ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'รักวิถีพุทธ' แผ่เมตตาลดขัดแย้ง  (อ่าน 1663 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
'รักวิถีพุทธ' แผ่เมตตาลดขัดแย้ง
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2013, 09:49:08 am »
0


วันวาเลนไทน์มอบ'รักวิถีพุทธ'แผ่เมตตาลดขัดแย้ง : สำราญ สมพงษ์รายงาน

     วันที่ 14 กุมภาพันธ์คือวันวาเลนไทน์หรือเป็นวันแห่งความรัก ส่วนความรักจะเจืออะไร ร่วมถึงเจือความใคร่หรือไม่จนทำให้เกิดปัญหาในกลุ่มวันรุ่นจนกระทั้งมีการป้องกันการเสียสาวในวันนี้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับวุฒิปัญญาของแต่ละบุคคล เพราะว่าสังคมไทยได้รับวัฒนธรรมแห่งวันนี้มาแล้ว

    อย่างไรก็ตามฐานะที่สังคมไทยมีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนาได้มีการปลูกฝังความรักอย่างไร ดังนั้นจึงจะมาดูหมายความของความรักในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร ซึ่งนายรังษี สุทน อาจารย์บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  ได้โพสต์ความหมายของคำว่า "ความรัก" จากข้อมูลต่างๆ ร่วมถึงความหมายในพระพุทธศาสนาด้วยในเฟซบุ๊กส่วนตัวคือ "Rangsi Suthon" แม้นว่าจะเป็นสำนวนทางพระ แต่หากได้ศึกษาถึงรากศัพท์จริงๆแล้ว จะทำให้ความใจความหมายได้ดียิ่งขึ้น ความว่า

"ความหมายแห่งความรักในทางพระพุทธศาสนา"
     ท่านผู้แต่งคัมภีร์อภิธานัปปทีปิการวบรวมศัพท์จากพระไตรปิฎกได้รวบรวมศัพท์ที่หมายถึงความรัก และท่านผู้แต่งคำอธิบายอภิธานัปปทีปิกา ได้รวบรวมคำอธิบายแต่งคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกา ได้รวบรวมศัพท์และอธิบายไว้ เป็นเรื่องที่พึงศึกษาสำหรับชาวพุทธ เพื่อจะได้เข้าใจความรักยิ่งขึ้น


     สิงคาโร ความรัก (คัมภีร์อภิธานและอภิธานฎีกาข้อ ๑๐๒)
     สิงฺคาร : ความรัก (สร คติหึสาจินฺตาสุ+อาร : สรธาตุ ใช้ในความหายว่าดำเนินไป,เบียดเบียน,ระลึก ลงอารปัจจัย) วิเคระห์ว่า “เปเมน สรติ คจฺฉตีติ สิงฺคาโร” แปลว่า “อาการที่เป็นไปด้วยความรัก ชื่อว่าสิงคาร” (อาเทศ สรฺ เป็น สิงฺค+อาร =สิงฺคาร)


ขอขยายความเพิ่มเติม
    ความรักในที่นี้ คือ ความรู้สึกที่ระลึกถึงแผ่ไป คือ ระลึกไปถึงคนที่รัก และคนผู้เป็นทีรักนั้น เป็นใครก็ได้ เช่น บิดามารดาระลึกไปถึงบุตรธิดาผู้เป็นที่รักซึ่งจากไปอยู่ห่างไกล บุตรธิดาจากบิดามารดามาอยู่ ณ สถานที่ห่างไกล ก็ระลึกถึงบิดามารดาผู้เป็นที่เคารพรัก สามีภรรยาที่รักกัน จำเป็นต้องจากกันไปต่างแดนระยะหนึ่ง ก็เกิดความรู้รักและระลึกถึงผู้เป็นที่รัก คือ สามีก็ระลึกถึงภรรยาผู้เป็นที่รัก ภรรยาก็ระลึกถึงสามีผู้เป็นที่รัก ชายหนุ่มหญิงสาวรักกันก็รู้สึกรักและส่งใจที่เต็มไปด้วยความรักถึงกันและกัน



     ท่านผู้แต่งคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา รวบรวมศัพท์จากพระไตรปิฎกแต่งเป็นคาถา ๒ บาท รวมกับศัพท์อื่นเป็นหนึ่งคาถา ขอตัดมาเฉพาะคำว่ารัก ดังนี้

     โส สมฺโภโค วิโยโคติ สิงฺคาโร ทุวิโธ มโต (อภิธานข้อ ๑๐๔)
     แปลว่า "ความรักนั้น มี ๒ อย่าง คือ สัมโภครัก คือ รักอยู่ร่วมกัน วิโยครัก คือ รักจำใจพรากจากกัน"
     (สํ+ภุช ปาลนชฺโฌหรเณสุ+ณ) ความรักเวลาอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุข, สหภุญฺชนํ อนุภวนํ สมฺโภโค การร่วมทุกข์ร่วมสุข ชื่อว่าสัมโภคะ (ลบ ณฺ วุทธิ อุ เป็น โอ อาเทสนิคคหิต เป็น มฺ ชฺ เป็น ค)
     วิโยค (วิ+ยุช โยเค+ณ) ความรักเวลาพลัดพรากจากกัน, วิยุชฺชนํ นานาภวนํ วิโยโค การพลัดพรากจากกัน ชื่อว่าวิโยคะ (ลบ ณฺ วุทธิ อุ เป็น โอ อาเทส ชฺ เป็น คฺ) (อภิธานฎีกาข้อ ๑๐๔)


ขอขยายความเพิ่มเติม
     ๑. สัมโภครัก เป็นความรักของคู่สามีภรรยาที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน หมายความว่า การมีชีวิตคู่นั้น มีทั้งความทุกข์และความสุข เป็นไปตามโลกธรรม คือ ธรรมที่มีประจำโลก โลกยังหมุนเวียนเป็นไปตราบใด ทุกข์สุข ก็ย่อมเกิดมีแด่บุคคลที่อยู่ในโลกตราบนั้น ความรักนี้เป็นความรักที่ยั่งยืน หมายความว่า แม้ชีวิตคู่จะมีอุปสรรค มีปัญหามากมาย สามีภรรยาทั้งคู่กไม่ทอดทิ้งกัน อดทนใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันมีความรักกันเมตตากันอยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่า กระทั่งตายจากกันไป
    ๒. วิโยครัก เป็นความรักที่ไม่สมหวัง รักกันปานจะกลืนกินกัน แต่ไม่ได้อยู่ร่วมกัน ต้องจำใจจากกัน จิตใจก็โหยหาระลึกถึงกันด้วยความรัก เป็นรักจำพรากจากกัน เป็นความรักที่ทุกข์รัดทดใจ ทั้งคู่ต้องพยายามสร้างความรู้สึกที่ดี หมายความว่า ถ้าผู้เป็นที่รักได้จากไปอยู่ดีมีสุขกว่าที่จะอยู่กับเรา ก็ให้รู้สึกยินที่เขามีความสุข
 
    เปมํ สิเนโห เสฺนโห (อภิธานข้อ ๑๗๓)
    ความรัก, ความเยื่อใย, ความเสน่หา ทั้ง ๓ ศัพท์ใช้แทนกันได้
    ๑. เปม (ปิย+อิม) ความรัก, ความมีเยื่อใย,ความเสน่หา วิเคราะห์ คือ กระบวนการแยกแยะศัพท์ก่อนสำเร็จเป็นเปมว่า “ปิยสฺส ภาโว เปมํ” แปลว่า “การมีความรัก ชื่อว่าเปมะ” (อาเทส ปิย เป็น ป ลบสระหน้า วิการอิ เป็นเอ) ปีนยตีติ วา ปี, ปิโน ภาโว เปมํ หรือความอิ่มเอิบใจชื่อว่าปี (ปี ตปฺปเน+กฺวิ, ลบกฺวิ) การมีความอิ่มเอิบใจ ชื่อว่าเปมะ (ปี+อิม ลบสระหน้า วิการอิเป็นเอ)


ขยายความเพิ่มเติม
     เปม คำนี้นำมาใช้ในภาษาไทยว่า เปรม เปม เป็นความรักแบบข้ามภพข้ามชาติ เช่น ในอดีตชาติ เคยเกิดเป็นบิดามารดาเป็นบุตรธิดากัน มาในชาตินี้ แม้มิได้เกิดเป็นบิดามารดาเป็นบุตรธิดากัน พบกันครั้งแรก ก็รู้สึกถูกชาตาเกิดความรักกัน เกิดความรู้รักกันแบบบิดารักบุตรธิดา มารดารัดบุตรธิดา และบุตรธิดารักบิดามารดา แม้มิได้เป็นบิดามารดา หรือเป็นญาติพี่น้องกัน เปม ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ที่ว่าด้วยความรักแบบข้ามภพข้ามชาติ คือ
     ปุพฺเพว สนฺนิวาเสน ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน วา
     เอวนฺตํ ชายเต เปมํ อุปฺปลํว ยโถทเก

     ความรักนั้นเกิดด้วยสาเหตุ ๒ ประการ คือ
           (๑) ด้วยการอยู่ร่วมกันในชาติปางก่อน
           (๒) ด้วยการเกื้อกูลกันและกันในปัจจุบันเหมือนดอกอุบลเกิดในน้ำ




เมตฺตา (อภิธานข้อ ๑๖๑)
     เมตฺตา (มิท เสฺนเห+ต+อา) ความเมตตา, ความรัก วิเคาะห์ว่า มิชฺชติ สิเนหตีติ เมตฺตา ความรักที่เอ็นดู ชื่อว่าเมตตา (ลบ ท ซ้อน ต, แปลง อิ เป็น เอ, ลบสระหน้า คือ ลบ ท ที่มิท แปลงอิ ที่มิ เป็นเอ =เม ซ้อน ต=เมตฺ ลงตปัจจัย =เมตฺต เป็นอิตถีลิงค์ จึงเป็น เมตฺตา) มิตฺเต ภวา เมตฺตา ความรักมีอยู่ในมิตร ชื่อว่าเมตตา (มิตฺต+ณ วุทธิ อิ เป็น เอ ลบสระหน้า)


ขอขยายความเพิ่มเติม
      เมตตา คือ ความรักนี้ คำนี้ ปรากฏในพระไตรปิฎกมากที่สุด เป็นความรักที่อยู่เหนือราคะ คือ ความรักความกำหนัดทางเพศสัมพันธ์ เป็นความรักแบบรักกันในฐานะเป็นเพื่อนร่วมโลก เป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ร่วมโลกกัน แบบไม่มีเวร ไม่มีภัย คือ ไม่ทำให้ผู้อื่นหวาดกลัว เกิดความกลัว ไม่เบียดเบียนกัน สำหรับผู้ที่เป็นคู่ครองกัน ในระยะวัยต้นที่เป็นคู่ครองกัน ก็ย่อมมีความรักกันแบบผสมด้วยราคะ แต่เมืออยู่กันจนแก่เฒ่า ก็ยังรักกัน แต่เป็นรักแบบเมตตากัน ดูแลกันจนกระทั่งตายจากกันไป"

     ความรักในพระพุทธศาสนาตามที่นายรังษีได้ประมวลมานี้ความรักน่าจะหมายถึง "เมตตา" เป็นสำคัญ  ดังนั้นวันวาเลนไทน์นี้นอกจากจะมีการมอบดอกไม้มอบความรักให้แก่กันแล้ว เรามามอบความเมตตาให้แก้กันด้วยจะดีหรือไม่ หรืออย่างน้อยๆเรามาแผ่เมตาให้แก่กันว่า

     สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
     อเวรา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
     สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
     อพฺยาปชฺฌา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
     สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
     อนีฆา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
     สพฺเพ สตฺตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
     สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งสิ้นเถิด ฯ


     หากทำได้เช่นนี้เชื่อแน่ว่าความขัดแย้งที่เกิดอยู่ทุกมุมโลกก็จะลดลง
     สันติภาพก็จะเกิดขึ้น ความเครียดก็จะหายไปอย่างแน่นอน


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130214/151857/วันวาเลนไทน์แผ่เมตตาลดขัดแย้ง.html#.UR2d7vLcAit
http://sphotos-a.xx.fbcdn.net/,http://4.bp.blogspot.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ