นิพพานไม่ใช่ของยากเพียงกำหนดจิตว่างก็นิพพานได้?หากบุคคลไม่ก่อกรรมมาก ไม่มีอาลัยอาวรมากนัก เมื่อตายลง
มี "สติ" ปลงตก และวางจิตว่างอุเบกขา จิตจะไม่จุติ เพราะจิต
ดวงสุดท้ายในภพนั้นๆ ไม่เป็น "จุติจิต"แต่จะเป็น "ภวังคจิต"
คนที่ตายลงด้วย "ภวังคจิต" นี้เองที่ได้นิพพาน
ส่วนคนที่ตายในฌานนั้นจะจุติใหม่เช่นกัน ในภพ "พรหมโลก"
ดังนี้ เมื่อพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น พระองค์
ได้เข้าฌานแบบอนุโลมและปฏิโลมอย่างชำนาญยิ่ง โดยมีพระ
อนุรุธใช้ตาที่สามอ่านจิตทุกวาระจิต และบันทึกไว้ถึงปัจจุบันนี้
ว่าทรงไม่ได้ละสังขารในฌานที่เข้านั้น
แต่จิตดวงสุดท้ายก่อนจากภพนี้ไปเป็น "ภวังคจิต" ที่เกิดขณะ
ปฏิโลมฌาน จากฌานสี่มาฌานสาม อยู่ระหว่างองค์ฌาน มิ
ได้ละสังขารในองค์ฌาน และไม่มีจิตส่งเป็นจุติจิต จึงไม่เกิดอีก
ดังนี้ การที่คนเราตายลงจะนิพพาน ไม่ใช่ของยาก แต่กำหนดจิต
ว่างวางอุเบกขาเท่านั้นเอง จิตก็เป็น "ภวังคจิต" คือ นิพพาน
ไม่เป็นจุติจิตเป็นดวงสุดท้ายของภพอีกต่อไป คือ นิพพาน
เพียงมีสติเห็นอนิจจังของชีวิตขณะตายก็ไม่เกิดอีกแล้วคือ "นิพพาน"?กรณีศึกษาที่หนึ่งจากพระไตรปิฎก (จำหน้าและเล่มไม่ได้เพราะอ่านเยอะไม่ได้จำตัวเลข) สรุป
ให้ฟังกันมีครั้งหนึ่ง ภิกษุแก่และอาพาธมาก เพียรพยายามเพื่อนิพพาน แต่ไม่
สำเร็จเพราะอาการอาพาธนั้นรุมเร้าหนัก เมื่อได้ถึงอภิญญา 5 แล้วก็เสื่อมลง
อีกเพราะอาการอาพาธนั้น ดังนี้ ท่านจึงคิดได้ว่า หากเราตายลงขณะอภิญญา
เสื่อมนี้ คงไปเกิดที่ใดไม่รู้ แต่หากตายลงขณะได้อภิญญา 5 นี้ยังได้อานิสงค์
อย่างน้อยก็จุติที่พรหมโลก คิดดังนี้แล้ว ท่านจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายเสียแต่ยัง
อภิญญาไม่เสื่อม ขณะกำลังจะตายนั้นเอง ก็ปลงตกเห็นอนิจจัง วางจิตนิ่งเฉย
จิตไม่เป็นจุติจิต จึงไม่มีปฏิสนธิจิตเกิดอีก เป็นเพียง "ภวังคจิต" ไม่มีนิมิต
จึงได้บรรลุอรหันตผล คือ กิเลสนิพพานขณะนั้นและดับขันธปรินิพพานต่อทันที
เพียงมีสติเห็นอนิจจังของชีวิตขณะตายก็ไม่เกิดอีกแล้วคือ "นิพพาน"?กรณีศึกษาที่สอง "ตำนานที่มาของศีลห้ามภิกษุฆ่าตัวตาย"จากพระไตรปิฎกจำเล่มและหน้าไม่ได้อีกเช่นกัน สรุปความโดยย่อว่า ครั้งหนึ่ง
ภิกษุอยากจะได้นิพพานบ้าง แต่ไม่มีความเพียรและไม่อาจบรรลุ ทว่าเห็นภัย
แห่งกรรมและวัฏฏสงสาร จึงได้นัดแนะให้เพื่อนฆ่าตน แล้วตนจะกำหนดจิตว่าง
ไว้ เพื่อนทำดั่งนั้น ภิกษุจึงถึงแก่ความตายขณะจิตว่าง
พระสาวกได้เข้าเฝ้าพระพุทธอง๕เพื่อทูลถามผลว่าทำเช่นนั้นแล้วจะเป็นเช่นไร
พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบสั้นๆ ว่า "นิพพาน" คือ ตายขณะจิตว่างเป็นภวังคจิต
จึงได้นิพพาน ไม่เกิด "จุติจิต" เป็นดวงสุดท้ายของภพจึงไม่มี "ปฏิสนธิจิต"
ส่งต่อไปในชาติภพหน้า
และนี่เองเป็นสาเหตุให้พระพุทธองค์ทรงบรรจุศีลเพิ่มเข้ามาอีก
ว่า "ห้ามภิกษุฆ่าตัวตาย" เป็นตำนานที่มาของศีลข้อนี้
เพียงมีสติเห็นอนิจจังของชีวิตขณะตายก็ไม่เกิดอีกแล้วคือ "นิพพาน"?กรณีศึกษาที่สาม "ว่าด้วยภิกษุบรรลุอรหันต์ในปากเสือโคร่ง"จากพระไตรปิฎกจำเล่มไม่ได้อีกเช่นเคย (คิดว่าน่าจะสุตตันตปิฎก) สรุปความ
ว่า ภิกษุกลุ่มหนึ่งปฏิบัติสติปัฏฐานไม่อาจบรรลุธรรม เมื่อครั้งเกิดเหตุร้ายมีเสือ
โคร่งคาบพระภิกษุไปกินที่ละรูป ภิกษุเหล่านั้นได้ปฏิบัติสติปัฏฐานมาดีแล้วจน
ชำนาญ ควรแก่งาน
เมื่อภิกษุรูปสุดท้ายได้สงสัยว่าเพื่อนภิกษุหายไปไหนทีละ
รูป จนได้รู้ก็เมื่อถูกเสือคาบไปกินเช่นกัน จึงกำหนดจิตตั้งสติ เห็นอนิจจังของ
ชีวิต จิตนิ่งอุเบกขาเฉยว่างอย่างนั้น ไม่เป็นจุติจิตดวงสุดท้ายขณะตายจากภพ
นี้ จิตดวงสุดท้ายเป็นภวังคจิต จึงไม่เกิด "ปฏิสนธิจิต" ตามมา จึงได้นิพพาน
ตายแล้วนิพพานเป็นเพียงการตั้งสติกำหนดจิตตอนตายเท่านั้นเอง!ดังนี้ การ "ดับขันธปรินิพพาน" คือ การกำหนดจิตว่างตอนตายเท่านั้นเอง
ซึ่งจะทำแบบนี้ได้ต้องฝึกสติในระดับหนึ่ง ทั้งยังต้องระวังไม่ก่อกรรมสะสม
ไว้มาก เพื่อไม่ให้เกิดนิมิต นรก-สวรรค์ ตอนจะตายลงเท่านั้นเอง
ดังนั้นไม่แปลก ที่พระพุทธองค์จะโปรโมทคำว่า "นิพาน" เพื่อให้คนปรารถนา
เพราะเมื่อตายลงจิตมีสติถึงนิพพานว่าเป็นของไม่มีอะไรให้ยึด ว่าง ก็นิพพาน
ได้ (หากไม่ก่อกรรมสะสมไว้มากนัก) บางท่านถึงขนาดใช้คำว่า "นิพพานคือ
ความว่าง" ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องก็จริง แต่ให้ผลดีในแง่กุศโลบายจูง
ใจคนก่อนตายได้อย่างดี บางท่านก็โปรโมท "สุญญตา" คือ "ความว่าง" เพื่อ
ให้คนที่ปรารถนากำหนดจิตว่างไว้ตอนตายก็ได้ "นิพพาน" นั่นเอง
ส่วนการบรรลุอรหันต์ก่อนตายนั้นยากกว่า ยิ่งกว่านั้นเมื่อบรรลุแล้วบำเพ็ญเพียร
ต่อยิ่งยากเสียกว่า ดังนี้ อุดมคติของมหายานจึงไม่ประสงค์นิพพานเป็นที่สุด
ของการฝึกตน แต่มุ่งช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์มากกว่าเป็นสำคัญ
ดังนี้ เราจึงมีคำสอนเป็นวลีที่คุ้นหู อีกคำหนึ่งว่าให้ "ตายก่อนตาย" คือ บรรลุ
อรหันต์ก่อนตายนั้นประเสริฐกว่าได้นิพพานเพราะกำหนดจิตว่างตอนจะตาย
เหตุใดเราจึงคิดว่าบรรลุอรหันต์นั้นเป็นของยาก?1) เพราะเราไปทำตามแบบอย่างดั้งเดิมที่ผิดโดยการอ่านประวัติพระพุทธเจ้า
ตามพุทธประวัตินั้น ท่านต้องบำเพ็ญทุกขกริยาถึง 6 ปี เพราะผลกรรมที่ได้เคย
ปรามาสพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ไว้ว่าการตรัสรู้เป็นของยาก
แท้แล้วการบรรลุนั้นง่ายไม่ยากเลย พระพุทธเจ้าบางพระองค์ใช้วลาเพียง 7 วันเท่านั้นก็
บรรลุ เพราะว่าการบรรลุ คือ การเห็นท้ายที่สุดสรรพสิ่งคือ อนิจจัง เท่านั้นเอง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีตลอดทุกขณะจิต ทุกวินาที มันปรากฏชัดเจนอยู่แล้ว เพียงแต่
กิเลสที่มาบดบังเท่านั้นหลอกไม่ให้เราเห็น
2) ไปดูตัวอย่างมาจากพระอรหันต์ในประเทศไทยที่บรรลุธรรมอย่างยาก จึง
คิดว่าทุกคนต้องทำแบบนั้น หรือบรรลุธรรมได้ยากแบบนั้นดุจเช่นเดียวกัน จึง
ละทิ้งและท้อถอยไม่บำเพ็ญเพียรเพราะคิดว่าเราเองคงไม่อาจสำเร็จได้ในชาตินี้
พระอรหันต์ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็น "เจโตวิมุติ" เน้นกรรมฐานหลายปี
บ้างเข้าป่าธุดงค์เสี่ยงตาย ตัวอย่างเหล่านี้ ทำให้เราหลงผิดคิดว่าต้องทำแบบ
นั้นด้วยจึงจะบรรลุ ทั้งๆ ที่พระอรหันตืแบบ "ปัญญาวิมุติ" นั้น สำเร็จได้ง่ายมาก
และมักสำเร็จแบบ "ฉับพลัน" คือ "วิถีทางแห่งเซน" นั่นเอง
3) พระพุทธองค์เคยทรงตรัสแก่พระสารีบุตร ถึงพระอรหันต์สาวก ท่านทรง
จำแนกให้พระสารีบุตรดู พบว่าส่วนใหญ่เกิน ๘๐% เป็นพระอรหันต์แบบ
"ปัญญาวิมุติ" ส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็น "เจโตวิมุติ" แนประวัติพระอรหันตสาวก
ก็มักจะบันทึกแต่ประวัติพระอรหันตืแบบ "เจโตวิมุติ" เราจึงไม่รู้ว่าแท้แล้วการ
บรรลุแบบ "ปัญญาวิมุติ" นั้นง่ายดายมากมาย และไม่ต้องไปนั่งทำกรรมฐาน
อีกด้วย เหมาะกับคนปัจจุบันอย่างยิ่ง
4) การบรรลุธรรมได้ต้องใช้ปัญญา ดังนั้น พระอรหันต์ทั้งหมด บรรลุแบบ
ปัญญาวิมุติทั้งสิ้น แต่เราจะไม่จำแนกประเภทไว้ในหมวดเดียวกัน เพื่อให้
เกิดความกระจ่างชัดในธรรม จึงได้แบ่งหมวดหมู่ของพระอรหันต์ประเภท
ต่างๆ เป็นแบบที่บรรลุโดยสมถกรรมฐานเป็นทางหลักว่าเป็น "เจโตวิมุติ"
และแบบที่บรรลุโดยวิปัสสนากรรมฐานเป็นสำคัญเป็น "ปัญญาวิมุติ" แต่
แท้แล้ว จะบรรลุ "เจโตวิมุติ" ได้เพียง "อนาคามีผล" เท่านั้น (จากพระ
ไตรปิฎกฉบับท่าน ป. ปยุตโต) เพราะขาดตัวปัญญา ตัวปัญญาเท่านั้น
จึงรู้แจ้งเห็นจริงได้ (โดยมีสมาธิเป็นฐานรองรับจิต) ซึ่งก่อนจะได้ปัญญา
ก็ต้องมีสติมาเป็นตัวจุดประกายไฟแห่งปัญญา
บรรลุแบบ "ปัญญาวิมุติ" คือ เห็นไตรลักษณ์แบบภาวนามยปัญญา ไม่ต้องไป
คลายอุปทานให้กิเลสทีละตัว และดับตัณหาไล่กิเลสทีละตัว ทีละขั้นตอน จาก
โสดาบันไปเลยก็หาไม่ ดังนั้น จึงเป็นการดับที่ต้นตอคือความหลงโลกฉับพลัน
บรรลุฉับพลันแบบ "ปัญญาวิมุติ" อยู่ได้มีสุข ไม่หลงโลก ไม่ใช่ของยาก...อุปมาการบรรลุธรรมแต่ละแบบและผลของการบรรลุธรรมที่ต่างกันหากเราไม่หวังเอาอภิญญาหกมากมาย เราสามารถฝึกจิตแบบ "ปัญญาวิมุติ"
บรรลุอรหันต์ฉับพลันได้ไม่ยาก แต่หากเน้นกรรมฐานหนักและนานหลายปี
อาจได้อภิญญา แต่ก็เสียเวลาและเสี่ยงที่จะตายไปก่อนได้บรรลุ ได้ทุกขณะ
หากต้นไม้มีผลเป็นพิษ อุปมาเป็นคนเรา, ผลที่เป็นพิษอุปมาเหมือน "กิเลส"
ก้าน อุปมาเป็น "ตัณหา" กิ่ง อุปมาเป็น "อุปทาน" และต้นอุปมาเป็น "อวิชชา"
แล้ว บุคคลที่เลือกกำจัดเหตุแห่งทุกข์ โดยการดับที่อวิชชา ก็เหมือนคนตัด
ต้นไม้ ย่อมระงับไม่มีผลพิษได้อีก
แต่ต้องมีสติเฝ้าระวัง ไม่ให้มีกิ่งก้านงอกออกมาเป็นผลพิษได้ แบบนี้
ยังมี "อกุศลเจตสิก" เหลือไว้ไม่หมดไป แต่มีสติเหนือกว่าไม่หลง รู้เท่าทัน
รู้ทางไม่ก่อกรรม ไม่หาทุกข์ จึงไม่เกิดอกุศลจิต
ต่อจาก "อกุศลเจตสิก" (มีเจตสิกไม่ดี แต่สติยั้งทัน จึงไม่ทันก่อเป็นกิเลส)
และรอเวลาเข้านิพพานด้วยการตั้งสติเห็นอนิจจังตอนตาย เพียงเท่านี้
ส่วนคนที่ไปตัดผล, รอนกิ่ง, ฟันก้าน, และผลาญต้น ก็เหมือน "เจโตวิมุติ"
คือ กำจัดให้หมดเกลี้ยงไม่เหลือหรอ ไม่มี "อกุศลเจตสิก" เหลืออยู่ ก็จะไม่
มีเหลืออกุศลเจตสิกใดๆ อีก และไม่มีอกุศลจิตอีกด้วย
การบรรลุอรหันต์แบบ "ปัญญาวิมุติ" ใช้ "สติ" ที่ไวเป็นสำคัญ ตัดได้ทันตลอด
แม้นมี "อกุศลเจตสิก" แต่ก็ไม่งอกเป็น "อกุศลจิต" จึงไม่มี "กิเลส" ด้วยเหตุ
นี้ จึงใช้เวลาน้อยกว่า และไม่ต้องไปลำบากนั่งสมาธิกรรมฐานนานเกินไป
อย่างไรก็ตามพระพุทธองค์ทรงตรัสรับรองพระอรหันต์ทั้งสองแบบว่าบรรลุอรหันต์ทั้งคู่ตัวอย่างการบรรลุฉับพลันแบบ "ปัญญาวิมุติ" ของภิกษุณีโกกิลาพระภิกษุณีโกกิลาเดิมเป็นนางทาสี (ทาส) แต่เมื่อได้พบพระอานนท์และ
ได้เห็นควาเมตตาจึงมีจิตคิดรักใคร่ผูกพันธ์ถึงขนาดบวชเข้าเป็นภิกษุในสำนัก
ของพระพุทธองค์ แต่ด้วยความที่ตนเป็นนางทาส จึงไม่มีปัญญาสูงส่ง เรียน
กรรมฐานอะไรก็ไม่ก้าวหน้า ทั้งยังมีจิตราคะถึงแต่พระอานนท์
พระอานนท์ เป็นเหตุทำให้ภิกษุณีโกกิลาต้องร้อนรนและเป็นทุกข์มากมาย
เธอไม่เป็นอันกินอันนอน และปวดใจกับความทุกข์เพราะเหตุใดหรือ? เพราะ
นางเกิดมาเป็นทาสไม่มีภาระทางโลกใดๆ ไม่มีความหวังและวันพรุ่งนี้ แต่
ได้ทิ้งทุกอย่างมาบวชเพื่อพระอานนท์เพียงผู้เดียว แต่นางก็ไม่ได้ความรักนั้น
จิตที่ทิ้งทุกอย่างหมดสิ้นเพียงเพื่อความรักนั้นเอง บวกกับความครุ่นคิดอยู่
ตลอดเวลาว่าพระอานนท์จะรักตอบนางหรือไม่ กลายเป็นต้นกำเนิด "โคอัน"
คือ "ปริศนาธรรม" ที่ผู้เรียนเซนจะทิ้งทุกอย่างเพื่อรับไปขบคิดตลอดทั้งชีวิต
พระภิกษุณีโกกิลา ได้บรรลุธรรมในที่สุดขณะฟังธรรมจากพระพุทธองค์
แบบ "ปัญญาวิมุติ" ฉับพลันนั้นเอง โดยไม่ผ่านโสดาบันก่อน (ก่อนหน้า
นี้จิตมุ่งผูกพันรักแต่พระอานนท์จึงไม่ได้บรรลุแม้นกระทั่งโสดาบันมาก่อน
คือ จิตไม่พุ่งตรงต่อพระนิพพาน ไปพุ่งตรงต่อพระอานนท์แทน)
พระเยซูได้ใช้วิธีเดียวกันนี้ในการให้ "โคอัน" แก่ชาวคริสตร์ว่า "พระเจ้าคือ
อะไร" ท่านไม่บอกให้ชัดเจน แต่ให้ผู้คนไขว่คว้าหาเอง ทั้งยังสอนให้รักมากๆ
เพื่อทิ้งทุกอย่าง (แต่ได้บอกนัยๆ ว่าพระเจ้าคือพระจิต อยู่ในจิตเรานี้เอง)
ดังนั้น คริสตร์ก็คือพุทธแนวผสมผสานระหว่าง "เซน" และ "ตันตระ" นั่นเอง
(เป็น ตันตระ เพราะประกอบพฤติกรรมทุกอิริยาบทเป็นพุทธะ คือ พระบุตร
ที่กำเนิดจาก "พระเจ้า" --- แสดงว่ามีเชื้อสายพระเจ้า คือพุทธะ คือโพธิสัตว์
ก่อนที่จะบารมีเต็ม หรือ บุตรโตจนเต็มวัย ก็คือ พุทธะพระองค์หนึ่ง -- ตันตระ)
นิพพานไม่ยากอย่างที่คิด แต่หากต้องการเป็นพระสัพพัญญูรู้หมด อาจเสียเวลาและไม่ได้รู้อะไรเลยที่มา
http://board.palungjit.com/f181/เชื่อหรือไม่-พระพุทธเจ้า-พระเยซู-พระนบีมูฮัมหมัด-เป็นหนึ่งเดียวกัน-82059.html
โดยคุณ anakarik
ขอให้สนุกกับการอ่าน อย่าซีเรียส นี่เป็นเพียงความเห็นส่วนบุคคล
โปรดใช้วิจารณญาน อย่างมีสติ
