ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อย่า.!! 'ส่ ง จิ ต อ อ ก น อ ก'  (อ่าน 3238 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อย่า.!! 'ส่ ง จิ ต อ อ ก น อ ก'
« เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2012, 11:11:32 am »
0

อย่าส่งจิตออกนอก (หลวงปู่ดุลย์)

" จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ "

    จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
    (เห็นว่าจิตที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ทำให้หลงไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้าย)

    ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
    (เห็นว่าจิตที่ไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้ายเป็นทุกข์)

    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
    (เห็นจิตที่เป็นทุกข์ เห็นสมุทัยอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จึงมีความเพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เพราะเห็นแล้วว่าเป็นสภาพที่พ้นจากทุกข์ได้)

    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ
    (เมื่อ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางได้ ก็ย่อมที่จะพ้นจากทุกข์ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เราไปพยายามแยกผู้รู้ให้ออกจากอารมณ์ เราเพียงแต่เพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง จนจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง)

    อย่าส่งจิตออกนอก จิตคิด จิตถูกทำลาย
    ((เมื่อ)จิตคิด จิต(รู้ก็)ถูกทำลาย บรรดานักคิดทั้งหลาย ถ้าเข้าใจตนเองได้ว่า ตนกำลังฝันทั้งที่ลืมตาตื่น ตนกำลังหลงอยู่ในโลกของความคิด เพียงรู้ทันเท่านี้ ก็รู้แล้ว และเมื่อรู้แล้วก็อย่าหลงไปคิดต่อไปอีก ว่า "รู้เป็นอย่างไร ที่รู้นี้ถูกหรือไม่ถูก" เพราะจะหล่นไปสู่ความผิดพลาดในทันที คือหลงเข้าไปในโลกของความคิดอีกรอบหนึ่ง)
 
    ความคิดนั้น มันเกิดอยู่เสมอ เหมือนลมหายใจนั่นเอง ห้ามไม่ได้ การปฏิบัติก็ไม่ได้มุ่งให้ดับความคิด
   เอาแค่ว่า พอรู้อารมณ์แล้วจิตมันคิดนึกปรุงแต่ง ก็ให้รู้ทัน อย่าให้ฝันทั้งที่ตื่น คือ หลงคิดไปโดยไม่รู้ตัว เท่านี้ก็พอครับ
   อย่าไปพยายามดับความคิดเข้าเชียวครับ จิตจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักกว่าเก่าอีก
   และอันที่จริง เราก็ต้องอาศัยความคิดเหมือนกัน ในการอบรมสั่งสอนจิต เป็นบางครั้งบางคราว เวลามันดื้อมากๆ



    "จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต

     แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปป์หนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิตนี้คือ พุทธะ นั่นเอง"

    "จิตหนึ่งนั่นแหละคือพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือมันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งคิดฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือกพุทธะ"

    "การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะ ซึ่งมีตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นั่นแหละคือ พุทธะ ที่แท้จริง"



  "จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ
    ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก
    ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง
    ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
    แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง"


    "เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น
    ถ้าไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้
    พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของพวกเราเอง
    พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง
"


อ้างอิง
บทความ "จิตคือพุทธะ" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล http://www.wimutti.net
ขอบคุณภาพและบทความจาก
board.palungjit.com/f4/อย่าส่งจิตออกนอก-หลวงปู่ดุลย์-82238.html โพสต์โดยคุณwellrider
http://dhammaway.files.wordpress.com/,http://www.dhammajak.net/,http://farm3.staticflickr.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2012, 11:17:09 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อย่า.!! 'ส่ ง จิ ต อ อ ก น อ ก'
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2012, 11:24:08 am »
0
อนุโมทนา ครับ มีสาระ จาก หลวงปู่ มากครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อย่า.!! 'ส่ ง จิ ต อ อ ก น อ ก'
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2012, 11:34:32 am »
0

อย่าส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์

webmaster - เป็นคําสอนและคติธรรมของหลวงปู่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ที่กล่าวกันอยู่เนืองๆ และเป็นแก่นหลักสําคัญในการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์  แต่ควรมีความเข้าใจทึ่ถูกต้อง จึงจักสําเร็จผลสมดั่งคําสอนของหลวงปู่,

     อันท่านหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์(หมายถึง เกิดเวทนา)
     หรือก็คือ ไม่ส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง  เพราะทุกๆความคิดนึกปรุงแต่งอันคือความคิดที่ฟุ่มเฟือยเกินจําเป็น,
     อันเป็นขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งซึ่งย่อมต้องเกิดเวทนา หรือการเสวยอารมณ์ร่วมด้วยทุกๆความคิดที่ปรุงแต่ง 
     อันล้วนอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นไปตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาท,


    จึงทําให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัวจากความคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านนั้นๆ, 
    จิตไม่ส่งออกนอกในความหมายของท่านจึงหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอกเพื่อไม่ไปกระทบในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมมารมณ์หรือความคิด อันล้วนแต่ให้เกิดคิดนึกปรุงแต่ง  หรือก็คือหยุดคิดนึกปรุงแต่ง

    อย่าส่งจิตออกนอก อีกอย่างหนึ่งซึ่งมีความหมายเหมือนกันคือ
    อย่าส่งจิตออกไปนอก กาย เวทนา จิต ธรรม ตามหลักสติปัฏฐาน๔ นั่นเอง
    จิตหรือสติอยู่กับกาย ไม่ส่งออกไปปรุงแต่ง ดังเช่น
    กายานุปัสสนา(การพิจารณากายเพื่อให้เกิดนิพพิทา, แต่ไม่ใช่หมายถึง จิตส่งใน หรือ จิตส่องจดจ่อจดจ้องไปเสพผลอันสุขสบายอันเกิดแต่กายหรือจิตที่เกิดจากอำนาจของฌานหรือสมาธิ) จึงจักถูกต้อง
    อันจะครอบคลุมถึงการให้จิตอยู่กับเวทนานุปัสสนา(เห็นเวทนา),
    จิตตานุปัสสนา(จิตเห็นจิตหรือความคิด)
    หรือธรรมานุปัสสนาหรือธรรมะวิจยะ(การพิจารณาธรรม)ก็ได้ 
    อันล้วนเป็นการปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน๔ในชีวิตประจําวันนั่นเอง, 



    การพิจารณาธรรม - ไม่ใช่ความคิดที่ส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง,
    เป็นความคิดที่มีคุณประโยชน์จําเป็นต้องมีเพื่อให้เกิดสัมมาญาณ
    อันยังให้เกิดสัมมาวิมุติ-สุขจากการหลุดพ้น,   


    ต้องไม่ใช่ไปอยู่กับผลของสมาธิ คือ จิตไม่ส่งออกนอก แต่ไปคอยจดจ้องหรือยึดความเบากาย เบาใจ
    ภายในกายหรือจิตของตนเองอันเกิดจากผลของสมาธิ อันเป็นการเข้าใจผิด,


    แยกแยะให้ดีด้วย เพราะมีความฉิวเฉียดต่างกันเพียงน้อยนิด แต่ผลออกมาต่างกันราวฟ้ากับดิน
    อันแรกก่อให้เกิดสัมมาญาณอันจักยังให้เกิดสัมมาวิมุตติ,
    แต่อันหลังก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอันให้โทษอย่างรุนแรงในภายหลัง


    หรืออาจกล่าวได้ว่า อย่าส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง
    เพราะคิดนึกปรุงแต่ง คือ เกิดขันธ์๕ อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
    อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นทุกข์  เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง


ขอบคุณบทความและภาพ
http://www.nkgen.com/518.htm
http://www.cmadong.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ