ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หนทางเดียว เท่านั้นทีมองเห็น คือการภาวนา กรรมฐาน อานาปานสติ  (อ่าน 4367 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
หนทางเดียว เท่านั้นทีมองเห็น คือการภาวนา กรรมฐาน อานาปานสติ สำหรับการภาวนากรรมฐาน นั้นอาตมาได้ปฏิบัติ อานาปานสติ ในช่วงนี้ และมองเห็นเป็นกรรมฐานเดียวเท่านั้นที่พาเราพ้นจากฝั่ง นทีแห่ง วัฏฏะ ได้


 ท่านทั้งหลายที่มาฝึก ภาวนากัน ก็ขออย่าได้พึ่ง แอนติ กรรมฐาน พระพุทธานุสสติ กันเลยจงปฏิบัติตามที่ครูอาจารย์สอนให้เริ่มจาก พระพุทธานุสสติกรรมฐาน ไปสู่ อานาปานสติกรรมฐาน เท่านี้ก็เพียงพอ ต่อการบำเพ็ญ วิปัสสนา เพื่อ ญาณ อันเป็นหนทางแห่งการหลุดพ้น จาก วังวน ที่ วนซ้ำแล้วซ้ำเล่า นี่ได้


  ขอทุกท่านจงมีกำลังใจ ภาวนาต่อไป เอาใจใส่ ในการภาวนาให้มากขึ้น ถ้าจะคิดก็คิดในธรรมให้มากขึ้น อย่ามัวแต่ไปคิด เรื่องไร้ประโยชน์ อันหาแก่นสารมิได้ เลย


  ที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นจะพึงมีได้ เพราะกรรมฐาน จงตั้่งใจปฏิบัติบูชา แด่พระพุทธเจ้า จงกระทำกิจแห่งพรหมจรรย์ ให้เสร็จสิ้นเสีย้เถิด เพราะหนทางแห่ง มรรคนั้นชัดแล้ว ด้วยคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ดีแล้ว  ในยุตนี้เรายังมีโอกาสที่จะข้ามพ้นจา โอฆะ อยู่ หากวันใด ครูอาจารย์หมดสิ้น กรรมฐานมีเพียงแต่ตำรา วันนั้นเราเอง ก็คงต้องระหกระเหิน อยู่ในวัฏฏะ นี้ต่อไป

   จงมาถึงที่ไม่มีน้ำ จากที่มีน้ำ จงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มีความกังวล จงยินดี ต่อพระนิพพาน อันเป็นที่สงัด อันสัตว์ยินดีโดยยาก นี้เถิด

   เจริญธรรม / เจริญพร

 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์  หน้า ๑๕๕-๑๕๖

(จัดวรรคตอนเพื่อสดวกในการอ่าน)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

[๒๘๗]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่  ฯ
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อานาปานสติ  อันภิกษุเจริญแล้ว  ทำให้มากแล้ว  ย่อม  มีผลมากมีอานิสงส์มาก 

ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว  ทำให้มากแล้ว  ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน  ๔  ให้บริบูรณ์ได้ 

ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน  ๔  แล้ว  ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์  ๗  ให้บริบูรณ์ได้ 

ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์  ๗  แล้ว  ทำให้มากแล้ว  ย่อมบำเพ็ญวิชชา  และวิมุตติ  ให้บริบูรณ์ได้  ฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
   
[๒๘๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็อานาปานสติ  อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร  ทำให้มากแล้วอย่างไร  จึงมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุใน  ธรรมวินัยนี้  อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี  อยู่ในเรือนว่างก็ดี 

นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง  ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า 
เธอย่อมมีสติหายใจออก  มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกยาว  หรือ
เมื่อหายใจเข้ายาว  ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว 

เมื่อหายใจออกสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกสั้น  หรือ
เมื่อหายใจเข้าสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้าสั้น 
สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม  ทั้งปวง  หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง  หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักระงับกายสังขาร  หายใจออก 
ว่าเราจักระงับกายสังขาร  หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ  หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ  หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข  หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข  หายใจเข้า 
สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร  หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร  หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักระงับจิตสังขาร  หายใจออก
ว่าเราจักระงับจิตสังขาร  หายใจเข้า 
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต  หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต  หายใจเข้า

สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง  หายใจออก 
ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง  หายใจเข้า 
สำเหนียกอยู่ว่า  เราจักตั้งจิตมั่น  หายใจออก 
ว่าเราจักตั้งจิตมั่น  หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ว่า  เราจักเปลื้องจิต  หายใจออก 
ว่าเราจักเปลื้องจิต  หายใจเข้า 
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้  ตามพิจารณาความไม่เที่ยง  หายใจออก 
ว่าเราจักเป็น  ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด  หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า 
สำเหนียกอยู่ว่า  เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส  หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส  หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส  หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส  หายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อานาปานสติ  อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้  ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล  จึงมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก  ฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

[๒๘๙]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร  ทำให้มากแล้วอย่างไร  จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน  ๔  ให้บริบูรณ์ได้ 

ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด  เมื่อภิกษุหายใจออกยาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกยาว  หรือ
เมื่อหายใจเข้ายาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้ายาว 
เมื่อหายใจออกสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกสั้น  หรือ
เมื่อหายใจเข้าสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้าสั้น 

สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้  กำหนดรู้กองลมทั้งปวง  หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง  หายใจเข้า 
สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักระงับกายสังขาร  หายใจออก 
ว่าเราจักระงับกายสังขาร  หายใจเข้า 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ในสมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย  มีความเพียร  รู้สึกตัวมีสติ  กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวลมหายใจออกลมหายใจเข้านี้  ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย  เพราะฉะนั้นแล  ในสมัยนั้น  ภิกษุจึงชื่อว่า
พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร  รู้สึกตัว  มีสติ  กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุสำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ  หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ  หายใจเข้า 
สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข  หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข  หายใจเข้า 
สำเหนียก  อยู่  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร  หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร  หายใจเข้า 
สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักระงับจิตสังขาร  หายใจออก  ว่าเราจักระงับจิตสังขาร  หายใจเข้า 

ดูกรภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา  มีความเพียร รู้สึกตัว  มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง  ในพวกเวทนา  เพราะฉะนั้นแลในสมัยนั้น  ภิกษุจึงชื่อว่า  พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา  มีความเพียร  รู้สึกตัวมีสติ  กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ฯ
   
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมัยใด  ภิกษุสำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด  รู้จิต  หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต  หายใจเข้า 
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง  หายใจออก  ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง  หายใจเข้า 
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น  หายใจออก  ว่าเราจักตั้งจิตมั่น  หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต  หายใจออก  ว่าเราจักเปลื้องจิต  หายใจเข้า 

ดูกรภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต  มีความเพียร  รู้สึกตัว  มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ  ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล  ในสมัยนั้น  ภิกษุจึงชื่อว่า  พิจารณาเห็นจิตในจิต  มีความเพียร  รู้สึกตัว  มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่  ฯ
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ