« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2013, 06:28:06 pm »
0
'อาศรมศิลป์'ผลิต'ป.บัณฑิต'วิถีพุทธ
สถานบันอาศรมศิลป์ผลิต 'ป.บัณฑิต' ด้วยหลัก 'โยนิโสมนสิการ' แบบวิถีพุทธ เน้นกระบวนการ Peer coaching
5ก.พ.2556 อาจารย์สุรพล ธรรมร่มดี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพและรักษาการผู้อำนวยการหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันอาศรมศิลป์ เปิดเผยว่า มาตรฐานและหลักสูตรวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ที่ทางสถาบันอาศรมศิลป์ได้รับความไว้วางใจจากคุรุสภาให้เปิดสอนนั้น ทางสถานบันฯ นำการใช้หลักการ “โยนิโสมนสิการ”
ที่เน้นการสร้างครูให้เป็นครูที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองที่แท้จริง โดยต้องมีการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการย้อนดูตัวเอง และเห็นจิตใจตัวเอง พร้อมทั้งสามารถแยกแยะและถือเอาเฉพาะความรู้สึกนึกคิดที่เป็นประโยชนนำสู่เด็กโดยหลักสูตรนี้มีเป้าหมายการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนเห็นจุดดีและจุดอ่อนของตัวเอง สร้างแรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ให้มีความสุขในการประกอบอาชีพครู ด้วยจิตวิญญาณของความเป็นผู้ที่มีความหวังดีต่อศิษย์อย่างแท้จริง และได้รับการรับรองหลักสูตรจากสำนักงานคุณภาพการศึกษา (สกอ.)
โดยขณะนี้ทางสถานบันอาศรมศิลป์ สร้างแนว ปรัชญา สร้างแรงบันดาลให้ตน ได้เป็น “ฅน” จนเป็น “ครู” ควบคู่ไปกับหลักสูตรวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ซึ่งมีคุณลักษณะและความเฉพาะตัวของหลักสูตร ที่นำสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงจากผู้เรียน ในเบื้องคือการเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพที่ไม่เหมือนใคร โดยพื้นที่ในการเรียนจะไม่ใช่ที่ห้องเรียน แต่จะใช้โรงเรียนของผู้เรียนเป็นห้องเรียนแทน ฉะนั้นผู้เรียนจะต้องเป็นครูที่สอนนักเรียนในโรงเรียนอยู่แล้ว หรือหากไม่ได้เป็นครู ทางสถาบันอาศรมศิลป์ก็จะรับมาให้เป็นคุณครูที่โรงเรียนรุ่งอรุณ
หลักการ “เรียนบนงาน” เป็นการปฏิบัติจริงพบเจอปัญหาและหาทางแก้ปัญหานั้นด้วยสติ ทางสถาบันฯ กำหนดให้ผู้เรียนใช้ประสบการณ์เรียนรู้ตัวตัวเองในช่วงระยะเวลา 5 วันทำการ ที่ผู้เรียนทำหน้าที่เป็นคุณครูอยู่แล้ว และหลักจากนั้น นัดพลกัน ในทุก ๆ วันเสาร์ เพื่อมาสร้างกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ภายในตลอดระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
วิธีการสอนของคณาจารย์ผู้สอนจากสถาบันอาศรมศิลป์ เริ่มด้วยการเปลี่ยนบทบาทตัวครูผู้สอนของสถาบัน ในฐานะครูผู้บอกกล่าวหรือผู้บรรยาย (lecture ) มาเป็นเพียงผู้อำนวยการเพื่อสิ่งอำนวยความสะดวก (Director of Facilities)ให้กับผู้เรียนเท่านั้น
“คนเป็นครูควรจะสังเกตเด็กอย่างละเอียด โดยไม่ด่วนสรุป ไม่ด่วนตัดสิน ไม่ด่วนใช่อารมณ์ แค่ประโยคนี้ฝึกปฏิบัติยากมาก เพราะในชีวิตประจำวันของครูจะได้รับความกระทบจากสภาพบรรยากาศในชั้นเรียนอยู่แล้ว โดยมีความขัดแข้งกันบนพื้นฐานในหลากหลายปัจจัย แต่ในปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ ภาวะความคาดหวังของครูในการที่จะสอนกับสภาพจริงของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งก็มัทำให้ครูไม่ได้รับความสมหวังเท่าที่ควร”
กระบวนการ นำแนวความคิดที่เน้นธรรมชาติ ธรรมะ ศาสนา และการออกกำลังกาย เข้ามาปฏิบัติ โดยมองถึงปัจจัยแห่งเหตุในการพัฒนาการของมนุษย์ที่ไปสู่ความสมบูรณ์ในตัวอง มี 4 ด้าน คือ เรื่องกาย เรื่องใจ เรื่องอารมณ์ และ เรื่องปฏิสัมพันธ์กับสังคม โดยใน 4 ด้านนี้ คือ ฐานของพุทธรรม ฐานการมองการเปลี่ยนแปลงของบุคคล มี 2 หลักการใหญ่ที่สำคัญคือ
“บุคคลผู้นั้นจะสามารถเติบโตและเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ จะต้องรู้จักมีวิธีคิดในการมองตัวเอง เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง ซึ่งความรู้สึกนึกคิดของตัวเองที่เกาะกุมใจของตัวเองอยู่นั้น จะเป็นตัวผลักดันให้ผู้เรียนมีปฏิบัติตนออกมา ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง พื้นที่ตรงนี้ที่ผู้เรียนการใช้สติปัญญาในการแยกแยะและนำเฉพาะเรื่องที่เป็นประโยชน์ ที่จะทำให้ผู้เรียนปฏิบัติได้ที่ทั้งกาย วาจาและใจ เรียกพื้นที่ตรงนี้ว่า โยนิโสมนสิการ
“หลักการอาศัยเสียงจากคนภายนอก เรียกพื้นที่ตรงนี้ว่า “กัลยาณมิตร” ซึ่งเป็นบุคคลที่แตกต่างหลากหลายมา การอยู่ร่วมกันให้ได้คือการฝึกการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยเป็นการหาอดทนข้อดีของคนให้เจอและนำมาเป็นการเรียนรู้ของตัวเองและพัฒนาในสิ่งที่เราจะศึกษาให้ได้” อาจารย์สุรพล กล่าวย้ำ
หลักโยนิโสมนสิการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คือ การคิดอย่างแยบคาย มองตัวเองได้ชัด หัดฟังคนอื่นและสามารถนำสิ่งที่คนอื่นบอกกล่าวมาเรียนรู้ได้ ทำให้ผลของ การประเมินผลของหลักสูตร ที่ตรงกับเป้าหมายมีต้องการเชื่อมโยง ความต้องการเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลง โดยสะท้อนจากความเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน ผ่านการฝึกการย้อนมองตัวเอง (Reflection ) ของผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนได้เห็นตัวเอง
โดยมีวิธีการต่าง ๆ เช่น การสวดมนต์ปฏิบัติธรรม การฝึกทำงานศิลปะ โดยเน้นให้ระหว่างทำงาน นั้นผู้เรียนได้อยู่กับตัวเอง ดูจิตดูใจตัวเอง และนำความรู้สึกในขณะทำสิ่งนั้น ๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนกันกับเพื่อน ๆ ทุกคนในห้องเรียน ตัวอย่างเช่น ขณะการฝึกทำงานศิลปะ แล้วผู้เรียนมีความรู้สึกการอยากทำให้ดี ทำให้สวย หรือความรู้สึกเกิดอยากจะเปรียบเทียบงานของตัวเองกับเพื่อนข้าง ๆ ความรู้สึกเช่นนี้คือการไม่ได้อยู่กับงานศิลปะแต่อยู่กับตัวเองมากกว่า ก็จะมีการบอกกับผู้เรียนว่า นี่คือการไม่ได้อยู่กับงานศิลปะแต่เป็นการอยู่กับตัวเอง นี่คือการฝึกให้เขาได้ดูตัวเองและรู้ตัวเอง
การฝึกปฏิบัติขณะเรียนโดยวิธีการปรับปรุงจุดอ่อนของตัวผู้เรียนเอง
กระบวนการนี้ คือการวัดประเมินผลด้านความสามารถในการย้อนดูตัวเองและการเรียนรู้จากผู้อื่นเป็น และการประเมินผลที่สำคัญอีกประการ คือ การประเมินจากงานเขียน ซึ่งเป็นงานเขียนจากประสบการณ์ เล่าเรื่องการเปลี่ยนแปลงในตัวเอง นี้คือเงื่อนไขในการประเมินเพราะงานเขียน อีกประการ คือการพูดนำเสนอ สื่อสารเล่าเรื่องสะท้อนสิ่งที่เป็นประสบการณ์ โดยทั้ง 2 ประการนี้เป็นหัวใจสำคัญของวิชาชีพครู
เหตุผลของการได้รับความไว้วางใจให้การเปิดหลักสูตรและผลิตบุคคลากรในแวดวงการศึกษา
สถาบันอาศรมศิลป์สร้างคุณภาพครูที่จริงแท้ แสดงตัวตนชัดเจนในการเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร เน้นการรับนักศึกษาจำนวนไม่มากเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยคุณภาพของตัวผู้เรียนให้เกิดผล มีกระบวนการที่เรียกว่า ทีม team teaching (เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพที่สร้างการเปลี่ยนแปลงได้) และ Work – Based Learning (การเรียนบนฐานการงานจริง) ที่เน้นการลงพื้นที่และลงมือสอนพร้อมกัน
โดยวิธีการผลักเปลี่ยนหมุนเวียนกันสอน และแบ่งกลุ่มย่อยสลับเปลี่ยนกันสอน สร้างชุมชุนแห่งการเรียนรู้ ขณะเดียวกันก็ใช้หลัก การหาจุดอ่อนในตัวเองด้วยตัวเอง (Peer coaching ) และบอกจุดอ่อนในตัวเองนั้นให้กับเพื่อนครูในโรงเรียนที่ผู้เรียนไว้วางใจ และให้เพื่อนครูได้มีส่วนร่วมได้ดูในขณะที่ตนสอน ทำให้ได้พบจุดอ่อนของผู้สอน นำปัญหาหรือจุดอ่อนนั้นมาบอกต่อซึ่งกันและกัน ไปสู่การแลกเปลี่ยนในการร่วมหาคำตอบเพื่อการแก้ไข...
ด้วยเหตุนี้ จึงทำเกิดหลักระบบ กัลยาณมิตร หรือ ระบบของต่างประเทศที่เรียกว่า peer coaching แต่หากจะพูดถึงพฤติการณ์ของครูไทยที่เป็นอยู่ในขณะนี้ คือ ไม่มีใครปรารถนาใจตน ให้ใครมาดูตัวเองสอน ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130206/151166/อาศรมศิลป์ผลิตป.บัณฑิตวิถีพุทธ.html#.UROOsPLcAit
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 07, 2013, 06:29:44 pm โดย nathaponson »

บันทึกการเข้า

ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ