ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วย "การบวช" และ “อานิสงส์พิเศษ”..คุณครูลิลลี่  (อ่าน 1830 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ว่าด้วย 'การบวช'

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์ที่รัก สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาคุณครูลิลลี่ได้มีโอกาสไปงานบวชของรุ่นน้องคนหนึ่งค่ะ แม้งานจะยุ่งและรัดตัวแค่ไหน คุณครูลิลลี่ก็ต้องหาเวลาไปร่วมอนุโมทนาบุญในงานบวชครั้งนี้ด้วยให้ได้ เพราะคุณครูลิลลี่มีความเชื่ออย่างหนึ่งที่เคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่พูดต่อๆ กันมาว่า

พระที่บวชใหม่นั้นถือเป็นผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ เพราะยังไม่ได้ทำการใดๆ ที่ผิดศีลและผิดต่อพระวินัย ดังนั้นการทำบุญกับพระที่บวชใหม่ถือว่าเป็นบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ เมื่อรวมกับความตั้งใจของเราที่มีเจตนาที่ดี ทำบุญด้วยทรัพย์ที่ได้หามาจากความบริสุทธิ์ก็จะยิ่งได้ผลบุญเป็นเท่าทวี

พูดถึงงานบวชแล้วตามประสาของครูภาษาไทยก็อดไม่ได้ที่จะเอาความรู้มาฝากกัน เหมือนเช่นทุกครั้งค่ะ เราอาจจะได้ยินคำว่า “อุปสมบท” กับ “บรรพชา” อยู่บ่อยๆ แต่คุณผู้อ่านแยกออกไหมคะว่า 2 คำนี้แตกต่างกันอย่างไร หลายคนบอกว่ารู้แล้ว แต่คุณครูลิลลี่เชื่อว่าต้องมีอีกหลายคนที่อาจจะรู้แต่ไม่มั่นใจหรือยังสับสนอยู่นิดๆ เพราะฉะนั้นมากระจ่างแจ้งกันในไทยรัฐออนไลน์ครั้งนี้เลยนะคะ

จริงๆ แล้วการบวชเป็นธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา ผู้ที่มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่จะมีจุดมุ่งหมายให้บุตรของตนได้เป็นศาสนทายาทสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป และอีกประการหนึ่งเป็นจุดประสงค์ให้บุตรได้ศึกษาเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อจะได้นำเอาหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในการที่จะอยู่ครองเรือนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ในภายหน้าด้วย

ทีนี้มาว่ากันถึงการบวช ที่เราๆ เคยได้ยินได้รู้กันมา การบวชจะมี 2 ลักษณะ ได้แก่
   บรรพชา กับ อุปสมบท ซึ่ง 2 คำนี้แตกต่างกันดังนี้ค่ะ   
   การบวชเป็นสามเณร เราจะเรียกว่า "บรรพชา"
   ส่วนการบวชเป็นพระภิกษุ จะเรียกว่า "อุปสมบท" ค่ะ





มีความรู้อีกอย่างมาบอกกันก็คือ ในทางพุทธศาสนาถือว่าการบรรพชาและอุปสมบทเป็นบุญชนิดพิเศษค่ะ หรือจะเรียกว่า “อานิสงส์พิเศษ” ก็ได้ (คำว่า อานิสงส์ หมายถึง ผลแห่งกุศลกรรม หรือ ผลบุญ ประโยชน์ที่เกิดจากการทำบุญ

อาจจะใช้คำว่า ผลานิสงส์ หรือผลอานิสงส์ ก็ได้ คำๆ นี้เป็นอีกคำที่มีคนไทยเขียนผิดกันบ่อย เนื่องจากรู้สึกว่าเป็นคำศัพท์เกี่ยวกับบุญ เกี่ยวกับกรรม มีพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง

ดังนั้น พอมีคำที่ออกเสียงว่า “สง” ปุ๊บ ก็จะเขียนโดยอัตโนมัติว่า “สงฆ์” แบบพระสงฆ์ทันที ซึ่งต้องบอกตรงนี้ว่า ผิดนะคะ อานิสงส์ ต้องใช้ ส.เสือค่ะ)


มาอธิบายต่อว่าอานิสงส์พิเศษ ที่ว่าพิเศษอย่างไร คืออย่างนี้ค่ะ ว่ากันว่า สำหรับพ่อแม่แล้ว ถ้าลูกทำบุญอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ทำสังฆทาน หรือทำบุญชนิดอื่นๆ แม้จะบำเพ็ญกุศลให้พ่อแม่เรียบร้อยแล้ว แต่พ่อแม่ไม่ได้อนุโมทนาในบุญกุศลนั้น พ่อแม่ก็จะไม่ได้บุญด้วย

     แต่ถ้าหากเป็นการอุปสมบท บรรพชา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า
     แม้พ่อแม่ลูกที่พลัดพรากจากกัน หรือไม่เคยพบเจอกันเลย แต่ถ้าวันหนึ่งลูกได้เข้าพิธีอุปสมบทหรือบรรพชา ถึงพ่อแม่จะไม่ทราบเรื่อง หรือไม่ได้เป็นเจ้าภาพในการบวชครั้งนั้น

     พ่อแม่ก็จะได้อานิสงส์อย่างสมบูรณ์แบบโดยไม่ต้องอนุโมทนาค่ะ

สำหรับครูลิลลี่เอง ไม่ต้องการอานิสงส์พิเศษอื่นใดหรอกค่ะ แค่ได้มาร่วมต่ออายุพระพุทธศาสนาด้วยการร่วมทำบุญงานบวชก็ถือว่าเป็นความสุขทางใจที่สุดแล้ว เรื่องของผลบุญแม้เราจะยังไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างจริงจังชัดเจน แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนที่สุด และเกิดขึ้นแล้วอย่างแน่นอนคือ อิ่มอก อิ่มใจ และ อิ่มบุญ สวัสดีค่ะ

    socialcam : krulilly
    twitter : krulilly
    instagram : krulilly
    facebook : ครูลิลลี่
    youtube : ครูลิลลี่


ขอบคุณบทความและภาพจาก
http://www.thairath.co.th/content/edu/292606
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 22, 2012, 09:42:05 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ