ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แม้ไม่ใช่เจ้าของทาน แต่ร่วมให้ทานด้วยความเคารพ ก็ได้ผลมากกว่าเจ้าของทานที่ไม่-  (อ่าน 3671 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แม้ไม่ใช่เจ้าของทาน แต่ร่วมให้ทานด้วยความเคารพ ก็ได้ผลมากกว่าเจ้าของทานที่ไม่ให้ความเคารพในทาน ดังพระสูตรนี้ที่ปรากฏ เรื่องราวของนรกสวรรค์ ในพระไตรปิฏก




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค

๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร (๒๓)


     [๓๒๙] ลำดับนั้น เจ้าปายาสิ เริ่มให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า
คนเดินทาง วณิพกและยาจกทั้งหลาย แต่ในทานนั้นเธอได้ให้โภชนะเห็นปานนี้
คือปลายข้าว ซึ่งมีน้ำผักดองเป็นกับข้าว และได้ให้ผ้าเนื้อหยาบ มีชายขอดเป็น
ปมๆ และมาณพชื่ออุตตระ เป็นเจ้าหน้าที่ในทานนั้น เขาให้ทานแล้วอุทิศอย่างนี้ว่า
ด้วยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าร่วมกับเจ้าปายาสิในโลกนี้เท่านั้น อย่าได้ร่วมกันในโลก
หน้าเลย เจ้าปายาสิได้ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว รับสั่งให้เรียกอุตตรมาณพมาแล้ว
ได้ตรัสว่า พ่ออุตตระ ได้ยินว่า เธอให้ทานแล้วอุทิศอย่างนี้ทุกครั้งว่า ด้วยทานนี้
ขอให้ข้าพเจ้าร่วมกับเจ้าปายาสิในโลกนี้เท่านั้น อย่าได้ร่วมกันในโลกหน้าเลย
ดังนี้หรือ ฯ
             อย่างนั้น พระองค์ ฯ
             พ่ออุตตระ ก็เพราะเหตุไร เธอให้ทานแล้ว จึงอุทิศอย่างนั้นเล่า พ่ออุตตระ
พวกเราต้องการบุญ หวังผลแห่งทานแท้ๆ มิใช่หรือ ฯ
             ในทานของพระองค์ยังให้โภชนะเห็นปานนี้ คือปลายข้าว ซึ่งมีน้ำผักดอง
เป็นกับข้าว พระองค์ไม่ทรงปรารถนาจะถูกต้องแม้ด้วยพระบาท ไฉนจะทรงบริโภค
อนึ่งเล่า ผ้าก็เนื้อหยาบ มีชายขอดเป็นปมๆ พระองค์ไม่ทรงปรารถนาจะถูกต้อง
แม้ด้วยพระบาท ไฉนจะทรงนุ่งห่ม พระองค์เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของพวก
ข้าพระพุทธเจ้า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะชักจูงผู้ซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่พอใจไปด้วยสิ่ง
ไม่เป็นที่พอใจอย่างไรได้ ฯ
             พ่ออุตตระ ถ้าอย่างนั้น เราบริโภคโภชนะชนิดใด เธอจงเริ่มตั้งไว้ซึ่ง
โภชนะชนิดนั้นเป็นทาน เรานุ่งห่มผ้าชนิดใด เธอจงเริ่มตั้งไว้ซึ่งผ้าชนิดนั้นเป็นทาน
อุตตรมาณพ รับพระดำรัสเจ้าปายาสิแล้ว เริ่มตั้งไว้ซึ่งโภชนะชนิดที่เจ้าปายาสิเสวย
และเริ่มตั้งไว้ซึ่งผ้าชนิดที่เจ้าปายาสิทรงนุ่งห่ม เพราะเหตุที่เจ้าปายาสิมิได้ทรงให้
ทานโดยเคารพ มิได้ทรงให้ทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มิได้ทรงให้ทานโดย
ความนอบน้อม ทรงให้ทานอย่างทิ้งให้ ครั้นสิ้นพระชนม์แล้ว เข้าถึงความเป็น
สหายกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราช คือ ได้วิมาน ชื่อเสรีสกะอันว่างเปล่า ส่วน
อุตตรมาณพซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในทานของเจ้าปายาสินั้น ให้ทานโดยเคารพ ให้ทาน
ด้วยมือของตน ให้ทานโดยความนอบน้อม มิได้ให้ทานอย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่
ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือถึงความเป็นสหายกับพวกเทพชั้น
ดาวดึงส์ ฯ
             [๓๓๐] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระควัมปติเถระไปพักกลางวันยังเสรีสก
วิมานอันว่างเปล่าเนืองๆ ลำดับนั้น ปายาสิเทวบุตรเข้าไปหาท่านควัมปติถึงที่อยู่
แล้วอภิวาท ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านควัมปติได้กล่าวถามปายาสิเทว-
*บุตรว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร ฯ
             ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าคือเจ้าปายาสิ ฯ
             ดูกรท่านผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้า
ไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี มิใช่หรือ ฯ
             เป็นความจริง ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดี
ทำชั่วไม่มี แต่ว่า พระผู้เป็นเจ้ากุมารกัสสปได้ไถ่ถอนข้าพเจ้าออกจากทิฐิอันลามก
นั้นแล้ว ฯ
             ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็อุตตรมาณพซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในทานของท่าน ไปเกิด
ที่ไหน ฯ
             ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อุตตรมาณพซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในทานของข้าพเจ้านั้น ให้
ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานด้วยความนอบน้อม มิได้ให้ทาน
อย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คืออยู่ร่วม
กับพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ส่วนข้าพเจ้ามิได้ให้ทานโดยเคารพ มิได้ให้ทานด้วย
มือของตน มิได้ให้ทานด้วยความนอบน้อม ให้ทานอย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่ตาย
เพราะกายแตก ก็เข้าถึงซึ่งความอยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราช คือได้วิมาน
ชื่อเสรีสกะอันว่างเปล่า ท่านควัมปติผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านไปยังมนุษยโลก
แล้วโปรดบอกอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงให้ทานโดยเคารพ จงให้ทานด้วยมือของ
ตน จงให้ทานโดยความนอบน้อม จงอย่าให้ทานอย่างทิ้งให้ เจ้าปายาสิมิได้ให้
ทานโดยเคารพ มิได้ให้ทานด้วยมือของตน มิได้ให้ทานโดยความนอบน้อม ให้
ทานอย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงความอยู่ร่วมกับพวกเทวดา
ชั้นจาตุมหาราช คือได้วิมานชื่อเสรีสกะอันว่างเปล่า ส่วนอุตตรมาณพ ซึ่งเป็น
เจ้าหน้าที่ในทานของเจ้าปายาสินั้นให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้
ทานโดยความนอบน้อม มิได้ให้ทานอย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คืออยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯ
             ลำดับนั้น ท่านควัมปติมาสู่มนุษยโลกแล้ว ได้บอกอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
จงให้ทานโดยเคารพ จงให้ทานด้วยมือของตน จงให้ทานโดยความนอบน้อม จง
อย่าให้ทานอย่างทิ้งให้ เจ้าปายาสิมิได้ให้ทานโดยเคารพ มิได้ให้ทานด้วยมือของ
ตน มิได้ให้ทานโดยความนอบน้อม ให้ทานอย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตก เข้าถึงความอยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราช คือได้วิมาน ชื่อเสรีสกะ
อันว่างเปล่า ส่วนอุตรมาณพซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในทานของเจ้าปายาสินั้น ให้ทาน
โดยความเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานโดยความนอบน้อม มิได้ให้
ทานอย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คืออยู่
ร่วมกับพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ฯ


 เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  บรรทัดที่ ๖๗๖๕ - ๗๕๕๓.  หน้าที่  ๒๗๘ - ๓๐๙.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=6765&Z=7553&pagebreak=0

บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จากหนังสือที่ท่าน ว.วชิรเมธี  เขียนไว้  นานแล้ว

=======================================
จากหนังสือ ตายแล้วเกิดใหม่ ตามนัยพระพุทธศาสนา โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

ภาค ๒ ปัญหาของพระเจ้าปายาสิ : โลกหน้า เทวดา บุญ บาป กฏแห่งกรรม มีจริงหรือไม่



พระเจ้าปายาสิ
http://larndham.org/index.php?/topic/12737-%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%80/page__st__16

พระเจ้าปายาสิ เป็นเจ้าเมืองเสตัพยนคร ในแคว้นโกศล พระองค์ทรงเป็นนักคิด นักปรัชญาคนสำคัญคนหนึ่งของยุคนั้น เหตุการณ์ที่พระองค์ได้ทรง “โต้วาที” กับพระกุมารกัสสปะสันนิษฐานกันว่าน่าจะเกิดขึ้นภายหลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๕ ปี จากการแปลปายาสิราชัญญสูตรโดยตลอดทำให้ทราบว่า พระเจ้ายาปาสิไม่เพียงเป็นผู้ถือลัทธิ “นัตถิกทิฏฐิ” (Nihilism) อย่างคนธรรมดาๆทั่วไปคนหนึ่งเท่านั้น หากแต่พระองค์ทรงเป็นบุคคลระดับแกนนำคนหนึ่งของลัทธินี้ทีเดียว เพราะข้อโต้แย้งของพระองค์บอกอยู่ในทีว่า ได้ทรงทดลองวิธีการต่างๆ ตามทฤษฏีแห่งลัทธินี้กล่าวไว้อย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุมแล้ว จึงได้ปลงใจเชื่อถือ ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระองค์ได้ทรงพบกับพระกุมารกัสสปะถ้อยปุจฉาของพระองค์จึงคมคายมิใช่น้อย

ลัทธินัตถิกทิฏฐิ กล่าวโดยเนื้อหาก็คือปรัชญาจากการมีรากฐานอยู่ก่อนแล้วในระบบความคิดความเชื่อเดิมของสังคมอินเดียหากเทียบกับลัทธิปรัชญาตะวันตกนัตถิกทิฏฐิก็คือปรัชญาวัตถุนิยม (Mate-rialistic philosophy) ซึ่งผู้ศึกษาปรัชญาสายตะวันออกและตะวันตกย่อมจะรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
หลักการทั่วไปของลัทธินัตถิกทิฏฐิ หรือปรัชญาวัตถุนิยมของตะวันตก(Materialistic philosophy) มีเนื้อหาสอดคล้องกันตรงที่ต่างยอมรับว่าโลกและชีวิตเป็นผลผลิตของการรวมกันอย่างลงตัวของวัตถุหรือสสาร ไม่มีจิตวิญญาณที่เป็นนามธรรม ความจริงมีอยู่เฉพาะในโลกแห่งวัตถุและความจริงนี้ต้องพิสูจน์ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัสเท่านั้น ไม่มีความจริงอื่นนอกเหนือไปกว่านี้

แต่พระพุทธศาสนากล่าวว่า ความจริงไม่ได้มีอยู่เฉพาะในโลกแห่งวัตถุหรือสสารเท่านั้น ยังมีความจริงอีกมากมายที่เรามองไม่เห็น พิสูจน์ไม่ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ แต่อาจพิสูจน์และสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสที่ ๖ (ESP = Extra Sensory Perception) คือจิตหรือใจ

เมื่อวัตถุนิยมปฏิเสธความจริงทางนามธรรม ก็เท่ากับปฏิเสธเรื่องบุญ บาป ความดี ความชั่ว กฏแห่งกรรม เทวดา พระนิพพาน และพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งพระนิพพานด้วย การปฏิเสธบุญบาป เป็นต้น ก็เท่ากับเป็นการปฏิเสธระบบคุณค่าหรือกฏเกณฑ์ทางศีลธรรมจริยธรรมที่ทำให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบร่มเย็นไปด้วยโดยปริยาย

ผู้ที่เชื่อในลัทธิวัตถุนิยมจึงใช้ชีวิตอย่างสุดโต่งไปในการแสวงหาความสุขจากการสนองตัณหา หรือการกิน ดื่ม สืบพันธุ์ หรือกิน กาม เกียรติ และการเสพบริโภคอย่างเต็มที่ ไม่คำนึงถึงคุณค่าทางจิตใจ ให้ความสำคัญต่อวัตถุและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเงิน รถ บ้าน กามารมณ์ เป็นต้น ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่อาจถือเอาเป็นสรณะที่สามารถให้คำตอบสุดท้ายกับชีวิตได้แทบทั้งหมด กล่าวโดยรวมคือสนใจโลกียสุขมากกว่าจะแสวงหาโลกุตรสุขที่อยู่เลยพ้นขึ้นไปจากสุขทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕

เมื่อกล่าวโดยเคร่งครัดลัทธิวัตถุนิยมของพระเจ้ายาปาสิจึงไม่ได้หายไปจากความคิดความเชื่อและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบัน หากแต่ได้คลี่คลายขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมิ่งนักในนามของลัทธิวัตถุนิยม บริโภคนิยม ที่กำลังแผ่อิทธิพลครอบงำไปทั่วโลกอยู่ในเวลานี้นั่นเอง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2012, 08:52:42 am โดย kobyamkala »
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ