ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรมศาสนาแนะ 'สวจ.-พศจ.' ยึดเนื้องาน ขับเคลื่อนพุทธสภาเข้มแข็ง  (อ่าน 1502 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29314
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


กรมศาสนาแนะ 'สวจ.-พศจ.' ยึดเนื้องาน ขับเคลื่อนพุทธสภาเข้มแข็ง

พระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการดำเนินการจัดตั้งพุทธสภา ปีงบประมาณ 2556 ของกรมการศาสนา ณ วัดสามพระยา กรุงเทพฯ ว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการระดมความคิดที่จะทำให้พุทธสภาเกิดความยั่งยืนแม้จะเปลี่ยนผู้บริหารในระบบราชการ

เนื่องจากที่ผ่านมาการดำเนินงานด้านพระพุทธศาสนา มีสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด(สวจ.) แต่หน่วยงานทั้ง 2 ต่างคนต่างทำ ทำให้งานด้านพระพุทธศาสนาขาดความเข้มแข็ง
    ดังนั้น อยากให้สวจ.และพศจ.ช่วยกันทำงาน และช่วยกันคิดว่า
    จะทำอย่างไรให้พุทธสภาเกิดความยั่งยืนเป็นประโยชน์ต่อประชาชน


    การจัดประชุมครั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการจัดตั้งพุทธสภา และรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับร่างระเบียบกรมการศาสนาว่าด้วยพุทธสภา โดยพุทธสภาจะผนึกกำลังภาคเครือข่าย 9 ประเภท ได้แก่     
      1.ภาคีเครือข่ายภาคพระสงฆ์
      2.สตรี
      3.องค์กรการกุศล
      4.ชุมชน
      5.ภาคธุรกิจ
      6.ภาควิชาการและวิชาชีพ
      7.สื่อมวลชน
      8.ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และ
      9.เด็กและเยาวชน


     โดยขณะนี้ได้ดำเนินการร่างระเบียบกรมการศาสนาว่าด้วยพุทธสภาเสร็จแล้ว ซึ่งได้กำหนดให้มีพุทธสภา 4 ประเภท ได้แก่ พุทธสภาแห่งประเทศไทย พุทธสภากรุงเทพมหานคร พุทธสภาจังหวัด และพุทธสภาอื่นๆ ที่จัดตั้งขึ้นโดยความเห็นกรมการศาสนา มีสมาชิก 2 ประเภท ได้แก่ สมาชิกพุทธสภาวิสามัญ และสมาชิกพุทธสภาสามัญ

     เราจะมีคณะกรรมการพุทธสภาแห่งประเทศไทย คอยมีหน้าที่ดูในเชิงนโยบาย โดยมีที่ปรึกษา ประกอบด้วย เจ้าคณะใหญ่หนกลาง หนเหนือ หนตะวันออก หนใต้ และเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต รวมทั้งยังมีคณะกรรมการพุทธสภากรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการพุทธสภาจังหวัด ช่วยดูแลการทำงานในส่วนภูมิภาคด้วย

     อย่างไรก็ตาม กรมการศาสนาได้เตรียมจัดสรรงบประมาณจำนวน 21 ล้านบาท
     เพื่อสนับสนุนการทำงานของพุทธสภา
     โดยพุทธสภาขนาดใหญ่และกลาง จะได้รับงบฯ เบื้องต้นในปี 2556 จำนวน 300,000 บาท
     ขนาดเล็ก 200,000 บาท
     หลังจากนั้นจะของบประมาณสนับสนุนเพิ่มขึ้นตามเนื้องานจนถึงแห่งละ 1 ล้านบาท


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNVEEzTURJMU5nPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE15MHdNaTB3Tnc9PQ==
http://i484.photobucket.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29314
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระสงฆ์-ชาวพุทธดันตั้ง'พุทธสภา'

พระสงฆ์-ชาวพุทธออกปฏิญญาสามพระยาดัน 'พุทธสภา' กรมการศาสนารับลูกจัดตั้งพุทธสภาจังหวัดขึ้นทั่วประเทศ

5ก.พ.2556 นายปรีชา กันธิยะ อธิบดีกรมการศาสนา(ศน.) กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดตั้งพุทธสภา ว่า หลังจากที่มีการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดตั้ง “พุทธสภา” ซึ่งประกอบด้วยเจ้าคณะจังหวัด เลขานุการเจ้าคณะหน เลขานุการเจ้าคณะภาค ผู้แทนมหาวิทยาลัยสงฆ์ องค์การทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมจังหวัด ที่วัดสามพระยา กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆนี้ พบว่า

พระสงฆ์ที่เข้าร่วมประชุมทุกรูปเห็นด้วยที่จะให้มีการจัดตั้งพุทธสภา เพื่อส่งเสริมให้พระพุทธศาสนาเกิดความเข้มแข็ง โดยพระสงฆ์ส่วนใหญ่อยากเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการพุทธสภา แต่ฆราวาสบางส่วนได้คัดค้าน เนื่องจากเกรงว่า หากคณะกรรมการดำเนินการผิดพลาด โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ จะมีผลทางกฏหมายจะทำให้พระสงฆ์ ต้องถูกดำเนินคดีไปด้วย

ซึ่งตนได้ชี้แจงไปว่า คณะกรรมการพุทธสภามีหน้าที่ในการเห็นชอบ ตัวโครงการเท่านั้น ส่วนเรื่องของงบประมาณทางวัฒนธรรมจังหวัดจะเป็นผู้ดูแล และจัดทำระบบบัญชี เอกสาร เพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบสำนักงบประมาณ จึงไม่น่ามีปัญหาอะไร

นายปรีชา กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุม ยังได้เสนอให้มีการเพิ่มรองนายกพุทธที่เป็นฝ่ายพระสงฆ์จาก 1 รูป เป็น 2 รูป แบ่งเป็น ฝ่ายธรรมยุต 1 รูป และมหานิกาย 1 รูป และควรให้พุทธสภาเป็นคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด เช่นเดียวกับ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดด้วย ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่ได้เห็นชอบ ในการนำมาปรับปรุงในร่างระเบียบกรมการศาสนา ว่าด้วยพุทธสภา แล้ว



นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ออกปฏิญญาสามพระยา ในการจัดตั้งพุทธสภา เพื่อให้เป็นสภาแห่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ร่วมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม 4 ข้อดังนี้

     1. ขอส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งพุทธสภาจังหวัดขึ้นทั่วประเทศ เพื่อเป็นพุทธานุสรณ์ ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
     2.ร่วมรณรงค์ให้มีการรวมพลังชาวพุทธ สร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมของชาติ ร่วมเป็นเครือข่ายสมาชิกพุทธสภา
     3.ร่วมเป็นกำลังสนับสนุนให้เกิดพุทธสภาอย่างมีประสิทธิภาพ และ
     4. ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพุทธสภาที่จะส่งเสริมให้ชาวพุทธในชุมชนดำรงความดี และสร้างความมั่นคงบทบาทชาวพุทธให้เกิดความรู้รักสามัคคี


    “ร่างระเบียบกรมการศาสนา ว่าด้วยพุทธสภา จะปรับปรุงให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้ จากนั้น ผมจะลงนามในระเบียบ ส่งไปยังให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ดำเนินการขับเคลื่อนพุทธสภาให้เกิดขึ้น รวมทั้งประสานไปยังผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะที่ปรึกษาพุทธสภา และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ในการร่วมเป็นกรรมการหรือเลขานุการ ในการขับเคลื่อนพุทธสภา
     อย่างไรก็ตามผมได้นำเรียนเรื่องนี้ให้นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรมได้รับทราบแล้ว และจะมีการรายงานผลการดำเนินงานในเบื้องตนต่อคณะรัฐมนตรีและมหาเถรสมาคมต่อไป”

     อธิบดีกรมการศาสนา กล่าว



     อย่างไรก็ตาม พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  ซึ่งไปร่วมอภิปรายด้วยได้ตั้งข้อสังเกตว่า ประเด็นที่ได้ตั้งสังเกตคือ การดำเนินการตั้งพุทธสภานั้นถือว่า เป็นการสร้างทางเลือกการทำงานเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อช่วยตอบโจทย์ความต้องการของพุทธศาสนิกชนในมิติต่างๆ ถึงกระนั้น สิ่งที่จะต้องให้ความใส่ใจเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คือ

     (1) ควรวิเคราะห์องค์กร หรือสมาคมต่างๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่ว่า ได้ดำเนินกิจกรรมในด้านใดบ้าง เพื่อจะได้ดำเนินการต่อยอดและทำงานไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน

     (2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างงานที่จะดำเนินการกับงานที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การดำเนินการประสานสอดคล้องกัน และมีประสิทธิผลในการดำเนินการ

    (3) ควรจะกำหนดพันธกิจให้ชัดเจนมากกว่าที่ปรากฎอยู่ในเอกสารที่เน้นการเผยแผ่แต่เพียงประการเดียว รวมถึงวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการดำเนินการให้สอดรับกับพุทธสภา

   (4) ควรเริ่มต้นด้วยการพูดคุยให้เกิดกระบวนการตึกผลึกทางหลักการและการปฏิบัติว่าภาระงานที่แท้จริงที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ของพุทธสภา หลังจากนั้น จึงนำไปสู่การกำหนดโครงสร้าง และออกแบบความสัมพันธ์เกี่ยวกับกลุ่มงานต่างๆ ในพุทธสภา

    "เชื่อมั่นว่า หากทีมงานได้ดำเนินการโดยวิเคราะห์ตัวแปรต่างๆ อย่างรอบด้าน ทั้งภาระงานของกรมการศาสนาที่ออกแบบโดย กพร. และภาระงานที่เกี่ยวข้องระหว่างกรมการศาสนากับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนแล้ว จะทำให้พุทธสภามีอัตลักษณ์ และจุดเด่นในการพัฒนา และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีชีวิตชีวาเพื่อเป็นที่พึ่งพาของพุทธศาสนิกชนสืบไป"
     พระมหาหรรษาระบุ


www.komchadluek.net/detail/20130206/151182/พระสงฆ์ชาวพุทธดันตั้งพุทธสภา.html#.URhYJvLcAit
http://image.bangkokbiznews.com/,http://www.rd1677.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ