที่อินเดียแน่นอน แต่ถ้าจะคิดว่ารอยพระบาท ณ นัมทานที อยู่ที่ลังกา ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะเสด็จมาถึง “สุนาปรันตะ” สิ้น ระยะทาง ๓๐๐ โยชน์ หรือ ๔,๘๐๐ ก.ม. ก็จะต้องย้อนกลับไปกลับมาหลาย ครั้ง ทั้งที่ลังกาก็ไม่ปรากฎว่าพบรอยพระบาท ที่อยู่ริมทะเลอย่างนี้มาก่อน มีแต่รอยที่ปรากฎอยู่ ตามภูเขาเท่านั้น เช่น รอยพระพุทธบาทบนยอด เขา“สุมนกูฏ” เป็นต้น

เพราะฉะนั้น รอยพระบาททั้งสองแห่งนี้จะต้องอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ถ้าเชื่อว่ารอยพระพุทธบาทที่สระบุรีเป็นของจริง รอยพระพุทธบาทที่ภูเก็ตก็ต้องเป็นของจริงเช่นกัน โดยเฉพาะความพิสดารเล่ากันไม่หวาดไม่ไหว เล่าลือกันจนไม่มีใครกล้าไป แต่ที่ไปกันได้เพราะอาศัย ความตั้งใจจริง หรือที่เรียกกันว่า “เอาชีวิตเป็น เดิมพันกันทีเดียว” เพราะถ้ายังรักตัวกลัวตาย หรือชอบความสนุกสนาน ก็คงจะไม่ได้ไปยืน อยู่ ณ ที่นี้เป็นแน่แท้


________________________________________


สำหรับเรื่องรอยพระพุทธบาททั้ง ๕ แห่งนี้ ผู้เขียนใคร่ขอ “รณรงค์วัฒนธรรมไทย” อีก เรื่องหนึ่ง ซึ่งกำลังจะสูญหายไปจากความนิยม ไทยสมัยใหม่ ถ้าหากผู้ที่ได้ศึกษาเรื่อง “มงคล ๑๐๘ ประการ” ในฝ่าพระบาท หรือที่เรียกว่า “ลายลักษณ์พระบาท” ซึ่งเป็นศิลปกรรมยุคโบราณ คนสมัยก่อนได้นำมาผูกเป็นบทกลอน
ในปัจจุบันนี้บางวัดยังท่องกันอยู่ แต่ส่วนใหญ่กำลังจะสาบสูญไปแล้ว คณะอาจารย์สันต์ ภู่กร (เริ่มท่องเป็นประจำ) ผู้เขียนจึงได้นำต้นฉบับเก่าๆ ทั้งของภาคกลางและภาคใต้ ที่นิยมท่องกันสมัยนั้นมาเทียบเคียง พร้อมกับตรวจทานกับคัมภีร์ “พุทธปาทะลักขณะ” ซึ่งจารึกไว้เป็นภาษาบาลี จึงได้แก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง โดยมีใจความคล้าย “ทำนองเสนาะ”


คำนมัสการ ลายลักษณ์พระพุทธบาท
(ตั้ง นะโม ๓ จบ)

ข้าพเจ้าขอบังคม พระพุทธบาทบรม ทั้งคู่เรืองรอง, สิบนิ้วของลูก ต่างธูปเทียนทอง นัยเนตรทั้งสอง ต่างประทีปทูลถวาย, ผมเผ้าเกล้าเกศ ต่างดอกปทุมเมศ บัวทองพรรณราย, วาจาเพราะพร้อง ต่างฆ้องกลองถวาย ดวงฤทัย มั่นหมาย ต่างรสสุคนธา,

พระบาททศพล ทั้งคู่เลิศล้น ปรากฏรจนา มีกงจักรแก้ว เพริศแพร้วทอตา กงกำโสภาดวงดุมเพลาทอง, มงคลงามสรรพ ร้อยแปดประดับ บาทบงสุ์ทั้งสอง, ทั่วทั้งไตรภพ มีครบทุกช่อง ลายลักษณ์เรืองรอง ทุกห้องเฉิดฉันท์,

มีทั้งฉัตรแก้ว พระขรรค์เลิศแล้ว หอกทองไพพรรณ, มีนางชูแว่น อ้อนแอ้นเอววัลย์ มือถือบุษบัน สอดสร้อยสังวาลย์, มีปราสาทราชวัง แท่นทิพย์เตียงตั่ง เกยแก้วสุริยกาญจน์, เฉิดฉายพรายแพรว เขนยเกยแก้ว พัดใบตาลโบกแล้ว พัดหางยูงทอง, มีมงกุฏรัตน์ พัชนีโบกปัด บาตรแก้วแววว่อง, ดวงแก้วมณี รัศมีขาวผ่อง กระออมเงิน กระออมทอง กระออมแก้วแววไว, ยังมีถาดทอง ถาดเงินเรืองรอง ถาดแก้วประไพ, มีวิมานพระอิศวร พระนารายณ์เลิศไกร เทวาไสวเข้าเฝ้าวันทา,


มีป่าหิมพานต์ ต้นพฤกษาสาร ตระการรจนา, มีผลแก่อ่อน แซมซ้อนบุปผา ครุฑธิราชปักษา อยู่ป่าฉิมพลี, มีพญาไก่แก้ว นกกระเรียนเลิศแล้ว กินรากินรี, คาบพวงมาลา ร่ายรำงามดีการะเวกโนรี แขกเต้าเขาขัน, หงษ์เหินสกุณาภุมรีภุมรา งามตาสารพัน, มีพญานกกระหิตวิจิตรแดงฉันท์ ยูงทองลาวัลย์ สีสันเฉิดฉาย,มีพญาไกรสร ช้างแก้วกุญชร ม้าแก้วเพริศพราย, ราชสีห์ย่างเยื้อง เสือเหลืองเรียงรายนาคราชผันผาย นางโคคลาไคล, ให้ลูกกินนมเคล้าเคลียน่าชม ละเมียดละไม,

มีจักรพรรตรา เสนาเกรียงไกร ถือธงทิวไสว ดูงามยรรยง, มีฉ้อฉกามา สิบหกชั้นฟ้า พระอินทร์จำนง, แสนสาวชาวสวรรค์ เทวัญล้อมองค์ เข้าเฝ้าเป็นวง ยังแท่นทิพย์วิมาน, มีพรหมโสฬส สิบหกชั้นปรากฏ ล้วนแก้วแกมกาญจน์,ประดับมุขทุกชั้น โบกบันสิงห์หาญ พระพรหมชมฌาน ทุกชั้นพรหมา,

มีทั้งพระอาทิตย์ พระจันทร์เรืองฤทธิ์ชักรถไคลคลา, เวียนรอบราศี รัศมีรุ่งฟ้า ดวงดาวดารา ประดับเมืองสวรรค์, ทวีปใหญ่ทั้งสี่ทวีปน้อยนั้นมี นับได้สองพัน, มีจักรวาลเวียน พิศเพียนอนันต์ เขาพระสุเมรุเรืองฉันท์ หลักโลกโลกา, มีเขาสัตตภัณฑ ์ ล้อมรอบเจ็ดชั้นเขาแก้วนา, มีสีทันดร อยู่หว่างบรรพตา มีเจ็ด คงคา สายสินธุ์แสงใส,

มีเขาไกรลาศ เงินยวงเดียรดาษ ขาวผ่องประไพ, มีเจ็ดสระศรี ชลธีหลั่งไหล บัวบานไสวดูงามเบญจพรรณ, มีมหาสมุทรทัย ลึกล้ำ กว้างใหญ่ มัจฉาอนันต์, ปลาเงินปลาทอง ลอยล่องตามกัน มังกรผายผัน จระเข้เหรา, มีทั้งเต่าทอง ดำผุดลอยล่อง ในท้องคงคา, มีสำเภาแก้ว พรายแพรวทอตา สำเภาเงินโสภา สำเภาทองบรรจง

มีสิ้นไตรภพ พรรณนามาจบ ลายลักษณ์พระองค์, มีสิ้นทุกสิ่ง งามยิ่งยรรยง ในพื้นบาทบงสุ์ พุทธบาทบาทา, พระศรีสรรเพชญ์พระพุทธเจ้าเสด็จ โปรดโลกโลกา, มีดอกบัวทอง ทั้งสองโสภา ผุดจากพสุธา รองรับบาท บงสุ์, ทุกย่างพระบาท ปวงดอกปทุมมาศ มิได้ คลาดทุกสถาน, ที่ใดไม่สบาย พระพายพัดพาน หอบเอาสุคนธาน นมัสการพระองค์,

หอบเอาทรายแก้ว นวลละอองผ่องแผ้วมาโปรยปรายลง, ให้ทางราบรื่น ในพื้นบาทบงสุ์พระพุทธเจ้าเสด็จลง โปรดโลกหญิงชาย, ยามเยื้องยุรยาตร ปวงดอกปทุมมาศ อันตรธานหาย, จึงได้ประจักษ์ ลายลักษณ์ทั้งหลาย เหยียบย่ำ ทำลาย จะเป็นโทษนักหนา,


พระศาสดาเจ้า เสด็จเข้านิพพาน สิ้นแล้วตัณหา, ยังแต่รอยบาทบงสุ์ อันทรงพระกรุณาบรรจบครบห้า ประดิษฐานโดยมี, พระบาทหนึ่งปรากฏ อยู่เหนือบรรพต สุวรรณมาลี, พระบาทสองนั้น อยู่ สุวรรณคีรี ใกล้สระบุรีศรีพระนคร, พระบาทสามนั้นโสต อยู่เขา สุมนกูฏ ลังกาบวร, พระบาทสี่ทศพล อยู่บน สิงขร ฝ่ายเบื้องอุดร โยนกบุรี, พระบาทห้า ประดิษฐานอยู่ริมชลธาร นัมทานที, เป็นที่วันทา นาคาธิบดี มัจฉาภุมภีร์ เข้าไหว้แน่นอนันต์,

พระบาทห้าแห่ง พระพุทธเจ้าสำแดง ย่างเหยียบไว้นั้น, เป็นที่วันทา เทวาทุกชั้น มนุษย์คนธรรพ์ ครุฑธิราชอสุรา, ลายลักษณ์เลิศไตร บูชาเข้าไว้ หญิงชายถ้วนหน้า, เช้าค่ำ ไก่ขัน ทุกวันเวลา อุตส่าห์ภาวนา เป็นนิจนิรันดร์, ใครว่าลายลักษณ์ ได้บุญมากนัก แปดหมื่นสี่พัน, เหมือนได้พบองค์ พระผู้ทรงธรรม์ พรรณนามานั้น หวังเข้านิพพาน.

อะหัง วันทามิ ทูระโต, อะหัง วันทามิ ธาตุโย, อะหัง วันทามิ สัพพะโส, สาธุ..สาธุ.. อนุโมทามิ, นิพพานะ ปัจจะโย โหตุฯ


________________________________________

จากหนังสือตามรอยพระพุทธบาท เรียบเรียงโดย พระชัยวัฒน์ อชิโต
อัตเดต เมื่อ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๘ ระบุว่ามีรอยพระพุทธบาท ในแต่ละภาคของไทยดังนี้
- ภาคใต้ 49 แห่ง 
- ภาคเหนือ 148 แห่ง
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 206 แห่ง
- ภาคตะวันตก 34 แห่ง
- ภาคตะวันออก 15 แห่ง
- ภาคกลาง 39 แห่ง  รวมในประเทศ ๔๙๑ แห่ง

และมีรอยพระพุทธบาท ที่ต่างประเทศ 64 แห่ง  เมื่อรวมจำนวนรอยพระพุทธบาททั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว จะมีทั้งสิ้น ๕๕๕ แห่ง



ที่มา   http://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=35
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2012, 01:31:28 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

saithong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ;) :angel: ไม่ผิดหวังจริงๆ กับ คุณ nathaponson ปลื้มใจจริงๆ
บันทึกการเข้า

ban

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 117
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
0
 :angel: :angel: :angel: คุณ nathaponson ยอดๆๆๆกับบทความที่ตอบ
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

somchit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 71
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
จากหนังสือตามรอยพระพุทธบาท เรียบเรียงโดย พระชัยวัฒน์ อชิโต
อัตเดต เมื่อ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๘ ระบุว่ามีรอยพระพุทธบาท ในแต่ละภาคของไทยดังนี้
- ภาคใต้ 49 แห่ง
- ภาคเหนือ 148 แห่ง
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 206 แห่ง
- ภาคตะวันตก 34 แห่ง
- ภาคตะวันออก 15 แห่ง
- ภาคกลาง 39 แห่ง  รวมในประเทศ ๔๙๑ แห่ง

และมีรอยพระพุทธบาท ที่ต่างประเทศ 64 แห่ง  เมื่อรวมจำนวนรอยพระพุทธบาททั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว จะมีทั้งสิ้น ๕๕๕ แห่ง


ไม่ธรรมดาเลยนะครับ ประเทศไทย มีมากที่สุด เพราะอะไรหรือครับ

 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

udom

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แต่บางครั้งผมก็สับสนเหมือนกัน ว่าทำไมรอยพระพุทธบาท มีมากมาย จริง ๆ

นี่ยังไม่นับรอยพระหัตถ์ รอยพระพุทธฉาย อีกนะครับ

  ตอนนี้พอจะสรุป จากเนื้อหาข้อมูลที่ผมสืบค้นมา ก็มีที่ พระพุทธบาท อันนี้จริงแท้คือ สุวัณณปัพพเต แน่นอน

  ส่วน ที่ภูเก็ต ก็คือ นัมมะทานะที แต่ มีตำนานของนครศรีธรรมราช กล่าวว่า รอยนัมมะทานที นั้นอยู่ที่สะดือ

ทะเลฝั่งอ่าว นครศรีธรรมราช

  ส่วน โยนกปุเร บางท่านก็ำกล่าวว่า คือรอย พระพุทธบาทสี่รอย ที่เชียงใหม่ แต่ บางท่านก็กล่าวว่า คือ

  รอยบนยอดเขา นางฟ้าที่โคกสำโรง วัดเขาวงพระจันทร์

  แต่ มีหลักฐาน ส่วนหนึ่งกล่าวว่า รอยพระพุทธบาท สี่รอย คือรอย สุวัณณะมาลิเก


  แหมยังไงผมก็สับสนอยู่ ที่นี้รอยพระพุทธบาทพลวง ที่คนแห่ไปกราบกันนั้น คือรอยพระพุทธเจ้าองค์ไหน
มีประวัติข้อมูลอย่างไร ใครรู้ช่วยมาเล่าให้ฟังหน่อยได้หรือไม่ครับ ?

 :c017: :34: :bedtime2:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คุณอุดมน่าจะมีความสนใจรอยพระพุทธบาท เอาไว้รอเหตุปัจจัยพร้อม จะมาอัตเดทอีกครั้ง :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ความเพียร ในพระพุทธศาสนา นั้นวัดอย่างไร ครับ

รออ่านด้วยอีกคนนะครับ ผมสงสัยเหมือนกันว่า ระหว่างการได้กราบรอยพระพุทธบาท กับไปกราบสังเวชนิียสถานอันไหน
ได้บุญต่างกันอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร เพราะเห็นคนนิยมไปกราบรอยพระพุทธบาทกันมากนะครับ เช่นที่เขาคิชกูฏ
ผมเคยไปมมาแล้ว ต้องเคลื่อนตัวขึ้นไปที่ ก้าวเลยครับ บริเวณรอยพระพุทธบาท

ควจะได้อ่านโดยไวนะครับ อนุโมทนาขอบคุณล่วงหน้าครับ

:c017:
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



รอยพระพุทธบาททั้ง ๕ แห่ง คือ
    ๑. สุวรรณมาลิก (ลังกา) หาภาพไม่ได้
    ๒. สุวรรณบรรพต (อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี)
    ๓. สุมนกูฏ (ลังกา) หาภาพไม่ได้
    ๔. โยนกปุระ (อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่)
    ๕. นัมทานที (เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต)

(ภาษาบาลี น่าจะใช้คำว่า สุวัณณะมาลิกา, สุวัณณะปัพพะเต ,สุมะนะกูเฏ,โยนะกะปุเร และนัมมะทายะ นะทิยา)

    ที่ผมบอกว่า หาภาพไม่ได้ คือ สุวรรณมาลิกและสุมนกูฏ (อยู่ลังกาทั้งสองแห่ง)
    ขณะนี้ผมหาเจอแล้วครับ แต่ไม่อาจนำมาให้ดูได้ เพราะสถานที่นั้น ห้ามถ่ายรูป
    ท่านใดอยากเห็น ขอให้ไปที่พระพุทธบาท สระบุรี


    หน้ามณฑปครอบรอยพระพุทธบาท ที่ด้านหลังโต๊ะบริการดอกไม้ธูปเทียน(ตามภาพด้านบน)
    จะมีศาลาหลังหนึ่ง ศาลานี้ประดิษฐานพระเครื่องและพระพุทธรูปต่างๆมากมาย
    มีป้ายติดเอาไว้ว่า มีป้ายห้ามถ่ายรูปติดเอาไว้ ให้ขึ้นไปที่ศาลานี้
    ด้านซ้ายมือจะมีภาพใส่กรอบหลุยส์ เป็นภาพรอยพระพุทธบาท ๕ ที่


    ในกรอบรูปจะแสดงภาพรอยพระพุทธบาท ที่ศรีลังกาทั้งสองแห่ง   
    หากจำไม่ผิด เขียนไว้ว่า สุวรรณมาลิก ลังกา และสุมนกูเต เมืองฮัตตัน ลังกา
    ขอให้ข้อมูลไว้เท่านี้ครับ

     :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ